พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,077 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์โดยมีเจตนาใช้ยานพาหนะเพื่อหลบหนี ศาลฎีกาพิจารณาเจตนาของผู้กระทำผิด
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานมาเบิกความถึงการกระทำผิดของจำเลยเนื่องจากผู้เสียหายถึงแก่ความตายไปเสียก่อน แต่โจทก์มีคำให้การของผู้เสียหายที่ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนทันทีหลังเกิดเหตุ และได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนในวันรุ่งขึ้นซึ่งคำให้การของผู้เสียหายเป็นเรื่องราวต่อเนื่องสอดคล้องกับหลักฐานการเบิกเงินจากธนาคาร และยังสอดคล้องกับคำเบิกความของ พ. ซึ่งเป็นเพื่อนจำเลยและไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลย ทั้งผู้เสียหายเคยรักใคร่มีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับจำเลย ไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน ไม่มีเหตุที่ผู้เสียหายจะปรักปรำจำเลย พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน่าเชื่อว่าจำเลยลักทรัพย์ของผู้เสียหาย
การกระทำที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ นั้น ต้องดูที่เจตนาของผู้กระทำผิดเป็นส่วนสำคัญว่าต้องการใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมหรือไม่ เมื่อจำเลยมีเจตนาจะลักเงินสดที่อยู่ในกระเป๋าสะพายของผู้เสียหายที่วางอยู่ในรถที่จำเลยขับอยู่ก่อนแล้วโดยใช้อุบายหลอกผู้เสียหายให้ลงจากรถไปซื้อน้ำอัดลม แล้วถือโอกาสขับรถซึ่งมีกระเป๋าสะพายใส่เงินและกระเป๋าเสื้อผ้าของผู้เสียหายหนีไป จำเลยไม่ได้มีเจตนาที่จะใช้รถเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาเอาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุม จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิคงผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334
การกระทำที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ นั้น ต้องดูที่เจตนาของผู้กระทำผิดเป็นส่วนสำคัญว่าต้องการใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมหรือไม่ เมื่อจำเลยมีเจตนาจะลักเงินสดที่อยู่ในกระเป๋าสะพายของผู้เสียหายที่วางอยู่ในรถที่จำเลยขับอยู่ก่อนแล้วโดยใช้อุบายหลอกผู้เสียหายให้ลงจากรถไปซื้อน้ำอัดลม แล้วถือโอกาสขับรถซึ่งมีกระเป๋าสะพายใส่เงินและกระเป๋าเสื้อผ้าของผู้เสียหายหนีไป จำเลยไม่ได้มีเจตนาที่จะใช้รถเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาเอาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุม จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิคงผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานสนับสนุนการตั้งโรงงานแปรรูปไม้เถื่อน และการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง โดยมีเจตนา
ความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม่โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาตราบเท่าที่โรงงานแปรรูปไม้นั้นยังตั้งอยู่ และผู้ตั้งโรงงานยังไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้ตั้งโรงงานในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิด เมื่อจำเลยไปช่วยก่อสร้างและรับจ้างทำงานในโรงงานดังกล่าวแสดงว่าจำเลยทำงานมานานประกอบกับพฤติการณ์ที่จำเลยหลบหนีจึงฟังได้ว่าจำเลยรู้ว่าโรงงานนั้นตั้งขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย การที่จำเลยทำงานเป็นลูกจ้างในโรงงานโดยทำไม้วงกบประตูให้แก่ ค. นายจ้างที่จะนำไปสร้างบ้านย่อมเป็นการช่วยเหลือ ค. อันเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดของ ค. แล้วและเมื่อจำเลยเป็นผู้แปรรูปไม้สักของกลาง จำเลยย่อมเป็นผู้ดูแลรักษาไม้นั้นเพื่อมอบให้แก่ ค. จำเลยจึงมีความผิดฐานมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองอีกกระทงหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือเลิกจ้างสองภาษา: เจตนาของคู่กรณี และขอบเขตการต่อสู้คดีค่าชดเชย/สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยทำหนังสือเลิกจ้างเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทยในฉบับเดียวกัน แม้จำเลยจะเป็นบริษัทต่างประเทศ แต่จำเลยก็ประกอบกิจการในประเทศไทยและโจทก์หรือลูกจ้างอื่น ๆ ของจำเลยก็เป็นคนไทย ฉะนั้นเมื่อมิได้มีข้อความระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าในกรณีที่ข้อความที่เป็นภาษาอังกฤษและข้อความที่เป็นภาษาไทยแตกต่างกันให้ใช้ข้อความส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษเป็นหลัก จึงต้องถือว่าเป็นกรณีที่มิอาจหยั่งทราบเจตนาของคู่กรณีได้ว่าจะใช้ภาษาใดบังคับและต้องถือตามข้อความที่เป็นภาษาไทยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 14
ข้อความภาษาไทยระบุถึงเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ว่าสืบเนื่องมาจากโจทก์ละเลยต่อหน้าที่การงาน ขาดความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมายและประสิทธิภาพในการทำงานของโจทก์ไม่เป็นที่ยอมรับของจำเลย สาเหตุที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวมิใช่สาเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 ฉะนั้น จำเลยจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์หาได้ไม่ตามมาตรา 17 วรรคสาม
ข้อห้ามตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม หมายถึงจำเลยจะยกเหตุอื่นเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้หากมิได้ระบุเหตุดังกล่าวไว้ในหนังสือเลิกจ้างเท่านั้น ไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในเรื่องที่จำเลยอ้างว่าไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ด้วย ฉะนั้นแม้ในหนังสือเลิกจ้างจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ละเลยต่อหน้าที่การงานและขาดความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย จำเลยก็สามารถยกเหตุการณ์การกระทำผิดอื่น ๆของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในคำให้การขึ้นต่อสู้เพื่อไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ได้
ข้อความภาษาไทยระบุถึงเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ว่าสืบเนื่องมาจากโจทก์ละเลยต่อหน้าที่การงาน ขาดความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมายและประสิทธิภาพในการทำงานของโจทก์ไม่เป็นที่ยอมรับของจำเลย สาเหตุที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวมิใช่สาเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 ฉะนั้น จำเลยจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์หาได้ไม่ตามมาตรา 17 วรรคสาม
ข้อห้ามตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม หมายถึงจำเลยจะยกเหตุอื่นเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้หากมิได้ระบุเหตุดังกล่าวไว้ในหนังสือเลิกจ้างเท่านั้น ไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในเรื่องที่จำเลยอ้างว่าไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ด้วย ฉะนั้นแม้ในหนังสือเลิกจ้างจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ละเลยต่อหน้าที่การงานและขาดความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย จำเลยก็สามารถยกเหตุการณ์การกระทำผิดอื่น ๆของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในคำให้การขึ้นต่อสู้เพื่อไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือเลิกจ้างสองภาษา: เจตนาของคู่สัญญาและสิทธิการได้รับค่าชดเชย
หนังสือเลิกจ้างของบริษัทจำเลยจัดทำขึ้นเป็นสองภาษาคือภาษาอังกฤษและภาษาไทยในฉบับเดียวกัน แม้จำเลยจะเป็นบริษัทต่างประเทศแต่ก็ประกอบกิจการในประเทศไทย และโจทก์กับลูกจ้างอื่น ๆ ของจำเลยก็เป็นคนไทย ดังนั้น แม้หนังสือดังกล่าวจะไม่มีการระบุไว้ชัดแจ้งว่า หากข้อความที่เป็นภาษาอังกฤษกับข้อความที่เป็นภาษาไทยแตกต่างกันให้ใช้ข้อความภาษาอังกฤษเป็นหลัก กรณีจึงต้องถือว่ามิอาจหยั่งทราบเจตนาของคู่กรณีได้ว่าจะใช้ภาษาใดบังคับ จึงต้องถือตามข้อความที่เป็นภาษาไทยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 14 เมื่อข้อความภาษาไทยระบุถึงเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ละเลยต่อหน้าที่การงานขาดความรับผิดชอบและประสิทธิภาพในการทำงานของโจทก์ไม่เป็นที่ยอมรับของจำเลย อันมิใช่สาเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 จำเลยจะยกเหตุตามมาตราดังกล่าวมาอ้างเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ในภายหลังหาได้ไม่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสาม จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 ที่ระบุกรณีนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้าง หากมิได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิก นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้นั้น