คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เพิกถอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,035 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2939/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเสร็จสิ้นแล้ว แม้มีการปรับปรุงบัญชีดอกเบี้ย จำเลยไม่มีสิทธิเพิกถอนได้
เมื่อผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดได้ชำระราคาครบถ้วนและศาลมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนระงับการจำนอง - โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อ ทั้งโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ได้รับชำระหนี้จากเงินสุทธิที่ได้รับจากการขายทอดตลาดไปแล้ว ดังนี้ ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้วจำเลยจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีที่เสร็จแล้วได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา296 วรรคสอง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย เพื่อปรับปรุงฉบับเดิมขึ้นใหม่ก็เพราะจำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านการคิดคำนวณดอกเบี้ยของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีคิดคำนวณดอกเบี้ยใหม่ แม้จะทำให้ตัวเลขทางบัญชีไม่ตรงกับบัญชีแสดงการรับจ่ายเดิมเพราะการคิดคำนวณดอกเบี้ยผิดพลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเอง หาใช่เป็นเรื่องที่ทำให้การบังคับคดียังไม่เสร็จลงไม่ เพราะไม่มีการกระทำอย่างใดในการที่จะบังคับเกี่ยวกับที่ดินของจำเลยต่อไปอีก
ป.วิ.พ.มาตรา 316 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องจัดทำบัญชีในการปฏิบัติงานบังคับคดี และมาตรา 320 ก็เป็นเรื่องที่กำหนดให้เฉพาะเจ้าหนี้เท่านั้นที่จะยื่นคำแถลงคัดค้านบัญชีส่วนเฉลี่ยต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้บทบัญญัติสองมาตราดังกล่าวหาใช่เป็นเรื่องที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิร้องขอเพิกถอนการบังคับคดีซึ่งการบังคับคดีเสร็จลงแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2939/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเสร็จสิ้นแล้ว แม้มีการปรับปรุงบัญชีรายรับ-จ่ายจากข้อคัดค้านดอกเบี้ย จำเลยไม่มีสิทธิเพิกถอน
เมื่อผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดได้ชำระราคาครบถ้วนและศาลมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนระงับการจำนอง - โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อ ทั้งโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ได้รับชำระหนี้จากเงินสุทธิที่ได้รับจากการขายทอดตลาดไปแล้ว ดังนี้ ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้วจำเลยจึงไม่มีสิทธิ ร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีที่เสร็จแล้วได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเพื่อปรับปรุงฉบับเดิมขึ้นใหม่ก็เพราะจำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านการคิดคำนวณดอกเบี้ยของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีคิดคำนวณดอกเบี้ยใหม่ แม้จะทำให้ตัวเลขทางบัญชีไม่ตรงกับบัญชีแสดงการรับจ่ายเดิมเพราะการคิดคำนวณดอกเบี้ยผิดพลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเอง หาใช่เป็นเรื่องที่ทำให้การบังคับคดียังไม่เสร็จลงไม่ เพราะไม่มีการกระทำอย่างใดในการที่จะบังคับเกี่ยวกับที่ดินของจำเลยต่อไปอีก
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 316 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องจัดทำบัญชีในการปฏิบัติงานบังคับคดี และมาตรา 320 ก็เป็นเรื่องที่กำหนดให้เฉพาะเจ้าหนี้เท่านั้นที่จะยื่นคำแถลงคัดค้านบัญชีส่วนเฉลี่ยต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้บทบัญญัติสองมาตราดังกล่าวหาใช่เป็นเรื่องที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิร้องขอเพิกถอนการบังคับคดีซึ่งการบังคับคดีเสร็จลงแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดของผู้เข้าสู้ราคาที่ได้รับความเสียหายจากการฝ่าฝืนขั้นตอนบังคับคดี
แม้ผู้ร้องที่ 2 มิได้เป็นบุคคลตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 280 บัญญัติไว้ กล่าวคือ ผู้ร้องที่ 2 มิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องที่ถูกอายัด และมิใช่ผู้ที่ชอบจะใช้สิทธิอันได้จดทะเบียนไว้โดยชอบ หรือผู้ที่ได้ยื่นคำร้องขอตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 288, 289 และ 290 อันเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่ถูกบังคับคดี แต่บทบัญญัติตามมาตรา 280 ดังกล่าว เป็นเพียงบทสันนิษฐานเพื่อประโยชน์แห่งบทบัญญัติในภาค 4 ว่าด้วยวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาและการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ที่ให้ถือว่าบุคคลตามที่ระบุไว้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีเท่านั้น มิได้หมายความว่าบุคคลอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 280 แล้ว จะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีไม่ได้
