พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อที่นาของผู้เช่าเมื่อผู้ให้เช่าขาย – เงื่อนไขและขั้นตอนตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
เมื่อฟ้องโจทก์ได้ความเพียงว่าผู้ให้เช่านาขายนาพิพาทให้แก่โจทก์ในราคา 775,000 บาท โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ซื้อก่อนโจทก์ร้องเรียนต่อ คชก.ตำบลเพื่อขอใช้สิทธิซื้อที่นาพิพาทคชก.ตำบลมีมติให้จำเลยผู้ซื้อขายนาพิพาทให้แก่โจทก์แล้วแต่จำเลยเพิกเฉย โดยมิได้มีข้อความใดแสดงให้เห็นว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิขอซื้อในราคาที่จำเลยซื้อมาหรือราคาตลาดซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่า และ คชก.ตำบลได้มีคำวินิจฉัยอันถึงที่สุดให้จำเลยขายในราคาดังกล่าวแล้ว การใช้สิทธิของโจทก์จึงมิได้เป็นไปตามเงื่อนไขและขั้นตอนตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการเรียกเก็บอากรเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: เงื่อนไขและข้อแตกต่างของมาตรา
การเรียกอากรขาเข้าเพิ่มเอีกร้อยละยี่สิบตาม พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 112 ตรี นั้น มีได้เฉพาะสองกรณีคือ กรณีมิได้ชำระอากรครบถ้วนตามมาตรา 112 ทวิ ประการหนึ่ง กับกรณีมิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 40 อีกประการหนึ่ง มิได้มีกรณีที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามมาตรา19 ตรีแต่อย่างใด และสาระสำคัญของมาตรา 40 กับมาตรา 19 ตรี ก็แตกต่างกันกล่าวคือ มาตรา 40 เป็นเรื่องกำหนดเงื่อนไขในการที่ผู้นำเข้าจะนำของออกจากอารักขาของศุลกากรทั่ว ๆ ไป แต่มาตรา 19 ตรีเป็นเรื่องค้ำประกันการนำเข้าที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรา 19 ทวิ ที่เกี่ยวกับสิทธิในการจะขอคืนอากรขาเข้าและเป็นกรณีสำหรับเฉพาะสินค้าหรือสิ่งของบางประเภทหรือบางกรณีเท่านั้น บทบัญญัติมาตรา40 จึงมิได้ใช้บังคับกับกรณีมาตรา 19 ทวิ และ 19 ตรี และเป็นคนละเรื่องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเก็บอากรขาเข้าเพิ่มตามมาตรา 112 ตรี ไม่ครอบคลุมกรณีผิดเงื่อนไขการค้ำประกันตามมาตรา 19 ทวิ/19 ตรี
การที่จะเรียกอากรขาเข้าเพิ่มอีกร้อยละยี่สิบตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯมาตรา112ตรีนั้นมีได้2กรณีคือกรณีที่มิได้ชำระเงินอากรครบถ้วนตามมาตรา112ทวิกับกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา40เท่านั้นไม่รวมถึงกรณีที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามมาตรา19ตรีทั้งสาระสำคัญของมาตรา40กับมาตรา19ตรีก็แตกต่างกันกล่าวคือตามมาตรา40นั้นกำหนดเงื่อนไขในการที่ผู้นำเข้าจะนำของออกจากอารักขาของศุลกากรทั่วๆไปแต่มาตรา19ตรีเป็นเรื่องการค้ำประกันการนำเข้าที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรา19ทวิที่เกี่ยวกับสิทธิในการขอคืนอากรขาเข้าและเป็นกรณีสำหรับเฉพาะสินค้าหรือสิ่งของบางประการหรือบางกรณีดังนั้นบทบัญญัติตามมาตรา40จึงมิได้ใช้บังคับกรณีตามมาตรา19ทวิและ19ตรีเมื่อการจะเรียกอากรขาเข้าเพิ่มตามมาตรา112ตรีมิได้ระบุถึงกรณีตามมาตรา19ทวิและ19ตรีจึงไม่อยู่ในข่ายที่จะเรียกอากรขาเข้าเพิ่มตามมาตรา112ตรีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายยังไม่ผูกพัน จำเลยมีสิทธิปฏิเสธการขายได้
จำเลยที่ 1 เป็นมารดาของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เมื่อวันที่ 15กรกฎาคม 2532 โจทก์ได้ไปที่บ้านจำเลยที่ 1 เพื่อขอซื้อที่พิพาททั้ง 3 แปลง พบจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 เมื่อเจรจากันแล้วโจทก์ได้มอบเงินจำนวน 10,000 บาทให้จำเลยที่ 1 ไว้ และจำเลยที่ 1 ได้ออกใบเสร็จรับเงินให้โจทก์ โดยจำเลยที่ 4ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงิน โดยมีข้อตกลงว่าจะต้องปรึกษาจำเลยอื่นก่อนว่าจะขายที่พิพาทหรือไม่ วันรุ่งขึ้นเมื่อจำเลยที่ 2 กลับมา ได้ปรึกษาและสอบถามแล้ว เห็นว่ายังไม่ควรขาย ตอนเย็นวันนั้นจึงโทรศัพท์ไปบอกโจทก์ โจทก์ว่ามีหุ้นส่วนหลายคนเมื่อพร้อมแล้วจะมารับเงินคืน ดังนี้ แม้จะฟังข้อเท็จจริงได้ว่าเงินจำนวน 10,000บาท ที่จำเลยที่ 1 รับไว้จากโจทก์เป็นมัดจำก็เป็นการรับไว้โดยมีเงื่อนไขหรือข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 4 จะต้องปรึกษากับจำเลยอื่นก่อน เมื่อปรึกษาแล้วจำเลยที่ 1 ได้แจ้งปฏิเสธการขายให้โจทก์ทราบสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทจึงยังไม่เกิดขึ้น จำเลยที่ 1 และที่ 4 จึงไม่มีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้โจทก์และไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายยังไม่เกิดขึ้นเมื่อตกลงกันไม่ได้ การรับเงินมัดจำมีเงื่อนไข สัญญาไม่ผูกพัน
จำเลยที่1เป็นมารดาของจำเลยที่2ถึงที่5เมื่อวันที่15กรกฎาคม2532โจทก์ได้ไปที่บ้านจำเลยที่1เพื่อขอซื้อที่พิพาททั้ง3แปลงพบจำเลยที่1กับจำเลยที่4เมื่อเจรจากันแล้วโจทก์ได้มอบเงินจำนวน10,000บาทให้จำเลยที่1ไว้และจำเลยที่1ได้ออกใบเสร็จรับเงินให้โจทก์โดยจำเลยที่4ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินโดยมีข้อตกลงว่าจะต้องปรึกษาจำเลยอื่นก่อนว่าจะขายที่พิพาทหรือไม่วันรุ่งขึ้นเมื่อจำเลยที่2กลับมาได้ปรึกษาและสอบถามแล้วเห็นว่ายังไม่ควรขายตอนเย็นวันนั้นจึงโทรศัพท์ไปบอกโจทก์โจทก์ว่ามีหุ้นส่วนหลายคนเมื่อพร้อมแล้วจะมารับเงินคืนดังนี้แม้จะฟังข้อเท็จจริงได้ว่าเงินจำนวน10,000บาทที่จำเลยที่1รับไว้จากโจทก์เป็นมัดจำก็เป็นการรับไว้โดยมีเงื่อนไขหรือข้อตกลงว่าจำเลยที่1และที่4จะต้องปรึกษากับจำเลยอื่นก่อนเมื่อปรึกษาแล้วจำเลยที่1ได้แจ้งปฎิเสธการขายให้โจทก์ทราบสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทจึงยังไม่เกิดขึ้นจำเลยที่1และที่4จึงไม่มีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้โจทก์และไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเพิ่มเติมที่ไม่ชอบเนื่องจากเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรม
เมื่อโจทก์อ้างว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบ และขอให้ศาลเพิกถอน โจทก์ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นการไม่ชอบตามที่กล่าวอ้าง
สำเนาเอกสารที่จำเลยอ้างเป็นเพียงพยานหลักฐานประกอบกับพยานอื่น ทั้งเมื่อจำเลยอ้างส่งสำเนาเอกสารดังกล่าว โจทก์ก็มิได้คัดค้านว่าต้นฉบับไม่มี หรือเอกสารปลอม หรือสำเนาไม่ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93
การกำหนดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 เจ้าพนักงานประเมินต้องกำหนดเสียตั้งแต่เบื้องต้นที่ทำการประเมินภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินครั้งแรกโดยกำหนดเงื่อนไขว่า สำหรับเงินเพิ่มพิจารณาลดให้คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเงินเพิ่มตามกฎหมาย หากอุทธรณ์การประเมินจะไม่ลดเงินเพิ่มให้และจะประเมินเพิ่มเติมต่อไป เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข เจ้าพนักงานประเมินจึงทำการประเมินในครั้งที่สองเพิ่ม โดยเรียกเงินเพิ่มเพิ่มเติมในส่วนที่ลดให้นั้นเป็นการอาศัยเงื่อนไขในอนาคตมากำหนดเงินเพิ่มเพิ่มเติม ทั้งเป็นเงื่อนไขที่มิให้โจทก์ปฏิบัติตามสิทธิที่กฎหมายกำหนดไว้ การประเมินในกรณีที่สองนี้ไม่ชอบ
สำเนาเอกสารที่จำเลยอ้างเป็นเพียงพยานหลักฐานประกอบกับพยานอื่น ทั้งเมื่อจำเลยอ้างส่งสำเนาเอกสารดังกล่าว โจทก์ก็มิได้คัดค้านว่าต้นฉบับไม่มี หรือเอกสารปลอม หรือสำเนาไม่ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93
การกำหนดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 เจ้าพนักงานประเมินต้องกำหนดเสียตั้งแต่เบื้องต้นที่ทำการประเมินภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินครั้งแรกโดยกำหนดเงื่อนไขว่า สำหรับเงินเพิ่มพิจารณาลดให้คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเงินเพิ่มตามกฎหมาย หากอุทธรณ์การประเมินจะไม่ลดเงินเพิ่มให้และจะประเมินเพิ่มเติมต่อไป เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข เจ้าพนักงานประเมินจึงทำการประเมินในครั้งที่สองเพิ่ม โดยเรียกเงินเพิ่มเพิ่มเติมในส่วนที่ลดให้นั้นเป็นการอาศัยเงื่อนไขในอนาคตมากำหนดเงินเพิ่มเพิ่มเติม ทั้งเป็นเงื่อนไขที่มิให้โจทก์ปฏิบัติตามสิทธิที่กฎหมายกำหนดไว้ การประเมินในกรณีที่สองนี้ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: เงื่อนไขลดเงินเพิ่มที่ไม่ชอบ และการประเมินซ้ำ
เมื่อโจทก์อ้างว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบและขอให้ศาลเพิกถอน โจทก์ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นการไม่ชอบตามที่กล่าวอ้าง สำเนาเอกสารที่จำเลยอ้างเป็นเพียงพยานหลักฐานประกอบกับพยานอื่น ทั้งเมื่อจำเลยอ้างส่งสำเนาเอกสารดังกล่าว โจทก์มิได้คัดค้านว่าต้นฉบับไม่มี หรือเอกสารปลอม หรือสำเนาไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93 การกำหนดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 เจ้าพนักงานประเมินต้องกำหนดเสียตั้งแต่เบื้องต้นที่ทำการประเมินภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินครั้งแรกโดยกำหนดเงื่อนไขว่าสำหรับเงินเพิ่มพิจารณาลดให้คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเงินเพิ่มตามกฎหมาย หากอุทธรณ์การประเมินจะไม่ลดเงินเพิ่มให้และจะประเมินเพิ่มเติมต่อไป เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข เจ้าพนักงานประเมินจึงทำการประเมินในครั้งที่สองเพิ่ม โดยเรียกเงินเพิ่มเติมในส่วนที่ลดให้นั้นเป็นการอาศัยเงื่อนไขในอนาคตมากำหนดเงินเพิ่มเติมเพิ่มเติม ทั้งเป็นเงื่อนไขที่มิให้โจทก์ปฏิบัติตามสิทธิที่กฎหมายกำหนดไว้ การประเมินในกรณีที่สองนี้ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7350/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัยทางทะเล: ผลของการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการตรวจสภาพเรือและการรับรองของผู้เอาประกันภัย
