คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อสังหาริมทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 440 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ด้วยพยานบุคคลขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาซื้อขายซึ่งต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นตัวแทนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลผูกพัน และจำกัดสิทธิในการฎีกาเรื่องข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงิน 200,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดขอให้ยกฟ้อง ทุกทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียง200,000 บาท หาใช่จำนวน 238,568.49 บาท ดังที่จำเลยระบุจำนวนทุนทรัพย์มาหน้าคำฟ้องฎีกาจำเลยไม่ จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง (อ้างฎีกาที่ 1926/2527 ประชุมใหญ่) จำเลยฎีกาว่า จำเลยซื้อที่ดินและอาคารพิพาทเพื่อตนเองไม่ได้เป็นตัวแทนโจทก์ในการทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาท ซึ่งศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่าในการทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทจำเลยได้กระทำไปในฐานะเป็นตัวแทนโจทก์ ฎีกาจำเลยจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 เป็นบทบังคับเพื่อความสมบูรณ์ของสัญญาที่ตัวแทนกระทำต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น มิได้ใช้บังคับสำหรับข้อพิพาทระหว่างตัวการกับตัวแทนด้วยกัน เมื่อมูลหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นมูลหนี้ตามสัญญาตัวแทน จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของบทกฎหมายดังกล่าว ระหว่างโจทก์จำเลยไม่จำต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7316/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะ แม้มีการชำระเงินบางส่วน
แม้ตามสำเนาเอกสารท้ายคำฟ้องไม่ได้ระบุว่าเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาซื้อขาย เพียงแต่ระบุว่า วันนี้นายบัว เครือวงศ์ (โจทก์) ได้นำเงินมาชำระค่าบ้านและที่ดินจำนวน 49,000 บาท โดยราคาซื้อขายตกลงเป็นเงิน88,200 บาท ยังค้างจ่ายอีก 39,200 บาท ผู้ซื้อจะนำมาชำระให้ผู้ขายภายในเดือนพฤษภาคม 2526 จำนวน 10,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 29,200 บาท ถ้าผู้ซื้อไม่นำมาจ่ายให้ในเดือนถัดไป ผู้ขายจะคิดดอกเบี้ยตามเงินที่ค้างจ่ายทุกเดือนตามกฎหมาย ถ้าหากผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญา ยินยอมให้ผู้ขายฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายตลอดค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมทุกอย่างในการทวงถามและฟ้องร้องตามความเป็นจริงโดยไม่มีข้อแม้ใด ๆ ก็ตาม ซึ่งเมื่ออ่านข้อความทั้งหมดแล้วเห็นได้ว่าเป็นการซื้อขายกันเด็ดขาดโดยชำระราคาในวันซื้อขายส่วนหนึ่งและผ่อนชำระราคาที่เหลืออีกส่วนหนึ่งหากไม่ชำระตามนัดก็ให้คิดดอกเบี้ยได้ตามกฎหมาย เมื่อทรัพย์ที่ซื้อขายกันเป็นอสังหา-ริมทรัพย์และทำหนังสือสัญญากันเอง มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การซื้อขายจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคหนึ่ง จะฟ้องร้องบังคับตามสัญญามิได้ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมา ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7316/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะ แม้มีการผ่อนชำระ
แม้ตามสำเนาเอกสารท้ายคำฟ้องไม่ได้ระบุว่าเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาซื้อขาย เพียงแต่ระบุว่า วันนี้นายบัว เครือวงศ์ (โจทก์) ได้นำเงินมาชำระค่าบ้านและที่ดินจำนวน 49,000 บาท โดยราคาซื้อขายตกลงเป็นเงิน 88,200 บาท ยังค้างจ่ายอีก 39,200 บาทผู้ซื้อจะนำมาชำระให้ผู้ขายภายในเดือนพฤษภาคม 2526จำนวน 10,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 29,200 บาท ถ้าผู้ซื้อไม่นำมาจ่ายให้ในเดือนถัดไป ผู้ขายจะคิดดอกเบี้ยตามเงินที่ค้างจ่ายทุกเดือนตามกฎหมาย ถ้าหากผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญายินยอมให้ผู้ขายฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายตลอดค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมทุกอย่างในการทวงถามและฟ้องร้องตามความเป็นจริงโดยไม่มีข้อแม้ใด ๆก็ตาม ซึ่งเมื่ออ่านข้อความทั้งหมดแล้วเห็นได้ว่าเป็นการซื้อขายกันเด็ดขาดโดยชำระราคาในวันซื้อขายส่วนหนึ่งและผ่อนชำระราคาที่เหลืออีกส่วนหนึ่งหากไม่ชำระตามนัดก็ให้คิดดอกเบี้ยได้ตามกฎหมาย เมื่อทรัพย์ที่ซื้อขายกันเป็นอสังหาริมทรัพย์และทำหนังสือสัญญากันเอง มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การซื้อขายจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคหนึ่งจะฟ้องร้องบังคับตามสัญญามิได้ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมา ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6890/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลแพ่งรับฟ้องข้ามเขต: ดุลพินิจพิจารณาคดีแม้ข้อกฎหมายกำหนดเขตศาล