คดีนี้ผู้ร้องที่ 2 เป็นผู้เข้าสู้ราคาคนหนึ่งในการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ผู้ร้องที่ 2 อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดโดยมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้แจ้งแก่ผู้เข้าสู้ราคา และมีผลทำให้ผู้ร้องที่ 2 ไม่มีโอกาสเสนอราคาเพิ่มสูงขึ้น เป็นกรณีที่ผู้ร้องที่ 2 อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง และเป็นเหตุโดยตรงให้ผู้ร้องที่ 2 ต้องเสียหายโดยการฝ่าฝืนนั้น ผู้ร้องที่ 2 จึงเป็นบุคคลภายนอกที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายโดยการฝ่าฝืนนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ผู้ร้องที่ 2 มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้
ข้อโต้แย้งที่ว่าราคาทรัพย์สินที่ขายทอดตลาดต่ำหรือไม่นั้น เป็นข้อโต้แย้งหรือส่วนได้เสียของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 280 โดยตรง ไม่เกี่ยวกับผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงผู้เข้าสู้ราคาแต่อย่างใด ผู้ร้องที่ 2 จึงไม่มีสิทธิกล่าวอ้างหรือฎีกาในประเด็นดังกล่าว
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2543)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เข้าสู้ราคาในการเพิกถอนการขายทอดตลาดเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติมิชอบ และประเด็นส่วนได้เสียในการอ้างราคาต่ำ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 เป็นเพียงบทสันนิษฐานเพื่อประโยชน์แห่งบทบัญญัติในภาค 4 ว่าด้วยวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาและการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ที่ให้ถือว่าบุคคลตามที่ระบุไว้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีเท่านั้น มิได้หมายความว่าบุคคลอื่นนอกจากที่ระบุไว้แล้วจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ได้ผู้ร้องที่ 2 เป็นผู้เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดโดยมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่แจ้งแก่ผู้เข้าสู้ราคา ทำให้ผู้ร้องที่ 2 ไม่มีโอกาสเสนอราคาเพิ่มสูงขึ้น เป็นกรณีที่ผู้ร้องที่ 2 อ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและเป็นเหตุโดยตรงให้ผู้ร้องที่ 2 ต้องเสียหายโดยการฝ่าฝืนนั้น จึงเป็นบุคคลภายนอกที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายโดยการฝ่าฝืนนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองมีสิทธิขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด
ข้อโต้แย้งว่าราคาทรัพย์สินที่ขายทอดตลาดต่ำหรือไม่ เป็นข้อโต้แย้งหรือส่วนได้เสียของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 โดยตรงผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงผู้เข้าสู้ราคา ไม่มีสิทธิกล่าวอ้างในประเด็นดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินโดยฉ้อฉลเจ้าหนี้ และการเพิกถอนนิติกรรมเฉพาะส่วนของสินสมรส
การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 เป็นการให้สิทธิเจ้าหนี้ที่จะสงวนไว้ซึ่งกองทรัพย์สินของลูกหนี้เนื่องจากทรัพย์สินของลูกหนี้เหล่านี้ย่อมเป็นหลักประกันการชำระหนี้ตามมาตรา 214 เจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้ดังกล่าวและต้องเสียเปรียบเนื่องจากทรัพย์สินของลูกหนี้ลดลงไม่พอชำระหนี้เพราะการทำนิติกรรมฉ้อฉลของลูกหนี้จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้วหรือไม่ หรือเจ้าหนี้ที่ยังมิได้ฟ้องร้องเพื่อให้บังคับชำระหนี้ก็ตาม
ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 240 หมายถึง เจ้าหนี้ได้รู้ทั้งข้อที่ว่าลูกหนี้กระทำนิติกรรมที่จะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และข้อที่ว่าลูกหนี้รู้ว่านิติกรรมดังกล่าวทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ซึ่งการรู้ต้นเหตุในกรณีโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาลหมายถึงการรู้ของอธิบดีกรมป่าไม้ซึ่งเป็นผู้แทนผู้แสดงเจตนาความประสงค์ของโจทก์ ไม่อาจถือว่าการรู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลของพนักงานอัยการที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนในการดำเนินคดีแพ่งเดิมเป็นการรู้ของอธิบดีกรมป่าไม้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว: สิทธิในการยื่นคำขอในคดีเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 261
