คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เช็คพิพาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 256 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การจดวันเดือนปีที่ไม่สุจริต และความรับผิดของผู้ถือเช็ค
เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลังโดยไม่ได้ลงวันเดือนปีที่สั่งจ่ายไว้แล้วจำเลยที่ 1 มอบเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่ ส. เมื่อปี พ.ศ. 2516ต่อมา ส. ลงวันเดือนปีที่สั่งจ่ายเป็นวันที่ 16 เมษายน 2529แล้วจึงมอบเช็คให้โจทก์ ดังนี้ วันที่ในเช็คไม่ใช่วันที่ถูกต้องแท้จริงและไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมให้ ส. ทำเช่นนั้นจึงจะถือว่า ส. จดวันเดือนปีที่ออกเช็คพิพาทโดยสุจริตหาได้ไม่โจทก์มีอาชีพทนายความ หากได้รับเช็คพิพาทจาก ส. เป็นค่าว่าความจริง ย่อมจะต้องทราบทันทีว่าเช็คพิพาท ผู้สั่งจ่ายเช็คมิได้ลงวันเดือนปีที่สั่งจ่ายเอาไว้ เพราะทั้งลายมือชื่อและสีของน้ำหมึกที่จดวันเดือนปีที่สั่งจ่ายเช็คพิพาทแตกต่างจากลายมือและสีของน้ำหมึกของผู้สั่งจ่ายอย่างเห็นได้ชัด ทั้งโจทก์จะต้องทราบข้อกฎหมายว่าผู้ที่จะจดวันเดือนปีที่ออกเช็คพิพาทที่ไม่ได้ลงวันเดือนปีที่สั่งจ่ายได้จะต้องกระทำโดยสุจริตและจดลงตามวันที่ถูกต้องแท้จริงโดยเฉพาะเช็คพิพาทโจทก์ก็ทราบว่า เป็นเช็คที่ได้ออกใช้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2516 การที่โจทก์ไม่สงสัยว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่ผู้ใดเป็นผู้สั่งจ่าย และผู้ที่จดวันที่สั่งจ่ายเป็นใครนั้น นับว่าเป็นการผิดปกติวิสัยของโจทก์ซึ่งมีอาชีพทนายความ กรณีถือได้ว่าโจทก์ไม่สุจริต คบคิดกับ ส. ฉ้อฉลจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงหาจำต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ทรงเช็คพิพาทและอำนาจร้องทุกข์: กรณีมอบเช็คให้ห้างหุ้นส่วนและเบิกเงินแทน
การที่ อ. รับเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือแล้วนำไปมอบให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท และแม้ อ. จะสามารถรับเงินแทนห้างฯ ได้ ก็ในฐานะผู้แทนของห้างฯ เท่านั้น อ. จึงมิใช่ผู้เสียหาย ซึ่งจะมีอำนาจร้องทุกข์ในคดีเกี่ยวกับเช็คพิพาทตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมต่ออายุสัญญา และสิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับ: จำเลยมิอาจหักเบี้ยปรับจากหนี้เช็คพิพาทได้
จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ค่างานงวดสุดท้ายตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์ โดยจำเลยมิได้ทักท้วงว่าโจทก์ทำงานล่าช้ากว่ากำหนดและจะใช้สิทธิปรับโจทก์ตามสัญญาแต่อย่างไร คดีฟังได้ว่าจำเลยยอมต่ออายุสัญญาให้โจทก์โดยไม่ติดใจที่จะบังคับเอาเบี้ยปรับจำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับจากโจทก์โดยการหักจากหนี้เงินตามเช็คพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5846/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท - ความรับผิดส่วนตัวของผู้สั่งจ่ายที่มิได้ประทับตราบริษัท - ล้มละลาย
แม้มูลหนี้ตามเช็คพิพาทเกิดจากการหักทอนบัญชีหนี้สินระหว่างโจทก์กับบริษัท ป. แต่เมื่อเช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือที่จำเลยออกให้โจทก์โดยมิได้ประทับตราของบริษัท ป. จำเลยต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทเป็นส่วนตัว การที่จำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้แทนบริษัทป. โดยมิได้ประทับตราบริษัท ป. ถือว่าจำเลยจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้โจทก์ในฐานะส่วนตัว มิใช่ในฐานะตัวแทนบริษัท ป. จำเลยต้องรับผิดตามเช็คนั้น เมื่อจำเลยไม่มีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้โจทก์ และ ยังเป็นลูกหนี้เจ้าหนี้อื่นอยู่อีกหลายล้านบาท รวมทั้งจำเลย ได้ บอก กับอ.ว่า ไม่มีเงินชำระ ยอมติดคุก จำเลยจึงเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5414/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ความรับผิดของผู้ออกเช็ค, ผู้สั่งจ่าย, หุ้นส่วนผู้จัดการ และผลของการชำระหนี้ด้วยตั๋วเงิน
