พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแต่งตั้งทนายความของหุ้นส่วนผู้จัดการ: การแต่งตั้งทนายความของห้างหุ้นส่วน และการระบุผู้แต่งตั้งในใบแต่งทนาย
ซ. หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนโจทก์ แต่งตั้งให้ ป.เป็นทนายความ แม้ว่าในใบแต่งทนายจะระบุว่า ซ. เป็นผู้แต่งตั้งทนาย แต่ ซ. ได้ลงชื่อและประทับตราของห้างหุ้นส่วนโจทก์ไว้ด้วยแสดงถึงอำนาจในการแต่งตั้งทนายความแทนห้างหุ้นส่วนโจทก์ไว้แล้ว ส่วนด้านหลังใบแต่งทนาย แม้ ป.ผู้รับเป็นทนายจะระบุรับเป็นทนายให้ ซ. โดยมิได้ระบุถึงห้างหุ้นส่วนโจทก์ซึ่ง ซ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการก็ไม่อาจแปลได้ว่า ป.รับเป็นทนายในฐานะส่วนตัวของ ซ. ดังนั้น การที่ ป. ลงชื่อเป็นผู้ฟ้องคดีของห้างหุ้นส่วนโจทก์ จึงหาเป็นการไม่ชอบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาโดยหุ้นส่วนผู้จัดการ แม้ไม่มีตราบริษัท ก็ผูกพันบริษัทได้ หากทำในนามบริษัท
โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดและหุ้นส่วนผู้จัดการในฐานะส่วนตัวเป็นจำเลยร่วมกันเรื่องผิดสัญญาเช่า จำเลยให้การว่าหุ้นส่วนผู้จัดการในฐานะส่วนตัวเป็นคู่สัญญากับโจทก์ ห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ต้องรับผิดเพราะหุ้นส่วนผู้จัดการลงชื่อในสัญญาโดยไม่ได้ประทับตราของห้างหุ้นส่วนจำกัด แต่ทางพิจารณาได้ความว่าในการทำสัญญาอื่น ๆ หุ้นส่วนผู้จัดการได้ลงชื่อในสัญญาเหล่านั้นในนามห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยไม่ได้ประทับตราของห้างหุ้นส่วนจำกัดและสัญญาเช่ารายพิพาทหุ้นส่วนผู้จัดการก็ทำในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ดังนี้ต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนผู้จัดการทำสัญญาเช่ารายพิพาทในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องรับผิดตามสัญญา หุ้นส่วนผู้จัดการไม่ต้องรับผิดในฐานะส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามสัญญาของหุ้นส่วนผู้จัดการ: แม้ไม่มีตราบริษัท แต่ลงนามในฐานะผู้จัดการ ย่อมผูกพันบริษัท
โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดและหุ้นส่วนผู้จัดการในฐานะส่วนตัวเป็นจำเลยร่วมกันเรื่องผิดสัญญาเช่า จำเลยให้การว่าหุ้นส่วนผู้จัดการในฐานะส่วนตัวเป็นคู่สัญญากับโจทก์ ห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ต้องรับผิดเพราะหุ้นส่วนผู้จัดการลงชื่อในสัญญาโดยไม่ได้ประทับตราของห้างหุ้นส่วนจำกัด แต่ทางพิจารณาได้ความว่าในการทำสัญญาอื่นๆ หุ้นส่วนผู้จัดการได้ลงชื่อในสัญญาเหล่านั้นในนามห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยไม่ได้ประทับตราของห้างหุ้นส่วนจำกัดและสัญญาเช่ารายพิพาทหุ้นส่วนผู้จัดการก็ทำในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดดังนี้ ต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนผู้จัดการทำสัญญาเช่ารายพิพาทในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องรับผิดตามสัญญา หุ้นส่วนผู้จัดการไม่ต้องรับผิดในฐานะส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่างประเทศในไทย: หุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจฟ้อง
หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนแต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับสิทธิการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของห้างหุ้นส่วนได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2499)
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศนั้นไม่มีผลบังคับในประเทศไทย แต่อาจเป็นข้อเท็จจริงที่จะใช้ฟังถึงสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของและการใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศนั้นไม่มีผลบังคับในประเทศไทย แต่อาจเป็นข้อเท็จจริงที่จะใช้ฟังถึงสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของและการใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 68/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของหุ้นส่วนผู้จัดการ: การฟ้องหนี้ห้างหุ้นส่วนโดยมิระบุตัวแทน
