พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนชื่อออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และการโต้แย้งสิทธิในที่ดินมรดก รวมถึงข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริง
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 แสดงให้เห็นว่า โจทก์ที่ 3มิได้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในที่ดินพิพาท อันจะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้เท่านั้น หาได้เป็นการวินิจฉัยในเรื่องแบ่งปันที่ดินพิพาท จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด
ส่วนที่โจทก์ทั้งสามขอให้ถอนชื่อ ท. ออกจาก น.ส.3 ก.สำหรับที่ดินพิพาทนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 3 และ ท. มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนละครึ่ง กรณีจึงไม่อาจเพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทได้ ย่อมมีผลเท่ากับยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 3 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง นอกจากนี้ที่โจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่า พินัยกรรม ท. ใช้บังคับไม่ได้นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ. ย่อมมีผลเท่ากับพินัยกรรมใช้บังคับได้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำขอเฉพาะโจทก์ที่ 3 เท่านั้น มิได้พิพากษาให้ยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเช่นกัน
ที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. ทุกคน คดีจึงไม่ขาดอายุความนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ที่ 3 ขาดอายุความหรือไม่เพราะศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติเสียก่อนว่า โจทก์ที่ 3 ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงนอกจากนี้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังฎีกาอีกว่า ท.ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงผู้เดียวจึงไม่อาจทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยอันเป็นการกระทำที่เกินกว่าสิทธิของตนที่พึงจะได้รับตามกฎหมายในฐานะทายาทของ จ. ขอให้ศาลพิพากษากลับและบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นก็เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาว่า ท.มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงครึ่งหนึ่ง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน ปรากฏว่าคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ดังนั้น โจทก์ที่ 1และที่ 2 จึงต้องห้ามฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ จ. การที่โจทก์ที่ 3 ได้ร่วมทำกินกับ ท. ก็ไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่โจทก์ที่ 3 และไม่อยู่ในฐานะที่จะขอแบ่งที่ดินพิพาทได้ โจทก์ทั้งสามไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดิน-พิพาท ฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาจึงต้องห้ามฎีกาเช่นเดียวกันกับโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ส่วนที่จำเลยฎีกาอีกว่าท.ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ พ.ศ.2519 แล้ว โจทก์ทั้งสามไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านภายในกำหนด 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง นั้น ปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ส่วนที่โจทก์ทั้งสามขอให้ถอนชื่อ ท. ออกจาก น.ส.3 ก.สำหรับที่ดินพิพาทนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 3 และ ท. มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนละครึ่ง กรณีจึงไม่อาจเพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทได้ ย่อมมีผลเท่ากับยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 3 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง นอกจากนี้ที่โจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่า พินัยกรรม ท. ใช้บังคับไม่ได้นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ. ย่อมมีผลเท่ากับพินัยกรรมใช้บังคับได้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำขอเฉพาะโจทก์ที่ 3 เท่านั้น มิได้พิพากษาให้ยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเช่นกัน
ที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. ทุกคน คดีจึงไม่ขาดอายุความนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ที่ 3 ขาดอายุความหรือไม่เพราะศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติเสียก่อนว่า โจทก์ที่ 3 ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงนอกจากนี้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังฎีกาอีกว่า ท.ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงผู้เดียวจึงไม่อาจทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยอันเป็นการกระทำที่เกินกว่าสิทธิของตนที่พึงจะได้รับตามกฎหมายในฐานะทายาทของ จ. ขอให้ศาลพิพากษากลับและบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นก็เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาว่า ท.มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงครึ่งหนึ่ง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน ปรากฏว่าคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ดังนั้น โจทก์ที่ 1และที่ 2 จึงต้องห้ามฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ จ. การที่โจทก์ที่ 3 ได้ร่วมทำกินกับ ท. ก็ไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่โจทก์ที่ 3 และไม่อยู่ในฐานะที่จะขอแบ่งที่ดินพิพาทได้ โจทก์ทั้งสามไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดิน-พิพาท ฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาจึงต้องห้ามฎีกาเช่นเดียวกันกับโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ส่วนที่จำเลยฎีกาอีกว่าท.ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ พ.ศ.2519 แล้ว โจทก์ทั้งสามไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านภายในกำหนด 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง นั้น ปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาทที่เป็นสินสมรส ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อนโอน
สิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้มาเมื่อปี 2525เป็นทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 99 เดิม เมื่อเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1474แต่โจทก์จดทะเบียนสมรสก่อนวันใช้บังคับ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ซึ่งมาตรา 7 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วฯ และไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาก่อนสมรสให้โจทก์เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ ดังนั้น สามีโจทก์จึงยังคงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ.2477 มาตรา 1468 การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. พ.ศ.2477 มาตรา 1469 ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ก่อน หากสามีโจทก์ไม่ให้ความยินยอมโดยปราศจากเหตุผล โจทก์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้ตาม ป.พ.พ. พ.ศ.2477 มาตรา 1475
โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ ถือว่ามีการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 ศาลล่างทั้งสองชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถเสียให้บริบูรณ์ตามมาตรา56 วรรคสอง ก่อน แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ปฏิบัติกลับดำเนินคดีต่อไปจนเสร็จ จึงเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถให้บริบูรณ์เสียก่อนแล้วดำเนินการต่อไป
โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ ถือว่ามีการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 ศาลล่างทั้งสองชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถเสียให้บริบูรณ์ตามมาตรา56 วรรคสอง ก่อน แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ปฏิบัติกลับดำเนินคดีต่อไปจนเสร็จ จึงเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถให้บริบูรณ์เสียก่อนแล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3280/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: การโอนที่ดินโดยผู้ไม่มีสิทธิทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิที่ดีกว่าผู้โอน
โจทก์ทั้งสามฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 2239 โดยสืบสิทธิครอบครองมาหลายทอดจาก ล.เจ้าของเดิม จำเลยที่ 1และที่ 2 ขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของ ล.โดยอ้างว่าที่ดินตาม น.ส.3 ก.ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกของ ล.เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขอแบ่งที่ดินตาม น.ส.3 ก. แปลงนั้นออกเป็น 7 ส่วน และโอนขายที่ดินที่แบ่งแยกออกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 3145เนื้อที่ 8 ไร่ ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 และโอนขายที่ดินที่แบ่งแยกออกเป็นน.ส.3 ก. เลขที่ 3146 เนื้อที่ 4 ไร่ ให้แก่จำเลยที่ 5 โดยจำเลยที่ 3 ที่ 4และที่ 5 ทราบดีว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ทั้งสาม ขอให้พิพากษาว่าที่ดินทั้งหมดเป็นสิทธิของโจทก์ทั้งสาม และเพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 และกับจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นการฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ และที่ดินที่โจทก์ทั้งสามเรียกคืนจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 เนื้อที่ 8 ไร่ ราคาไม่เกิน50,000 บาท และเรียกคืนจากจำเลยที่ 5 เนื้อที่ 4 ไร่ ราคาไม่เกิน 50,000 บาทเช่นกัน คดีของโจทก์ทั้งสามกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 และกับจำเลยที่ 5 จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้ถือตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247
เมื่อที่พิพาทแปลง น.ส.3 ก. เลขที่ 2239 ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ล. จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ล.ก็ไม่มีอำนาจขอแบ่งแยกที่พิพาทแปลงนี้ออกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 3145 และ 3146 และไม่มีอำนาจโอนขายที่ดิน น.ส.3 ก. เลขที่ 3145 ให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และโอนขายที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 3146 ให้แก่จำเลยที่ 5 จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ผู้รับโอนจึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้โอนซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินดังกล่าว และย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ในกรณีเช่นนี้แม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวก็ต้องถือว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ทั้งสาม
เมื่อที่พิพาทแปลง น.ส.3 ก. เลขที่ 2239 ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ล. จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ล.ก็ไม่มีอำนาจขอแบ่งแยกที่พิพาทแปลงนี้ออกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 3145 และ 3146 และไม่มีอำนาจโอนขายที่ดิน น.ส.3 ก. เลขที่ 3145 ให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และโอนขายที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 3146 ให้แก่จำเลยที่ 5 จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ผู้รับโอนจึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้โอนซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินดังกล่าว และย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ในกรณีเช่นนี้แม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวก็ต้องถือว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินระหว่างเจ้าของที่ดิน ผู้มีสิทธิครอบครอง และผู้เช่า: การกระทำที่ไม่เป็นการละเมิด
