พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,471 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเรียกรับเงินจากผู้รับเหมาช่วงตรวจรับงาน ทุจริตต่อหน้าที่
ขณะเกิดเหตุจำเลยได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการตรวจรับการจ้างเหมาต่อเติมอาคารที่ทำการสถานีอุตุนิยมวิทยา 1 หลัง และปรับปรุงต่อเติมบ้านพักแถวเรือนแฝด1 หลัง ผู้เสียหายเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดและได้รับจ้างเหมาดังกล่าวก่อนมีการทำสัญญาจ้าง จำเลยขอยืมเงินผู้เสียหายจำนวน 5,000 บาทและในวันที่ 20 พฤษภาคม 2530 ผู้เสียหายได้จ่ายเงินให้แก่จำเลยอีกจำนวน 15,000 บาท การที่จำเลยทราบอยู่แล้วว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด ซึ่งจำเลยเป็นประธานคณะกรรมการตรวจรับการจ้างอยู่ด้วย ย่อมอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมได้ และการที่ผู้เสียหายยอมให้จำเลยยืมเงินดังกล่าวก็เพราะไม่อาจปฏิเสธได้ การกระทำของจำเลยส่อไปในทางทุจริตและเป็นความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการตามมาตรา 85 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2518 ว่าด้วยเรื่องบริจาค ทั้งต่อมาเมื่อมีการออกเช็คสั่งจ่ายค่าจ้างเหมาจำนวน 123,453 บาท และจำเลยได้นำเช็คไปขึ้นเงินสดที่ธนาคาร ระหว่างรอรับเงินผู้เสียหายได้ตามไปที่ธนาคารและขอให้โอนเงินตามเช็คเข้าบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายจากนั้นจำเลยได้ตามผู้เสียหายไปที่บ้านเพื่อขอใบรับเงินจากผู้เสียหายจำเลยได้เรียกร้องเงินจากผู้เสียหายอีกจำนวน 29,000 บาท โดยหักจากเงินที่ขอยืมไปจำนวน 5,000 บาท และให้ผู้เสียหายจ่ายให้จำนวน 24,000 บาท จึงเกิดการโต้เถียงกันขึ้น ในที่สุดผู้เสียหายก็ยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยเพียง 15,000 บาท พฤติการณ์ที่จำเลยรับเงินจากผู้เสียหายดังกล่าวสืบเนื่องมาจากการที่ผู้เสียหายรับจ้างเหมาต่อเติมอาคารที่ทำการสถานีอุตุนิยมวิทยาที่จำเลยเป็นประธานคณะกรรมการตรวจรับการจ้าง อันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลย การที่จำเลยเรียกร้องจากผู้เสียหายดังกล่าว เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลายื่นคำอุทธรณ์ภาษีอากร: เหตุผลความจำเป็น & การปรับข้อเท็จจริงของเจ้าพนักงาน
ผู้รับการประเมินที่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ตามกำหนดเวลาอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 ย่อมมีสิทธิขอให้อธิบดีกรมสรรพากรขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาในการยื่นคำอุทธรณ์ออกไปได้ตามมาตรา 3 อัฏฐ หากอธิบดีกรมสรรพากรพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้รับการประเมินมีเหตุจำเป็น แต่กลับสั่งไม่อนุมัติให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไป เป็นการขัดขวางมิให้ผู้รับการประเมินได้รับสิทธิในการพิจารณาอุทธรณ์จากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และสิทธิในการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลย่อมไม่ชอบผู้รับการประเมินมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ศาลภาษีอากรกลางเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้ เพื่อให้ศาลภาษีอากรกลางแก้ไขคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรเสียใหม่ให้ถูกต้องต่อไป โดยถือว่าคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดกิจกรรมบริการสังคมตาม ป.อ.มาตรา 56(1) ต้องคำนึงความเห็นผู้กระทำความผิด และกำหนดเวลาที่ชัดเจน
ตาม ป.อ.มาตรา 56 (1) การจัดให้ผู้กระทำความผิดกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์นั้น กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานและผู้กระทำความผิดเห็นสมควร หาใช่ตามที่เจ้าพนักงานเห็นสมควรฝ่ายเดียวไม่ และสมควรกำหนดเวลากระทำกิจกรรมให้ชัดเจนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้อำนาจเจ้าพนักงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการกระทำโดยบันดาลโทสะ
ผู้เสียหายเป็นนายอำเภอท้องที่ที่เกิดเหตุ ผู้เสียหายมีคำสั่งให้สถานบริการอาหารและเครื่องดื่มที่มีดนตรีบรรเลงและสถานที่เล่นสนุกเกอร์ของจำเลยหยุดบริการ เพราะเปิดเกินเวลาและให้พนักงานของจำเลยไปตามจำเลยมาเพื่อรับทราบคำสั่ง ซึ่งทางราชการได้สั่งให้สถานบริการในท้องที่ที่เกิดเหตุต้องหยุดให้บริการในเวลา 1 นาฬิกา โดยขณะที่ผู้เสียหายออกคำสั่งดังกล่าวก่อนเวลา1 นาฬิกาที่จำเลยจะต้องปิดสถานบริการตามคำสั่งของทางราชการเป็นอันมากคำสั่งของผู้เสียหายที่ให้จำเลยปิดสถานบริการจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยคำสั่งทางราชการ ดังนี้ การใช้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับผู้อื่นซึ่งไม่ใช่ผู้อยู่ในความปกครองหรือสั่งการย่อมเป็นการผิดวิสัย เว้นแต่จะขอร้องกันเป็นการส่วนตัว วิธีปฏิบัติที่ผู้เสียหายทำไปบ่งชัดว่าไม่ใช่การสั่งการในฐานะเจ้าพนักงาน การกระทำของผู้เสียหายดังกล่าวมาทั้งหมดจึงมิใช่การกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ.มาตรา 289 (2)
การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งนายอำเภอผู้มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบได้ออกคำสั่งให้จำเลยผู้เป็นราษฎรในเขตท้องที่ที่ตนดูแลอยู่ให้ปิดสถานบริการก่อนเวลาที่ทางราชการกำหนดอันเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยหน้าที่ และปฏิเสธการขอร้องของจำเลยที่จะอนุญาตให้เปิดสถานบริการต่อตามกำหนดเวลาของทางราชการ ตลอดจนการที่ผู้เสียหายผลักจำเลยให้พ้นทางของตนโดยไม่ยอมรับฟังจำเลยต่อไปนั้น เป็นการข่มเหงจำเลยราษฎรในความปกครองของตนอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เมื่อจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายผู้ข่มเหงตนในขณะนั้น จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดไปโดยบันดาลโทสะ
การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งนายอำเภอผู้มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบได้ออกคำสั่งให้จำเลยผู้เป็นราษฎรในเขตท้องที่ที่ตนดูแลอยู่ให้ปิดสถานบริการก่อนเวลาที่ทางราชการกำหนดอันเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยหน้าที่ และปฏิเสธการขอร้องของจำเลยที่จะอนุญาตให้เปิดสถานบริการต่อตามกำหนดเวลาของทางราชการ ตลอดจนการที่ผู้เสียหายผลักจำเลยให้พ้นทางของตนโดยไม่ยอมรับฟังจำเลยต่อไปนั้น เป็นการข่มเหงจำเลยราษฎรในความปกครองของตนอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เมื่อจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายผู้ข่มเหงตนในขณะนั้น จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดไปโดยบันดาลโทสะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำของเจ้าพนักงานที่ไม่ชอบด้วยหน้าที่และการป้องกันตัวโดยบันดาลโทสะในคดีพยายามฆ่า
ผู้เสียหายเป็นนายอำเภอท้องที่ที่เกิดเหตุ ผู้เสียหายมีคำสั่งให้สถานบริการอาหารและเครื่องดื่มที่มีดนตรีบรรเลงและสถานที่เล่นสนุกเกอร์ของจำเลยหยุดบริการ เพราะเปิดเกินเวลาและให้พนักงานของจำเลยไปตามจำเลยมาเพื่อรับทราบคำสั่ง ซึ่งทางราชการได้สั่งให้สถานบริการในท้องที่ที่เกิดเหตุต้องหยุดให้บริการในเวลา 1 นาฬิกา โดยขณะที่ผู้เสียหายออกคำสั่งดังกล่าวก่อนเวลา 1 นาฬิกาที่จำเลยจะต้องปิดสถานบริการตามคำสั่งของทางราชการเป็นอันมากคำสั่งของผู้เสียหายที่ให้จำเลยปิดสถานบริการจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยคำสั่งทางราชการ ดังนี้ การใช้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับผู้อื่นซึ่งไม่ใช่ผู้อยู่ในความปกครองหรือสั่งการย่อมเป็นการผิดวิสัย เว้นแต่จะขอร้องกันเป็นการส่วนตัววิธีปฏิบัติที่ผู้เสียหายทำไปบ่งชัดว่าไม่ใช่การสั่งการในฐานะเจ้าพนักงาน การกระทำของผู้เสียหายดังกล่าวมาทั้งหมดจึงมิใช่การกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(2) การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งนายอำเภอผู้มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้ออกคำสั่งให้จำเลยผู้เป็นราษฎรในเขตท้องที่ที่ตนดูแลอยู่ให้ปิดสถานบริการก่อนเวลาที่ทางราชการกำหนดอันเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยหน้าที่ และปฏิเสธการขอร้องของจำเลยที่จะอนุญาตให้เปิดสถานบริการต่อตามกำหนดเวลาของทางราชการ ตลอดจนการที่ผู้เสียหายผลักจำเลยให้พ้นทางของตนโดยไม่ยอมรับฟังจำเลยต่อไปนั้น เป็นการข่มเหงจำเลยราษฎรในความปกครองของตนอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เมื่อจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายผู้ข่มเหงตนในขณะนั้น จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดไปโดยบันดาลโทสะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต - การนับกรรมความผิดจากการอนุมัติเบิกเกินบัญชี
