พบผลลัพธ์ทั้งหมด 183 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี: การโต้แย้งอัตราภาษีและการวางหลักประกันก่อนมีคำชี้ขาด
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโจทก์ยื่น รายการเสียภาษีการค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าและ แบบแสดงรายการการค้า สำหรับสินค้ารายพิพาทในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ โดยขอ วางหลักประกันภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7.0 ของรายรับและ ทำหนังสือขอให้นำเรื่องเสนอต่อ คณะเจ้าหน้าที่ประสานงานภาษีการค้าพิจารณาเกี่ยวกับอัตราภาษีการค้าถ้าโจทก์ไม่วางหลักประกันจำเลยที่ 1 ก็ไม่ยอมปล่อยให้โจทก์นำเข้าซึ่งสินค้ารายพิพาทเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้เขียนสั่งการไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ของโจทก์ให้โจทก์วางหลักประกันภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7.0 แล้วส่งเรื่องให้คณะเจ้าหน้าที่ประสานงานภาษีการค้าพิจารณาดังนี้ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับภาษีการค้าสำหรับสินค้า รายพิพาทเกิดขึ้นแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์มีอำนาจฟ้อง
กระดาษลายน้ำมีตรานกวายุภักษ์ในวงกลมและพิมพ์ข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า THAILOTTERY เป็นกระดาษลายน้ำมิใช่เอกสารหรือสิ่งตีพิมพ์ต้องเสียภาษีการค้าอัตราร้อยละ 7.0 ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่ง ประมวลรัษฎากรหาใช่เสียภาษีการค้าอัตราร้อยละ 1.5 ของ รายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 6 ไม่
กระดาษลายน้ำมีตรานกวายุภักษ์ในวงกลมและพิมพ์ข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า THAILOTTERY เป็นกระดาษลายน้ำมิใช่เอกสารหรือสิ่งตีพิมพ์ต้องเสียภาษีการค้าอัตราร้อยละ 7.0 ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่ง ประมวลรัษฎากรหาใช่เสียภาษีการค้าอัตราร้อยละ 1.5 ของ รายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 6 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1858/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินเชื่อไม่มีหลักประกันไม่ทำให้เกิดความเสียหาย แม้ผิดหน้าที่ หากมีหลักประกันเพียงพอและโอกาสชำระหนี้
จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาสุขุมวิท ได้ปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้าหลายคนโดยไม่มีหลักทรัพย์เป็น ประกัน อันเป็นการเกินอำนาจที่โจทก์ร่วมได้ให้ไว้ ฝ่ายตรวจสอบฯ ของโจทก์ร่วมทราบและได้แจ้งให้จำเลยจัดการแก้ไข จำเลยได้โอนหนี้ของลูกค้าดังกล่าวไปเป็นหนี้ ของ บริษัท บ. รายเดียว เมื่อปรากฏว่าโจทก์ร่วมมีทางจะได้รับชำระหนี้ จากบริษัท บ. และจากหลักทรัพย์ต่างๆ ที่ บริษัท บ. เสนอเป็นประกันหนี้ โดยสิ้นเชิง และการที่จำเลย ปล่อยสินเชื่อดังกล่าว จำเลยไม่ได้รับประโยชน์ แต่อย่างใด ดังนี้ การกระทำของจำเลยหาเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ร่วมแต่อย่างใดไม่ และฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริต การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1858/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล่อยสินเชื่อเกินอำนาจไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของธนาคาร เมื่อมีหลักประกันเพียงพอและโอกาสชำระหนี้
จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาสุขุมวิทได้ปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้าหลายคนโดยไม่มีหลักทรัพย์เป็น ประกัน อันเป็นการเกินอำนาจที่โจทก์ร่วมได้ให้ไว้ฝ่ายตรวจสอบฯ ของโจทก์ร่วมทราบและได้แจ้งให้จำเลยจัดการแก้ไข จำเลยได้โอนหนี้ของลูกค้าดังกล่าวไปเป็นหนี้ ของ บริษัท บ. รายเดียว เมื่อปรากฏว่าโจทก์ร่วมมีทางจะได้รับชำระหนี้ จากบริษัท บ. และจากหลักทรัพย์ต่างๆที่ บริษัท บ. เสนอเป็นประกันหนี้ โดยสิ้นเชิงและการที่จำเลย ปล่อยสินเชื่อดังกล่าว จำเลยไม่ได้รับประโยชน์ แต่อย่างใดดังนี้ การกระทำของจำเลยหาเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ร่วมแต่อย่างใดไม่ และฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริต การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินเป็นประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี แม้เสนอชำระหนี้ไม่ครบ