เช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับ เป็นเช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือและโจทก์เป็นผู้รับเช็คนั้นไว้ในความครอบครอง ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คนั้นโดยชอบ มีอำนาจที่จะฟ้องบุคคลผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทให้รับผิดต่อโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900ประกอบด้วยมาตรา 989 แม้โจทก์จะนำเงินจากบิดาโจทก์มารับแลกเช็คพิพาทก็หาเป็นเหตุที่จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นอ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดได้ไม่ เช็คพิพาทเป็นเช็คของจำเลยที่ 1 ขณะที่จำเลยที่ 2ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่ต้องประทับตราของจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 1 ไม่มีข้อจำกัดอำนาจของผู้จัดการไว้ การที่จำเลยที่ 2สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับเป็นการกระทำโดยมีอำนาจภายในขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 แม้ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายร่วมกับจำเลยที่ 2 ในเช็คพิพาทจะเป็นลายมือชื่อปลอมของจำเลยที่ 3 แต่ไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์แห่งลายมือชื่ออื่น ๆ ในตั๋วเงินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1006 เช็คพิพาทจึงยังเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเช็คพิพาท แม้จะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนจำเลยที่ 3 เข้ามาเป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1แต่จำเลยที่ 3 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1052 ประกอบด้วยมาตรา 1080 และมาตรา 1087 การที่จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันด้วยอาวัลในเช็คพิพาทซึ่งต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์อยู่แล้วได้ออกเช็คฉบับใหม่แก่โจทก์ หาใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ไม่ แต่เป็นการชำระหนี้ด้วยตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสาม ซึ่งหนี้จะระงับสิ้นไปต่อเมื่อได้ใช้เงินตามเช็คฉบับใหม่แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คฉบับใหม่ได้หรือไม่ หนี้ตามเช็คพิพาทจึงยังไม่ระงับไป ปัญหาที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ฎีกาว่าโจทก์คบคิดกับจำเลยที่ 4ฉ้อฉลจำเลยที่ 1 และที่ 3 และปัญหาว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 3เป็นลายมือชื่อปลอม การสั่งจ่ายเช็คพิพาทของจำเลยที่ 2 จึงผิดไปจากข้อตกลงกับธนาคาร จำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 และที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของเช็คพิพาท: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการครอบครองเงินตามเช็คที่แท้จริงและผลต่อการละเมิด
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยเช็คพิพาทเป็นหลัก เมื่อธนาคารจำเลยให้การต่อสู้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดเพราะจำเลยนำเงินตามเช็คพิพาทเข้าบัญชีของ ส.หุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ร้องสอดและเป็นตัวแทนโจทก์ตามคำสั่งของ ส. เป็นการกระทำโดยสุจริตและผู้ร้องสอดยื่นคำร้องว่า เงินตามเช็คพิพาทเป็นของผู้ร้องสอดศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่า ใครเป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คพิพาทหาเป็นเรื่องนอกฟ้อง นอกประเด็นไม่ แม้เช็คพิพาทซึ่งระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินจะเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไปและมีข้อความว่า "เข้าบัญชีผู้รับเท่านั้น"แต่เมื่อเงินตามเช็คเป็นของผู้ร้องสอด การที่ธนาคารจำเลยเรียกเก็บเงินตามเช็คแล้วนำเงินเข้าบัญชีของ ส. หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างผู้ร้องสอดโดยโจทก์ตกลงให้กระทำได้ ย่อมไม่เป็นการละเมิด ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของเช็คพิพาท: ศาลวินิจฉัยตามความเป็นจริง แม้ชื่อผู้รับเงินในเช็คเป็นของโจทก์
โจทก์ฟ้องว่า เงินตามเช็คพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าการที่จำเลยนำเงินตามเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของ ส. เพราะทำตามคำสั่งของ ส. ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิด ผู้ร้องสอดร้องสอดว่า เงินตามเช็คพิพาทเป็นของผู้ร้องสอด ดังนั้น ศาลมีอำนาจวินิจฉัยว่า ใครเป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คพิพาท ไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น แม้ว่าโจทก์จะมีชื่อเป็นผู้ยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างอาคารเรียนและเป็นผู้ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารเรียนดังกล่าวกับ ก. ก็ตาม เมื่อผู้ร้องสอดอ้างว่า ผู้ร้องสอดยืมชื่อโจทก์มาใช้ในการยื่นซองประกวดราคาและทำสัญญาจ้างเหมาเท่านั้น ส่วนการลงทุนก่อสร้างอาคารเรียน ผู้ร้องสอดแต่ผู้เดียวเป็นผู้ลงทุนผู้ร้องสอดมีหลักฐานการรับเงินค่าตอบแทนของโจทก์หลักฐานการจ่ายค่าจ้างให้แก่ภริยาจำเลยในการรับจ้างก่อสร้าง และยังมีพยานบุคคลมาสืบว่าได้รับจ้างผู้ร้องสอดก่อสร้างอาคารเรียน เมื่อฟังประกอบกับการที่โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้ร้องสอดเป็นผู้รับเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างจาก ก. ทั้งหมดแทน พฤติการณ์ดังกล่าวส่อแสดงว่าโจทก์เป็นเพียงตัวแทนเชิดของผู้ร้องสอด