พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,515 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องละเมิดของเจ้าหน้าที่ & ความรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน: ศาลฎีกาวินิจฉัยอำนาจฟ้องมี & กำหนดชดใช้ตามคณะกรรมการ
เทศบาลโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเลินเล่อ โดยจำเลยเป็นนิติกร 4 ย่อมรู้ดีว่าถ้ามิได้ใช้สิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เป็นอันขาดอายุความ เมื่อจำเลยมีหน้าที่จัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ และประสานกับพนักงานอัยการในการส่งเอกสารเพิ่มเติมแล้วนำพยานที่เกี่ยวข้องไปสอบข้อเท็จจริงและรับรองเอกสาร จำเลยกลับปล่อยปละละเลยโดยไม่รีบดำเนินการจัดหา เร่งรัด และติดตามเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารหลักฐานต่างๆ ไปส่งให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแก่ผู้รับประเมินซึ่งค้างชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี รวมค่าภาษีและเงินเพิ่มเป็นเงิน 429,000 บาท จนเป็นเหตุให้คดีขาดอายุความ ตามพฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวพอแปลความได้ว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ไปด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงแล้ว ทั้ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง เป็นเพียงบทบัญญัติให้สิทธิหน่วยงานของรัฐเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐได้ มิใช่บทบังคับโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องออกคำสั่งทางปกครองให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนเสียก่อนจึงจะมีสิทธิฟ้องจำเลย ดังนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องหน่วยงานรัฐเรียกค่าสินไหมจากเจ้าหน้าที่ละเมิด และการกำหนดจำนวนค่าสินไหมทดแทน
โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐฟ้องบังคับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนฐานกระทำละเมิด โดยโจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออ้างว่าจำเลยมีหน้าที่จัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ในการดำเนินคดี รวบรวมพยานหลักฐาน เร่งรัด ติดตามเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ และมีหน้าที่ประสานกับพนักงานอัยการในการส่งเอกสารเพิ่มเติมแล้วนำพยานที่เกี่ยวข้องไปสอบข้อเท็จจริงและรับรองเอกสาร จำเลยกลับปล่อยปละละเลยโดยไม่รับดำเนินการจัดหา เร่งรัด และติดตามเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ส่งไปให้พนักงานรับการดำเนินคดีแก่ผู้รับประเมิน จนเป็นเหตุให้คดีขาดอายุความทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวพอแปลได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงแล้ว
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 8 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติให้สิทธิหน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐได้ จึงมิใช่บทบังคับโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องออกคำสั่งทางปกครองให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนเสียก่อนจึงจะมีสิทธิฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 8 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติให้สิทธิหน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐได้ จึงมิใช่บทบังคับโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องออกคำสั่งทางปกครองให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนเสียก่อนจึงจะมีสิทธิฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2233/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องถูกผูกพันด้วยคำพิพากษาถึงที่สุด แม้ยังมิได้จดทะเบียน
คดีก่อน ธนาคาร ก. เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย โดยมีจำเลยคดีนี้เป็นผู้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีก่อนแล้วว่า ที่ดินทั้งสามแปลงตามฟ้องเป็นของจำเลยคดีนี้ เมื่อโจทก์และจำเลยคดีนี้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว ผลของคำพิพากษาย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง และแม้จำเลยจะยังมิได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งที่ดินทั้งสามแปลงตามคำพิพากษาคดีดังกล่าว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะบุคคลภายนอกซึ่งอาจอ้างสิทธิตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสองได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินทั้งสามแปลงตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2084/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีเมื่อมีการฟ้องคัดค้านการประเมินภาษีแล้ว หนี้ภาษีจึงไม่แน่นอน
