พบผลลัพธ์ทั้งหมด 393 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับและคำสั่งโยกย้ายพนักงาน มิใช่การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง หากไม่กระทบสิทธิประโยชน์เดิม
ข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 23 ว่าด้วยการจัดระเบียบการบริหารงาน ข้อ 33 กำหนดว่า "การกำหนดอัตราตำแหน่งของพนักงานและลูกจ้างของ อ.ม.ท. ให้เป็นไปตามบัญชีท้ายข้อบังคับนี้" และบัญชีอัตราตำแหน่งของพนักงานและลูกจ้างของ อ.ม.ท. มีรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดหน่วยงานและจำนวนพนักงานในแต่ละหน่วยงานว่ามีจำนวนเท่าใดอยู่ในระดับใดบ้างเท่าใด เช่นนี้ข้อบังคับของจำเลยข้อนี้มีลักษณะเป็นการแบ่งหน่วยงานโดยกำหนดอัตรากำลัง และระดับในแต่ละหน่วยงานอันมีลักษณะเป็นวิธีการบริหารงานบุคคลในหน่วยงานเท่านั้นไม่มีลักษณะที่เป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และมิได้มีลักษณะที่เป็นเงื่อนไขในการทำงาน กำหนดวันเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการการเลิกจ้าง การยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ของลูกจ้าง การแก้ไขเพิ่มเติมหรือการต่ออายุข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 10 วรรคสามและมาตรา 11 จึงไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขได้เพื่อให้เหมาะสมกับการบริหารงานบุคคลตามฐานะแห่งกิจการของจำเลยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยไม่ต้องแจ้งข้อเรียกร้องหรือได้รับความยินยอมจากโจทก์ เมื่อโจทก์จำเลยไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ห้ามจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งของโจทก์ การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์จากตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการบริหารระดับ 9 ไปรักษาการตำแหน่งหัวหน้าผู้ตรวจสอบภายใน ระดับ 9 เช่นเดิมมิใช่เป็นการลดระดับโจทก์และโจทก์ได้รับเงินเดือน ผลประโยชน์และสวัสดิการเท่าเดิม เช่นนี้เป็นการใช้ดุลพินิจ กำหนดบุคคลในตำแหน่งงานที่เหมาะสม มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างส่วนที่อ้างว่าการโยกย้ายโจทก์ไปทำให้โจทก์ต้องสูญเสียสิทธิในการใช้รถยนต์อันเป็นสวัสดิการเป็นการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น ข้อนี้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ได้ตามความเหมาะสม แม้ตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์จะไม่มีรถยนต์ประจำตำแหน่งก็ตามไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง เท่ากับศาลแรงงานกลางได้ฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า รถยนต์ที่โจทก์มีสิทธิได้รับอยู่ก่อนนั้นมิใช่เป็นสวัสดิการ ดังนั้น ที่โจทก์อุทธรณ์ว่ารถยนต์ที่โจทก์ได้รับอยู่เป็นสวัสดิการ จึงเป็นการโต้เถียง ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6167/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ดอกเบี้ย: การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามประกาศกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ต้องได้รับการตกลงยินยอมจากลูกหนี้
สัญญากู้เป็นสัญญาสองฝ่าย เมื่อตามสัญญากู้ไม่มีเงื่อนไขให้จำเลยคิดดอกเบี้ยจากโจทก์ได้เกินกว่าที่ตกลงกันไว้ แม้จะมีประกาศกระทรวงการคลังและประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่จำเลยจะเรียกเก็บได้เกินกว่าที่โจทก์จำเลยตกลงกันไว้ แต่จำเลยจะเรียกเก็บดอกเบี้ยตามอัตราที่เปลี่ยนแปลงใหม่โดยโจทก์ไม่ตกลงยินยอมด้วยหาได้ไม่ จำเลยฎีกาว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยผิดไป 1 วัน คำเบิกความของช. ไม่ควรรับฟังและจำนวนวันที่คำนวณดอกเบี้ยเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลรับรู้ได้เอง แต่ไม่ปรากฏรายละเอียดว่าที่ถูกต้องควรคำนวณอย่างไร เป็นดอกเบี้ยเท่าใด และคำขอ ช.ไม่ควรรับฟังอย่างไรเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3922/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความ แม้มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของทรัพย์สิน และเอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง
