พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาเช่าและการมีอำนาจฟ้องขับไล่: สัญญาเช่าตกทอดไปยังผู้รับโอนสิทธิ
ห้องพิพาทเป็นของโจทก์โดยรับโอนมาจากมารดาซึ่งจำเลยเช่าห้องพิพาทอยู่ก่อน การเช่าตกทอดมายังโจทก์เท่ากับโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลย เมื่อครบสัญญาเช่าแล้วโจทก์ผู้เป็นคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องอายุความละเมิดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความละเมิด แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยมาก็เป็นการนอกประเด็นข้อพิพาท
ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องอายุความละเมิดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความละเมิด แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยมาก็เป็นการนอกประเด็นข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเช่านาตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา: การสิ้นสุดสัญญา และผลของการดำเนินคดี
โจทก์เช่านาจำเลยทำอยู่โดยไม่มีกำหนดเวลาก่อนพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 ใช้บังคับ โจทก์จึงมีสิทธิในการเช่านาจำเลยมีกำหนดหกปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ
เมื่อครบกำหนดระยะเวลาหกปีแล้ว จะต้องมีการตกลงเช่ากันอีกเป็นคราว ๆ จึงจะมีสิทธิในการเช่าต่อไปอีกคราวละหกปี หาใช่ว่าเมื่อตกลงเช่ากันครั้งแรกและครบกำหนดหกปีแล้วต้องถือว่าได้มีการเช่านากันไปเรื่อย ๆ คราวละหกปีโดยไม่ต้องมีการตกลงเช่ากันแต่อย่างใดไม่
หลังจากสิ้นระยะเวลาการเช่านาแล้ว แม้จำเลยผู้ให้เช่าจะมิได้บอกเลิกการเช่านา แต่ปรากฏว่าขณะนั้นโจทก์จำเลยกำลังดำเนินคดีกันอยู่โดยโต้เถียงเกี่ยวกับการเช่านาระงับลงแล้วหรือไม่ และโจทก์ผู้เช่ามิได้ทำนาต่อไป จึงถือไม่ได้ว่ามีการเช่านากันต่อไปตามมาตรา 5
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้โจทก์เลิกเช่านาจำเลยในพ.ศ. 2523 เป็นสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ล่วงหน้าเป็นเวลาเกินกว่าหกเดือนก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่านาจึงถือไม่ได้ว่ามีการตกลงเลิกการเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยตามความหมายของมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517
เมื่อครบกำหนดระยะเวลาหกปีแล้ว จะต้องมีการตกลงเช่ากันอีกเป็นคราว ๆ จึงจะมีสิทธิในการเช่าต่อไปอีกคราวละหกปี หาใช่ว่าเมื่อตกลงเช่ากันครั้งแรกและครบกำหนดหกปีแล้วต้องถือว่าได้มีการเช่านากันไปเรื่อย ๆ คราวละหกปีโดยไม่ต้องมีการตกลงเช่ากันแต่อย่างใดไม่
หลังจากสิ้นระยะเวลาการเช่านาแล้ว แม้จำเลยผู้ให้เช่าจะมิได้บอกเลิกการเช่านา แต่ปรากฏว่าขณะนั้นโจทก์จำเลยกำลังดำเนินคดีกันอยู่โดยโต้เถียงเกี่ยวกับการเช่านาระงับลงแล้วหรือไม่ และโจทก์ผู้เช่ามิได้ทำนาต่อไป จึงถือไม่ได้ว่ามีการเช่านากันต่อไปตามมาตรา 5
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้โจทก์เลิกเช่านาจำเลยในพ.ศ. 2523 เป็นสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ล่วงหน้าเป็นเวลาเกินกว่าหกเดือนก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่านาจึงถือไม่ได้ว่ามีการตกลงเลิกการเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยตามความหมายของมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อไม่ต่ออายุ การคิดดอกเบี้ยทบต้นจำกัดเฉพาะระยะเวลาสัญญา
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและการต่ออายุสัญญาทั้งสี่ครั้งได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนในวันสุดท้ายของอายุสัญญาทุกครั้ง เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาครั้งสุดท้ายแล้วจำเลยมิได้เบิกเงินหรือนำเงินเข้าบัญชีอีก พฤติการณ์ของคู่กรณีที่ปฏิบัติต่อกันแสดงให้เห็นว่าเจตนาได้ว่า หากไม่มีการต่ออายุสัญญาออกไป ก็ให้ถือว่าให้เลิกสัญญากันเมื่อสิ้นสุดอายุสัญญาโดยไม่จำต้องมีการบอกเลิกสัญญาอีก จึงต้องหักทอนบัญชีเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาครั้งสุดท้ายโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายโดยมีกำหนดเวลา สัญญาสิ้นสุดหากไม่ผ่อนเวลา แม้มีการเจรจาแต่ยังไม่ตกลง
สัญญานายหน้าระบุให้นายหน้าจัดการขายที่ดินให้เสร็จภายในพ.ศ.2518 เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยเจ้าของที่ดินจะผ่อนเวลาต่อไปให้อีกตามที่เห็นสมควรนั้น แสดงให้เห็นถึงเจตนาของคู่สัญญาว่า ได้กำหนดระยะเวลาไว้แน่นอนแล้วว่าจะต้องขายที่ดินให้เสร็จภายในสิ้นปี พ.ศ.2518 หากไม่มีการผ่อนเวลา ย่อมถือได้ว่าสัญญาดังกล่าวได้สิ้นสุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตประเด็นข้อพิพาท: การสิ้นสุดสัญญาค่านายหน้าเนื่องจากข้อตกลงเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขราคา
การที่จำเลยพูดบอกโจทก์ในขณะพาผู้ซื้อมาตกลงราคากับจำเลยว่า ถ้าขายในราคาที่ผู้ซื้อต่อไม่ใช่ราคาที่บอกขาย จำเลยไม่ให้ค่านายหน้า โจทก์ไม่คัดค้าน ศาลวินิจฉัยว่าสัญญาให้ค่านายหน้าเป็นอันสิ้นสุดยกเลิกกันนั้น เป็นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่รวมอยู่ในประเด็นที่ศาลกำหนดไว้ว่า จำเลยตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลย โดยคิดค่านายหน้าให้หรือไม่ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2895/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจอดรถและติดตั้งเสาไฟฟ้าในที่ดินของผู้อื่น: สัญญาต่างตอบแทนและผลกระทบจากการสิ้นสุดสัญญา
โจทก์มีที่ดินและต้องการจะก่อสร้างศูนย์การค้า โรงแรมโรงภาพยนตร์และอาคารพาณิชย์ โจทก์กับผู้มีชื่อจึงทำสัญญาร่วมลงทุนกันให้ก่อตั้งบริษัทจำเลยขึ้นประกอบกิจการต่างๆดังกล่าวแล้ว สัญญาข้อ 4 กำหนดว่า โจทก์ต้องอนุญาตให้จำเลยใช้ถนนทั้งสองข้างของโรงแรมจำเลย และจะต้องสงวนไว้ให้แก่จำเลยซึ่งสิทธิจอดรถที่ขอบถนน ข้อ 5(8) ว่าจำเลยต้องชำระเงินครึ่งหนึ่งของค่าก่อสร้างถนนให้แก่โจทก์เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บริษัทจำเลยที่จะตั้งขึ้นบริษัทจำเลยชอบที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นภายหลังได้ปรากฏว่าเมื่อบริษัทจำเลยตั้งขึ้นแล้วจำเลยได้ชำระค่าทำถนนให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว และมีพฤติการณ์ที่ถือว่าจำเลยได้ถือเอาประโยชน์จากสัญญาร่วมลงทุนแล้ว แม้ต่อมาสัญญาร่วมลงทุนจะสิ้นสุดหรือยกเลิกไป ก็หาทำให้สิทธิของจำเลยอันเกิดขึ้นแล้วระงับไปด้วยไม่
โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยว่า จะให้สิทธิใช้ที่ดินสำหรับตั้งเสาไฟฟ้าแก่จำเลยเพียงแต่จำเลยเข้าติดตั้งเสาและสายไฟฟ้าตามที่โจทก์เสนอก็เป็นการสนองรับ มีผลให้สัญญาเกิดขึ้นแล้ว สัญญายินยอมให้ติดตั้งเสาและสายไฟฟ้าในที่ดินเพื่อประโยชน์ร่วมกันเช่นนี้แม้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็บังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทรวม 11 ประเด็น เป็นประเด็นไม่ต้องสืบพยาน 1 ประเด็น ตกภาระโจทก์นำสืบ 8 ประเด็นตกภาระจำเลยนำสืบ 2 ประเด็น ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์มีภาระการพิสูจน์มากกว่า ทั้งประเด็นที่เป็นภาระจำเลยพิสูจน์ถึงจะให้โจทก์นำสืบก่อนโจทก์ก็ไม่เสียเปรียบ จึงให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็น พยานหลักฐานในประเด็นที่โจทก์แย้ง เป็นเรื่องที่อยู่ในความรู้เห็นของโจทก์จำเลยร่วมกัน แม้โจทก์นำสืบก่อน จำเลยก็ถามค้านให้พยานโจทก์มีโอกาสอธิบายและนำสืบถึงข้อความเหล่านั้นโดยบริบูรณ์แล้วโจทก์หาเสียเปรียบไม่ ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็นชอบแล้ว
โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยว่า จะให้สิทธิใช้ที่ดินสำหรับตั้งเสาไฟฟ้าแก่จำเลยเพียงแต่จำเลยเข้าติดตั้งเสาและสายไฟฟ้าตามที่โจทก์เสนอก็เป็นการสนองรับ มีผลให้สัญญาเกิดขึ้นแล้ว สัญญายินยอมให้ติดตั้งเสาและสายไฟฟ้าในที่ดินเพื่อประโยชน์ร่วมกันเช่นนี้แม้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็บังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทรวม 11 ประเด็น เป็นประเด็นไม่ต้องสืบพยาน 1 ประเด็น ตกภาระโจทก์นำสืบ 8 ประเด็นตกภาระจำเลยนำสืบ 2 ประเด็น ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์มีภาระการพิสูจน์มากกว่า ทั้งประเด็นที่เป็นภาระจำเลยพิสูจน์ถึงจะให้โจทก์นำสืบก่อนโจทก์ก็ไม่เสียเปรียบ จึงให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็น พยานหลักฐานในประเด็นที่โจทก์แย้ง เป็นเรื่องที่อยู่ในความรู้เห็นของโจทก์จำเลยร่วมกัน แม้โจทก์นำสืบก่อน จำเลยก็ถามค้านให้พยานโจทก์มีโอกาสอธิบายและนำสืบถึงข้อความเหล่านั้นโดยบริบูรณ์แล้วโจทก์หาเสียเปรียบไม่ ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1833/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกหลังสิ้นสุดสัญญาเช่ารายวัน แม้ไม่มีสัญญาเช่าเป็นลายลักษณ์อักษรก็ถือเป็นการบุกรุกได้
เดิมตลาดที่เกิดเหตุเป็นของมารดาผู้เสียหาย จำเลยเป็นพ่อค้าเปิดพะโล้และลูกชิ้นทอด เข็นรถเข้าไปตั้งขายตรงทางเดินอันเป็นส่วนหนึ่งของตลาดดังกล่าวมาหลายปี โดยชำระค่าเช่าเป็นรายวันไม่ได้ทำสัญญาเช่ากัน ต่อมามรดกผู้เสียหายถึงแก่กรรมได้ทำพินัยกรรมยกตลาดให้ผู้เสียหาย จำเลยชำระค่าเช่าบ้างไม่ชำระบ้าง ผู้เสียหายจึงให้เจ้าพนักงานตำรวจเรียกจำเลยมาแจ้งไม่ให้เข้าไปขายของในตลาดพิพาท จำเลยยังขืนนำรถเข็นเข้าไปขายของดังที่เคยทำมา เช่นนี้การเช่าของจำเลยเป็นการเช่ารายวัน และพอสิ้นวันหนึ่ง ๆ จำเลยก็ได้ออกไปจากตลาด การครอบครองของจำเลยจึงสิ้นสุดลงเป็นวัน ๆ เมื่อผู้เสียหายไม่ยอมให้จำเลยเข้าไปขายของในตลาดอีกต่อไป จำเลยยังขืนเข้าไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดบุกรุกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดหรือไม่: การต่ออายุโดยปริยายและสิทธิคิดดอกเบี้ย
