คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5310/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตไม้อัดสัก การพิจารณาการเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร และการจำแนกประเภทสินค้า
โจทก์นำแผ่นวีเนียร์ที่ได้จากการเฉือนไม้ซุงสัก ออกเป็นแผ่นบาง ๆ มาวางปิดทับบนไม้อัดยางที่โจทก์ซื้อมา แล้วประสาน จนเป็นเนื้อเดียวกันเป็นไม้อัดสัก นับว่าเป็นการประกอบสินค้าชนิดใหม่ขึ้นจึงเป็นการผลิตตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 สินค้าตามบัญชีที่ 1 หมวด 4(1) ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 เป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้าตามบัญชีที่ 3หมวด 3(2) ซึ่งเป็นสินค้าสำเร็จรูป เมื่อไม้อัดเป็นสินค้าอย่างหนึ่งที่ระบุในหมวด 4(1) ของบัญชีที่ 1 ไม้อัดจึงเป็นวัตถุดิบไม้อัดสัก ของโจทก์โดยสภาพมิใช่สินค้าสำเร็จรูปและยังเป็นไม้อัดอย่างหนึ่ง จึงเป็นวัตถุดิบและเป็นสินค้าตามบัญชีที่ 1 หมวด 4(1)โจทก์ซึ่งเป็นผู้ผลิตและมิได้ส่งออกนอกราชอาณาจักรจึงต้องเสียภาษีการค้า ในอัตราร้อยละ 9 ของรายรับ มิใช่ร้อยละ 1.5 ของรายรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4602/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตรากำไรมาตรฐานยา: ยาสัตว์ใช้ร้อยละ 11.5 ยามนุษย์ร้อยละ 21
ยาทุกชนิดตามข้อ 3(1) ของบัญชีอัตรากำไรมาตรฐานของสินค้านำเข้าหมายถึงยาที่ใช้กับมนุษย์เท่านั้น สำหรับยาป้องกันกำจัดศัตรูและโรคพืชสัตว์ตาม ข้อ 3(4) หมายถึงยาป้องกันกำจัดศัตรูและโรคพืชอย่างหนึ่งกับยาป้องกันกำจัดศัตรูและโรคสัตว์อีกอย่างหนึ่ง สินค้าของโจทก์เป็นยารักษาโรคสัตว์ทั่วไป จึงเป็นยากำจัดโรคสัตว์ตามข้อ 3(4) อัตรากำไรมาตรฐานกำหนดไว้ร้อยละ 11.5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3361/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีการค้าตาม พรฎ.ฉบับ 54 พ.ศ.2517 ต้องเป็นไปตามบัญชีอัตราภาษีที่กำหนด แม้ไม่มีข้อจำกัดเส้นผ่าศูนย์กลางก็ต้องเสียภาษี
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 มิใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานที่จะใช้ดุลพินิจเรียกเก็บหรือไม่เรียกเก็บภาษีการค้าจากสินค้าประเภทที่นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา การขายสินค้าที่จะได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว มาตรา 5(8) จะต้องเป็นการขายสินค้า ตามประเภทการค้าที่ 1 ชนิด 1 ก. ของบัญชีอัตราภาษีการค้าเฉพาะที่ผลิตในราชอาณาจักรและมิได้ระบุในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา เมื่อ "เหล็กเส้น" เป็นสินค้าในบัญชีที่ 1 หมวด 4 วัตถุก่อสร้างและเครื่องเรือน (4)ท้ายพระราชกฤษฎีกาโดยบัญชีดังกล่าวมิได้กำหนดว่าเหล็กเส้นนั้นจะต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าไร ดังนั้น แม้เหล็กเส้นที่โจทก์ผลิตจำหน่ายจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1 นิ้วขึ้นไป โจทก์ก็มิได้รับยกเว้นภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2173/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเครื่องหมายการค้า: ศาลฎีกายืนโทษ ไม่รอการลงโทษ พิจารณาจากความร้ายแรงและปริมาณสินค้า
จำเลยได้ทำหรือผลิตเสื้อยืดและปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายมาจนกระทั่งผู้เสียหายสืบทราบและนำเจ้าหน้าที่ตำรวจไปจับกุม มีจำนวนไม่น้อยเฉพาะที่ยึดมาเป็นของกลางเป็นชิ้นส่วนที่เหลืออยู่เพียงเล็กน้อยดังนี้ ตามความร้ายแรงและผลการกระทำของจำเลยไม่สมควรรอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สาระสำคัญของสินค้าเป็นเกณฑ์จัดประเภท
หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ภาค 1 มีสาระสำคัญว่า ของชนิดใด ประกอบด้วยวัตถุหรือสารตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไปและเห็นได้ว่าอาจจัดเข้าได้ 2 ประเภท กรณีไม่อาจจัดเข้าในประเภทที่ระบุไว้โดยชัดแจ้ง ให้จัดเข้าในประเภทของวัตถุหรือส่วนควบที่มีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญสำหรับของชนิดนั้น เมื่อสายคาดลดไขมันหน้าท้องโดยใช้ไฟฟ้ามีขดลวดไฟฟ้าซึ่งเป็นวัตถุอันเป็นสาระสำคัญของสินค้าจึงต้องจัดประเภทสินค้านี้ตามขดลวดไฟฟ้า ทั้งไม่มีข้อยกเว้นตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรให้จัดสินค้าดังกล่าวเข้าในประเภทของวัตถุที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ดังนั้น ที่โจทก์จัดสายคาดลดไขมันหน้าท้องโดยใช้ไฟฟ้าเข้าในประเภทที่ 39.07 ตามประเภทวัตถุที่ใช้ทำด้านนอกซึ่งไม่ปรากฏว่าเป็นวัตถุส่วนที่เป็นสาระสำคัญ จึงไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สาระสำคัญของสินค้าต้องใช้เป็นเกณฑ์จัดประเภท แม้มีลักษณะหลายด้าน
หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ภาค 1 มีสาระสำคัญว่า ของชนิดใดประกอบด้วยวัตถุหรือสารตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไป และเห็นได้ว่าอาจจัดเข้าได้ 2 ประเภทกรณีไม่อาจจัดเข้าในประเภทที่ระบุไว้โดยชัดแจ้ง ให้จัดเข้าในประเภทของวัตถุหรือส่วนควบที่มีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญสำหรับของชนิดนั้น เมื่อสายคาดลดไขมันหน้าท้องโดยใช้ไฟฟ้ามีขดลวดไฟฟ้าซึ่งเป็นวัตถุอัน เป็นสาระสำคัญของสินค้าจึงต้องจัดประเภทสินค้านี้ตามขดลวดไฟฟ้า ทั้งไม่มีข้อยกเว้นตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรให้ จัดสินค้าดังกล่าวเข้าในประเภทของวัตถุที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ดังนั้น ที่โจทก์จัดสายคาดลดไขมันหน้าท้องโดยใช้ไฟฟ้าเข้าใน ประเภทที่ 39.07 ตามประเภทวัตถุที่ใช้ทำด้านนอกซึ่งไม่ปรากฏ ว่าเป็นวัตถุส่วนที่เป็นสาระสำคัญ จึงไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก แม้ยังมิได้ส่งออกสินค้าจริง
คำว่า "เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก" ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ท. 728/2522 ข้อ 1(2) และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท. 4/2528 ข้อ 3(2) มีความหมายว่าในกรณีผู้ซื้อซึ่งจดทะเบียนประกอบการค้าเป็นผู้ส่งออกมันสำปะหลังไม่ว่าเป็นหัวหรือจัดทำเป็นผง แป้ง เส้น ก้อน แท่ง ฝอย ชิ้น เม็ด หรือจัดทำในลักษณะอื่น จะต้องมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ทุกครั้งที่จ่ายเงินได้พึงประเมินในอัตราร้อยละ 0.75 ของยอดเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในแต่ละครั้ง ไม่ว่าผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออกนั้นจะได้ส่งออกสินค้าที่ซื้อไว้จริง ๆ หรือไม่ ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อและได้จ่ายเงินซื้อแป้งมันสำปะหลังและมันเส้นให้แก่ผู้รับ จึงต้องมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราดังกล่าว แม้โจทก์จะได้จำหน่ายแป้งมันและมันเส้นในประเทศโดยไม่ได้ส่งออกก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5613/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าสินค้าของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 165
โจทก์ประกอบการผลิตสุราจำหน่ายแก่ประชาชนเป็นปกติธุระถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบศิลป อุตสาหกรรม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 165(1) การที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยชำระราคาค่าสุราที่โจทก์ผลิตขายให้จำเลยตามสัญญา เป็นการเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของให้จำเลย สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3790/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของผู้ขนส่งร่วมกันและการช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัยสินค้า
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ผู้รับตราส่งได้นำใบตราส่งพร้อมหลักฐานอื่นไปขอออกสินค้าลูกปืนและตลับลูกปืนที่สั่งซื้อจากการท่าเรือแห่ง ประเทศไทยแล้วสิทธิของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนสินค้ารายนี้ย่อมตกได้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้านั้นได้ชำระค่าเสียหายให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ไปย่อมได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องผู้รับขนผู้ก่อความเสียหายแก่สินค้ารายนี้ได้
จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้รับสินค้าในใบตราส่ง เมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงประเทศไทย บริษัทตัวแทนเรือในต่างประเทศได้แจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ไปติดต่อกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยขออนุญาตนำเรือเข้าเทียบท่า และเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร.ไปรับสินค้าจากคลังสินค้า ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 มีลักษณะร่วมกันขนสินค้ารายนี้อันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล เมื่อสินค้าเกิดความเสียหายขึ้น ผู้ขนส่งต้องรับผิดร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นตัวแทนของบริษัท ซ. ผู้ควบคุมการเดินเรือของประเทศสหภาพโซเวียต โดยได้รับค่าตอบแทนตามอัตราสินค้าเข้าและสินค้าออกของค่าระวาง แต่ในคดีนี้เรือบรรทุกสินค้าของประเทศสหภาพโซเวียตมิได้เข้ามาในประเทศไทย โดยได้ขนถ่ายสินค้ารายนี้ให้สายการเดินเรืออื่นทำการขนส่งอีกทอดหนึ่งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมดำเนินการขนส่งหรือได้ผลประโยชน์ในการขนส่งสินค้ารายนี้ ดังนี้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมขนส่งด้วยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3569/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรายงานเท็จเกี่ยวกับสถานะการตรวจสอบสินค้า ทำให้จำเลยเสี่ยงต่อความเสียหายทางชื่อเสียงและการค้า
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย มีหน้าที่ควบคุมการขนถ่ายสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ วันเกิดเหตุเมื่อโจทก์ควบคุมการขนถ่ายสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์เรียบร้อยแล้ว แต่ตัวแทนบริษัทเรือกับเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรยังมิได้ตีตราประทับตู้คอนเทนเนอร์ โจทก์กลับเสียก่อนและรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาว่า ตัวแทนบริษัทเรือและเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร ได้ตีตราประทับแล้ว ดังนี้ เมื่อตู้คอนเทนเนอร์ยังมิได้ตีตราประทับ อาจเป็นโอกาสให้ผู้อื่นเปิดตู้นำสินค้าไปได้ หรืออาจสับเปลี่ยนสินค้าได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจำเลยย่อมจะได้ชื่อว่าไม่ปฏิบัติหรือบกพร่องในการปฏิบัติการตรวจสอบสินค้ารับรองคุณภาพและปริมาณของสินค้า อันเป็นหน้าที่ตัวกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ชื่อเสียงและเกียรติคุณของจำเลยย่อมจะลดน้อยถอยลงทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของจำเลยย่อมจะเสียหายไปด้วยในตัว การกระทำของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานและคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้ว.
of 25