คดีก่อนผู้เยาว์ทั้งสี่และมารดาร่วมกันฟ้องจำเลยกับ ส.ให้โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ จ. บิดาผู้เยาว์ให้กับผู้เยาว์ทั้งสี่ศาลพิพากษาว่าผู้เยาว์ทั้งสี่มีสิทธิในที่ดินพิพาทสี่ในห้าส่วนให้จำเลยและส.โอนให้ผู้เยาว์ทั้งสี่คดีถึงที่สุดได้มีการแก้ไขทางทะเบียนที่ดินพิพาทจาก ส. มาเป็นชื่อผู้เยาว์ทั้งสี่และจำเลยตามคำพิพากษาแล้ว การที่จำเลยต่อสู้ในคดีนี้อีกว่าจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้ ส. ไปแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจึงรับฟังไม่ได้ เพราะศาลได้วินิจฉัยประเด็นนี้ไว้ในคดีก่อนแล้วจำเลยจึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อน เอกสารท้ายฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง การพิจารณาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ต้องอ่านคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องประกอบกัน ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ขาดสาระสำคัญบางประการ จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ, อายุความประกันภัยรถยนต์, การเปลี่ยนแปลงคำฟ้องในชั้นฎีกา
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ไม่มีการตกเติมข้อความโดยไม่ได้ลงลายมือชื่อกำกับดังที่จำเลยอ้าง เพราะไม่มีการตกเติมแต่ประการใด การเขียนด้วยปากกาหรือน้ำหมึกลงในช่องว่างที่เว้นไว้เพื่อระบุชื่อคนที่ถูกต้อง ไม่ต้องด้วยความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสอง
จำเลยมิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมด้วยเหตุว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์แฉลบล้ำเข้าไปชนรถยนต์ฝ่ายโจทก์ในทางเดินรถของฝ่ายโจทก์ แต่กลับนำสืบว่ารถยนต์ฝ่ายโจทก์เป็นฝ่ายวิ่งเข้ามาในทางเดินรถของฝ่ายจำเลยและชนกันเป็นข้อเท็จจริงที่ต่างกับคำฟ้องแต่กลับหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา ทั้งที่ในศาลชั้นต้นจำเลยให้การเพียงว่าโจทก์มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่ารถยนต์บรรทุกส่วนใดไปชนถูกส่วนใดของรถยนต์เก๋ง และเสียค่าซ่อมรถยนต์เก๋งส่วนใดเป็นจำนวนเท่าใด ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ป.พ.พ. มาตรา 880 บัญญัติให้ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกได้ ดังนั้นถ้าผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกในอายุความอย่างใด ผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิก็ย่อมจะมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกภายในอายุความอย่างเดียวกัน ซึ่งผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดได้ภายในหนึ่งปีนับแต่รู้ถึงการละเมิด และมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนได้ภายในสองปีนับแต่วันวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก และมาตรา 882 วรรคแรก ตามลำดับ แม้เกิดเหตุรถยนต์ชนกันเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2525 แต่ได้ความว่าเกิดเหตุแล้วคนขับรถยนต์บรรทุกหลบหนีหลังเกิดเหตุประมาณ 1 เดือน พนักงานสอบสวนจึงทราบจากนายทะเบียนยานพาหนะว่ารถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวเป็นของใคร จึงได้ออกหมายเรียกจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาสอบปากคำ จึงถือได้ว่าผู้ต้องเสียหายซี่งเป็นผู้เอาประกันภัยรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยที่ 1และที่ 2 ประมาณวันที่ 2 ตุลาคม 2525 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2526 จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยมิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมด้วยเหตุว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์แฉลบล้ำเข้าไปชนรถยนต์ฝ่ายโจทก์ในทางเดินรถของฝ่ายโจทก์ แต่กลับนำสืบว่ารถยนต์ฝ่ายโจทก์เป็นฝ่ายวิ่งเข้ามาในทางเดินรถของฝ่ายจำเลยและชนกันเป็นข้อเท็จจริงที่ต่างกับคำฟ้องแต่กลับหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา ทั้งที่ในศาลชั้นต้นจำเลยให้การเพียงว่าโจทก์มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่ารถยนต์บรรทุกส่วนใดไปชนถูกส่วนใดของรถยนต์เก๋ง และเสียค่าซ่อมรถยนต์เก๋งส่วนใดเป็นจำนวนเท่าใด ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ป.พ.พ. มาตรา 880 บัญญัติให้ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกได้ ดังนั้นถ้าผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกในอายุความอย่างใด ผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิก็ย่อมจะมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกภายในอายุความอย่างเดียวกัน ซึ่งผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดได้ภายในหนึ่งปีนับแต่รู้ถึงการละเมิด และมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนได้ภายในสองปีนับแต่วันวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก และมาตรา 882 วรรคแรก ตามลำดับ แม้เกิดเหตุรถยนต์ชนกันเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2525 แต่ได้ความว่าเกิดเหตุแล้วคนขับรถยนต์บรรทุกหลบหนีหลังเกิดเหตุประมาณ 1 เดือน พนักงานสอบสวนจึงทราบจากนายทะเบียนยานพาหนะว่ารถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวเป็นของใคร จึงได้ออกหมายเรียกจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาสอบปากคำ จึงถือได้ว่าผู้ต้องเสียหายซี่งเป็นผู้เอาประกันภัยรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยที่ 1และที่ 2 ประมาณวันที่ 2 ตุลาคม 2525 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2526 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคู่ความหลังจำเลยถึงแก่กรรม และการฟ้องคดีเกี่ยวกับจัดการมรดก
ขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1ผู้มรณะนั้นคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ผู้มรณะได้ เพราะเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์จึงให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังไปแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรสั่งคำร้องของโจทก์ที่ 1 ที่ขอให้เรียกจำเลยที่ 2เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 เสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง
การจัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่เป็นมรดก เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แต่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกก็ไม่มีผลต่อไป แต่ความรับผิดของผู้จัดการมรดกอันเกิดจากการจัดการมรดกโดยมิชอบนั้นมิใช่เป็นการเฉพาะตัวย่อมตกทอดแก่ทายาทในส่วนนี้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของจำเลยที่ 1 ย่อมเข้าเป็นคู่ความแทนได้ จึงมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ผู้มรณะเฉพาะกรณีพิพาทตามฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนทรัพย์พิพาทอันเป็นมรดกของผู้ตายเพราะจำเลยที่ 1 จัดการมรดกของผู้ตายโดยไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เป็นกรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับกองมรดกของผู้ตายซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวที่จำเลยที่ 1 เป็นยายของโจทก์อันจะพึงถือว่าเป็นกรณีพิพาทระหว่างหลานกับยายไม่ แม้จำเลยที่ 1 ได้ถึงแก่กรรมไปในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ก็ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายกลายเป็นฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562
โจทก์เป็นทายาทฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าจัดการมรดกโดยไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททั้งหมด จะยกอายุความมรดก1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่
การจัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่เป็นมรดก เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แต่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกก็ไม่มีผลต่อไป แต่ความรับผิดของผู้จัดการมรดกอันเกิดจากการจัดการมรดกโดยมิชอบนั้นมิใช่เป็นการเฉพาะตัวย่อมตกทอดแก่ทายาทในส่วนนี้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของจำเลยที่ 1 ย่อมเข้าเป็นคู่ความแทนได้ จึงมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ผู้มรณะเฉพาะกรณีพิพาทตามฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนทรัพย์พิพาทอันเป็นมรดกของผู้ตายเพราะจำเลยที่ 1 จัดการมรดกของผู้ตายโดยไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เป็นกรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับกองมรดกของผู้ตายซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวที่จำเลยที่ 1 เป็นยายของโจทก์อันจะพึงถือว่าเป็นกรณีพิพาทระหว่างหลานกับยายไม่ แม้จำเลยที่ 1 ได้ถึงแก่กรรมไปในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ก็ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายกลายเป็นฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562
