พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,539 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการ, การยอมรับแผนโดยเจ้าหนี้, และอำนาจศาลในการให้ความเห็นชอบแผน
ปัญหาที่ว่าเจ้าหนี้รายใดจะมีสิทธิคัดค้านการเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่นั้น เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องขอทั้งห้าและผู้ทำแผนสามารถยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
ตามแผนฟื้นฟูกิจการได้จัดให้เจ้าหนี้รายที่ 207 อยู่ในกลุ่มที่ 12 สิทธิของเจ้าหนี้ในกลุ่มนี้ที่จะได้รับชำระหนี้ดังเช่นสัญญาเดิมคงมีเฉพาะกำหนดชำระหนี้การค้า แต่ไม่รวมถึงอัตราดอกเบี้ยแต่อย่างใด เมื่อตามสำนวนปรากฏว่าเจ้าหนี้รายที่ 207 ขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตั๋วแลกเงินและหนี้เงินกู้ TPI - ANZ BANK พร้อมด้วยดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด เจ้าหนี้รายที่ 207 จึงมิใช่เจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เฉพาะต้นเงินในหนี้การค้าตามแผนฟื้นฟูกิจการ ทั้งในแผนฟื้นฟูกิจการเล่มที่ 1 หน้าที่ 4 ในส่วนหมายเหตุได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า เจ้าหนี้ที่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในส่วนของภาคผนวก 3 ซึ่งหมายถึงเจ้าหนี้ในกลุ่มที่ 12 เป็นเจ้าหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการฟื้นฟูกิจการ เช่นนี้ เจ้าหนี้รายที่ 207 จึงมิใช่เจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/46 ทวิ (2) เจ้าหนี้รายที่ 207 จึงมีสิทธิคัดค้านแผนได้ตามมาตรา 90/57 ส่วนเจ้าหนี้รายที่ 270 ตามแผนฟื้นฟูกิจการจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ 14 คือเจ้าหนี้ที่ไม่ได้รับผลกระทบตามแผน จึงเป็นเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/46 ทวิ (1) ซึ่งกฎหมายให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้ที่ยอมรับแผน เจ้าหนี้รายที่ 270 จึงไม่มีสิทธิคัดค้านแผนตามมาตรา 90/57 แม้ว่าในการอุทธรณ์ของเจ้าหนี้รายที่ 270 นี้จะได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลางก็ตาม ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าหนี้รายนี้ในการอุทธรณ์แต่อย่างใด อุทธรณ์ของเจ้าหนี้รายที่ 270 จึงตกไป
ในการประกาศโฆษณากำหนดนัดประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อย 1 ฉบับล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 10 วัน ตามมาตรา 90/44 วรรคหนึ่งนั้น ใช้เฉพาะกับการนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก ส่วนในการนัดประชุมเจ้าหนี้ในคราวที่ได้เลื่อนไปนั้น หากว่าในการนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกได้ดำเนินการโดยชอบตามมาตรา 90/44 วรรคหนึ่งแล้ว การนัดประชุมเจ้าหนี้ในคราวที่ได้เลื่อนไปก็ไม่ต้องประกาศโฆษณากำหนดนัดประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันอีก ปรากฏว่าในการนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ดำเนินการโดยชอบตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/44 วรรคหนึ่งแล้ว แต่การประชุมดังกล่าวไม่แล้วเสร็จจึงมีการเลื่อนไป เช่นนี้การประชุมเจ้าหนี้ในคราวที่ได้เลื่อนไปจึงไม่ต้องดำเนินการโฆษณากำหนดนัดประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอีกแต่อย่างใด
ในการมีคำสั่งหรือคำพิพากษานั้น ศาลล้มละลายกลางจะต้องวินิจฉัยคดีตามประเด็นซึ่งเจ้าหนี้ได้ยกขึ้นอ้างในคำคัดค้าน เมื่อประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญในการพิจารณาว่าจะให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่ การที่ศาลล้มละลายกลางยังมิได้พิจารณาประเด็นเรื่องการประกาศโฆษณากำหนดนัดประชุมซึ่งถือว่าเป็นประเด็นสำคัญจึงเป็นการไม่ชอบตามข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการอุทธรณ์คดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาประกอบกับประเด็นที่ศาลล้มละลายกลางยังไม่ได้วินิจฉัยนั้นเป็นประเด็นที่ลูกหนี้ได้คัดค้านและอุทธรณ์มายังศาลฎีกาด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล้มละลายกลางวินิจฉัยก่อน
วิธีประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการนั้น พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 หมวด 3/1 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ มิได้บัญญัติโดยเฉพาะกรณีจึงต้องนำ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 หมวด 1 ส่วนที่ 3 ว่าด้วยการประชุมเจ้าหนี้มาบังคับใช้โดยอนุโลมตามมาตรา 90/2 วรรคสอง ซึ่งในบทบัญญัติส่วนดังกล่าว มาตรา 33 กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นประธานในการประชุม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงเป็นผู้เสนอหัวข้อให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาและควบคุมการประชุมเจ้าหนี้ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย แม้ว่าคำขอแก้ไขแผนของลูกหนี้จะมีประเด็นต่าง ๆ รวม 20 ประเด็น แต่ที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่ได้เสนอให้ลงมติเป็นรายประเด็นหรือรวมกัน กรณีจึงเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นประธานในการประชุมที่จะพิจารณาถึงประเด็นต่าง ๆ ในคำขอแก้ไขแผนฉบับดังกล่าวตลอดจนความเกี่ยวพันของประเด็นเหล่านั้นในคำขอว่าจะให้มติแยกหรือรวมก็ได้
บทบัญญัติในมาตรา 90/57 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มิได้บังคับศาลว่าจะต้องดำเนินการไต่สวนพยานก่อนที่จะมีคำสั่งว่าเห็นชอบด้วยแผน แต่บทบัญญัติดังกล่าวเปิดโอกาสให้เป็นดุลพินิจของศาลในการที่จะพิจารณาว่าข้อสาระสำคัญที่ใช้ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับแผนนั้นมีอยู่ครบถ้วนแล้วหรือไม่ หากศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในการที่จะเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่นั้นมีอยู่ครบถ้วนแล้วก็ไม่มีเหตุที่จะต้องไต่สวนพยานหลักฐานอันจะทำให้คดีฟื้นฟูกิจการล่าช้าออกไปแต่อย่างใด
กระบวนพิจารณาในการฟื้นฟูกิจการนั้น หลังจากที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับแผนด้วยมติพิเศษตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/46 แล้ว กฎหมายกำหนดให้แผนดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกขั้นตอนหนึ่งตามบทบัญญัติในส่วนที่ 8 ว่าด้วยการพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ กรณีจึงเป็นการกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในทางธุรกิจเพื่อจะได้วินิจฉัยตรวจสอบในการให้ความเห็นชอบด้วยแผนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และมอบดุลพินิจให้ตรวจสอบว่าสมควรจะให้ความเห็นชอบด้วยแผนนั้นหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจตรวจสอบถึงเนื้อหาของแผนตลอดจนโอกาสความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามแผนด้วย มิใช่พิจารณาเพียงแต่ตรวจสอบรายการต่าง ๆ ว่ามีครบถ้วนตามรูปแบบหรือไม่
เมื่อปรากฏว่าในการดำเนินการประชุมเจ้าหนี้นั้นได้มีการประชุมโดยชอบ ที่ประชุมเจ้าหนี้ได้มีมติพิเศษยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการ ทั้งแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าวมีรายการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด และได้จัดสรรแบ่งชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม จากการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าว ทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ทั้งแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าวมีโอกาสที่จะดำเนินการสำเร็จตามแผนได้และได้มีการทำแผนโดยสุจริต อีกทั้งการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้และประเทศชาติโดยส่วนรวม ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนนั้น ชอบแล้ว
1/2