ข.เป็นบิดาโจทก์เป็นเจ้าของโรงเรียนและที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนโดยโจทก์เป็นเพียงผู้มีสิทธิดำเนินกิจการโรงเรียนเท่านั้น แม้โจทก์จะมีสิทธิใช้สอยและครอบครองที่ดินที่โรงเรียนตั้งอยู่ก็ตาม ก็เป็นการครอบครองแทน ข.เมื่อต่อมาภายหลังข.ได้แบ่งแยกที่ดินที่โรงเรียนตั้งอยู่ออกเป็น5 แปลง และยกกรรมสิทธิ์ที่ดินที่แบ่งแยกให้แก่บุตรทั้ง 4 คน รวมทั้งโจทก์และจำเลยคนละแปลง ส่วนที่เหลือเป็นของ ข. ซึ่งให้จำเลยเช่า จำเลยทำรั้วขึ้นในเขตพื้นที่ที่ดินของจำเลย ส่วนบริเวณที่จำเลยขนโต๊ะเก้าอี้และเครื่องเล่นเด็กสนามไปไว้เป็นบริเวณที่ดินของข.ซึ่งได้ให้จำเลยเช่าจำเลยย่อมมีสิทธิในที่ดินส่วนนี้ตามสัญญาเช่า เมื่อจำเลยไม่ยอมให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินของจำเลยและที่ดินส่วนที่จำเลยเช่าจากข. จำเลยจึงมีสิทธิที่จะกระทำการใด ๆในที่ดินได้ตามกฎหมายโดยไม่ต้องดำเนินการทางศาลก่อนการกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากการซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด vs. การครอบครองทำประโยชน์เดิม ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดชอบกว่า
จำเลยทั้งสองเพียงเข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนเจ้าของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อโจทก์ได้ซื้อที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยจากนางส. ซึ่งซื้อมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริตโจทก์ย่อมได้สิทธิในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1330
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2672/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พิพาทสิทธิในที่ดิน: การทับซ้อนระหว่าง น.ส.3 กับโฉนดที่ดิน และการขอออกโฉนดใหม่
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เนื้อที่ 1 ไร่ 32 ตารางวา โจทก์ได้นำเจ้าหน้าที่รังวัดที่ดินพิพาทเพื่อขอออกโฉนดที่ดิน จำเลยได้คัดค้านการขอออกโฉนดที่ดิน ขอให้เพิกถอนคำคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดิน จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ทั้งสองออกทับที่ดินโฉนดที่ 972 ของจำเลยขอให้ยกฟ้องและให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ทั้งสองคดีจึงมีประเด็นว่า หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ออกทับโฉนดที่ดินของจำเลยหรือไม่ ซึ่งเป็นกรณีพิพาทกันว่าที่ดินพิพาทเป็นของใคร จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2264/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดินพิพาท: การกระทำโดยเข้าใจผิดเรื่องสิทธิในที่ดิน ไม่ถือเป็นการรบกวนการครอบครอง
จำเลยทั้งสองเข้าไปปักเสาขึงลวดหนามและจำเลยที่2ปลูกต้นผลไม้ในที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์จำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิกันและต่างฟ้องคดีแพ่งอ้างว่าตนมีสิทธิครอบครองโดยเข้าใจว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่2จำเลยทั้งสองจึงไม่มีเจตนาบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310-1311/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ & สิทธิในที่ดิน: สัญญาซื้อขายที่มีผลสมบูรณ์ แม้เอกสารสิทธิยังไม่โอน
ในขณะทำ สัญญาจะซื้อขายที่ดินมี เอกสารสิทธิเพียง น.ส.3จำเลยชำระเงินให้ ส. ผู้จะขายครบถ้วนและผู้จะขายได้มอบที่พิพาทให้จำเลยเข้าครอบครองแล้วตั้งแต่วันทำสัญญาแสดงว่าผู้จะขายได้สละการครอบครองและได้มอบการครอบครองให้แก่จำเลยแล้วตั้งแต่วันทำสัญญาเมื่อได้รับโฉนดที่ดินมาแล้วจำเลยยัง ครอบครองทำนาในที่พิพาทตลอดมาโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านพฤติการณ์เช่นนี้เห็นได้ว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา10ปีแล้วจำเลยจึงได้ กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท แม้ชื่อสัญญาจะระบุว่าเป็น สัญญาจะซื้อจะขาย แต่ข้อความในสัญญาแสดงว่าคู่สัญญามีเจตนาที่จะโอนที่ดินให้แก่กันทันทีแต่มีเหตุติดขัดโอนให้แก่กันทันทีไม่ได้เพราะที่ดินอยู่ระหว่างการออกโฉนดดังนี้สัญญาดังกล่าวเป็น สัญญา ซื้อขายเสร็จเด็ดขาด จำเลยฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยขอให้โจทก์ไปทำการแบ่งแยกที่พิพาทให้แก่จำเลยเป็นการฟ้องขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินไม่ใช่ฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญา ซื้อขายที่ฟ้องระบุว่าจำเลยได้ที่ดินมาโดยการซื้อขายเป็นการบรรยายถึงที่มาของการได้ที่พิพาทมาเท่านั้นการฟ้องเช่นนี้ ไม่มี อายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: บุคคลภายนอกพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่าได้ แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรื่องครอบครองปรปักษ์
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ผูกพันโจทก์
เมื่อฟังว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าได้รับซื้อที่ดินพิพาทไว้โดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริตจำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
เมื่อฟังว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าได้รับซื้อที่ดินพิพาทไว้โดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริตจำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรื่องครอบครองปรปักษ์ แต่บุคคลภายนอกพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่าได้ ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิที่ดีกว่าผู้โอน
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งว่าจำเลยที่1มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตามแต่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสอง(2)คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ผูกพันโจทก์ เมื่อฟังว่าจำเลยที่1ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแม้จำเลยที่2จะอ้างว่าได้รับซื้อที่ดินพิพาทไว้โดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริตจำเลยที่2ก็ ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน