พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการโอนทรัพย์เพื่อล้มละลาย แม้ผู้ซื้อสุจริต แต่รู้ถึงหนี้สินของลูกหนี้ การคิดดอกเบี้ยเริ่มเมื่อศาลสั่งเพิกถอน
ทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ติดจำนองอยู่แก่ผู้คัดค้านที่3ผู้คัดค้านที่1และที่2ซื้อทรัพย์พิพาทจากลูกหนี้โดยกู้เงินจากผู้คัดค้านที่3เท่ากับยอดเงินต้นที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้คัดค้านที่3นำไปชำระราคาทรัพย์พิพาทส่วนหนึ่งแล้วลูกหนี้ได้นำเงินไปไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้คัดค้านที่1และที่2จากนั้นผู้คัดค้านที่1และที่2ได้จดทะเบียนจำนองทรัพย์พิพาทเป็นประกันหนี้เงินกู้ดังกล่าวแก่ผู้คัดค้านที่3ในวันเดียวกันมีลักษณะเป็นการเปลี่ยนตัวผู้จำนองจากลูกหนี้มาเป็นผู้คัดค้านที่1และที่2ซึ่งแม้จะไม่เปลี่ยนตัวผู้จำนองสิทธิจำนองก็ย่อมติดไปกับตัวทรัพย์พิพาทอยู่แล้วทั้งจำนวนเงินจำนองที่เปลี่ยนไปก็ลดลงจากเดิมไม่ก่อให้เกิดสิทธิเพิ่มขึ้นแก่ผู้คัดค้านที่3หรือทำให้เจ้าหนี้ของลูกหนี้เสียหายแต่อย่างใดฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่3รับจำนองโดยสุจริตแม้ศาลจะเพิกถอนการโอนระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่1และที่2ก็ไม่กระทบถึงสิทธิของผู้คัดค้านที่3ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา116 การเพิกถอนการโอนเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ยังคงถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่จึงถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่1และที่2ต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเท่านั้นปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการค้ำประกัน, ภูมิลำเนา, เหตุล้มละลาย: การพิจารณาคำฟ้องขอให้ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่2เป็นบุคคลล้มละลายเนื่องจากเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. ได้ขอกู้ยืมเงินโจทก์ในฐานะผู้ส่งออกเพื่อจัดซื้อและเตรียมส่งสินค้าออกไปต่างประเทศโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นประกันหนี้ดังกล่าวด้วยมิใช่ฟ้องบังคับจำเลยที่2ให้ร่วมรับผิดในมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยตรงสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่มีกำหนดอายุความโดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปี โจทก์ส่งหนังสือทวงถามไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่2ให้ชำระหนี้ไม่น้อยกว่า2ครั้งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า30วันแม้ไม่มีผู้รับหนังสือก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่2หลบเลี่ยงไม่ยอมรับถือว่าเป็นการส่งโดยชอบแล้วพฤติการณ์ของจำเลยที่2ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา8(4)(9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1095-1097/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยระบุเจาะจงคดี การนำเงินไปชำระหนี้อื่นขัดต่อกฎหมาย
จำเลยที่5ซึ่งเป็นลูกหนี้ได้ชำระหนี้โดยระบุด้านหลังเช็คทุกฉบับไว้ชัดว่าให้นำไปชำระหนี้ตามคดีกลุ่มที่พิพากษาในปี2526ทั้งสามสำนวนในคดีนี้โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์คัดค้านแต่ประการใดการที่โจทก์นำเงินจำนวนตามเช็คดังกล่าวไปเฉลี่ยชำระหนี้ของจำเลยที่5ตามคดีกลุ่มที่พิพากษาในปี2528ซึ่งเป็นหนี้รายอื่นนอกจากที่จำเลยที่5ระบุไว้จึงเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา328วรรคหนึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6996/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้และการพิสูจน์การชำระหนี้: จำเลยต้องพิสูจน์การชำระหนี้เมื่อรับสภาพหนี้แล้ว
ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันและจำเลยทั้งสองจดจำนองที่ดินเป็นประกัน เมื่อบอกเลิกสัญญาจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์จำนวนหนึ่งจำเลยทั้งสองให้การรับตามคำฟ้อง แต่ต่อสู้ว่าได้ชำระหนี้ไปบางส่วนยอดหนี้ที่ฟ้องไม่ถูกต้อง เป็นการรับว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ไปจริงและยังคงค้างชำระหนี้อยู่ โดยได้ชำระเงินไปบางส่วนเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องพิสูจน์ว่าได้ชำระหนี้โจทก์ไปแล้วเท่าไร หาใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้อยู่เท่าไรไม่ แม้โจทก์ไม่มีพยานมาสืบ แต่จำเลยนำสืบไม่ได้ว่าชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว ก็ต้องฟังว่าเป็นหนี้โจทก์อยู่ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6249/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเดินสะพัด: การตัดบัญชีหนี้สินและดอกเบี้ยระหว่างธนาคารกับลูกค้า
ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและระเบียบการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ข้อ 11 มีข้อความว่า ถ้าบัญชีของผู้ฝากมีเงินไม่พอจ่ายตามเช็ค ธนาคารมีสิทธิปฏิเสธการจ่ายเงิน ทั้งมีสิทธิที่จะปิดบัญชีของผู้ฝาก โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และยินยอมให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คไปก่อนได้ถึงแม้ว่าเงินในบัญชีของผู้ฝากมีไม่พอจ่าย โดยผู้ฝากยอมใช้เงินส่วนที่ธนาคารจ่ายเกินบัญชีนั้นคืนพร้อมทั้งยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารเรียกเก็บได้ขณะนั้น นับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินโดยที่เจ้าของบัญชีจะรับทราบหรือไม่ก็ตามข้อ 16 มีใจความว่า ให้ธนาคารมีสิทธิหักหนี้สินใด ๆ ที่ผู้ฝากเป็นหนี้ธนาคารอยู่ และข้อ 17 มีใจความว่า ธนาคารจะจัดส่งรายการเดินสะพัดของบัญชีเงินฝากไปยังผู้ฝาก เมื่อพิจารณาข้อความดังกล่าวเห็นได้ว่าคู่กรณีมีเจตนาที่จะเดินสะพัดบัญชีกัน ดังนั้นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6221/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นหนี้สินที่เคยยกเป็นข้อต่อสู้ในคดีแบ่งสินสมรสแล้ว แม้ไม่ได้ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความ ก็ถือเป็นฟ้องซ้ำ
จำเลยเคยฟ้องโจทก์ขอให้ส่งมอบสินส่วนตัวและแบ่งสินสมรส โจทก์ให้การประการหนึ่งว่าโจทก์เป็นหนี้ธนาคารซึ่งโจทก์กู้มาใช้ในครอบครัว หากต้องแบ่งสินสมรสให้จำเลยแล้วจะต้องหักเงินดังกล่าวกึ่งหนึ่งให้โจทก์ด้วย ต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่ได้กล่าวถึงหนี้ดังกล่าวศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดการที่โจทก์นำหนี้สินซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนมาฟ้องเป็นคดีอีก จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6221/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประนีประนอมยอมความครอบคลุมหนี้สินแล้ว แม้ไม่ได้ระบุชัดเจน
ในคดีก่อน จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้ส่งมอบสินส่วนตัวและแบ่งสินสมรสโจทก์ให้การว่า โจทก์เป็นหนี้ธนาคาร ก. จำนวน 50,000 บาทซึ่งกู้มาใช้ในครอบครัว หากจะต้องแบ่งสินสมรสให้จำเลยจะต้องหักเงินจำนวน 25,000 บาท ให้โจทก์ด้วย ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมถึงที่สุดโดยไม่ได้กล่าวถึงหนี้จำนวน 50,000 บาท ดังกล่าว เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ให้ธนาคาร ก. ไปแล้ว โจทก์มาฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดครึ่งหนึ่งเป็นคดีนี้ กรณีเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 วรรคแรก เพราะปัญหาหนี้สินที่โจทก์นำมาฟ้องนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อน ซึ่งได้มีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีแล้ว แม้ศาลจะมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ในชั้นชี้สองสถานในคดีก่อนก็ตาม และข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ว่าโจทก์จำเลยไม่ติดใจเรียกร้องมากไปกว่านี้อีกย่อมหมายถึงหนี้สินที่โจทก์ฟ้องนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6164/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแทน, การแก้ไขคำฟ้อง, และการพิสูจน์หนี้: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการฟ้องร้องและการแก้ไขคำฟ้องในคดีหนี้สิน