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่โจทก์จำเลยทำไว้ต่อกัน มีข้อความที่เกี่ยวกับหลักประกันว่าให้โจทก์จำนองที่ดินโฉนดรายพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันและให้จำเลยยึดถือโฉนดดังกล่าวไว้เป็นหลักประกันจนกว่าจะได้รับชำระหนี้แล้วโดยสิ้นเชิงเมื่อโจทก์ยังเป็นหนี้จำเลยมากกว่าที่โจทก์จะชำระให้แก่จำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับชำระหนี้และยึดถือโฉนดไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3156/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการดำเนินคดีอย่างคนอนาถา: จำกัดเฉพาะค่าธรรมเนียมศาล ไม่ครอบคลุมหลักประกันการชำระหนี้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 155 การดำเนินคดีอย่างคนอนาถามีได้เฉพาะเกี่ยวกับเรื่องค่าธรรมเนียมศาลเท่านั้น แต่กรณีที่จะต้องนำหลักประกันมาประกันการชำระหนี้เพื่อขอทุเลาการบังคับตามคำพิพากษามิใช่เรื่องค่าธรรมเนียมศาล จึงจะขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนสิทธิการเช่าเป็นหลักประกันหนี้กู้ ไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่
จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์ ต่อมาจำเลยได้ทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์กับโจทก์มีข้อความว่าตาม ที่จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์ จำเลยตกลงโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์และโจทก์ตกลงรับโอนภายใต้เงื่อนไขบังคับก่อนว่า การโอนสิทธิการเช่ารายนี้จะบังเกิดผลสมบูรณ์ตามกฎหมายก็ต่อเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน ในการโอนสิทธิการเช่ารายนี้เมื่อผู้รับโอนตีราคาสิทธิการเช่าตามราคาทรัพย์ในท้องตลาดตามนัยแห่ง มาตรา 656 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเวลาและสถานที่ส่งมอบแล้ว หากได้เงินไม่พอชำระหนี้จำเลยยินยอมชำระหนี้ส่วนที่ขาดแก่โจทก์จนครบ และปรากฏต่อมาว่าจำเลยผิดนัดชำระเงินกู้ตามสัญญา ดังนี้หนี้เงินกู้เดิมซึ่งเป็นหนี้ประธานมีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่อย่างนั้น มิได้มีการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญอันจะทำให้หนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไป เพราะเมื่อตีราคาสิทธิการเช่าตามราคาทรัพย์ในท้องตลาดตามนัยแห่งมาตรา 656 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเวลาและสถานที่ส่งมอบแล้ว หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยยินยอมชำระหนี้ส่วนที่ขาดจนครบ สัญญาโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักประกันการชำระหนี้เงินกู้ เพื่อให้โจทก์สามารถบังคับเอาชำระหนี้เงินกู้ได้เท่านั้น หาเป็นการแปลงหนี้ใหม่ไม่ เมื่อโจทก์ไม่สามารถรับโอนสิทธิการเช่าตามสัญญาเนื่องจากจำเลยอ้างว่ายังมิได้ผิดสัญญา จำเลยก็ต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี: สิทธิในการขอหลักประกันจำกัดเฉพาะทรัพย์สินที่พิพาท
การร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 คู่ความฝ่ายใดในคดีนั้น ๆ จะร้องขอก็ได้ แต่จะต้องเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องขอ เพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดีนั้น ได้รับความคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษา กรณีที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินนี้มิใช่พิพาทกันด้วยทรัพย์สิน หรือสิทธิ หรือประโยชน์อันจำเลยจะร้องขอเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยจะขอให้โจทก์นำทรัพย์สินหรือเงินมาวางศาลตามมาตรานี้ไม่ได้ และจะขอให้โจทก์หาประกันหรือหลักประกันมาวางศาลก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ทำเช่นนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3060/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาโดยใช้สินสมรสเป็นหลักประกัน ไม่ต้องมียินยอมจากภริยา
การที่จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาต่อโจทก์ โดยระบุเรือนอันเป็นสินสมรสไว้ท้ายสัญญาประกันเพื่อเป็นการแสดงหลักทรัพย์หาใช่เป็นนิติกรรมในการจัดการสินสมรสซึ่งสามีภริยาจะต้องจัดการร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1476 ไม่สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาจึงเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์และผูกพันจำเลยโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา ส่วนจะเป็นผลทำให้มีการยึดเรือนนั้นเมื่อมีการผิดสัญญาประกันก็เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คโดยรู้ว่าไม่มีเงินในบัญชีเพื่อเป็นหลักประกันและดำเนินคดีอาญา ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
โจทก์ร่วมรู้ดีว่าขณะที่จำเลยออกเช็ค ธนาคารได้ปิดบัญชีของจำเลยแล้ว การรับเช็คไว้มิใช่เพื่อให้ได้รับชำระหนี้ตามเช็ค แต่รับไว้เพื่อเป็นประกันและเพื่อใช้เช็คดังกล่าวดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยเพื่อบีบบังคับให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภริยาผู้ตายมีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์มรดกให้ผู้จัดการมรดก แม้จะมีการนำไปเป็นหลักประกันหนี้สิน แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โฉนดที่ดินมรดกและสมุดฝากเงิน ธนาคารของผู้ตายอยู่ในความครอบครองของจำเลยภริยาผู้ตาย จำเลยจึงมีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์ดังกล่าวให้โจทก์ผู้จัดการมรดก