ป.วิ.พ. มาตรา 261 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "จำเลยหรือบุคคลภายนอกซึ่งได้รับหมายยึด หมายอายัดหรือคำสั่งตามมาตรา 254 (1) (2) หรือ (3) หรือจะต้องเสียหายเพราะหมายยึด หมายอายัด หรือคำสั่งดังกล่าว อาจมีคำขอต่อศาลให้ถอนหมาย เพิกถอนคำสั่งหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่ง หมายยึด หรือหมายอายัด ซึ่งออกตามคำสั่งดังกล่าวได้?" การที่ศาลชั้นต้นมีหมายห้ามชั่วคราวถึง ภ. จำเลยที่ 2 ในคดีแพ่งเดิม หากโจทก์ทั้งยี่สิบสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เห็นว่าจะต้องเสียหายเพราะหมายห้ามชั่วคราวของศาลชั้นต้น และประสงค์จะขอให้ศาลเพิกถอนหมายห้ามชั่วคราวดังกล่าวก็ชอบที่จะใช้สิทธิยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งฯได้ในคดีแพ่งเดิม ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 261 วรรคหนึ่ง จะมาฟ้องให้เพิกถอนคำสั่ง ฯ เป็นคดีใหม่หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1754/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนการโอนมรดก และการโอนทรัพย์โดยสุจริต
โจทก์ไม่ได้ฟ้องผู้จัดการมรดกเป็นจำเลย คงฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดก และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งไม่ใช่ทายาท ขอให้กำจัดทายาทมิให้รับมรดกเนื่องจากปิดบังยักย้ายทรัพย์มรดก และให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดกที่กระทำโดยมิชอบเพื่อโอนที่ดินกลับมาเป็นของเจ้ามรดกตามเดิม กรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง จึงไม่อาจนำบทบัญญัติอายุความ 5 ปี มาใช้บังคับแก่คดีได้
ในการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของ ส. เพื่อให้ลายพิมพ์นิ้วมือนั้นถือเสมือนกับการลงลายมือชื่อ และจำเลยที่ 3 รับโอนที่ดินโฉนดส่วนหนึ่งเนื่องจากได้ซื้อไว้จาก ส. นานแล้ว ไม่ใช่รับโอนที่ดินมาในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกซึ่งเป็นสามีของ ส. เมื่อจำเลยที่ 3 รับโอนที่ดินมาโดยมีค่าตอบแทนและกระทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 โจทก์จึงเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 3 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการแต่งทนายความและการรับรองลายมือชื่อ: ศาลต้องตรวจสอบความแน่ชัดก่อน
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ครั้งแรก ศาลแรงงานมีคำสั่งรับใบแต่งทนายความที่แต่งตั้งให้ ป.เป็นทนายความแก้ต่างให้จำเลย และรับคำให้การจำเลยที่ ป.เป็นผู้ลงลายมือชื่อไว้ ตลอดจนได้ให้ ป.ดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะเป็นทนายจำเลยมาแล้ว ต่อมาศาลแรงงานมีคำสั่งในภายหลังไม่เชื่อถือใบแต่งทนายความ และถือว่าไม่มีจำเลยในคดีนี้ อันเป็นการเพิกถอนกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการรับ ป.เป็นทนายจำเลยและกระบวนพิจารณาที่ ป.ได้กระทำแทนจำเลย ซึ่งแม้ศาลแรงงานมีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามป.วิ.พ.มาตรา 27 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ก็ตาม แต่ศาลแรงงานต้องได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่ากระบวนพิจารณานั้นเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบจริง
ศาลแรงงานสั่งให้ ป.ทนายจำเลยนำกรรมการบริษัทจำเลยซึ่งถูกระบุว่าเป็นเจ้าของลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความมารับรองลายมือชื่อแสดงว่า ศาลแรงงานเพียงแต่สงสัยว่าอาจไม่ใช่ลายมือชื่อของกรรมการบริษัทจำเลยและการที่กรรมการบริษัทจำเลยไม่มาศาลเพื่อรับรองลายมือชื่อ ก็ยังไม่ทำให้ได้ความแน่ชัดว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของกรรมการบริษัทจำเลย จึงไม่ชอบที่ศาลแรงงานจะนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาใช้กำหนดเป็นเงื่อนไขไม่เชื่อถือใบแต่งทนายความดังกล่าวอันเป็นการผลักภาระซึ่งเป็นผลร้ายให้แก่ฝ่ายจำเลย ทั้ง ๆ ที่จำเลยมิได้เป็นผู้ยกข้อสงสัยนั้นขึ้นกล่าวอ้าง นอกจากนี้ก็ยังมี ป.ทนายจำเลยซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องในการแต่งทนายจำเลย และเป็นผู้รับรองลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความไว้ในใบแต่งทนายความ ป.จึงเป็นผู้ที่สามารถให้ความจริงได้ ศาลแรงงานชอบที่จะค้นหาความจริงจาก ป.หรือดำเนินการทางอื่นเพื่อให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อน การที่ศาลแรงงานด่วนมีคำสั่งว่า กรรมการบริษัทจำเลยไม่มารับรองลายมือชื่อในใบแต่งทนายความของจำเลย จึงไม่เชื่อถือใบแต่งทนายความดังกล่าวและถือว่าไม่มีจำเลยเข้ามาในคดี แล้วมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและขาดนัดพิจารณาแล้วชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการรับทนายความโดยไม่ตรวจสอบความจริงก่อน เป็นการไม่ชอบ ศาลต้องแสวงหาความจริงก่อน