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลาง อันเป็นการดำเนินการตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 30 (2) แล้ว การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าว จึงอาจถูกเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลได้ ดังนั้น หนี้ค่าภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่โจทก์นำมาฟ้อง จึงเป็นหนี้ที่ยังไม่แน่นอนว่าจะมีอยู่จริงหรือไม่ เพียงใด ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2042/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: การแก้ไขข้อบกพร่องในหนังสือมอบอำนาจก่อนจำเลยให้การ และผลของการแก้ไข
แม้สำเนาหนังสือมอบอำนาจที่แนบมาพร้อมคำฟ้องจะระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ พ. ฟ้องจำเลยเรื่องตั๋วเงิน ซึ่งไม่ตรงกับที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงการชำระหนี้ก็ตาม แต่ก็เห็นได้ชัดว่าเป็นการระบุข้อหาผิดพลาดซึ่งถือเป็นข้อบกพร่องเล็กน้อยไม่ถึงกับทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เสียไป ทั้งโจทก์ได้ขอแก้ไขคำฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การว่า สำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับดังกล่าวนั้นพิมพ์ผิดพลาด และขอส่งฉบับที่ถูกต้องแทนซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาต จึงถือได้ว่าโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องอำนาจฟ้องแล้วและมีผลเสมือนสำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่นี้เป็นเอกสารที่โจทก์ได้แนบมาพร้อมคำฟ้องตั้งแต่ต้น จึงถือได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969-1972/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดต่อเทศบาลเกี่ยวกับที่ดินริมน้ำที่กลายเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50 (2), 53 บัญญัติให้เทศบาลมีหน้าที่ต้องจัดให้มีและบำรุงทางบกทางน้ำ อีกทั้งกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินตาม ป.ที่ดิน ที่อยู่ภายในเขตเทศบาล และอธิบดีกรมเจ้าท่าได้มอบหมายอำนาจเจ้าท่าตาม พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 ให้เทศบาลดูแลรักษาแม่น้ำลำคลองในเขตเทศบาล เทศบาลย่อมมีหน้าที่ดูแลรักษาตามกฎหมาย ตามคำสั่ง และตามที่ได้รับมอบหมาย จึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับที่ดินนั้นได้ ทั้งการฟ้องคดีก็ไม่จำต้องระบุว่าได้รับมอบอำนาจจากกรมเจ้าท่าอีก
ที่ดินมีโฉนดของ ป. บางส่วนถูกน้ำเซาะพังลงในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ดินส่วนที่หายไปในน้ำแม้จะมิได้ให้เจ้าพนักงานที่ดินแบ่งหักออกจากโฉนดที่ดินตามความเป็นจริง ก็มิได้แสดงว่าที่ดินของ ป. ยังคงมีเนื้อที่อยู่เต็มตามโฉนดที่ดิน แต่คงมีอยู่ตามสภาพที่เหลืออยู่ตามความจริงเท่านั้นเพราะที่ดินบางส่วนพังจนกลายเป็นลำน้ำที่มีการใช้สัญจรไปมาของเรือแพเป็นเวลานานจนกระทั่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปแล้ว โจทก์ทั้งสามซื้อที่ดินตามโฉนดจาก ป. ย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ถูกน้ำเซาะจนหายไปในแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว แม้ต่อมาแม่น้ำมีสภาพตื้นเขินเนื่องจาก มีการทำเขื่อนภูมิพลกั้นน้ำ ทำให้กระแสน้ำไหลเบาลงจนน้ำในแม่น้ำแห้ง เรือไม่สามารถผ่านไปมาได้ ทั้งมีการดูดทรายอีกด้านหนึ่งของเกาะมาปิดทางน้ำเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ที่ดินดังกล่าวก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ดี การที่โจทก์ทั้งสามถมดินในที่ดินพิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อเทศบาลจำเลยที่ 1
ที่ดินมีโฉนดของ ป. บางส่วนถูกน้ำเซาะพังลงในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ดินส่วนที่หายไปในน้ำแม้จะมิได้ให้เจ้าพนักงานที่ดินแบ่งหักออกจากโฉนดที่ดินตามความเป็นจริง ก็มิได้แสดงว่าที่ดินของ ป. ยังคงมีเนื้อที่อยู่เต็มตามโฉนดที่ดิน แต่คงมีอยู่ตามสภาพที่เหลืออยู่ตามความจริงเท่านั้นเพราะที่ดินบางส่วนพังจนกลายเป็นลำน้ำที่มีการใช้สัญจรไปมาของเรือแพเป็นเวลานานจนกระทั่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปแล้ว โจทก์ทั้งสามซื้อที่ดินตามโฉนดจาก ป. ย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ถูกน้ำเซาะจนหายไปในแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว แม้ต่อมาแม่น้ำมีสภาพตื้นเขินเนื่องจาก มีการทำเขื่อนภูมิพลกั้นน้ำ ทำให้กระแสน้ำไหลเบาลงจนน้ำในแม่น้ำแห้ง เรือไม่สามารถผ่านไปมาได้ ทั้งมีการดูดทรายอีกด้านหนึ่งของเกาะมาปิดทางน้ำเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ที่ดินดังกล่าวก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ดี การที่โจทก์ทั้งสามถมดินในที่ดินพิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อเทศบาลจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939-1954/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีแรงงานหลังยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน: การเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งและการมีอำนาจฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 ถึงมาตรา 125 มีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแต่เพียงทางเดียว การที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่าย และเงินประกันซึ่งเป็นเงินตามสิทธิใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541เป็นกรณีที่เลือกใช้สิทธิดำเนินการต่อจำเลยด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้ว จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องศาลแรงงานอีกจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด เมื่อระหว่างที่พนักงานตรวจแรงงานพิจารณาคำร้องนั้น โจทก์ที่ 1 ถึง ที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 ได้นำมูลกรณีเลิกจ้างอันเดียวกันนี้มายื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางอีก ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 ที่ฟ้องเรียกเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แต่ไม่ตัดสิทธิที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุอายุความ
โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 ถอนคำร้องที่ยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานก่อนยื่นคำฟ้อง ดังนั้น ในขณะยื่นคำฟ้องจึงไม่มีคำร้องอยู่ในระหว่างการพิจารณาของพนักงานตรวจแรงงานโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 จึงมีอำนาจฟ้อง แม้ว่าโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 จะไม่ระบุในคำขอถอนคำร้องดังกล่าวว่าประสงค์จะดำเนินคดีทางศาลเองก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องเสียไป
โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 ถอนคำร้องที่ยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานก่อนยื่นคำฟ้อง ดังนั้น ในขณะยื่นคำฟ้องจึงไม่มีคำร้องอยู่ในระหว่างการพิจารณาของพนักงานตรวจแรงงานโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 จึงมีอำนาจฟ้อง แม้ว่าโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 จะไม่ระบุในคำขอถอนคำร้องดังกล่าวว่าประสงค์จะดำเนินคดีทางศาลเองก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องเสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องภาษี: การชำระหนี้ด้วยเช็คยังไม่ถือเป็นการชำระหนี้จนกว่าเช็คจะใช้ได้เงิน
ที่ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 39 บัญญัติว่า "...ห้ามมิให้ศาลประทับเป็นฟ้องตามกฎหมาย เว้นแต่จะเป็นที่พอใจศาลว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระ... หรือจะถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาล" นั้น กฎหมายมุ่งประสงค์ให้ผู้รับประเมินได้ชำระหนี้ค่าภาษีจนหนี้ค่าภาษีที่พนักงานเก็บภาษีได้แจ้งการประเมินระงับสิ้นไปเสียก่อน หากเมื่อศาลตัดสินให้ลดภาษี ผู้รับประเมินจึงจะมีสิทธิมาขอรับคืนเงินส่วนที่ลดลงมาได้ตามเงื่อนไขของบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าวในวรรคท้าย ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ผู้รับประเมินใช้การฟ้องคดีต่อศาลเพื่อประวิงการชำระหนี้ค่าภาษี และตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคสาม การชำระหนี้ด้วยเช็ค หนี้จะระงับเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ผ่อนชำระค่าภาษีประจำปี 2537 ถึง 2543 และโจทก์สั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าให้ไว้ซึ่งจะถึงกำหนดชำระหลังจากวันฟ้อง หนี้ค่าภาษีประจำปี 2537 ถึง 2543 จึงยังไม่ระงับสิ้นไปและถือไม่ได้ว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระดังที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องสำหรับข้อหาเกี่ยวกับค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2537 ถึง 2543
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: การชำระภาษีด้วยเช็คยังไม่ถือเป็นการชำระหนี้สิ้นสุดตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 39 มุ่งประสงค์ให้ผู้รับประเมินได้ชำระหนี้ค่าภาษีจนหนี้ค่าภาษีที่พนักงานเก็บภาษีได้แจ้งการประเมินระงับสิ้นไปเสียก่อน หากเมื่อศาลตัดสินให้ลดค่าภาษี ผู้รับประเมินจึงจะมีสิทธิมาขอรับคืนเงินส่วนที่ลดลงมาได้เพื่อป้องกันมิให้ผู้รับประเมินใช้การฟ้องคดีต่อศาลเพื่อประวิงการชำระหนี้ค่าภาษี และตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคสาม การชำระหนี้ค่าภาษีดังกล่าวด้วยเช็ค หนี้จะระงับเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้ว ดังนั้น หนี้ค่าภาษีประจำปีจึงยังไม่ระงับสิ้นไปและถือไม่ได้ว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนเงินค่าภาษีแต่ละปีภาษีเป็นการเรียกค่าขึ้นศาลเกินไปจากที่กฎหมายกำหนดเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้แจ้งการประเมินค่าภาษีประจำปี 2535 ถึง 2543 ไปยังโจทก์ร่วมคราวเดียวกัน ถึงแม้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะแจกแจงค่าภาษีแต่ละปีภาษี แต่ก็รวมยอดเป็นค่าภาษีทั้งสิ้น 143,949,403.29 บาท ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 200,000 บาท นั้น แม้โจทก์จะไม่ได้โต้แย้งไว้เพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2535 ถึง 2543 รวม 9 ข้อหา ซึ่งแต่ละข้อหาแยกต่างหากจากกัน โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามรายข้อหา
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนเงินค่าภาษีแต่ละปีภาษีเป็นการเรียกค่าขึ้นศาลเกินไปจากที่กฎหมายกำหนดเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้แจ้งการประเมินค่าภาษีประจำปี 2535 ถึง 2543 ไปยังโจทก์ร่วมคราวเดียวกัน ถึงแม้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะแจกแจงค่าภาษีแต่ละปีภาษี แต่ก็รวมยอดเป็นค่าภาษีทั้งสิ้น 143,949,403.29 บาท ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 200,000 บาท นั้น แม้โจทก์จะไม่ได้โต้แย้งไว้เพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2535 ถึง 2543 รวม 9 ข้อหา ซึ่งแต่ละข้อหาแยกต่างหากจากกัน โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามรายข้อหา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี: ต้องชำระภาษีที่ถึงกำหนดก่อนฟ้องคดี มิเช่นนั้นขาดอำนาจฟ้อง
ที่ พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 39 บัญญัติว่า "?ห้ามให้ศาลประทับเป็นฟ้องตามกฎหมาย เว้นแต่จะเป็นที่พอใจศาลว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งกำหนดต้องชำระ?หรือจะถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาล?" นั้น กฎหมายมุ่งประสงค์ให้ผู้รับประเมินได้ชำระหนี้ค่าภาษีจนหนี้ค่าภาษีที่พนักงานเก็บภาษีได้แจ้งการประเมินระงับสิ้นไปเสียก่อน หากเมื่อศาลตัดสินให้ลดค่าภาษี ผู้รับประเมินจึงจะมีสิทธิมาขอรับคืนเงินส่วนที่ลดลงมาได้ตามเงื่อนไขของบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าวในวรรคท้าย ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ผู้รับประเมินใช้การฟ้องคดีต่อศาลเพื่อประวิงการชำระหนี้ค่าภาษี และตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคสาม การชำระหนี้ด้วยเช็ค หนี้จะระงับเมื่อเช็คได้ใช้เงินไปแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ผ่อนชำระค่าภาษีประจำปี 2537 ถึง 2543 และโจทก์สั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าให้ไว้ซึ่งจะถึงกำหนดชำระหลังจากวันฟ้อง หนี้ค่าภาษีประจำปี 2537 ถึง 2543 จึงยังไม่ระงับสิ้นไปและถือไม่ได้ว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระดังที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องสำหรับข้อหาเกี่ยวกับค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2537 ถึง 2543