พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการคำนวณเงินบำเหน็จ, ค่าชดเชย, และสิทธิในการรับค่าทำงานในวันหยุดของลูกจ้าง
ข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยกำหนดจำนวนเงินบำเหน็จในกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุว่า'..........จำนวนเงินบำเหน็จจะเท่ากับเงินเดือนมูลฐานครั้งสุดท้ายทั้งเดือนคูณด้วยจำนวนปีของการเป็นลูกจ้างในบริษัท'คำว่าเงินเดือนมูลฐานมีความหมายจำกัดลงมาเฉพาะเงินเดือนที่แท้จริงค่านำร่องพิเศษหาใช่เงินเดือนมูลฐานอันจะนำมาคำนวณจำนวนเงินบำเหน็จไม่ต่างกับเรื่องค่าจ้างที่จะนำค่านำร่องพิเศษมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชย. ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหมวดวินัยและโทษทางวินัยระบุว่าการเตือนด้วยวาจาและการเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นโทษทางวินัยโดยหัวหน้าฝ่ายเป็นผู้มีอำนาจลงโทษสองสถานนี้ได้และหมวดการยื่นคำร้องทุกข์และข้อเสนอแนะกำหนดให้นายเรือมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายด้วยโจทก์ซึ่งเป็นกัปตันหรือนายเรือจึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการลงโทษโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ43และ36(1). ตามข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยข้อ9(ค)ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะหักเงินจำนวนเท่าค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จได้จำเลยได้ใช้สิทธินำค่าชดเชยส่วนอื่นไปหักจากเงินบำเหน็จตามที่แจ้งให้โจทก์ไปรับแล้วการที่มิได้นำค่าชดเชยในเงินค่าเบี้ยเลี้ยงไปหักออกด้วยก็เพราะจำเลยเข้าใจว่าเบี้ยเลี้ยงมิใช่ค่าจ้างเมื่อเบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้างทั้งจำเลยก็ได้แสดงเจตนาขอหักมาในคำให้การแล้วจึงชอบที่จะหักเงินค่าชดเชยที่เพิ่มขึ้นออกจากเงินบำเหน็จที่จำเลยจะต้องจ่ายได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตเงินบำเหน็จ, ค่าจ้าง, ค่าชดเชย, และสิทธิการหักเงินบำเหน็จในกรณีเกษียณอายุ
ข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยกำหนดจำนวนเงินบำเหน็จในกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุว่า'..........จำนวนเงินบำเหน็จจะเท่ากับเงินเดือนมูลฐานครั้งสุดท้ายทั้งเดือนคูณด้วยจำนวนปีของการเป็นลูกจ้างในบริษัท'คำว่าเงินเดือนมูลฐานมีความหมายจำกัดลงมาเฉพาะเงินเดือนที่แท้จริงค่านำร่องพิเศษหาใช่เงินเดือนมูลฐานอันจะนำมาคำนวณจำนวนเงินบำเหน็จไม่ต่างกับเรื่องค่าจ้างที่จะนำค่านำร่องพิเศษมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชย. ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหมวดวินัยและโทษทางวินัยระบุว่าการเตือนด้วยวาจาและการเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นโทษทางวินัยโดยหัวหน้าฝ่ายเป็นผู้มีอำนาจลงโทษสองสถานนี้ได้และหมวดการยื่นคำร้องทุกข์และข้อเสนอแนะกำหนดให้นายเรือมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายด้วยโจทก์ซึ่งเป็นกัปตันหรือนายเรือจึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการลงโทษโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ43และ36(1). ตามข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยข้อ9(ค)ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะหักเงินจำนวนเท่าค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จได้จำเลยได้ใช้สิทธินำค่าชดเชยส่วนอื่นไปหักจากเงินบำเหน็จตามที่แจ้งให้โจทก์ไปรับแล้วการที่มิได้นำค่าชดเชยในเงินค่าเบี้ยเลี้ยงไปหักออกด้วยก็เพราะจำเลยเข้าใจว่าเบี้ยเลี้ยงมิใช่ค่าจ้างเมื่อเบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้างทั้งจำเลยก็ได้แสดงเจตนาขอหักมาในคำให้การแล้วจึงชอบที่จะหักเงินค่าชดเชยที่เพิ่มขึ้นออกจากเงินบำเหน็จที่จำเลยจะต้องจ่ายได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือค่าใช้จ่ายและเงินเดือนที่ 13 ไม่ถือเป็นค่าจ้าง จึงไม่นำมาคำนวณเงินบำเหน็จ ค่าชดเชย และค่าล่วงเวลา
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่า ลูกจ้างซึ่งทำงานที่ท่าอากาศยานดอนเมืองจะได้รับเงินช่วยค่าอาหารเดือนละ 600 บาท เงินช่วยค่าพาหนะเดือนละ 350 บาท หากแต่งเครื่องแบบของบริษัทจำเลยจะได้รับเงินช่วยค่าซักรีดเดือนละ 150 บาทดังนี้ เห็นได้ว่าลูกจ้างซึ่งทำงานที่ท่าอากาศยานดอนเมืองต้องเสียค่าอาหาร ค่าพาหนะ มากกว่าลูกจ้างซึ่งทำงานที่หน่วยงานอื่นหรือต้องเสียค่าซักเครื่องแบบซึ่งเป็นเครื่องแบบของจำเลย จำเลยจึงจ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าวเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายนั้นๆ หาใช่เป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานไม่เงินดังกล่าว จึงไม่เป็นค่าจ้าง
จำเลยจ่ายเงินเดือนเดือนที่ 13 ในเดือนธันวาคมของแต่ละปีให้ลูกจ้างตามข้อบังคับฯ โดยไม่มีการทำงานในเดือนที่ 13 เงินเดือน เดือนที่ 13 จึงเป็นการจ่ายให้เพื่อแสดงน้ำใจและเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ไม่เป็นการตอบแทน การทำงานโดยตรง จึงไม่เป็นค่าจ้าง
จำเลยจ่ายเงินเดือนเดือนที่ 13 ในเดือนธันวาคมของแต่ละปีให้ลูกจ้างตามข้อบังคับฯ โดยไม่มีการทำงานในเดือนที่ 13 เงินเดือน เดือนที่ 13 จึงเป็นการจ่ายให้เพื่อแสดงน้ำใจและเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ไม่เป็นการตอบแทน การทำงานโดยตรง จึงไม่เป็นค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3268/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จเป็นสิทธิที่นายจ้างกำหนดได้เอง ไม่รวมค่าครองชีพในการคำนวณ
แม้เงินค่าครองชีพซึ่งจำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นประจำทุกเดือนและมีจำนวนแน่นอน จะถือว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ก็ตาม แต่เงินบำเหน็จเป็นเงินซึ่งนายจ้างจ่ายตอบแทนความดีของลูกจ้างกรณีที่ลูกจ้างได้ทำงานมาด้วยดีตลอดระยะเวลาที่ทำงานอยู่กับนายจ้าง ไม่ใช่เงิน ซึ่งกฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายแก่ลูกจ้าง นายจ้างมีสิทธิที่จะไม่จ่ายหรือจ่ายเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควร นายจ้างจึงมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จอย่างไรก็ได้ไม่ถือว่าเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานการคำนวณ เงินบำเหน็จจะรวมค่าครองชีพด้วยหรือไม่ขึ้นอยู่กับระเบียบข้อบังคับของจำเลย ข้อบังคับของจำเลยกำหนดคำว่าเงินเดือนซึ่งเป็นฐานในการคำนวณเงินบำเหน็จว่าให้หมายถึงเงินเดือนสุดท้ายของลูกจ้างประจำและเงินค่าจ้าง 26 วันสุดท้าย ของลูกจ้างรายวันคำว่า "เงินค่าจ้าง 26 วันสุดท้ายของลูกจ้างรายวัน"ย่อมหมายถึงค่าจ้างรายวันซึ่งลูกจ้างมีสิทธิได้รับครั้งสุดท้าย 26 วัน รวมกันไม่รวมถึงค่าจ้างอื่นซึ่งลูกจ้างมีสิทธิได้รับเป็นรายเดือนด้วยค่าครองชีพไม่ใช่ค่าจ้างรายวันจึงไม่ต้องนำมารวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3268/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าจ้าง นายจ้างมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณได้ โดยไม่ต้องรวมเงินค่าครองชีพ