โจทก์เป็นทายาทฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าจัดการมรดกโดยไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททั้งหมด จะยกอายุความมรดก1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาจำเลยเปลี่ยนแปลง แต่ยังคงมีภูมิลำเนาเดิมสำหรับการติดต่อ ศาลส่งหมายนัดตามภูมิลำเนาเดิมชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ยื่นฟ้องระบุภูมิลำเนาของจำเลยไว้ในคำฟ้อง เมื่อจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีจำเลยก็ระบุภูมิลำเนาตามที่โจทก์ระบุไว้นั้นด้วย แม้ต่อมาจำเลยย้ายภูมิลำเนาไปจากที่ที่ปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ โดยมิได้แถลงให้ศาลทราบ แต่กลับมีคำร้องต่อศาลระบุภูมิลำเนาของจำเลยตามคำฟ้องอีก ดังนี้ ถือว่าจำเลยยังคงมีภูมิลำเนาตามคำฟ้องอีกแห่งหนึ่งโดยเฉพาะในการติดต่อกับจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะบริวารย่อมผูกพันตามคำพิพากษา แม้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ภายหลัง
ผู้ร้องเป็นบริวารจำเลย เมื่อไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้ คำพิพากษาก็ต้อง บังคับถึง ผู้ร้องด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะบริวารยั่งยืน แม้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ – คำพิพากษาถึงที่สุดไม่กระทบสถานะเดิม
ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยขายฝากกับโจทก์ และศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดในคดีนี้มาแล้วว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลย แม้ผู้ร้องจะเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องสอดซึ่งมรณะในคดีที่ผู้ร้องสอดฟ้องจำเลย และต่อมาศาลอุทธรณ์จะได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีดังกล่าวให้ลงชื่อผู้ร้องสอดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในที่ดินที่พิพาทกันในคดีนี้ภายหลัง ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีนี้แล้วก็ตาม ก็หามีผลเปลี่ยนแปลงฐานะในคดีของผู้ร้องซึ่งเป็นเพียงผู้รับมรดกความและผู้จัดการมรดกของผู้ร้องสอดผู้มรณะในคดีนั้นให้พ้นจากฐานะบริวารจำเลยในคดีนี้ไม่ เพราะผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความโดยตรง และประเด็นข้อพิพาทก็ต่างกันกับคดีนี้ จึงยังต้องถือว่าผู้ร้องเป็นบริวารจำเลยที่ไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้ดังที่ศาลฎีกาวินิจฉัยมาแล้ว คำพิพากษาคดีนี้จึงบังคับถึงผู้ร้องด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707-732/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณดอกเบี้ยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง จำเลยต้องได้รับความยินยอมก่อน
จำเลยได้ก่อตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นและต่อมาได้ระบุเรื่องการหักเงินสะสมและการเข้าร่วมโครงการเงินสะสมไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับพนักงานของจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยได้คำนวณดอกเบี้ยเงินสะสม และเงินสมทบตามวิธีการในเอกสารท้ายฟ้องมาเป็นเวลา 18 ปี แล้ว วิธีการคำนวณดังกล่าวย่อมเป็นส่วนหนึ่งของกฎข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณซึ่งไม่เป็นคุณและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงผู้จัดการมรดกและการโอนทรัพย์มรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย
คดีเดิมศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ร.หาก ส. จะขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกคนใหม่แทนโจทก์ ตามปกติย่อมกระทำได้โดยยื่นคำร้องในคดีเดิม หรืออาจฟ้องโจทก์แยกจากคดีเดิมได้โดยอาศัยเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นแต่ให้สิทธิยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเดิมก่อนการปัน มรดก เสร็จสิ้นลงเท่านั้น หาเป็นการตัดสิทธิมิให้ฟ้องเป็นคดีใหม่อีกต่างหากไม่
คำสั่งศาลชั้นต้นในคดีใหม่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้ง ส. เป็นผู้จัดการมรดกของ ร. แทนนั้น เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ย่อมมีผลผูกพันโจทก์ โจทก์มิใช่ผู้จัดการมรดกของ ร. อีกต่อไป
การที่ ส. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกทำตามมติที่ประชุมทายาทโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการจัดการตามอำนาจหน้าที่และมิใช่เป็นการทำนิติกรรมที่ตนมีส่วนได้เสียอันเป็นปรปักษ์ต่อกองมรดก นิติกรรมจึงมีผลสมบูรณ์.
คำสั่งศาลชั้นต้นในคดีใหม่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้ง ส. เป็นผู้จัดการมรดกของ ร. แทนนั้น เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ย่อมมีผลผูกพันโจทก์ โจทก์มิใช่ผู้จัดการมรดกของ ร. อีกต่อไป
การที่ ส. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกทำตามมติที่ประชุมทายาทโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการจัดการตามอำนาจหน้าที่และมิใช่เป็นการทำนิติกรรมที่ตนมีส่วนได้เสียอันเป็นปรปักษ์ต่อกองมรดก นิติกรรมจึงมีผลสมบูรณ์.