ตามแผนฟื้นฟูกิจการได้จัดให้เจ้าหนี้รายที่ 207 อยู่ในกลุ่มที่ 12 สิทธิของเจ้าหนี้ในกลุ่มนี้ที่จะได้รับชำระหนี้ดังเช่นสัญญาเดิมคงมีเฉพาะกำหนดชำระหนี้การค้า แต่ไม่รวมถึงอัตราดอกเบี้ยแต่อย่างใด เมื่อตามสำนวนปรากฏว่าเจ้าหนี้รายที่ 207 ขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตั๋วแลกเงินและหนี้เงินกู้ TPI - ANZ BANK พร้อมด้วยดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด เจ้าหนี้รายที่ 207 จึงมิใช่เจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เฉพาะต้นเงินในหนี้การค้าตามแผนฟื้นฟูกิจการ ทั้งในแผนฟื้นฟูกิจการเล่มที่ 1 หน้าที่ 4 ในส่วนหมายเหตุได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า เจ้าหนี้ที่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในส่วนของภาคผนวก 3 ซึ่งหมายถึงเจ้าหนี้ในกลุ่มที่ 12 เป็นเจ้าหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการฟื้นฟูกิจการ เช่นนี้ เจ้าหนี้รายที่ 207 จึงมิใช่เจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/46 ทวิ (2) เจ้าหนี้รายที่ 207 จึงมีสิทธิคัดค้านแผนได้ตามมาตรา 90/57 ส่วนเจ้าหนี้รายที่ 270 ตามแผนฟื้นฟูกิจการจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ 14 คือเจ้าหนี้ที่ไม่ได้รับผลกระทบตามแผน จึงเป็นเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/46 ทวิ (1) ซึ่งกฎหมายให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้ที่ยอมรับแผน เจ้าหนี้รายที่ 270 จึงไม่มีสิทธิคัดค้านแผนตามมาตรา 90/57 แม้ว่าในการอุทธรณ์ของเจ้าหนี้รายที่ 270 นี้จะได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลางก็ตาม ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าหนี้รายนี้ในการอุทธรณ์แต่อย่างใด อุทธรณ์ของเจ้าหนี้รายที่ 270 จึงตกไป
ในการประกาศโฆษณากำหนดนัดประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อย 1 ฉบับล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 10 วัน ตามมาตรา 90/44 วรรคหนึ่งนั้น ใช้เฉพาะกับการนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก ส่วนในการนัดประชุมเจ้าหนี้ในคราวที่ได้เลื่อนไปนั้น หากว่าในการนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกได้ดำเนินการโดยชอบตามมาตรา 90/44 วรรคหนึ่งแล้ว การนัดประชุมเจ้าหนี้ในคราวที่ได้เลื่อนไปก็ไม่ต้องประกาศโฆษณากำหนดนัดประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันอีก ปรากฏว่าในการนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ดำเนินการโดยชอบตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/44 วรรคหนึ่งแล้ว แต่การประชุมดังกล่าวไม่แล้วเสร็จจึงมีการเลื่อนไป เช่นนี้การประชุมเจ้าหนี้ในคราวที่ได้เลื่อนไปจึงไม่ต้องดำเนินการโฆษณากำหนดนัดประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอีกแต่อย่างใด
ในการมีคำสั่งหรือคำพิพากษานั้น ศาลล้มละลายกลางจะต้องวินิจฉัยคดีตามประเด็นซึ่งเจ้าหนี้ได้ยกขึ้นอ้างในคำคัดค้าน เมื่อประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญในการพิจารณาว่าจะให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่ การที่ศาลล้มละลายกลางยังมิได้พิจารณาประเด็นเรื่องการประกาศโฆษณากำหนดนัดประชุมซึ่งถือว่าเป็นประเด็นสำคัญจึงเป็นการไม่ชอบตามข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการอุทธรณ์คดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาประกอบกับประเด็นที่ศาลล้มละลายกลางยังไม่ได้วินิจฉัยนั้นเป็นประเด็นที่ลูกหนี้ได้คัดค้านและอุทธรณ์มายังศาลฎีกาด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล้มละลายกลางวินิจฉัยก่อน
วิธีประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการนั้น พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 หมวด 3/1 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ มิได้บัญญัติโดยเฉพาะกรณีจึงต้องนำ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 หมวด 1 ส่วนที่ 3 ว่าด้วยการประชุมเจ้าหนี้มาบังคับใช้โดยอนุโลมตามมาตรา 90/2 วรรคสอง ซึ่งในบทบัญญัติส่วนดังกล่าว มาตรา 33 กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นประธานในการประชุม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงเป็นผู้เสนอหัวข้อให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาและควบคุมการประชุมเจ้าหนี้ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย แม้ว่าคำขอแก้ไขแผนของลูกหนี้จะมีประเด็นต่าง ๆ รวม 20 ประเด็น แต่ที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่ได้เสนอให้ลงมติเป็นรายประเด็นหรือรวมกัน กรณีจึงเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นประธานในการประชุมที่จะพิจารณาถึงประเด็นต่าง ๆ ในคำขอแก้ไขแผนฉบับดังกล่าวตลอดจนความเกี่ยวพันของประเด็นเหล่านั้นในคำขอว่าจะให้มติแยกหรือรวมก็ได้
