คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,449 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2958/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความและการรับสภาพหนี้: เช็คจากบริษัทอื่นชำระหนี้ไม่ทำให้บริษัทนั้นเป็นผู้ชำระหนี้จริง และการรับสภาพหนี้ทำให้เริ่มนับอายุความใหม่
สำเนาบันทึกการรับเช็คซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2539 มีข้อความว่าโจทก์ได้รับเช็คของบริษัท พ. จากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการนำมามอบชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์นั้นถือเป็นการชำระหนี้โดยจำเลยที่ 1 แม้จะชำระด้วยเช็คของบริษัท พ. ก็ไม่ถือว่าบริษัทดังกล่าวเป็นผู้ชำระหนี้ กรณีถือได้ว่าจำเลยทั้งสองรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้เมื่อวันที่ 29พฤษภาคม 2539 อายุความจึงสะดุดหยุดลง ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ ต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) และ 193/15 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกค่าซื้อสินค้าจากจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2541 ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่29 พฤษภาคม 2539 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้จากสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่เลิกแล้ว การเลิกสัญญาโดยปริยาย และผลของการหยุดคิดดอกเบี้ย
จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์ โดยมีข้อตกลงว่า ถ้าเงินในบัญชีของผู้ฝากมีไม่พอจ่ายตามเช็คโดยปกติ ธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินโดยสิ้นเชิง แต่เมื่อธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายให้ไป ผู้ฝากย่อมเป็นอันยอมรับผูกพันตนที่จะจ่ายเงินส่วนที่เกินคืนให้ธนาคาร เสมือนหนึ่งได้ร้องขอเบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารและธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเงินที่เบิกเกินบัญชีเป็นรายวัน แล้วนำดอกเบี้ยนั้นไปหักบัญชีเป็นรายเดือนจึงมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วย แต่เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดระยะเวลาคู่สัญญาจึงอาจบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859
การบอกเลิกสัญญาสามารถกระทำได้โดยแสดงเจตนาแจ้งชัดไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง หรือมีพฤติการณ์อันถือได้ว่าคู่สัญญามีเจตนาจะเลิกสัญญากันโดยปริยายก็ได้เมื่อปรากฏตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2526 ต่อจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย คงมีแต่รายการที่แสดงถึงดอกเบี้ยเท่านั้นเอง ถือได้ว่า โจทก์เจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยโดยปริยายแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์หยุดคิดดอกเบี้ยทบต้นคือวันที่ 30 มิถุนายน 2530 แม้โจทก์จะมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2540 ก็ไม่ทำให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดที่เลิกกันไปแล้วกลับมีผลบังคับกันต่อไปได้อีก การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 เกิน 10 ปี จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ดอกเบี้ยเกินอัตราและผลกระทบต่อการเรียกร้องหนี้และการหักชำระ
การที่จำเลยชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ ทั้งที่รู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยจึงไม่อาจเรียกร้องคืนหรือให้นำมาหักหนี้ที่จำเลยค้างชำระอยู่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407
เมื่อจำเลยชำระหนี้ครั้งที่ 6 จำนวน 250,000 บาท จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวไปหักชำระดอกเบี้ยและต้นเงินที่ค้างชำระในวันที่ 16 พฤษภาคม 2540 การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดให้นำเงินไปหักในวันดังกล่าว แต่กลับให้นำไปหักจากต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยที่คำนวณได้ในวันที่จำเลยชำระเสร็จ จึงขัดกับ ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง ทำให้จำเลยต้องชำระหนี้ดอกเบี้ยมากกว่าที่ควรเพราะความรับผิดของดอกเบี้ยจะมากหรือน้อย ย่อมแปรผันไปตามจำนวนต้นเงิน กล่าวคือ ถ้าต้นเงินมาก ดอกเบี้ยที่จะต้องชำระก็มาก หากต้นเงินน้อย ดอกเบี้ยก็จะน้อย
แม้เช็คพิพาท มีหนี้ในส่วนที่เป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ มิใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมดโจทก์จึงมีสิทธินำเช็คดังกล่าวฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เช็ค การคิดดอกเบี้ยทบต้นที่เกินอัตราตามกฎหมาย และการหักชำระหนี้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คธนาคาร ก. ลงวันที่ 5 มิถุนายน2540 จำนวนเงิน 691,960 บาท เพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ โดยระบุข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าเมื่อเช็คถึงกำหนดชำระ โจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน และมีคำขอบังคับให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่ลงในเช็ค เป็นการบรรยายฟ้องครบถ้วนแล้ว ส่วนการออกเช็คเป็นการชำระหนี้ค่าอะไร มูลหนี้เกิดจากอะไร และชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นรายละเอียดที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณาไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ก่อนที่จำเลยจะชำระหนี้ด้วยเช็คพิพาท จำเลยเคยชำระหนี้ให้โจทก์มาแล้วรวม6 ครั้ง เป็นการชำระหนี้เพื่อไถ่ถอนจำนอง 5 ครั้ง ซึ่งการชำระหนี้แต่ละครั้งไม่พอที่จะเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด จึงต้องหักชำระดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดไปก่อนที่จะชำระต้นเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 วรรคหนึ่ง และถือว่าการที่จำเลยชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ ทั้งที่รู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยจึงไม่อาจเรียกร้องคืนหรือให้นำมาหักหนี้ที่จำเลยค้างชำระอยู่ได้ตามมาตรา 407
แม้เช็คพิพาทมีหนี้ในส่วนที่เป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย โจทก์ก็ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ มิใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมก่อนล้มละลาย ถือเป็นการชำระหนี้ที่มีค่าตอบแทน ไม่เป็นการให้โดยเสน่หา
การที่ลูกหนี้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมให้แก่ธนาคารผู้คัดค้าน แม้จะเป็นการชำระหนี้เพื่อให้หนี้ระงับก็ตาม แต่ก็สืบเนื่องจากการที่ผู้คัดค้านให้จำเลยกู้เงินและกู้เบิกเงินเกินบัญชี จึงเป็นการที่จำเลยได้รับประโยชน์จากการนำเงินที่รับอนุมัติให้กู้จากผู้คัดค้านไปใช้ในธุรกิจของจำเลย การชำระหนี้ของจำเลยไม่ใช่เป็นการทำให้โดยเสน่หาหรือให้เปล่า ๆ ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยมีค่าตอบแทนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 114(เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงวิธีชำระหนี้ไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่ ผู้ค้ำประกันยังคงต้องรับผิด
การที่ ด. ผู้ค้ำประกันมีหนังสือถึงโจทก์ขอผ่อนชำระหนี้ทั้งหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งควรจะชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ให้เสร็จสิ้นในครั้งเดียวแต่ก็ขอแบ่งชำระเป็นงวด ๆ เป็นเพียงเปลี่ยนแปลงวิธีชำระหนี้เก่าให้ผิดไปจากเดิม มิใช่เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้จึงไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ที่จะทำให้หนี้ระงับ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันอีกคนหนึ่งจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์เกินกว่าหนี้ตามคำพิพากษาและการดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 304
โจทก์เพียงแถลงขอยึดทรัพย์ของจำเลยเพิ่มเพราะยังได้รับชำระหนี้จากจำเลยไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษา
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะสั่งอนุญาตแต่ก็มีเงื่อนไขว่าต้องไม่เกินยอดหนี้ ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานที่ดินได้ดำเนินการเกี่ยวกับการยึดที่ดินของจำเลยตามคำร้องตามวิธีการที่ ป.วิ.พ. มาตรา 304 บัญญัติไว้แต่อย่างใด ไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าเป็นการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้หรือไม่ และต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 284 วรรคหนึ่ง ดังจำเลยอ้างหรือไม่ กรณีตามคำร้องยังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิเกิดขึ้น จำเลยจึงไม่อาจใช้สิทธิทางศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์เกินกว่าหนี้: การดำเนินการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและการพิสูจน์การยึดทรัพย์ที่ถูกต้อง
กรณีที่จะเป็นการยึดอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 304 บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำโดยนำหนังสือสำคัญสำหรับทรัพย์สินนั้นมาและฝากไว้ ณสถานที่ใด หรือแก่บุคคลใดตามที่เห็นสมควร และแจ้งการยึดนั้นให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงานที่ดินผู้มีหน้าที่ทราบ ให้เจ้าพนักงานที่ดินบันทึกการยึดไว้ในทะเบียนเมื่อโจทก์เพียงแถลงขอยึดทรัพย์ของจำเลยเพิ่มเพราะยังได้รับชำระหนี้ไม่ครบถ้วน แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะสั่งอนุญาตแต่ก็มีเงื่อนไขว่าต้องไม่เกินยอดหนี้ ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานที่ดินได้ดำเนินการเกี่ยวกับการยึดที่ดินของจำเลยตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้ข้างต้น จึงไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าเป็นการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้หรือไม่และต้องห้ามตามมาตรา 284 วรรคหนึ่ง หรือไม่ กรณีตามคำร้องของจำเลยยังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิเกิดขึ้น จำเลยจึงไม่อาจใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งห้ามโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีหนี้รองรับ: การกระทำไม่ผิด พ.ร.บ. เช็ค หากไม่มีหนี้ที่บังคับได้ ณ เวลาออกเช็ค
โจทก์ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินไว้ต่อธนาคารเพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่มีต่อธนาคารดังกล่าว ต่อมาจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทธนาคารเดียวกันให้แก่โจทก์เพื่อนำไปเบิกเงินและไถ่ถอนจำนองที่ดินแต่ธนาคารปฏิเสธ การจ่ายเงิน หลังจากนั้นโจทก์ถูกธนาคารฟ้องบังคับจำนอง ดังนี้เป็นที่เห็นได้ว่า ในขณะที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทนั้นจำเลยไม่มีหนี้ที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยอันเนื่องจากโจทก์ถูกธนาคารบังคับชำระหนี้แทนจำเลย ฉะนั้น เมื่อจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยยังไม่มีหนี้ซึ่งอาจบังคับได้ ที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยออกเช็คก่อนถูกบังคับชำระหนี้แทนโจทก์ ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
โจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินไว้ต่อธนาคาร ก. เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่มีต่อธนาคาร ก. ต่อมาจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คธนาคาร ก. ให้แก่โจทก์เพื่อนำไปเบิกเงินและไถ่ถอนจำนอง แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน หลังจากนั้นโจทก์ได้ถูกธนาคาร ก. ฟ้องบังคับจำนองคดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี ขณะที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คโจทก์จึงยังมิได้ถูกธนาคารซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยฟ้องบังคับจำนองหรือโจทก์ได้ชำระหนี้จำนองให้แก่ธนาคารแล้ว ณ ขณะนั้นจำเลยไม่มีหนี้ที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลย อันเนื่องจากโจทก์ถูกธนาคารบังคับชำระหนี้แทนจำเลย ฉะนั้น เมื่อจำเลยสั่งจ่ายเช็ค โดยยังไม่มีหนี้ซึ่งอาจบังคับได้ที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4
of 145