หนังสือมอบอำนาจระบุให้ อ. ดำเนินคดีทางศาลแทนโจทก์ได้ทั่วไปในคดีทุกชนิด ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีล้มละลาย จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไป แม้โจทก์จะได้มอบอำนาจโดยมิได้ระบุให้ฟ้องผู้ใดเป็นจำเลย และมอบอำนาจไว้นานเพียงใด อ. ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์โดยไม่จำต้องมีหนังสืออนุญาตจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยอีก
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงจำนวนหนี้พร้อมดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระโจทก์แจ้งชัดพอที่จำเลยจะเข้าใจแล้ว ส่วนโจทก์จะคิดดอกเบี้ยอย่างไร จากยอดเงินใด ระยะเวลาเท่าใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาและแสดงหลักฐานต่าง ๆ ประกอบข้อเท็จจริงในฟ้องได้ หาทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีไม่ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยยังติดค้างหนี้โจทก์เฉพาะต้นเงินยังไม่รวมดอกเบี้ยจำนวน 2,703,000 บาทเศษ แม้จำเลยจะยังโต้เถียงอยู่ว่าโจทก์คำนวณดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง ก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ซึ่งอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่า 500,000 บาท
โจทก์ขอแก้ไขจำนวนหนี้ในฟ้องให้ถูกต้องตามความเป็นจริงเมื่อแก้แล้วจำนวนหนี้โดยเฉพาะต้นเงินก็ยังไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ตามเดิมและในเรื่องนี้ศาลฎีกาก็วินิจฉัยไว้เพียงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ในต้นเงินไม่น้อยกว่า500,000 บาท โดยมิได้ชี้ชัดในชั้นนี้ว่ายอดหนี้ทั้งหมดที่ถูกต้องเป็นเท่าใด เพราะจะต้องไปว่ากันในชั้นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อยู่แล้ว ฉะนั้นฎีกาของจำเลยที่ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเป็นการไม่ชอบ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องหรือไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยคงมีแต่พยานบุคคลมาสืบต่อสู้ว่าชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วโดยไม่ปรากฏว่าได้อ้างอิงพยานเอกสารแสดงถึงการชำระหนี้ หากให้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบอีกในประเด็นนี้ก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตัดพยานบุคคลของจำเลยที่จะนำสืบในประเด็นดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงจำนวนหนี้พร้อมดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระโจทก์แจ้งชัดพอที่จำเลยจะเข้าใจแล้ว ส่วนโจทก์จะคิดดอกเบี้ยอย่างไร จากยอดเงินใด ระยะเวลาเท่าใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาและแสดงหลักฐานต่าง ๆ ประกอบข้อเท็จจริงในฟ้องได้ หาทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีไม่ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยยังติดค้างหนี้โจทก์เฉพาะต้นเงินยังไม่รวมดอกเบี้ยจำนวน 2,703,000 บาทเศษ แม้จำเลยจะยังโต้เถียงอยู่ว่าโจทก์คำนวณดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง ก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ซึ่งอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่า 500,000 บาท
โจทก์ขอแก้ไขจำนวนหนี้ในฟ้องให้ถูกต้องตามความเป็นจริงเมื่อแก้แล้วจำนวนหนี้โดยเฉพาะต้นเงินก็ยังไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ตามเดิมและในเรื่องนี้ศาลฎีกาก็วินิจฉัยไว้เพียงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ในต้นเงินไม่น้อยกว่า500,000 บาท โดยมิได้ชี้ชัดในชั้นนี้ว่ายอดหนี้ทั้งหมดที่ถูกต้องเป็นเท่าใด เพราะจะต้องไปว่ากันในชั้นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อยู่แล้ว ฉะนั้นฎีกาของจำเลยที่ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเป็นการไม่ชอบ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องหรือไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยคงมีแต่พยานบุคคลมาสืบต่อสู้ว่าชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วโดยไม่ปรากฏว่าได้อ้างอิงพยานเอกสารแสดงถึงการชำระหนี้ หากให้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบอีกในประเด็นนี้ก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตัดพยานบุคคลของจำเลยที่จะนำสืบในประเด็นดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6164/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจทั่วไป, การฟ้องล้มละลาย, หนี้สิน, การแก้ไขคำฟ้อง, พยานหลักฐาน