แม้คำฟ้องโจทก์เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดนนทบุรีที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องก็ตาม แต่เมื่อศาลแพ่งได้สั่งรับฟ้องคดีนี้ไว้แล้ว ย่อมถือว่าศาลแพ่งได้ใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14 (4) ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องต่อศาลแพ่งแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6890/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: ศาลแพ่งรับฟ้องคดีที่เกี่ยวข้องอสังหาริมทรัพย์ แม้ตามกฎหมายต้องฟ้องที่ศาลจังหวัด
แม้คำฟ้องโจทก์เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดนนทบุรีที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องก็ตาม แต่เมื่อศาลแพ่งได้สั่งรับฟ้องคดีนี้ไว้แล้ว ย่อมถือว่าศาลแพ่งได้ใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4) ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องต่อศาลแพ่งแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6890/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: ศาลแพ่งชอบพิจารณาคดีอสังหาริมทรัพย์นอกเขต แม้ฟ้องผิดศาลแรก แต่ศาลรับฟ้องแล้ว
แม้คำฟ้องโจทก์เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดนนทบุรีที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(1)ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องก็ตามแต่เมื่อศาลแพ่งได้สั่งรับฟ้องคดีนี้ไว้แล้วย่อมถือว่าศาลแพ่งได้ใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา14(4)ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้วโดยโจทก์ไม่จำต้องยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องต่อศาลแพ่งแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4996/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีขับไล่ - ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 5,000 บาท/เดือน
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์เป็นผู้เช่าอาคารพิพาทจากโจทก์ร่วม จำเลยเข้ามาอยู่ในอาคารพิพาทโดยละเมิด ขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหายแม้โจทก์จะกล่าวอ้างว่า อาจนำอาคารพิพาทออกให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 10,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ320 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงถือได้ว่าอาคารพิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ5,000 บาท แม้จำเลยจะให้การและฟ้องแย้ง แต่ก็มิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ คดีนี้จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 6 ที่ใช้บังคับในขณะยื่นฎีกา
ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเหมือนอย่างฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล การทำนิติกรรมโดยผู้เยาว์กับผู้แทนไม่อาจใช้สัตยาบันได้
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เองหรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน ก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3และกรณีมิใช่โมฆียะกรรม แม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสจำเลยที่ 3 ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้
แม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา
ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ทนายโจทก์ได้ย้ายสำนักงานจากที่เดิมไปอยู่สำนักงานแห่งใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นออกหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ได้ออกหมายนัดส่งให้ทนายโจทก์โดยการปิดหมาย ณ สำนักงานทนายโจทก์แห่งเดิม หาได้ส่งหมายนัดให้ทนายโจทก์ ณ สำนักงานแห่งใหม่ดังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ไม่ ทั้งมิได้ส่งหมายนัดให้แก่ตัวโจทก์ด้วย โจทก์จึงไม่ทราบวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล การทำสัญญาโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่มีผลผูกพัน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 ที่บัญญัติเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้เว้นแต่ศาลจะอนุญาตนั้นเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่จะให้มีการคุ้มครองทรัพย์สิน และกิจการบางอย่างที่สำคัญของผู้เยาว์ เมื่อศาลได้ไต่สวนแล้วเห็นเป็นการสมควรก็สั่งอนุญาต แล้วผู้แทนโดยชอบธรรมจึงจะอาศัยคำอนุญาตของศาลไปทำนิติกรรมได้ ในเมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อนก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย ฉะนั้น สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์ แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 3 จะทำสัญญาในสัญญาฉบับเดียวกันก็ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3และกรณีมิใช่โมฆียะกรรม แม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรส จำเลยที่ 3 ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้ การที่จำเลยที่ 3 แม้จะเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกับจำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ในสัญญาฉบับเดียวกันแต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้เป็นลูกหนี้ร่วมกันไม่ ดังนั้นแม้สัญญาจะไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์เท่านั้นส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมายจำเลยที่ 2 จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา
of 44