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารโจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตโดยจำเลยอนุมัติให้บริษัท ส.เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยจำเลยไม่มีอำนาจ แม้จะได้ความว่า หลังจากจำเลยลาออกจากโจทก์แล้ว ต่อมาโจทก์ได้ยอมรับการชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่บริษัท ส.ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์ก็ตาม ก็เป็นเพียงการที่โจทก์ผ่อนผันให้บริษัทดังกล่าวชำระหนี้ที่ก่อไว้เท่านั้น หาเป็นการสละหรือยอมให้หนี้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นระงับไปไม่ เมื่อจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตต่อโจทก์อันเป็นความผิดแล้ว โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ โดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายหรือไม่
จำเลยอนุมัติให้บริษัท ส.เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่มีอำนาจหลายวันด้วยกัน แต่ในแต่ละวันจำเลยจะอนุมัติเพียงครั้งเดียว ดังนี้แม้จำเลยจะมีเจตนาอย่างเดียวกันในอันที่จะให้บริษัทดังกล่าวได้เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่ชอบเจตนาเช่นนั้นก็มีได้เฉพาะในวันหนึ่งวันหนึ่ง เมื่อสิ้นวันแล้วจำเลยมีเจตนาเช่นนั้นอีกก็เป็นการกระทำอีกวันหนึ่ง ซึ่งเป็นการกระทำต่างหากจากวันที่ล่วงมาเป็นอีกกรรมหนึ่ง ดังนั้นการที่จำเลยอนุมัติให้บริษัท ส.เบิกเงินเกินบัญชีไปวันหนึ่งเป็นการกระทำกรรมหนึ่ง จำเลยอนุมัติทั้งหมด 144 วัน จึงเป็นความผิด 144 กรรม มิใช่เป็นความผิด 338 กรรม ตามที่จำเลยอนุมัติเช็คและใบหักหนี้แต่ละฉบับ
จำเลยอนุมัติให้บริษัท ส.เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่มีอำนาจหลายวันด้วยกัน แต่ในแต่ละวันจำเลยจะอนุมัติเพียงครั้งเดียว ดังนี้แม้จำเลยจะมีเจตนาอย่างเดียวกันในอันที่จะให้บริษัทดังกล่าวได้เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่ชอบเจตนาเช่นนั้นก็มีได้เฉพาะในวันหนึ่งวันหนึ่ง เมื่อสิ้นวันแล้วจำเลยมีเจตนาเช่นนั้นอีกก็เป็นการกระทำอีกวันหนึ่ง ซึ่งเป็นการกระทำต่างหากจากวันที่ล่วงมาเป็นอีกกรรมหนึ่ง ดังนั้นการที่จำเลยอนุมัติให้บริษัท ส.เบิกเงินเกินบัญชีไปวันหนึ่งเป็นการกระทำกรรมหนึ่ง จำเลยอนุมัติทั้งหมด 144 วัน จึงเป็นความผิด 144 กรรม มิใช่เป็นความผิด 338 กรรม ตามที่จำเลยอนุมัติเช็คและใบหักหนี้แต่ละฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9375/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนโฉนดที่ดินที่ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานที่ดินประมาทเลินเล่อและร่วมกระทำละเมิด โจทก์มีสิทธิเรียกทรัพย์คืน
โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 6โดยจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกต้องสัญญาให้ที่ดินโจทก์จึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้โฉนดที่ดินพิพาทที่โจทก์ได้รับมาจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 7จะเป็นโฉนดที่ดินปลอมแต่เมื่อโฉนดที่ดินฉบับหลวงระบุว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมเป็นของโจทก์ตามกฎหมาย การที่บุคคลอื่นซึ่งไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทปลอมเป็นโจทก์ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แม้จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม จำเลยที่ 1ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4และที่ 5 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งได้ชื่อในสารบัญจดทะเบียนโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยที่ 4และที่ 5 แล้วก็ตามจำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็มิได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 นั้นไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382แต่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ไม่ได้ให้การสู้คดีไว้ในศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยที่ 7ทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1โดยประมาทเลินเล่อและได้กระทำไปเนื่องจากการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ดังนั้นจำเลยที่ 7จึงต้องรับผิดต่อโจทก์แม้ว่ามูลละเมิดจะขาดอายุความแล้วโจทก์ก็มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 7 ดำเนินการแก้ไขโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทให้ถูกต้องเพื่อแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกทรัพย์คืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9306/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตเรียกรับเงินจากทหารกองเกินเพื่อช่วยเหลือหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร มีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานเขตภายใต้บังคับบัญชาของหัวหน้าเขตเมื่อหัวหน้าเขตเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลย โดยนัยแห่ง พ.ร.บ.รับราชการทหารพ.ศ.2497 มาตรา 28 จัตวา (2) หัวหน้าเขตย่อมมีอำนาจออกคำสั่งแต่งตั้งจำเลยให้เป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ช่วยเหลือคณะกรรมการตรวจเลือกทหารกองเกินภายในท้องที่เขตส่งเข้าเป็นทหารกองประจำการได้ และถือว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ.ที่จะต้องปฎิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 นอกเหนือจากการปฎิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเสมียนสัสดีเขต ซึ่งเป็นหน้าที่ตามปกติอีกหน้าที่หนึ่งดังนั้น การที่จำเลยเรียกและรับเงินจากบรรดาทหารกองเกินผู้ได้รับหมายเรียกให้เข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ เป็นการตอบแทนในการที่จำเลยรับจะทำการช่วยเหลือมิให้บรรดาทหารกองเกินเหล่านั้นต้องเข้ารับการตรวจเลือกและไม่ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการ จำเลยย่อมมีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตาม ป.อ.มาตรา 149
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9306/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตเรียกรับเงินจากทหารกองเกินเพื่อช่วยเหลือให้หลีกเลี่ยงการตรวจเลือกเข้ากองประจำการ
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานเขตภายใต้บังคับบัญชาของหัวหน้าเขตซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาโดยนัยแห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 28 จัตวา(2)หัวหน้าเขตย่อมมีอำนาจออกคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 1ให้เป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ช่วยเหลือคณะกรรมการตรวจเลือกทหารกองเกินภายในเขตท้องที่และถือว่าจำเลยที่ 1เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร นอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเสมียนสัสดี เมื่อจำเลยที่ 1 เรียกและรับเงินจากบรรดาทหารกองเกินผู้ได้รับหมายเรียกให้เข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการเป็นการตอบแทนที่ช่วยเหลือมิให้ต้องเข้ารับการตรวจเลือกและไม่ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการ จำเลยที่ 1 ย่อมมีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6160/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ โดยการตรวจสอบเอกสารจดทะเบียนรถยนต์หลายคัน ถือเป็นกรรมต่างวาระ
ในการยื่นคำขอจดทะเบียนและต่อทะเบียนรถยนต์แต่ละคันผู้ขอต้องยื่นแบบเรื่องราวขอจดทะเบียนและต่อทะเบียนรถยนต์พร้อมเอกสารต่าง ๆ ให้เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจคำขอและเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจอนุญาตพิจารณาแบบเรื่องราวสำหรับรถยนต์แต่ละคันแยกกันต่างหากเป็นราย ๆ ไป แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบหลักฐานได้พิจารณาคำขอพร้อมเอกสารต่าง ๆสำหรับรถยนต์แต่ละคันว่าหลักฐานเกี่ยวกับตัวรถยนต์ถูกต้องตรงกันกับเอกสารหรือไม่ ในเวลาต่อเนื่องกันก็กระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกระทงตามจำนวนเรื่องราวขอจดทะเบียนและต่อทะเบียนรถยนต์แต่ละคัน มิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกันในแต่ละวัน