แม้เงินค่าครองชีพซึ่งจำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นประจำทุกเดือนและมีจำนวนแน่นอน จะถือว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ก็ตามแต่เงินบำเหน็จเป็นเงินซึ่งนายจ้างจ่ายตอบแทนความดีของลูกจ้างกรณีที่ลูกจ้างได้ทำงานมาด้วยดีตลอดระยะเวลาที่ทำงานอยู่กับนายจ้างไม่ใช่เงินซึ่งกฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายแก่ลูกจ้างนายจ้างมีสิทธิที่จะไม่จ่ายหรือจ่ายเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควรนายจ้างจึงมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จอย่างไรก็ได้ไม่ถือว่าเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานการคำนวณ เงินบำเหน็จจะรวมค่าครองชีพด้วยหรือไม่ขึ้นอยู่กับระเบียบข้อบังคับของจำเลย ข้อบังคับของจำเลยกำหนดคำว่าเงินเดือนซึ่งเป็นฐานในการคำนวณเงินบำเหน็จว่าให้หมายถึงเงินเดือนสุดท้ายของลูกจ้างประจำ และเงินค่าจ้าง 26 วันสุดท้าย ของลูกจ้างรายวันคำว่า "เงินค่าจ้าง 26 วันสุดท้ายของลูกจ้างรายวัน"ย่อมหมายถึงค่าจ้างรายวันซึ่งลูกจ้างมีสิทธิได้รับครั้งสุดท้าย 26 วัน รวมกันไม่รวมถึงค่าจ้างอื่นซึ่งลูกจ้างมีสิทธิได้รับเป็นรายเดือนด้วยค่าครองชีพไม่ใช่ค่าจ้างรายวันจึงไม่ต้องนำมารวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989-2991/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จโดยเอกสารรับเงิน: การระงับสิทธิและขอบเขตการเรียกร้อง
เงินบำเหน็จเป็นเงินที่นายจ้างตอบแทนคุณความดีของลูกจ้างที่ได้ทำงานร่วมกับนายจ้างด้วยดีตลอดมาเงินประเภทนี้กฎหมายมิได้บังคับนายจ้างว่าจะต้องจ่ายแก่ลูกจ้างนายจ้างจะจ่ายให้หรือไม่ ด้วยหลักเกณฑ์อย่างไรแล้วแต่จะเห็นสมควรข้อพิพาทเกี่ยวด้วยเงินบำเหน็จจึงมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนนายจ้างและลูกจ้างทำข้อตกลงให้ระงับสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จจากนายจ้างได้
แบบพิมพ์ดีดเอกสารซึ่งนายจ้างจัดทำขึ้นระบุรายการเกี่ยวกับเงินต่าง ๆ ตามสิทธิและตามกฎหมายที่ลูกจ้างจะได้รับจากนายจ้างและระบุว่าลูกจ้างได้รับเงินค่าชดเชยและเงินบำเหน็จตามจำนวนที่ระบุไว้ เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุไว้ด้วยว่าลูกจ้างไม่ติดใจเรียกร้องเงิน สิทธิ และประโยชน์อื่นใดจากนายจ้างอีกทั้งสิ้น ดังนี้ ลูกจ้างได้สละสิทธิเรียกร้องบำเหน็จนอกเหนือจากที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวแล้ว ลูกจ้างย่อมถูกผูกพันตามข้อความนั้นและไม่มีสิทธิจะเรียกร้องเงินบำเหน็จส่วนที่ขาดอีก
แบบพิมพ์ดีดเอกสารซึ่งนายจ้างจัดทำขึ้นระบุรายการเกี่ยวกับเงินต่าง ๆ ตามสิทธิและตามกฎหมายที่ลูกจ้างจะได้รับจากนายจ้างและระบุว่าลูกจ้างได้รับเงินค่าชดเชยและเงินบำเหน็จตามจำนวนที่ระบุไว้ เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุไว้ด้วยว่าลูกจ้างไม่ติดใจเรียกร้องเงิน สิทธิ และประโยชน์อื่นใดจากนายจ้างอีกทั้งสิ้น ดังนี้ ลูกจ้างได้สละสิทธิเรียกร้องบำเหน็จนอกเหนือจากที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวแล้ว ลูกจ้างย่อมถูกผูกพันตามข้อความนั้นและไม่มีสิทธิจะเรียกร้องเงินบำเหน็จส่วนที่ขาดอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989-2991/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จโดยเอกสารที่นายจ้างจัดทำขึ้น ย่อมผูกพันลูกจ้าง
เงินบำเหน็จเป็นเงินที่นายจ้างตอบแทนคุณความดีของลูกจ้างที่ได้ทำงานร่วมกับนายจ้างด้วยดีตลอดมาเงินประเภทนี้กฎหมายมิได้บังคับนายจ้างว่าจะต้องจ่ายแก่ลูกจ้าง นายจ้างจะจ่ายให้หรือไม่ ด้วยหลักเกณฑ์อย่างไรแล้วแต่จะเห็นสมควรข้อพิพาทเกี่ยวด้วยเงินบำเหน็จจึงมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน นายจ้างและลูกจ้างทำข้อตกลงให้ระงับสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จจากนายจ้างได้