ในการรับจ้างก่อสร้างอาคารเรียนกับ ก. ดังนั้นแม้ ก. จะจ่ายค่ารับเหมาก่อสร้างอาคารเรียนเป็นเช็คระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน และขีดคร่อมระบุให้เข้าบัญชีของผู้รับเท่านั้นก็ตาม เช็คดังกล่าวก็เป็นของผู้ร้องสอด จำเลยนำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของ ส. หุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ร้องสอดซึ่งเป็นเจ้าของเงินตามเช็คที่แท้จริงและโจทก์ตกลงให้กระทำได้นั้น การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4336/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การโอนเช็คขีดคร่อมทั่วไปและการไม่สามารถอ้างการผิดสัญญาของผู้ทรงคนก่อนเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อผู้ทรงคนหลัง
เช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไปสั่งจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 3โดยมิได้มีคำว่า "ห้ามเปลี่ยนมือ" จำเลยที่ 3 ย่อมมีอำนาจที่จะสลักหลังโอนเช็คพิพาทให้แก่บุคคลอื่นในลักษณะที่เป็นตราสารเปลี่ยนมือได้ เมื่อจำเลยที่ 3 สลักหลังเช็คพิพาทส่งมอบให้แก่ โจทก์เป็นการชำระหนี้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ซึ่งเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาขายลดเช็ค โจทก์จึงเป็นผู้รับโอนเช็คจากจำเลยที่ 3 มาไว้ในครอบครองโดยชอบ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 904 แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 3 จะต้องสอนการผลิตหินอ่อนเทียมให้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 แล้วจำเลยที่ 3 ผิดข้อตกลง ทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาต่อจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่การผิดสัญญาดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิใช่คู่สัญญาหรือมีส่วนรู้เห็น แต่อย่างใด จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงไม่อาจอาศัยความเกี่ยวพัน ระหว่างตนกับจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนยกขึ้นใช้ยันโจทก์ ผู้ทรงเพื่อไม่ต้องรับผิดตามเช็คพิพาทได้ เว้นแต่จำเลยที่ 3 โอนเช็คพิพาทให้โจทก์ด้วยคบคิดกันฉ้อฉล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4336/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้รับโอนเช็คมีอำนาจฟ้องได้ แม้ผู้สั่งจ่ายมีข้อพิพาทกับผู้ทรงคนก่อน
เช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไปสั่งจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 3โดยมิได้มีคำว่า "ห้ามเปลี่ยนมือ" จำเลยที่ 3 ย่อมมีอำนาจที่จะสลักหลังโอนเช็คพิพาทให้แก่บุคคลอื่นในลักษณะที่เป็นตราสารเปลี่ยนมือได้ เมื่อจำเลยที่ 3 สลักหลังเช็คพิพาทส่งมอบให้แก่โจทก์เป็นการชำระหนี้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ซึ่งเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คโจทก์จึงเป็นผู้รับโอนเช็คจากจำเลยที่ 3มาไว้ในครอบครองโดยชอบ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 904 แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3โดย มี ข้อตกลงว่าจำเลยที่ 3 จะต้องสอนการผลิตหินอ่อนเทียมให้จำเลย ที่ 1 ที่ 2 แล้วจำเลยที่ 3 ผิดข้อตกลง ทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาต่อจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่การผิดสัญญาดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิใช่คู่สัญญาหรือมีส่วนรู้เห็นแต่อย่างใดจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงไม่อาจอาศัยความเกี่ยวพันระหว่างตนกับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนยกขึ้นใช้ยันโจทก์ผู้ทรงเพื่อไม่ต้องรับผิดตามเช็คพิพาทได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 โอนเช็คพิพาทให้โจทก์ด้วยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 1 ที่ 2 จำเลยที่ 1 ที่ 2จึงต้องร่วมกันรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนเช็คพิพาทโดยรู้ข้อตกลงจำกัดสิทธิ ทำให้ผู้รับโอนไม่มีอำนาจเรียกร้องเงินจากผู้สั่งจ่าย
ขณะรับโอนเช็คพิพาทโจทก์รู้ข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2อยู่แล้วว่าจำเลยทั้งสองได้ตกลงกันให้เช็คพิพาทเป็นเพียงเช็คค้ำประกันเงินกู้ มิให้นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินและไม่ให้โอนไปยังผู้อื่น การที่โจทก์รับโอนเช็คพิพาทไว้จากจำเลยที่ 2ทั้ง ๆ ที่ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวเช่นนี้ จึงเท่ากับโจทก์กระทำโดยไม่สุจริต ถือได้ว่าโจทก์รับโอนเช็คไว้โดยคบคิดกันฉ้อฉลกับจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989 โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำเช็คพิพาทมาฟ้องเรียกเก็บเงินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์.
of 26