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ครั้งแรก ศาลแรงงานมีคำสั่งรับใบแต่งทนายความที่แต่งตั้งให้ ป. เป็นทนายความแก้ต่างให้จำเลย และรับคำให้การจำเลยที่ ป. เป็นผู้ลงลายมือชื่อไว้ ตลอดจนได้ให้ ป. ดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะเป็นทนายความจำเลยมาแล้ว ต่อมาศาลแรงงานมีคำสั่งในภายหลังไม่เชื่อถือใบแต่งทนายความ และถือว่าไม่มีจำเลยในคดีนี้ อันเป็นการเพิกถอนกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการรับ ป. เป็นทนายความจำเลยและกระบวนพิจารณาที่ ป. ได้กระทำแทนจำเลย ซึ่งแม้ศาลแรงงานมีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ก็ตาม แต่ศาลแรงงานต้องได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่ากระบวนพิจารณานั้นเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบจริง
ศาลแรงงานสั่งให้ ป. ทนายความจำเลยนำกรรมการบริษัทจำเลยซึ่งถูกระบุว่าเป็นเจ้าของลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความมารับรองลายมือชื่อแสดงว่า ศาลแรงงานเพียงแต่สงสัยว่าอาจไม่ใช่ลายมือชื่อของกรรมการบริษัทจำเลยและการที่กรรมการบริษัทจำเลยไม่มาศาลเพื่อรับรองลายมือชื่อ ก็ยังไม่ทำให้ได้ความแน่ชัดว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของกรรมการบริษัทจำเลย จึงไม่ชอบที่ศาลแรงงานจะนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาใช้กำหนดเป็นเงื่อนไขไม่เชื่อถือใบแต่งทนายความดังกล่าว อันเป็นการผลักภาระซึ่งเป็นผลร้ายให้แก่ฝ่ายจำเลย ทั้ง ๆ ที่จำเลยมิได้เป็นผู้ยกข้อสงสัยนั้นขึ้นกล่าวอ้าง นอกจากนี้ก็ยังมี ป. ทนายจำเลยซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องในการแต่งทนายจำเลย และเป็นผู้รับรองลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความไว้ในใบแต่งทนายความ ป. จึงเป็นผู้ที่สามารถให้ความจริงได้ ศาลแรงงานชอบที่จะค้นหาความจริงจาก ป. หรือดำเนินการทางอื่นเพื่อให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อน การที่ศาลแรงงานด่วนมีคำสั่งว่า กรรมการบริษัทจำเลยไม่มารับรองลายมือชื่อในใบแต่งทนายความของจำเลย จึงไม่เชื่อถือใบแต่งทนายความดังกล่าวและถือว่าไม่มีจำเลยเข้ามาในคดี แล้วมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและขาดนัดพิจารณาแล้วชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1171/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมการให้สินสมรสหลังพ.ร.บ.ใช้บังคับ และอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480
ที่ดินและบ้านพิพาท เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรสกับโจทก์ก่อน ป.พ.พ.บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับ จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 บัญญัติว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้าย พ.ร.บ.นี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้าย พ.ร.บ.นี้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นสามีมีอำนาจในการจัดการรวมทั้งอำนาจจำหน่ายสินสมรสอยู่แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจจัดการสินสมรสต่อไป การที่จำเลยที่ 1 ได้ยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจขอเพิกถอนนิติกรรมได้ แต่การเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้กระทำเมื่อใช้บทบัญญัติ ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ ใช้บังคับ ซึ่งเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ จึงต้องนำบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ ป.พ.พ. มาตรา 1480 มาใช้บังคับตามมาตรา 4 นิติกรรมการให้ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำลงเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2529 โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการให้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2541 จึงเป็นการฟ้องหลังจากพ้นสิบปีนับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา1480 วรรคสอง
of 104