แบบพิมพ์ดีดเอกสารซึ่งนายจ้างจัดทำขึ้นระบุรายการเกี่ยวกับเงินต่างๆ ตามสิทธิและตามกฎหมายที่ลูกจ้างจะได้รับจากนายจ้างและระบุว่าลูกจ้างได้รับเงินค่าชดเชยและเงินบำเหน็จตามจำนวนที่ระบุไว้ เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุไว้ด้วยว่าลูกจ้างไม่ติดใจเรียกร้องเงิน สิทธิ และประโยชน์อื่นใดจากนายจ้างอีกทั้งสิ้น ดังนี้ ลูกจ้างได้สละสิทธิเรียกร้องบำเหน็จนอกเหนือจากที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวแล้ว ลูกจ้างย่อมถูกผูกพันตามข้อความนั้น และไม่มีสิทธิจะเรียกร้องเงินบำเหน็จส่วนที่ขาดอีก
แบบพิมพ์ดีดเอกสารซึ่งนายจ้างจัดทำขึ้นระบุรายการเกี่ยวกับเงินต่างๆ ตามสิทธิและตามกฎหมายที่ลูกจ้างจะได้รับจากนายจ้างและระบุว่าลูกจ้างได้รับเงินค่าชดเชยและเงินบำเหน็จตามจำนวนที่ระบุไว้ เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุไว้ด้วยว่าลูกจ้างไม่ติดใจเรียกร้องเงิน สิทธิ และประโยชน์อื่นใดจากนายจ้างอีกทั้งสิ้น ดังนี้ ลูกจ้างได้สละสิทธิเรียกร้องบำเหน็จนอกเหนือจากที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวแล้ว ลูกจ้างย่อมถูกผูกพันตามข้อความนั้น และไม่มีสิทธิจะเรียกร้องเงินบำเหน็จส่วนที่ขาดอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จกับการจ่ายค่าชดเชย: ข้อบังคับบริษัทจำกัดขอบเขตการรวมค่าชดเชยเฉพาะส่วนที่เกินกฎหมาย
เงินบำเหน็จที่โจทก์ได้รับไปคำนวณตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยภาคผนวก 3 ข้อ 3 ก. ซึ่งข้อ 4 ก. กำหนดว่า 'เงินบำเหน็จที่กล่าวในข้อ 3 จะถือว่าได้รวม ไว้แล้วซึ่งเงินค่าชดเชยที่บริษัทพึงจ่ายตามภาคผนวก 5 ใน ส่วนที่เกินกว่าจำนวนที่กฎหมายแรงงานกำหนด' และภาคผนวก 5 กำหนดว่า 'ค่าชดเชย (1) ลูกจ้างซึ่งให้ออกจากงานเพราะ มีลูกจ้างเกินอัตราหรือลูกจ้างซึ่งถูกให้ออกจากงานโดย ไม่มีความผิดมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน(2) กรณีลูกจ้างถูกให้ออกจากงาน ถ้าเป็นลูกจ้างซึ่ง ทำงานมาเกินกว่า 6 ปีแล้วให้ลูกจ้างผู้นั้นมีสิทธิ ได้รับเงินชดเชยเพิ่มขึ้นอีกในอัตราเท่ากับเงินเดือนของแต่ ละปีเป็นจำนวน 1 เดือนต่อปี ฯลฯ' ดังนี้เห็นได้ว่า เงินบำเหน็จคงรวมไว้แล้วซึ่งค่าชดเชยเฉพาะในส่วนที่เกิน กว่าจำนวนที่กฎหมายแรงงานกำหนดคือตามภาคผนวก 5(2) เท่านั้นมิได้รวมถึงค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายแรงงาน ตามภาคผนวก 5(1) เงินบำเหน็จที่โจทก์รับไปแล้วจึงไม่มี ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน รวมอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจากการทำร้ายด้วยอาวุธมีคม มุ่งหวังผลประโยชน์จากเงินบำเหน็จและประกันชีวิต
จำเลยใช้อาวุธมีคมปาดเชือดคอผู้เสียหายเป็นแผลฉกรรจ์ยาว 15 เซนติเมตร ลึก 6 เซนติเมตร ตัดเข้าหลอดอาหารส่วนต้นและเส้นประสาทกล่องเสียงด้านซ้าย อันเป็นอวัยวะสำคัญ อาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตายเนื่องจากแพทย์ได้ทำการรักษาไว้ทัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย และจำเลยกระทำโดยมีการตระเตรียมและวางแผนการไว้ล่วงหน้า ทั้งนี้หวังที่จะได้รับเงินบำเหน็จและ เงินประกันชีวิตของผู้เสียหายจึงเป็นการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง: การคำนวณเงินบำเหน็จ
จำเลยจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพแก่โจทก์เป็นจำนวนแน่นอน เป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือน ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ ให้บทนิยาม คำว่า 'ค่าจ้าง' ไว้ว่า'หมายความว่า ค่าจ้างที่โรงงานน้ำตาลจ่ายให้แก่ พนักงานและคนงานประจำเพื่อตอบแทนการทำงาน แต่ไม่รวมถึง เงินตอบแทนในลักษณะค่าล่วงเวลา โบนัส เบี้ยเลี้ยงหรือประโยชน์ อย่างอื่น' ค่าครองชีพจึงเข้าลักษณะเป็นค่าจ้าง หาใช่ประโยชน์อย่างอื่นอันจะไม่ต้องนำมาคำนวณเงินบำเหน็จไม่