คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อาญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 703 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารซ้ำ ฟ้องซ้ำสิทธิอาญา และการใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
คดีก่อนจำเลยดัดแปลงต่อเติมอาคารชั้นที่สี่ ระหว่างวันที่6 พฤศจิกายน 2531 ถึงวันที่ 6 ธันวาคม 2531 ส่วนคดีนี้จำเลยทั้งสองร่วมกันดัดแปลงอาคารโดยการต่อเติมขยายเพิ่มขึ้นจาก 3 ชั้น เป็น8 ชั้น และกระทำเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2534 เช่นนี้แม้อาคารคดีนี้จะเป็นอาคารเดียวกันกับคดีก่อน แต่การกระทำในคดีนี้ก็เป็นคนละกรรมต่างกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณไม่ว่าในทางใด ดังนั้นจึงต้องนำบทบัญญัติ มาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่แก้ไขอันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิมมาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง และยังคงต้องใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดอันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 65 ที่แก้ไขมาใช้บังคับด้วย ฉะนั้น เมื่อนำกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยคือ มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม ซึ่งไม่มีระวางโทษจำคุกคงมีแต่โทษปรับและมาตรา 70 ที่แก้ไขซึ่งไม่ได้กำหนดโทษจำคุกไว้มาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง จึงไม่มีโทษจำคุกที่จะลงแก่จำเลยทั้งสอง คงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เพียงปรับซึ่งเป็นโทษที่เบากว่าโทษจำคุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2723/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์ทำให้ถึงแก่ความตาย ความรับผิดทางอาญา
จำเลยชิงทรัพย์ผู้ตายโดยใช้กำลังประทุษร้าย แพทย์ตรวจบาดแผลในชั้นแรกระบุว่ามีบาดแผลที่หางคิ้ว ศีรษะด้านหน้า โคนลิ้นด้านล่างแขนซ้ายบวมช้ำแดง สมองได้รับการกระทบกระเทือนเล็กน้อย รักษาตัวในโรงพยาบาล 37 วัน แล้วถึงแก่ความตาย ระหว่างนั้นไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้รับอุบัตเหตุเพิ่มเติม แพทย์ตรวจชันสูตรพลิกศพพบว่าซี่โครงหัก 6 ซี่ มีน้ำในช่องปอดระบุว่าผู้ตายถูกทำร้ายได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง และลำตัวบอบช้ำมากเชื่อได้ว่าเกิดจากการทำร้ายของจำเลย ประกอบกับชราภาพอาการบาดเจ็บทรุดหนักทำการรักษาลำบาก หากชราภาพและไม่ได้รับการกระทบกระเทือนก็จะไม่ตาย ดังนี้ เห็นได้ว่าการตายเป็นผลจากการประทุษร้ายของจำเลยซึ่งเป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ ตาม ป.อาญา มาตรา 63 จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2585/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสมอภาคในการลงโทษทางอาญา: การลงโทษจำเลยที่กระทำผิดร่วมกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองร่วมกระทำผิดฐานเดียวกัน ลักษณะของความผิดไม่เป็นการกระทำรายใหญ่ พฤติการณ์แห่งคดีไม่เป็นการร้ายแรง ที่ศาลล่างลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 โดยไม่รอการลงโทษ แตกต่างจากจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏเหตุผลพิเศษ จึงไม่ถูกต้อง ผู้กระทำผิดด้วยกันควรรับโทษหนักเบาเท่าเทียมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1191/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายบุคคลหลายคนเป็นกรรมเดียว และสิทธิการเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญา
จำเลยทั้งสี่ได้ทำร้ายผู้ตาย โจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และส.โดยมีเจตนาที่จะทำร้ายบุคคลดังกล่าวทุกคนไม่ได้แบ่งแยกว่าเป็นใครลักษณะของเจตนากระทำความผิดจึงเป็นอันเดียวเกิดขึ้นในวาระเดียวกันและต่อเนื่องกันตลอด แม้กระทำหลายครั้งต่อหลายบุคคลก็อยู่ภายในเจตนาเดียวกันนั้น มิใช่หลายเจตนา การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกรรมต่างกัน จำเลยทั้งสี่ฝ่ายหนึ่ง ผู้ตายและโจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 กับ ส.อีกฝ่ายหนึ่งสมัครใจวิวาททำร้ายซึ่งกันและกัน ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหาย ว.ภริยาผู้ตาย จึงมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายด้วยดังนั้น ว.และโจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 จึงไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 870/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีอาญาที่พยานหลักฐานชี้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาท ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย แม้ฟ้องในความผิดฐานฆ่าโดยเจตนา
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นเหตุการณ์มาเป็นพยานในชั้นพิจารณา คงมีแต่นาง ร. และเจ้าพนักงานตำรวจมาเบิกความรับรองคำให้การของ นางสาว บ. นางสาว ค.นางสาวม.และนายส.ซึ่งให้การไว้ในชั้นสอบสวนสอดคล้องต้องกันว่า วันเกิดเหตุจำเลยได้ว่าจ้างนางสาว ม. นางสาว ค. และผู้หญิงอีก 3 คน ซึ่งเป็นนักร้องให้ไปร้องเพลง โดยนั่งรถยนต์คันที่ผู้ตายขับไปด้วยกันจำเลยนั่งตอนหน้าทางด้านซ้ายผู้ตาย โดยนางสาว ม. และนางสาว ค.นั่งถัดจำเลยไปทางด้านซ้าย ส่วน ส. และคนอื่นนั่งอยู่กระบะหลังเมื่อรถยนต์หยุดตรงที่เกิดเหตุมีเสียงปืนดัง 1 นัด จากบริเวณหน้ารถจำเลยหลบหนีไปกับพวก และปรากฏตามบันทึกคำให้การของจำเลยชั้นสอบสวนว่า จำเลยนัดแนะกับผู้ตายว่า จำเลยจะทำทีเอาอาวุธปืนออกมาจี้ผู้ตายให้ผู้ตายหยุดรถ แล้วจำเลยจะฉุดนักร้องหญิง 1 คนไป แต่อาวุธปืนเกิดลั่นขึ้น 1 นัด ทั้งจำเลยเบิกความยอมรับว่า พนักงานสอบสวนไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน และลงชื่อไว้ในคำให้การจริง ดังนี้ เชื่อได้ว่า นางสาว บ. นางสาว ค. นางสาว ม.