บทบัญญัติในมาตรา 90/57 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มิได้บังคับศาลว่าจะต้องดำเนินการไต่สวนพยานก่อนที่จะมีคำสั่งว่าเห็นชอบด้วยแผน แต่บทบัญญัติดังกล่าวเปิดโอกาสให้เป็นดุลพินิจของศาลในการที่จะพิจารณาว่าข้อสาระสำคัญที่ใช้ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับแผนนั้นมีอยู่ครบถ้วนแล้วหรือไม่ หากศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในการที่จะเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่นั้นมีอยู่ครบถ้วนแล้วก็ไม่มีเหตุที่จะต้องไต่สวนพยานหลักฐานอันจะทำให้คดีฟื้นฟูกิจการล่าช้าออกไปแต่อย่างใด
กระบวนพิจารณาในการฟื้นฟูกิจการนั้น หลังจากที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับแผนด้วยมติพิเศษตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/46 แล้ว กฎหมายกำหนดให้แผนดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกขั้นตอนหนึ่งตามบทบัญญัติในส่วนที่ 8 ว่าด้วยการพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ กรณีจึงเป็นการกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในทางธุรกิจเพื่อจะได้วินิจฉัยตรวจสอบในการให้ความเห็นชอบด้วยแผนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และมอบดุลพินิจให้ตรวจสอบว่าสมควรจะให้ความเห็นชอบด้วยแผนนั้นหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจตรวจสอบถึงเนื้อหาของแผนตลอดจนโอกาสความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามแผนด้วย มิใช่พิจารณาเพียงแต่ตรวจสอบรายการต่าง ๆ ว่ามีครบถ้วนตามรูปแบบหรือไม่
เมื่อปรากฏว่าในการดำเนินการประชุมเจ้าหนี้นั้นได้มีการประชุมโดยชอบ ที่ประชุมเจ้าหนี้ได้มีมติพิเศษยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการ ทั้งแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าวมีรายการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด และได้จัดสรรแบ่งชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม จากการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าว ทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ทั้งแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าวมีโอกาสที่จะดำเนินการสำเร็จตามแผนได้และได้มีการทำแผนโดยสุจริต อีกทั้งการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้และประเทศชาติโดยส่วนรวม ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนนั้น ชอบแล้ว
1/2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9574/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา: ลูกหนี้ไม่อาจยกทรัพย์สินอื่นเพื่อต่อสู้การบังคับคดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 เป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ข้ออ้างที่ว่าจำเลยยังมีทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องสามารถเอาชำระหนี้ได้เป็นข้อโต้แย้งระหว่างเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกัน จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะยกขึ้นโต้แย้งไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8428/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการต้องมีเหตุอันสมควรและช่องทางในการดำเนินงาน แม้มีสัญญาเช่าโรงงานก็ไม่เป็นอุปสรรคการคัดค้านของเจ้าหนี้
