คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าของกรรมสิทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล่อยที่ดินจากการบังคับคดี: เจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมและสิทธิในที่ดิน
โจทก์นำยึดที่ดินทั้งแปลงตามโฉนดเนื้อที่ 79 ไร่ผู้ร้องขอให้ปล่อยที่ดินบางส่วนเนื้อที่ 29 ไร่เศษ ศาลพิพากษาให้ปล่อยที่ดินทั้งแปลงเนื้อที่ 79 ไร่เศษได้ในเมื่อฟังได้ว่าจำเลยไม่มีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินในโฉนดนั้นเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล่อยที่ดินจากการบังคับคดี: เจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมและสิทธิครอบครองเกิน 10 ปี
โจทก์นำยึดที่ดินทั้งแปลงตามโฉนดเนื้อที่ 79 ไร่.ผู้ร้องขอให้ปล่อยที่ดินบางส่วนเนื้อที่ 29 ไร่เศษ. ศาลพิพากษาให้ปล่อยที่ดินทั้งแปลงเนื้อที่ 79 ไร่เศษได้.ในเมื่อฟังได้ว่าจำเลยไม่มีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินในโฉนดนั้นเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ไม่ขึ้นอยู่กับความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย จำเลยให้การว่าได้ทำสัญญาเช่ากับโจทก์ แต่ได้เลิกเช่ากันแล้วภายหลังวันชี้สองสถานและได้สืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ และจำเลยเพิ่งทราบเมื่อสืบพยานโจทก์ จึงขอตัดฟ้องว่า โจทก์ไมมีอำนาจฟ้อง ทั้งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยื่นภายหลังวันชี้สองสถานได้นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า ตามคำฟ้องและคำให้การ แสดงว่าจำเลยเป็นคู่สัญญาเช่ากับโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยฐานผิดสัญญาได้ แม้จะฟังได้อย่างคำร้องขอเพิ่มเติมคำให้การของจำเลย ก็ไม่ได้ทำให้อำนาจฟ้องที่โจทก์มีอยู่เสียไป เพราะผู้ใช้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า
แม้จำเลยจะอ้างว่าข้อตัดฟ้องนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ตาม แต่ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ที่มีอยู่แล้วเสียไป และทั้งไม่ทำให้รูปคดีของจำเลยดีขึ้นแต่อย่างใด จึงไม่อนุญาตให้เพิ่มเติมคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาเช่า, การไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่าเคหะฯ จากการเปลี่ยนวัตถุประสงค์การเช่า, และสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้ห้องพิพาทเพื่อประกอบการค้าและให้เช่าช่วงกับผิดนัดชำระค่าเช่าสองคราวติดกัน เพื่อแสดงว่าจำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 ถือว่าฟ้องโจทก์สมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว
จำเลยให้การว่าได้เช่าตึกแถวรายพิพาทเพื่ออยู่อาศัย ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายถือได้ว่าจำเลยได้อ้างสิทธิตามกฎหมายพิเศษคือ พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 แล้ว
ผู้มีชื่อเช่าที่ดินโจทก์เพื่อสร้างตึกแถวให้คนเช่ามีกำหนดเวลาแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้โจทก์เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า กรรมสิทธิ์ในตึกแถวตกเป็นของโจทก์ตามสัญญาโดยสมบูรณ์ ไม่ต้องทำพิธีจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีกและเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเช่าตึกแถวรายพิพาทเป็นที่ผลิตสินค้าสำหรับจำหน่ายภายหลังต่อมาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยแต่อย่างเดียวเป็นการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการเช่าโดยผู้ให้เช่ามิได้ยินยอมด้วยตึกแถวรายพิพาทจึงไม่เป็นเคหะควบคุม ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและเมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่ากับจำเลยโดยชอบแล้ว สัญญาเช่าก็เป็นอันระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่สืบต่อแม้มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของกรรมสิทธิ์ และการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