และนาย ส. รู้เห็นเหตุการณ์ตามที่ให้การไว้ในชั้นสอบสวน แม้คำให้การในชั้นสอบสวนจะเป็นพยานบอกเล่า จะรับฟังดังคำเบิกความของพยานในชั้นพิจารณาไม่ได้ แต่ไม่ปรากฏว่า พนักงานสอบสวนและพยานดังกล่าวมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน จึงไม่มีเหตุระแวงสงสัยว่าพนักงานสอบสวนและพยานจะแกล้งปรักปรำจำเลย พยานหลักฐานโจทก์ประกอบกันฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยอยู่ในที่เกิดเหตุและเป็นผู้ทำให้ปืนลั่น กระสุนปืนถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตายโดยเจตนาฆ่า แต่ทางพิจารณาปรากฏว่าจำเลยทำปืนลั่นขึ้นโดยไม่มีเจตนาฆ่า แต่เป็นการกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายอันเป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาดังกล่าวตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง และวรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแพ่งของผู้ค้ำประกัน ยึดตามอายุความอาญาเมื่อมูลหนี้เกิดจากความผิดทางอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. ดังนั้นจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่ง ส. มีต่อโจทก์ รวมทั้งเรื่องอายุความที่โจทก์อาจฟ้อง ส.เป็นคดีแพ่งขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694 การที่โจทก์จะฟ้องให้ ส. ชดใช้เงินที่ยักยอกคืนโจทก์นั้นเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดซึ่งเกิดจากการกระทำความผิดฐานยักยอกของ ส. ตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีอายุความที่จะต้องฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายใน 10 ปีนับแต่วันกระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3)กำหนดอายุความทางอาญาจึงยาวกว่าอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก ที่กำหนดไว้เพียง 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาใช้บังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองโจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ ส. กระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษทางอาญา: เจตนาปกปิดความผิดของผู้อื่นไม่ถือเป็นเหตุลดโทษ
ชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันฆ่าผู้ตาย ชั้นพิจารณาของศาลจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ แต่ขณะสืบพยานจำเลย จำเลยที่ 2 เบิกความว่า ตนเป็นคนฆ่าผู้ตายเพียงคนเดียว ทำให้เห็นเจตนาว่าไม่ประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ต้องรับโทษด้วย คำเบิกความของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงไม่ได้ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ไม่เป็นเหตุลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษอาญาและการพิจารณาโทษสถานเบา กรณีจำเลยให้การรับสารภาพ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หากจำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยและศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่า จำเลยได้กระทำผิดจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 เมื่อโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยานโจทก์จึงไม่มีพยานหลักฐานที่จะให้ศาลฟังลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้ แต่เมื่อความผิดในมาตราดังกล่าวในวรรคแรกมีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ศาลลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้เฉพาะในวรรคแรกเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์วางโทษจำเลยไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ เนื่องจากเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล่อยชั่วคราวเกิน 6 เดือน และผลกระทบต่อการดำเนินคดีอาญา: อำนาจควบคุมและฟ้องคดี
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 113วรรคหนึ่ง มีความหมายว่า ในระหว่างการสอบสวน พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีมีอำนาจปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวมีระยะเวลาอย่างสูงไม่เกินหกเดือน นับแต่วันแรกที่มีการปล่อยชั่วคราวเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ไม่มีอำนาจควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีกเท่านั้น สำหรับการสอบสวนหากมีความจำเป็นต้องทำให้เสร็จก็คงดำเนินการต่อไปได้เพราะไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามไว้ ส่วนการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 113 วรรคสอง นั้นแม้ทำให้ผู้ต้องหาพ้นจากการควบคุม แต่ก็มิใช่บทบังคับให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจำต้องส่งผู้ต้องหามาศาล และยื่นคำร้องขอหมายขังผู้ต้องหาเสมอไป เว้นแต่มีความจำเป็นต้องควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีก กรณีหาได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าการสอบสวนชอบหรือมิชอบแต่ประการใด นอกจากนี้การไม่ปฏิบัติตามมาตรา 113 วรรคสองดังกล่าวก็หาได้มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องอาญาต้องครบถ้วนตามกฎหมาย หากไม่ครบถ้วนศาลไม่มีอำนาจลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ต่างจากฟ้อง
การที่ศาลจะมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความแตกต่างกับฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192ได้นั้นจะต้องเป็นเรื่องที่คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายมาถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 158(1)-(7) เสียก่อน หากเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้องโดยไม่จำต้องพิจารณาสืบพยานคู่ความแต่อย่างใด และกรณีดังกล่าวศาลย่อมไม่มีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 ได้
of 71