หนี้ของห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น ถ้าผู้จัดการหุ้นส่วนมาฟ้องไนนามของตนเองโดยไม่ระบุว่าฟ้องแทนห้างหุ้นส่วนหรือไนนามของห้างหุ้นส่วนสาลต้องตัดสินยกฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนผู้จัดการทำบัญชีพลาด ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายต่อหุ้นส่วนและเจ้าหนี้
หุ้นส่วน หุ้นส่วนผู้จัดการทำบัญชีพลาดต้องรับผิดเลิกหุ้นส่วนสามัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการจ่ายเงินของหุ้นส่วนผู้จัดการและการใช้จ่ายส่วนตัวในธุรกิจ
หุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจจ่ายเงินได้เพียงไร วิธีพิจารณาแพ่ง วิธีพิจารณาอาชญา การวินิจฉัยคดีแพ่งฟังข้อเท็จจริงตามคดีอาชญา ค่าธรรมเนียมถึงแม้โจทก์จะชนะไม่เต็มข้อหาก็ได้ค่าทนาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3757/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งของหุ้นส่วนผู้จัดการในความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่
จำเลยที่ 1 พักอยู่ที่ที่ทำงานและจะให้รถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุเป็นประจำในการทำงาน เหตุรถเฉี่ยวชนกันเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 22 นาฬิกา หลังจากเวลาเลิกงานตามปกติแล้ว ขณะจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปเติมน้ำมันแม้จะอยู่นอกเวลาทำงานแต่ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย จึงเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2
ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) ประกอบมาตรา 1087 ที่บัญญัติให้ผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวนนั้นมิได้ระบุข้อยกเว้นหรือเงื่อนไขแห่งการรับผิดของผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนแต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดด้วยจึงชอบแล้ว
ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) ประกอบมาตรา 1087 ที่บัญญัติให้ผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวนนั้นมิได้ระบุข้อยกเว้นหรือเงื่อนไขแห่งการรับผิดของผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนแต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดด้วยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดในหนี้สินของห้าง และอายุความค่าเสียหายค่าขาดประโยชน์
จำเลยร่วมมีฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างโจทก์ จำเลยร่วมจึงเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดซึ่งจะต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างโจทก์โดยไม่จำกัดจำนวนและผลแห่งคำพิพากษาหรือข้อเท็จจริงในคดีผูกพันบังคับแก่จำเลยร่วม จำเลยร่วมจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีโดยตรงในคดีที่โจทก์ถูกจำเลยฟ้องแย้งให้รับผิดตามสัญญา จำเลยจึงมีอำนาจยื่นคำร้องและชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีให้ร่วมรับผิดกับโจทก์ในส่วนฟ้องแย้งได้
บทบัญญัติ ป.พ.พ.มาตรา 563 ที่ว่า คดีอันผู้ให้เช่าจะฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่า ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่านั้นเป็นการบังคับเฉพาะกรณีที่ผู้เช่ายอมส่งมอบที่ดินที่เช่าคืน แต่ตามฟ้องแย้งจำเลยที่ให้โจทก์และจำเลยร่วมชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี ย่อมไม่ขาดอายุความ
บทบัญญัติ ป.พ.พ.มาตรา 563 ที่ว่า คดีอันผู้ให้เช่าจะฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่า ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่านั้นเป็นการบังคับเฉพาะกรณีที่ผู้เช่ายอมส่งมอบที่ดินที่เช่าคืน แต่ตามฟ้องแย้งจำเลยที่ให้โจทก์และจำเลยร่วมชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี ย่อมไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของหุ้นส่วนผู้จัดการต่อความผิดของนิติบุคคล: พยานหลักฐานต้องแสดงการสั่งการหรือกระทำความผิดโดยตรง
พยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอฟังว่า ในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 90/5 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ.2560