ที่พิพาทเป็นของเจ้าของรวม 2 คน จำเลยเช่าจากเจ้าของรวมคนหนึ่งแม้ที่พิพาทจะเปลี่ยนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งแต่ผู้เดียวภายหลังก็ตามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 สัญญาเช่าก็หาได้ระงับไปไม่ โจทก์ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่เจ้าของรวมคนนั้นมีอยู่ต่อจำเลยตามสัญญา ทั้งเมื่อโจทก์ไม่ได้ตั้งประเด็นนำสืบให้ปรากฏว่า โจทก์ไม่ต้องผูกพันตามสัญญาเช่านั้นอย่างใด เช่นนี้แล้ว เมื่อสัญญาเช่ายังไม่ระงับและเป็นการเช่าที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าโจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ผู้เช่า: เจ้าของกรรมสิทธิ์ฟ้องได้แม้มีการมอบอำนาจและมีผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
ล.เป็นบิดา ฉ. เป็นมารดาของ ภ.พ.และ อ. เมื่อ ล.ตายศึกพิพาทตกเป็นมรดกแก่ ฉ.ภ.พ. และ อ. ผลที่สุดเมื่อ ฉ. ตายอีกก็ตกเป็นมรดกแก่ ภ.พ. และอ. พ. และอ. มอบให้ ภ. เป็นผู้จัดการ ภ. มอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้จัดการแทนอีกทอดหนึ่ง หนังสือมอบอำนาจจะเขียนว่าตึกพิพาทเป็นมรดกของ ล. หรือ ฉ. ก็หามีความหมายผิดกันไม่ และการที่เจ้าของกรรมสิทธิ์มอบอำนาจทั่วไปแก่ ส.นี้ก็ไม่ใช่เรื่องผู้จัดการมรดก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1715 และ 1358 ไม่ตรงกับรูปคดีนี้
เมื่อทำสัญญาเช่าก็เชียนชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ว่าเป็นเจ้าของบริษัทจำเลยที่ 2 เมื่อนำสืบก็รับว่ามีคนภายนอกถือหุ้นอยู่ด้วยไม่เกินร้อยละสิบ ที่ตั้งทำการของจำเลยที่ 2 ก็คือตึกรายพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าไป เป็นเหตุผลเพียงพอให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย โจทก์ระบุชัดในคำฟ้องเรียกบริษัทเป็นจำเลยที่ 2 โดยบรรยายด้วยว่าเป็นนิติบุคคล คำขอให้ขับไล่จำเลยย่อมหมายถึงจำเลยทั้งสอง
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกรายพิพาทในขณะที่ฟ้องขับไล่ ไม่จำต้องบรรยายฟ้องโดยละเอียดถึงความเป็นมาแห่งตึกนี้
คำฟ้องระบุชื่อจำเลยทั้งสองไว้ในตอนต้นแล้ว ตอนต่อๆ ไปแม้จะใช้คำว่าจำเลยก็มีความหมายว่าจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากผู้เช่า โดยระบุชัดถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และอำนาจฟ้อง
ล. เป็นบิดา ฉ.เป็นมารดาของภ.พ.และอ. เมื่อ ล. ตาย ตึกพิพาทก็ตกเป็นมรดกแก่ฉ.ภ.พ.และอ. ผลที่สุดเมื่อฉ. ตายอีก ก็ตกเป็นมรดกแก่ภ.พ.และอ. พ.และอ.มอบให้ภ. เป็นผู้จัดการภ.มอบอำนาจให้ส. เป็นผู้จัดการแทนอีกทอดหนึ่งหนังสือมอบอำนาจจะเขียนว่าตึกพิพาทเป็นมรดกของล.หรือฉ. ก็หามีความหมายผิดกันไม่ และการที่เจ้าของกรรมสิทธิ์มอบอำนาจทั่วไปแก่ ส. นี้ก็ไม่ใช่เรื่องผู้จัดการมรดก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1715 และ1358 ไม่ต้องกับรูปคดีนี้
เมื่อทำสัญญาเช่าก็เขียนชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ว่าเป็นเจ้าของบริษัทจำเลยที่ 2 เมื่อนำสืบก็รับว่ามีคนภายนอกถือหุ้นอยู่ด้วยไม่เกินร้อยละสิบ ที่ตั้งทำการของจำเลยที่ 2 ก็คือตึกรายพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าไปเป็นเหตุผลเพียงพอให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย โจทก์ระบุชัดในคำฟ้องเรียกบริษัทเป็นจำเลยที่ 2 โดยบรรยายด้วยว่าเป็นนิติบุคคล คำขอให้ขับไล่จำเลยย่อมหมายถึงจำเลยทั้งสอง
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกรายพิพาทในขณะที่ฟ้องขับไล่ ไม่จำต้องบรรยายฟ้องโดยละเอียดถึงความเป็นมาแห่งตึกนี้
คำฟ้องระบุชื่อจำเลยทั้งสองไว้ในตอนต้นแล้ว ตอนต่อๆไปแม้จะใช้คำว่าจำเลยก็มีความหมายว่าจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857-859/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าตึกที่ไม่ได้จดทะเบียน สิทธิและหน้าที่ของผู้เช่าเมื่อสัญญาหมดอายุ และผลกระทบต่อเจ้าของกรรมสิทธิ์
สัญญาที่เจ้าของที่ดินให้ผู้เช่าที่ดินปลูกตึกรายพิพาท แล้วให้ตึกพิพาทตกเป็นของเจ้าของที่ดินแต่ให้ผู้เช่าที่ดินเอาตึกไปให้ผู้อื่นเช่าได้มีกำหนดระยะเวลา 6 ปี สัญญานี้ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วนั้น เป็นสัญญาที่มีผลผูกพันเจ้าของที่ดินกับผู้เช่าที่ดินเท่านั้น ส่วนจำเลยที่มีสิทธิเข้ามาอยู่ในตึกรายพิพาทได้ก็โดยอาศัยสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับผู้เช่าที่ดินที่ปลูกตึกพิพาทต่างหาก จำเลยจะมีสิทธิอยู่ในตึกรายพิพาทได้แค่ไหนเพียงใดนั้น ย่อมจะต้องเป็นไปตามสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดที่จะยกเอาสัญญาที่เจ้าของที่ดินทำกับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทมายันเจ้าของที่ดินได้เพราะจำเลยไม่ใช่คู่สัญญา สัญญานั้นจึงไม่มีข้อผูกพันเกี่ยวข้องกับจำเลยเมื่อสัญญาปลูกสร้างตึกพิพาทระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทระงับไปแล้ว เจ้าของที่ดินซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในตึกรายพิพาทย่อมจะรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่ผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทมีอยู่ตามสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจำเลย จำเลย 3 สำนวนนี้ ได้ทำสัญญาเช่าตึกรายพิพาทแต่ละห้องไว้กับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทมีกำหนดเวลาเช่า 6 ปี จะทำสัญญาเช่าเป็น 2 ฉบับๆละ 3 ปี หรือจะทำเป็นฉบับเดียวมีกำหนด 6 ปี ก็ตาม เมื่อไม่ได้จดทะเบียนสัญญาเช่านั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วสัญญาเช่านั้นก็คงใช้ได้เพียง 3 ปีเท่านั้น เมื่อจำเลยผู้เช่ามาครบกำหนด 3 ปีแล้วและห้องเช่าไม่ใช่เคหะที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ และเจ้าของที่ดินได้บอกเลิกการเช่าโดยชอบแล้ว เจ้าของที่ดินก็ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องขอเรียกเป็นค่าเช่า แต่ถ้าตามสภาพของคำฟ้องเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยยังคงขืนอยู่ในห้องของโจทก์ในเมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวแล้วโดยชอบ ให้จำเลยคืนห้องให้โจทก์ ศาลก็ย่อมให้จำเลยชดใช้เป็นค่าเสียหายได้ (อ้างฎีกาที่1593/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681-682/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนที่ดินที่บุตรเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ศาลไม่สามารถพิพากษาให้ผูกพันบุคคลภายนอกได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินซึ่งมีชื่อบุตรจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่บุตรจำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดี กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ศาลจะพิพากษาหรือสั่งใด ๆ ให้ผูกพันบุตรของจำเลย ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681-682/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนที่ดินที่บุตรเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โดยบุตรไม่ได้เป็นคู่ความ ศาลจำกัดผลกระทบของคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินซึ่งมีชื่อบุตรจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่บุตรจำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดี กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ศาลจะพิพากษาหรือสั่งใดๆ ให้ผูกพันบุตรของจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้
of 16