หนังสือมอบอำนาจระบุให้ อ. ดำเนินคดีทางศาลแทนโจทก์ได้ทั่วไปในคดีทุกชนิด ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีล้มละลายจึงเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไป แม้โจทก์จะได้มอบอำนาจโดยมิได้ระบุให้ฟ้องผู้ใดเป็นจำเลย และมอบอำนาจไว้นานเพียงใด อ. ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์โดยไม่จำต้องมีหนังสืออนุญาตจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยอีก ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงจำนวนหนี้พร้อมดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระโจทก์แจ้งชัดพอที่จำเลยจะเข้าใจแล้ว ส่วนโจทก์จะคิดดอกเบี้ยอย่างไรจากยอดเงินใด ระยะเวลาเท่าใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาและแสดงหลักฐานต่าง ๆ ประกอบข้อเท็จจริงในฟ้องได้หาทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีไม่ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยยังติดค้างหนี้โจทก์เฉพาะต้นเงินยังไม่รวมดอกเบี้ยจำนวน 2,703,000 บาทเศษ แม้จำเลยจะยังโต้เถียงอยู่ว่า โจทก์คำนวณดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง ก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ซึ่งอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่า 500,000 บาท โจทก์ขอแก้ไขจำนวนหนี้ในฟ้องให้ถูกต้องตามความเป็นจริงเมื่อแก้แล้วจำนวนหนี้โดยเฉพาะต้นเงินก็ยังไม่น้อยกว่า 500,000 บาทตามเดิมและในเรื่องนี้ศาลฎีกาก็วินิจฉัยไว้เพียงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ในต้นเงินไม่น้อยกว่า 500,000 บาท โดยมิได้ชี้ขัดในชั้นนี้ว่ายอดหนี้ทั้งหมดที่ถูกต้องเป็นเท่าใด เพราะจะต้องไปว่ากันในชั้นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อยู่แล้ว ฉะนั้นฎีกาของจำเลยที่ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเป็นการไม่ชอบ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องหรือไม่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยคงมีแต่พยานบุคคลมาสืบต่อสู้ว่าชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วโดยไม่ปรากฏว่าได้อ้างอิงพยานเอกสารแสดงถึงการชำระหนี้หากให้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบอีกในประเด็นนี้ก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตัดพยานบุคคลของจำเลยที่จะนำสืบในประเด็นดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3890/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้สินจากการซื้อขายกล่องกระดาษ: ไม่เข้าข่าย 'อุตสาหกรรม' ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 ให้คำนิยามความหมายของคำว่า "อุตสาหกรรม" ไว้ว่า การทำสิ่งของเพื่อให้เกิดผลประโยชน์เป็นกำไร ดังนี้ เมื่อกล่องกระดาษที่โจทก์ทำขึ้นนั้น จำเลยนำมาใช้สำหรับบรรจุเครื่องไฟฟ้าที่ผลิตสำเร็จแล้ว กล่องกระดาษเช่นว่านี้โดยลำพังคงเป็นเพียงอุปกรณ์ใช้ประจำอยู่กับสินค้าที่ผลิตเท่านั้น หาได้เป็นสินค้าที่จำเลยจำหน่ายได้ผลประโยชน์เป็นกำไรไม่ เท่ากับการประดิษฐ์กล่องกระดาษนั้นมิได้อยู่ในความหมายที่ว่า เป็นการที่ได้ทำเพื่ออุตสาหกรรมของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง ซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 วรรคท้าย สิทธิเรียกร้องหนี้สินรายนี้ของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปีโจทก์ยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว คดีจึงขาดอายุความ