ในการฟื้นฟูกิจการนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กิจการของลูกหนี้ซึ่งประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราวได้มีโอกาสฟื้นฟูกิจการ หรือปรับโครงสร้างกิจการของลูกหนี้เพื่อให้กิจการของลูกหนี้กลับคืนสู่สภาพที่สามารถดำเนิน กิจการตามปกติต่อไปได้ เมื่อลูกหนี้มีกิจการเฉพาะโรงงานผลิตกระดาษและผลิตกล่องกระดาษแต่โรงงานดังกล่าว อยู่ระหว่างสัญญาเช่ากับผู้คัดค้านที่ 2 ผู้คัดค้านที่ 2 จึงเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในโรงงานดังกล่าวในขณะที่ยื่น คำร้องขอ ลูกหนี้ยังไม่อาจปรับปรุงฟื้นฟูกิจการในการประกอบกิจการโรงงานดังกล่าวได้ ทั้งการให้เช่าโรงงานของลูกหนี้ ก็มีสัญญาเช่าเพียงรายเดียวคือสัญญาเช่าระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 2 เท่านั้นซึ่งกำหนดค่าเช่าแน่นอน หาใช่กรณีลูกหนี้ประกอบกิจการทำเป็นธุรกิจในการเช่าทรัพย์สินอันจะต้องมีการจัดการบริหารดำเนินงานในทางธุรกิจการค้าไม่ กรณีจึง ไม่มีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/10
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/9 วรรคสาม บัญญัติว่า "ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อาจยื่นคำคัดค้านวันนัด ไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่าสามวัน ในกรณีที่เป็นการคัดค้านผู้ทำแผน ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้จะเสนอชื่อบุคคลอื่นเป็น ผู้ทำแผนด้วยหรือไม่ก็ได้?" และในบทนิยามมาตรา 90/1" "เจ้าหนี้" หมายความว่า เจ้าหนี้มีประกันหรือเจ้าหนี้ไม่มีประกัน" จึงเห็นได้ว่ากฎหมายล้มละลายส่วนการฟื้นฟูกิจการให้สิทธิเจ้าหนี้ทุกประเภทยื่นคำคัดค้านคำร้องขอฟื้นฟู กิจการเพื่อปกป้องสิทธิของตน ส่วนคำว่า "เจ้าหนี้" นั้น คือผู้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้
ผู้ร้องขอ (ลูกหนี้) ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเพื่อนำโรงงานในขณะที่ตกอยู่ในภาระการเช่าแก่ผู้คัดค้านที่ 2 มาดำเนินกิจการ แต่ตามสัญญาเช่าโรงงานดังกล่าวผู้คัดค้านที่ 2 ในฐานะผู้เช่าชอบที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ใน โรงงานอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาการเช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 537 และมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในฐานะผู้ให้เช่า จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านการขอฟื้นฟูกิจการของผู้ร้องขอดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/9 วรรคสาม
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/9 วรรคสาม บัญญัติว่า "ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อาจยื่นคำคัดค้านวันนัด ไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่าสามวัน ในกรณีที่เป็นการคัดค้านผู้ทำแผน ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้จะเสนอชื่อบุคคลอื่นเป็น ผู้ทำแผนด้วยหรือไม่ก็ได้?" และในบทนิยามมาตรา 90/1" "เจ้าหนี้" หมายความว่า เจ้าหนี้มีประกันหรือเจ้าหนี้ไม่มีประกัน" จึงเห็นได้ว่ากฎหมายล้มละลายส่วนการฟื้นฟูกิจการให้สิทธิเจ้าหนี้ทุกประเภทยื่นคำคัดค้านคำร้องขอฟื้นฟู กิจการเพื่อปกป้องสิทธิของตน ส่วนคำว่า "เจ้าหนี้" นั้น คือผู้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้
ผู้ร้องขอ (ลูกหนี้) ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเพื่อนำโรงงานในขณะที่ตกอยู่ในภาระการเช่าแก่ผู้คัดค้านที่ 2 มาดำเนินกิจการ แต่ตามสัญญาเช่าโรงงานดังกล่าวผู้คัดค้านที่ 2 ในฐานะผู้เช่าชอบที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ใน โรงงานอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาการเช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 537 และมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในฐานะผู้ให้เช่า จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านการขอฟื้นฟูกิจการของผู้ร้องขอดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/9 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8428/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ผู้เช่าในการคัดค้านการฟื้นฟูกิจการ และเหตุผลที่ศาลยกคำร้องขอ
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/9 วรรคสาม บัญญัติว่า"ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อาจยื่นคำคัดค้านก่อนวันนัดไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่าสามวัน ในกรณีที่เป็นการคัดค้านผู้ทำแผน ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้จะเสนอชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ทำแผนด้วยหรือไม่ก็ได้..." และในบทนิยามมาตรา 90/1"เจ้าหนี้" หมายความว่า เจ้าหนี้มีประกันหรือเจ้าหนี้ไม่มีประกัน" เมื่อพิจารณาบทบัญญัติสองมาตรานี้ประกอบกันแล้ว จึงเห็นได้ว่ากฎหมายล้มละลายส่วนการฟื้นฟูกิจการให้สิทธิเจ้าหนี้ทุกประเภทยื่นคำคัดค้านคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเพื่อปกป้องสิทธิของตน ส่วนคำว่า"เจ้าหนี้" นั้น คือ ผู้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ เช่นนี้ เมื่อผู้ร้องขอยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเพื่อนำโรงงานในขณะที่ตกอยู่ในภาระการเช่าแก่ผู้คัดค้านที่ 2 มาดำเนินกิจการตามสัญญาเช่าโรงงานดังกล่าว ผู้คัดค้านที่ 2 ในฐานะผู้เช่าชอบที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในโรงงานอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาการเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 537 และมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในฐานะผู้ให้เช่า จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ ย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านการขอฟื้นฟูกิจการของผู้ร้องขอดังกล่าวตามมาตรา 90/9 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8325/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดี: เจ้าหนี้ตามสัญญาประนีประนอมฯ ไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีแทนลูกหนี้ตามคำพิพากษา
การบังคับคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 บัญญัติให้บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา)เท่านั้น ที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ผู้ร้องไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (ในคดีที่ร้องนี้) จึงไม่มีสิทธิตามกฎหมายดังกล่าวสำหรับกรณีที่เจ้าหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 นั้น หมายถึงการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลโดยให้เจ้าหนี้เป็นโจทก์ฟ้องในนามของเจ้าหนี้แทนลูกหนี้ได้รวมทั้งเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 234 มิใช่เข้าสวมสิทธิในการบังคับคดีของลูกหนี้ ซึ่งเป็นสิทธิที่กฎหมายกำหนดให้เป็นสิทธิแก่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8232/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วม การชำระหนี้บางส่วน และสิทธิบังคับคดี ศาลยืนยึดสิทธิเจ้าหนี้ในการบังคับคดีกับลูกหนี้ร่วมรายอื่น
คำพิพากษาระบุไว้ชัดเจนว่าให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ หากไม่ชำระหนี้ให้ยึดที่ดินทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ เมื่อจำเลยที่ 3นำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์เพื่อไถ่ถอนจำนองและโจทก์ตกลงรับชำระหนี้ จึงเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาในลำดับแรกแล้วกรณีไม่จำต้องนำที่ดินทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ออกขายตลาด
การที่โจทก์รับชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3ย่อมทำให้หนี้ของจำเลยที่ 3 ที่ชำระหนี้ในการไถ่ถอนจำนองระงับลงเท่าจำนวนที่ชำระหนี้ซึ่งมีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่เป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาด้วย เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ตกลงปลดหนี้ให้แก่จำเลยที่ 3 หนี้ของจำเลยทั้งสามจึงยังไม่ระงับไปหนี้ยังเหลืออยู่อีกจำนวนเท่าใด จำเลยทั้งสามยังคงต้องรับผิดร่วมกันอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 โจทก์จึงมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2เพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปได้จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการยึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 ได้