สัญญาประกันภัยทางทะเลที่ทำขึ้นนั้น เมื่อประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายทะเล ทั้งไม่มีจารีตประเพณี จึงต้องวินิจฉัยคดีตามหลักกฎหมายทั่วไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4เมื่อกรมธรรม์ทำเป็นภาษาอังกฤษ จึงควรถือกฎหมายของอังกฤษเป็นกฎหมายทั่วไป ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความให้ผู้เอาประกันภัยนำเรือไปตรวจสภาพ และปฏิบัติตามคำแนะนำให้ซ่อมแซมเรือ ตามกฎหมายอังกฤษข้อความดังกล่าวเป็นคำรับรองของผู้เอาประกันภัย เป็นคำมั่นสัญญาที่ผู้เอาประกันต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด และไม่จำต้องมีข้อความต่อท้ายว่า ถ้าผู้เอาประกันภัยไม่ปฏิบัติแล้วผู้รับประกันภัยจะหลุดพ้นความรับผิด ผู้เอาประกันภัยมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยก่อนนำเรือออกทะเล เมื่อเรืออับปางที่ต่างประเทศ ผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดการที่บริษัทรับประกันภัยต่อได้จ่ายเงินให้จำเลยในรูปสินไหมกรุณา ซึ่งเป็นเงินที่ผู้รับประกันภัยจ่ายให้แม้จะมีความเห็นว่าผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบตามเงื่อนไขในกรมธรรม์โจทก์ในฐานะผู้รับจำนองจึงไม่อาจเข้ารับช่วงทรัพย์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7048/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางค่าฤชาธรรมเนียมเพื่ออุทธรณ์คดีแพ่ง: เงื่อนไขและผลของการไม่ปฏิบัติตาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยและใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ซึ่งค่าธรรมเนียมโจทก์ในคดีเป็นเงิน 32,227.50 บาทเมื่อจำเลยอุทธรณ์ก็ต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมจำนวนดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์เพียง 10,000 บาท ศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์จำเลยให้นำเงินค่าธรรมเนียมส่วนที่ขาดอีก 22,247.50 บาท มาวางภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ยื่นอุทธรณ์ จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์จำเลย จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 โดยจำเลยก็มีหน้าที่ที่จะต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลด้วย แม้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการวางเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมิใช่เนื้อหาของอุทธรณ์ก็ตาม แต่ก็เป็นการยื่นอุทธรณ์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 234 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7017/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมายตามเงื่อนไขที่ประกาศ ผู้สู้ราคารายใหม่หลังหมดเวลาไม่มีผล
ในการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านนับ 1 ถึง 2แล้วหยุดราคาไว้เพื่อนำเสนอผู้อำนวยการขายทอดตลาดพิจารณาว่าจะอนุมัติให้ขายหรือไม่ เป็นการทำตามคำโฆษณาบอกขายที่ผู้คัดค้านได้แถลงก่อนเผดิมการสู้ราคา ซึ่งมีผลผูกพันผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 510 การกระทำของผู้คัดค้านจึงชอบด้วยกฎหมาย