หมายถึง จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะยกเหตุอื่นเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้หากมิได้ระบุเหตุผลดังกล่าวไว้ในหนังสือเลิกจ้างเท่านั้น ไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในเรื่องที่จำเลยอ้างว่าไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ด้วย ฉะนั้น แม้ในหนังสือเลิกจ้างจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ละเลยต่อหน้าที่การงานและขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย จำเลยก็สามารถยกเหตุการณ์การกระทำผิดอื่น ๆของโจทก์ขึ้นต่อสู้เพื่อไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ได้
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 ที่ระบุกรณีนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้าง หากมิได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิก นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้นั้น หมายถึง จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะยกเหตุอื่นเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้หากมิได้ระบุเหตุผลดังกล่าวไว้ในหนังสือเลิกจ้างเท่านั้น ไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในเรื่องที่จำเลยอ้างว่าไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ด้วย ฉะนั้น แม้ในหนังสือเลิกจ้างจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ละเลยต่อหน้าที่การงานและขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย จำเลยก็สามารถยกเหตุการณ์การกระทำผิดอื่น ๆของโจทก์ขึ้นต่อสู้เพื่อไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาว่าจำเลยมีเจตนาไตร่ตรองไว้ก่อนในการทำร้ายร่างกายหรือไม่ โดยพิจารณาจากช่วงเวลาและพฤติการณ์
ล. ภริยาจำเลยชวนผู้เสียหายไปรับประทานอาหารที่บ้าน ผู้เสียหายไม่ไปแต่พูดว่า "กินบนโต๊ะหรือกินบนหญ้า" ทำให้จำเลยเข้าใจว่าผู้เสียหายใช้คำพูดส่อเสียดล่วงเกินทางเพศกับภริยาจำเลย จำเลยจึงโกรธและกลับไปนำอาวุธมีดง้าวมาฟันผู้เสียหาย โดยมีช่วงระยะเวลาห่างกันเพียงประมาณ 5 นาที เท่านั้น พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมชี้ชัดว่าเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกระชั้นชิด มิได้มีช่วงระยะเวลาขาดตอนอันจะทำให้จำเลยมีโอกาสใช้เวลาใคร่ครวญไตร่ตรองแล้วจึงก่อเหตุขึ้น การกระทำของจำเลยจึงรับฟังมิได้ว่าจำเลยกระทำความผิดโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจากความเข้าใจผิด ศาลฎีกายืนว่าไม่มีเจตนาไตร่ตรองไว้ก่อน
จำเลยฆ่า ย. เพราะจำเลยเข้าใจว่า ย. พูดถ้อยคำส่อเสียดล่วงเกินทางเพศกับ ล. ภริยาจำเลยทั้ง ๆ ที่จำเลยกับ ล. มีเจตนาดีต่อผู้เสียหาย จำเลยจึงโกรธและกลับไปนำอาวุธมีดง้าวมากระทำผิดโดยมีช่วงระยะเวลาห่างกันเพียงประมาณ 5 นาที เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกระชั้นชิด มิได้มีช่วงระยะเวลาขาดตอนอันจะทำให้จำเลยมีโอกาสใช้เวลาใคร่ครวญไตร่ตรองแล้วจึงก่อเหตุขึ้น ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: การพิสูจน์เจตนาทำร้ายและความผิดหน้าที่ตามกฎหมายแรงงาน
กรณีลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอันจะเป็นเหตุให้นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 (2) แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หมายถึงลูกจ้างกระทำโดยตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง หรืออีกนัยหนึ่งลูกจ้างกระทำโดยรู้ถึงผลเสียหายที่จะเกิดแก่นายจ้าง
การที่พนักงานแผนกซ่อมบำรุงของจำเลยผู้เป็นนายจ้างไปตรวจเช็คเครื่องเติมอากาศบ่อบำบัดน้ำเสียพบว่ามีเสียงดังผิดปกติ จึงรายงานให้โจทก์ซึ่งเป็นหัวหน้างานทราบ แต่โจทก์ไม่พูดอะไรและไม่ได้ไปดู จนกระทั่งพนักงานดังกล่าวเห็นว่าหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดความเสียหาย จึงหยุดเครื่อง แล้วโจทก์จึงสั่งให้พนักงานไปถอดมาซ่อม ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง การกระทำของโจทก์มิใช่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชย แต่การกระทำดังกล่าวของโจทก์เป็นการละเลยต่อหน้าที่การงานอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ ถือว่าเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคห้า