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2514 ลูกหนี้ที่ 1 ทำหนังสือสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ กำหนดชำระเงินคืนภายใน 6 เดือน ต่อมาลูกหนี้ที่ 1 ขอเลื่อนกำหนดชำระหนี้อีกหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายขอเลื่อนกำหนดชำระหนี้ไปจนถึงวันที่ 13 มกราคม 2519 แม้ลูกหนี้ที่ 1 และเจ้าหนี้จะตกลงยืดอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายมาเพียงวันดังกล่าวก็ตาม แต่ก็ไม่อาจถือได้แน่นอนว่าสัญญาจะสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว เพราะไม่มีข้อตกลงว่าเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลานั้นให้สัญญาเป็นอันเลิกกันทันที เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชี ตามพฤติการณ์ของคู่สัญญาถือว่ามีการต่ออายุสัญญาต่อไปอีกปริยาย สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 1 อันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงหาสิ้นสุดในวันที่ 13 มกราคม 2519 ไม่ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปจนถึงวันศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สิ้นสุดหรือไม่? ดอกเบี้ยทบต้นคิดได้ถึงวันพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2514 ลูกหนี้ที่ 1 ทำหนังสือเบิกเงินเกินบัญชีกับเจ้าหนี้ผู้รับชำระหนี้ กำหนดชำระเงินคืนภายใน 6 เดือน ต่อมาลูกหนี้ที่ 1ขอเลื่อนกำหนดชำระหนี้อีกหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายขอเลื่อนกำหนดชำระหนี้ไปจนถึงวันที่ 13 มกราคม 2519 แม้ลูกหนี้ที่ 1 และเจ้าหนี้จะตกลงยืดอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายมาเพียงวันดังกล่าวก็ตาม แต่ก็ไม่อาจ ถือได้แน่นอนว่าสัญญาจะสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว เพราะไม่มีข้อตกลงว่า เมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลานั้นให้สัญญาเป็นอันเลิกกันทันที เมื่อไปปรากฏว่า ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชี ตามพฤติการณ์ของคู่สัญญาถือว่ามีการต่ออายุสัญญาต่อไปอีกโดยปริยาย สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 1 อันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงหาสิ้นสุดลงในวันที่ 13 มกราคม 2519 ไม่ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปจน ถึงวันศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องขับไล่หลังสัญญาเช่าสิ้นสุด: ผู้เช่าช่วงยังอยู่ในอาคาร ผู้ให้เช่าเดิมมีสิทธิไล่ได้
โจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากการรถไฟ แล้วให้จำเลยเช่าช่วงแม้ขณะที่ศาลชั้นต้นพิพากษาสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับผู้ให้เช่าสิ้นอายุแล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยผู้เช่าช่วงอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าที่ทำไว้กับโจทก์ โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ต้องส่งคืนตึกแถวให้ผู้ให้เช่าเมื่อสัญญาเช่าได้ระงับลงก็ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ส่งมอบตึกแถวพิพาทซึ่งเช่าจากโจทก์ได้