การที่โจทก์รับชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3ย่อมทำให้หนี้ของจำเลยที่ 3 ที่ชำระหนี้ในการไถ่ถอนจำนองระงับลงเท่าจำนวนที่ชำระหนี้ซึ่งมีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่เป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาด้วย เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ตกลงปลดหนี้ให้แก่จำเลยที่ 3 หนี้ของจำเลยทั้งสามจึงยังไม่ระงับไปหนี้ยังเหลืออยู่อีกจำนวนเท่าใด จำเลยทั้งสามยังคงต้องรับผิดร่วมกันอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 โจทก์จึงมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2เพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปได้จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการยึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7673/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องมีรายละเอียดชัดเจนเพียงพอให้เจ้าหนี้โต้แย้งได้ การที่คำสั่งไม่ชัดเจนถือเป็นเหตุให้ศาลรับคำคัดค้านได้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้โดยมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพียงบางส่วน แต่มิได้แสดงโดยชัดแจ้งในรายละเอียดของข้อเท็จจริงและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง เพื่อแสดงว่ามูลหนี้ที่ผู้ร้องได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้นั้นในแต่ละอันดับ ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้เพียงใด และไม่มีรายละเอียดว่าผู้ร้องคำนวณผิดพลาดคลาดเคลื่อนในมูลหนี้อันดับใด อย่างไร เป็นข้อวินิจฉัยที่รวบรัดและเคลือบคลุม อันเป็นการยากที่ผู้ร้องจะมีโอกาสหยั่งทราบถึงเหตุผลและรายละเอียดในคำสั่งและโต้แย้งคัดค้านได้ถูกต้อง การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าผู้ร้องส่งพยานเอกสารครบถ้วนถูกต้องแล้ว และลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ร้องตามจำนวนที่ขอรับชำระหนี้มาและขอให้พิจารณาทบทวนพยานหลักฐานและเอกสารทั้งหมด เพื่อคำนวณรายการหนี้ใหม่ให้ถูกต้องและแก้ไขคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ในส่วนที่ยังขาด รวมตลอดทั้งโต้แย้งในมูลหนี้ภาระค้ำประกันว่าผู้ร้องออกหนังสือค้ำประกันให้แก่ลูกหนี้ไว้ เมื่อถูกเรียกเก็บเงินมาจำต้องจ่ายเงินตามภาระค้ำประกัน จึงชอบที่จะได้รับชำระหนี้ในส่วนนี้ทั้งหมดนั้น เป็นการโต้แย้งตามสภาพที่เปิดช่องให้อยู่ในวิสัยที่พึงกระทำได้แล้ว จึงถือได้ว่าคำร้องคัดค้านของผู้ร้องเป็นการคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/32 วรรคสาม แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับคดีและการฟ้องล้มละลาย: ข้อจำกัดของโจทก์ที่ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และการบังคับใช้กฎหมายล้มละลายที่แตกต่างกัน
จำเลยเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องชำระหนี้เงินกู้แก่จำเลย 450,000 บาท แต่สิทธิในการบังคับคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 กำหนดให้เป็นสิทธิของคู่ความฝ่ายที่ชนะคดี (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) เท่านั้น ที่จะร้องขอให้บังคับคดีได้ โจทก์มิใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี จึงไม่มีสิทธิตามมาตรา 271 และโจทก์ไม่อาจเข้าสวมสิทธิในการบังคับคดีของจำเลย ซึ่งเป็นสิทธิที่กฎหมายให้ไว้แก่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับและคดียังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาลจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่เป็นกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5)พ.