การที่พนักงานแผนกซ่อมบำรุงของจำเลยผู้เป็นนายจ้างไปตรวจเช็คเครื่องเติมอากาศบ่อบำบัดน้ำเสียพบว่ามีเสียงดังผิดปกติ จึงรายงานให้โจทก์ซึ่งเป็นหัวหน้างานทราบ แต่โจทก์ไม่พูดอะไรและไม่ได้ไปดู จนกระทั่งพนักงานดังกล่าวเห็นว่าหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดความเสียหาย จึงหยุดเครื่อง แล้วโจทก์จึงสั่งให้พนักงานไปถอดมาซ่อม ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง การกระทำของโจทก์มิใช่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชย แต่การกระทำดังกล่าวของโจทก์เป็นการละเลยต่อหน้าที่การงานอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ ถือว่าเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: เจตนาทำความเสียหาย vs. ละเลยหน้าที่ และการจ่ายค่าชดเชย/สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
กรณีลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอันจะเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119(2) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ หมายถึง ลูกจ้างกระทำโดยตั้งใจให้เกิดความเสียหายโดยรู้ถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่นายจ้างด้วย การที่พนักงานแผนกซ่อมบำรุงไปรายงานโจทก์ซึ่งเป็นหัวหน้างานว่าเครื่องเติมอากาศบ่อบำบัดน้ำเสียมีเสียงดังผิดปกติ แต่โจทก์ไม่พูดอะไรและไม่ได้ไปดู ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง จึงไม่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ แต่การกระทำดังกล่าวของโจทก์เป็นการละเลยต่อหน้าที่การงานอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบโดยเคร่งครัด ถือว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร: เจตนาเลี้ยงดูฉันสามีภรรยาเป็นเหตุบรรเทาโทษ
ขณะเกิดเหตุ เด็กหญิง ก. ผู้เสียหายอายุ 14 ปีเศษ พักอาศัยอยู่กับยาย แต่ผู้เสียหายยังไม่บรรลุนิติภาวะย่อมต้องอยู่ ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาซึ่งสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย พฤติการณ์ของจำเลยที่ให้ผู้เสียหายไปทำความสะอาดห้องนอนของจำเลย แล้วจำเลยตามไปกระทำชำเราผู้เสียหายในห้องนอนของตนในครั้งแรก และเมื่อผู้เสียหายไปหาจำเลย ที่บ้าน จำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหายเป็นครั้งที่สอง ล้วนเป็นการกระทำอันล่วงล้ำต่ออำนาจปกครองของบิดามารดาผู้เสียหาย ทั้งสิ้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรพรากผู้เสียหายซึ่งอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา แต่จำเลยยังมิได้มีภริยาจึงอยู่ในสถานะที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายฉันสามีภรรยาได้ และผู้เสียหายและจำเลยต่างก็รักใคร่ชอบพอกันทั้งต่อมาผู้เสียหายกับจำเลยก็ได้จดทะเบียนสมรสโดยได้รับอนุญาตจากศาล ย่อมเป็นเครื่องชี้เจตนาของจำเลยได้ว่า ประสงค์ที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายเป็นภริยา พฤติการณ์ของจำเลยจึงมิใช่เป็นการพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แต่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคแรก ประกอบ ป.อ. มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร vs. ความผิดฐานข่มขืนในความสัมพันธ์ฉันสามีภริยา
แม้ผู้เสียหายพักอยู่กับยาย แต่เมื่อยังไม่บรรลุนิติภาวะย่อมต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาที่สมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย พฤติการณ์ที่จำเลยให้ผู้เสียหายไปทำความสะอาดห้องนอนของจำเลย แล้วตามไปกระทำชำเราผู้เสียหายให้ห้องนอนของตนในครั้งแรกก็ดี และเมื่อผู้เสียหายไปหาจำเลยที่บ้านเพื่อสอบถามถึงเหตุที่จำเลยไม่รับผิดชอบ จำเลยกลับกระทำชำเราผู้เสียหายเป็นครั้งที่สองก็ดี ล้วนเป็นการกระทำอันล่วงล้ำอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้เสียหายทั้งสิ้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรพรากผู้เสียหายซึ่งอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา แต่การที่จำเลยยังมิได้มีภริยาจึงอยู่ในสถานะที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายฉันสามีภริยาได้ ทั้งหลังเกิดเหตุแล้วผู้เสียหายกับจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกันโดยได้รับอนุญาตจากศาล ย่อมเป็นเครื่องชี้เจตนาของจำเลยได้ว่าประสงค์จะเลี้ยงดูผู้เสียหายเป็นภริยาการกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารแต่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก