คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินสมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 858 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9105/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้กู้ยืมเงินโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส และอำนาจในการทวงหนี้: ศาลฎีกาพิพากษายืน
จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะการที่โจทก์ให้กู้ยืมเงินต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเสียก่อน การที่สามีโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอมนิติกรรมดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ โดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าเงินที่โจทก์ให้กู้ยืมไปเป็นสินสมรสที่โจทก์กับสามีจะต้องจัดการร่วมกันตามกฎหมายจึงไม่มีประเด็นโต้เถียงว่าเงินดังกล่าวเป็นสินสมรสหรือไม่โจทก์ยอมให้จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากสามีก่อน จำเลยทั้งสองให้การไว้เพียงลอย ๆ ว่า ช. ทนายโจทก์ไม่มีอำนาจทวงถามจำเลยทั้งสอง แต่ไม่ได้อ้างเหตุว่าเพราะเหตุใด จึงไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธ ไม่มีประเด็นที่ต้อง วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 730/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สิน และความยินยอมของคู่สมรสในสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480
กฎหมายมิได้บัญญัติว่า ถ้าสามีฟ้องคดีจะต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อนทุกกรณี คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดีต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก็เฉพาะการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายต้องจัดการร่วมกันตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1476 สำหรับคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาโดยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสที่โจทก์กับภริยาต้องจัดการร่วมกันตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว จึงไม่มีประเด็นข้อโต้เถียงว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย ดังนั้นโจทก์ย่อมฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อน
โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม2532 จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 ก่อนแก้ไขในปี 2533 ซึ่งบัญญัติว่า"ในการจัดการสินสมรส ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่ง นิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน" ดังนั้นหากที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. และ ป.มิได้ให้ความยินยอมในการทำสัญญาจะซื้อจะขาย นิติกรรมดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์ โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญามิได้ คดีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.หรือไม่ ถ้าเป็นสินสมรสแล้ว ป.ได้ให้ความยินยอมด้วยหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาย่อมเป็นการวินิจฉัยคดีโดยยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดดังกล่าวข้างต้น ทั้งยังเป็นการวินิจฉัยตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1480 ที่แก้ไขแล้วในปี 2533 จึงยังไม่ถูกต้อง กรณีมีเหตุสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 730/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส หากไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นสินสมรส ศาลต้องสืบพยาน
คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดีต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก็เฉพาะการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายต้องจัดการร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1476 จำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาโดยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสที่โจทก์กับภริยาต้องจัดการร่วมกันจึงไม่มีประเด็นว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย คดีมี ประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. หรือไม่และถ้าเป็นสินสมรสแล้ว ป. ได้ให้ความยินยอมในการทำ สัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ซึ่งโจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทเมื่อวันที่8ธันวาคม2532จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480ก่อนแก้ไขในปี2533การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง งดชี้สองสถานและ งดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาคดีไปนั้นเป็นการวินิจฉัยคดีโดยยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดและเป็นการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480ที่แก้ไขแล้วในปี2533จึงยังไม่ถูกต้องศาลชั้นต้นต้องฟังข้อเท็จจริงให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. หรือไม่และ ป. ได้ให้ความยินยอมด้วยหรือไม่แล้วจึงพิพากษาตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 730/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรส และผลของการไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสในการทำนิติกรรม
กฎหมายมิได้บัญญัติว่าถ้าสามีฟ้องคดีจะต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อนทุกกรณีคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดีต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก็เฉพาะการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายต้องจัดการร่วมกันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1476สำหรับคดีนี้ปรากฎว่าจำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาโดยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสที่โจทก์กับภริยาต้องจัดการร่วมกันตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวจึงไม่มีประเด็นข้อโต้เถียงว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายดังนั้นโจทก์ย่อมฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อน โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทเมื่อวันที่8ธันวาคม2532จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480ก่อนแก้ไขในปี2533ซึ่งบัญญัติว่า"ในการจัดการสินสมรสถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งนิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน"ดังนั้นหากที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับป. และป. มิได้ให้ความยินยอมในการทำสัญญาจะซื้อจะชายนิติกรรมดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญามิได้คดีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับป.หรือไม่ถ้าเป็นสินสมรสแล้วป.ได้ให้ความยินยอมด้วยหรือไม่ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาย่อมเป็นการวินิจฉัยคดีโดยยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดดังกล่าวข้างต้นทั้งยังเป็นการวินิจฉัยตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480ที่แก้ไขแล้วในปี2533จึงยังไม่ถูกต้องกรณีมีเหตุสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7174/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมีก่อนสมรส ไม่เป็นสินสมรส แม้มีการยื่นขอสิทธิประโยชน์ที่ดินภายหลัง
โจทก์มีที่ดินอยู่ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2523 การที่โจทก์สมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองและได้สิทธิในการขอออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์สำหรับที่ดินดังกล่าวตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 8และ 11 ก็ดี และต่อมาโจทก์ได้ขอออก น.ส.3 ก.สำหรับที่ดินดังกล่าวตาม ป.ที่ดินก็ดี เป็นเพียงขั้นตอนที่โจทก์จะได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินดังกล่าวเท่านั้น ไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่มีเหนือที่ดินดังกล่าวตั้งแต่ต้น เมื่อที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่โจทก์มีมาก่อนที่จะอยู่กินและจดทะเบียนสมรสกับจำเลย จึงมิใช่ทรัพย์ที่โจทก์ได้มาระหว่างสมรสตาม ป.พ.พ.มาตรา 1474 (1) ไม่เป็นสินสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7174/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินก่อนสมรสไม่เป็นสินสมรส แม้จะมีการดำเนินการทางกฎหมายระหว่างเป็นสมาชิกนิคม
โจทก์มีที่ดินอยู่ตั้งแต่วันที่27มีนาคม2523การที่โจทก์สมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองและได้สิทธิในการขอออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์สำหรับที่ดินดังกล่าวตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511มาตรา8และ11ก็ดีและต่อมาโจทก์ได้ขอออกน.ส.3ก.สำหรับที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายที่ดินก็ดีเป็นเพียงขั้นตอนที่โจทก์จะได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินดังกล่าวเท่านั้นไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่มีเหนือที่ดินดังกล่าวตั้งแต่ต้นเมื่อที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่โจทก์มีมาก่อนที่จะอยู่กินและจดทะเบียนสมรสกับจำเลยจึงมิใช่ทรัพย์ที่โจทก์ได้มาระหว่างสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1474(1)ไม่เป็นสินสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7173/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์เฉพาะประเด็นสินสมรสและอำนาจปกครองบุตร ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอและกระทบสิทธิที่ยุติแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการแบ่งสินสมรสและการปกครองบุตรเท่านั้นส่วนโจทก์มิได้อุทธรณ์ฉะนั้นคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่โจทก์และจำเลยหย่ากันจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นการที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษาให้บุตรอยู่ในความปกครองของโจทก์ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งหมดรวมตลอดถึงประเด็นเรื่องการหย่าซึ่งยุติไปแล้วโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องการแบ่งสินสมรสด้วยเช่นนี้เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(1)ศาลฎีกาเห็นสมควรยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่มิชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวและวินิจฉัยประเด็นเรื่องการแบ่งสินสมรสที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยไปเสียเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก โจทก์บรรยายฟ้องขอแบ่งสินสมรสจากจำเลยโดยระบุว่ามีสินสมรสอยู่3รายการคือรถยนต์นั่งยี่ห้อมาสด้าที่ดินโฉนดที่1912พร้อมบ้าน1หลังและที่ดินโฉนดที่10733ซึ่งถือกรรมสิทธิ์รวมกับผู้อื่นอยู่โจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในสินสมรสดังกล่าวกึ่งหนึ่งจึงเป็นคำฟ้องที่โจทก์ขอแบ่งสินสมรสกึ่งหนึ่งของสินสมรสที่มีอยู่นั่นเองและตามรายงานกระบวนพิจารณาโจทก์แถลงประสงค์ที่จะได้สินสมรสไว้โดยแบ่งจำนวนเงินให้แก่จำเลยเช่นกันมิใช่มุ่งประสงค์เฉพาะแต่เพียงจำนวนเงินส่วนแบ่งสินสมรสจำนวน352,000บาทที่ระบุมาเท่านั้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเป็นจำนวนเงินดังกล่าวมาก็เป็นการตีราคาทรัพย์สินเป็นทุนทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการคิดคำนวณค่าขึ้นศาลหาใช่เป็นข้อจำกัดแห่งคำฟ้องที่จะต้องแบ่งตามจำนวนเงินที่ตีราคาไม่ศาลจึงชอบที่พิพากษาให้จำเลยแบ่งสินสมรสทั้ง3รายการเฉพาะส่วนของโจทก์และจำเลยให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6452/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสินสมรส: บังคับชำระหนี้จากสินสมรสทั้งหมดได้ แม้ฟ้องเฉพาะลูกหนี้ร่วม
หนี้คดีนี้เป็นหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490 ซึ่งจำเลยและผู้ร้องจะต้องร่วมกันรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วม โจทก์จึงชอบที่จะบังคับชำระหนี้จากสินสมรสได้ทั้งหมด เมื่อจำเลยนำที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องไปจำนองเป็นประกัน โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้จากที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นสินสมรสได้ทั้งหมดโดยไม่จำต้องฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย ตามป.พ.พ.มาตรา 1489 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6452/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมจากสินสมรส: บังคับชำระหนี้จากสินสมรสได้ทั้งหมด แม้มิฟ้องลูกหนี้ร่วม
หนี้คดีนี้เป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1490ซึ่งจำเลยและผู้ร้องจะต้องร่วมกันรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วมโจทก์จึงชอบที่จะบังคับชำระหนี้จากสินสมรสได้ทั้งหมดเมื่อจำเลยนำที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องไปจำนองเป็นประกันโจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้จากที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นสินสมรสได้ทั้งหมดโดยไม่จำต้องฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1489ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6075/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการขอเฉลี่ยทรัพย์สินสามีภรรยาและการนับระยะเวลาตามกฎหมาย
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 แม้ที่ดินพิพาทจะมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ก็ได้ความว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นสามีภรรยากัน ผู้ร้องได้อ้างในการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งแรกแล้วว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์ที่โจทก์นำยึดทั้ง 6 รายการเป็นทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองซึ่งโจทก์มิได้คัดค้าน ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถือว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 อยู่ด้วย ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยเงินจากการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าว
ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสี่ ได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์สิน ระยะเวลา 14 วันนั้นนับแต่วันสิ้นสุดการขายทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมด
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาดเพื่อบังคับคดีรวม 6 รายการ ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยและได้ขายทอดตลาดไปรวม 4 รายการ ในการขายทอดตลาดครั้งแรกคงเหลือที่ดินพิพาทซึ่งได้ขายทอดตลาดไปในการขายทอดตลาดครั้งที่สอง ดังนั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เข้ามาก่อนวันขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาคราวนั้นในครั้งที่สองเป็นการยื่นขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนวันสิ้นสุดการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมด ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีก แม้หลังจากขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งที่ 2 ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีกเมื่อพ้นระยะเวลา 14 วันนับแต่วันขายทอดตลาดครั้งที่ 2 ก็มิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่ 1 หมดไป เพราะผู้ร้องมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ทั้งหมดตามคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในครั้งแรกซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว
of 86