ศ. 2542 ใช้บังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542มาตรา 34 จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์จำนวนหนี้ขั้นต่ำที่อาจฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฉบับดังกล่าวมาเปรียบเทียบและถือเป็นเหตุอันไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายในคดีนี้ได้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับและคดียังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาลจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่เป็นกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5)พ.ศ. 2542 ใช้บังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542มาตรา 34 จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์จำนวนหนี้ขั้นต่ำที่อาจฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฉบับดังกล่าวมาเปรียบเทียบและถือเป็นเหตุอันไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายในคดีนี้ได้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7562/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์เมื่อหลักประกันไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของเจ้าหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ประสงค์จะขอทุเลาภาษีซึ่งตามหลักเกณฑ์ของโจทก์ที่ 1 (กรมสรรพากร) กำหนดให้นำหลักทรัพย์ไปประกันหนี้ภาษีอากรอย่างใดอย่างหนึ่งคือ โฉนดที่ดินซึ่งมีราคาเป็น 2 เท่าของเงินภาษีที่ค้างชำระ โดยจำนองแก่ทางราชการ หรือจัดให้มีธนาคารค้ำประกัน การที่จำเลยที่ 2 เข้ามาทำหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์ทั้งสองจึงไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งโจทก์ที่ 2 ได้มีหนังสือสอบถามโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ได้มีหนังสือตอบโจทก์ที่ 2 ว่าการค้ำประกันดังกล่าวไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้ ขอให้โจทก์ที่ 2 ดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้ถูกต้อง ทั้งโจทก์ที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ดำเนินการจดทะเบียนจำนองเสียใหม่ให้ถูกต้อง หรือหากไม่จดทะเบียนจำนองก็ต้องจัดให้มีธนาคารค้ำประกัน แสดงว่าโจทก์ที่ 1 มิได้ตกลงยอมรับการค้ำประกันของจำเลยที่ 2 แต่ประการใด แม้โจทก์ที่ 1 จะเคยมีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 แจ้งว่าได้อนุมัติให้จำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้ภาษีอากรได้แต่ก็ได้ระบุต่อไปว่า จะต้องให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองหลักทรัพย์ที่นำมาค้ำประกันให้ถูกต้อง การแจ้งอนุมัติดังกล่าวจึงหาใช่การยอมรับสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 จัดทำส่งให้แก่โจทก์ทั้งสอง ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองมิได้มุ่งประสงค์จะผูกนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 โดยเข้าถือเอาสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งศาลโดยวิธีส่งไปรษณีย์ลงทะเบียน และการกำหนดวันรับทราบคำสั่งของเจ้าหนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือแจ้งคำสั่งของศาลโดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของผู้รับมอบอำนาจของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นอาคาร 32 ชั้นโดยผู้รับมอบอำนาจของเจ้าหนี้เช่าพื้นที่ของอาคารในชั้นที่ 19เป็นที่ทำการ ถ้าหากการส่งหนังสือดังกล่าวมีพนักงานของอาคารเป็นผู้ลงชื่อรับในใบตอบรับไว้ก่อนเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม2542 แล้วนำส่งให้แก่พนักงานของผู้รับมอบอำนาจเจ้าหนี้เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2542 จริงก็ต้องถือว่าเจ้าหนี้ทราบคำสั่งของศาลในวันที่ 19 กรกฎาคม 2542 เพราะพนักงานของอาคารมิใช่บุคคลผู้อยู่หรือทำงานในสำนักทำการงานของผู้รับมอบอำนาจของเจ้าหนี้ การที่เจ้าหนี้ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2542ย่อมไม่พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องสั่งให้ไต่สวนให้ได้ความจริงเสียก่อน