คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เพิกถอนการโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: คู่สัญญาลูกหนี้ไม่ใช่บุคคลภายนอก การโอนหลังฟ้องไม่มีผลคุ้มครอง
ก. ผู้ร้องคัดค้านซึ่งได้รับโอนทรัพย์สินพิพาทโดยตรงจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลาย เป็นคู่สัญญากับลูกหนี้จึงมิใช่บุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116
จำเลยที่ 2 ผู้เป็นลูกหนี้โอนขายทรัพย์พิพาทให้ ก. ในระหว่างเวลาเพียง 30 วัน ก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย โดยจำเลยไม่มีทรัพย์อื่นใดอีก ต้องถือว่าจำเลยกระทำโดยมุ่งหมายให้ ก. ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น
การขอให้ศาลเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115 ไม่ต้องพิจารณาว่าผู้รับโอนได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่
บุคคลภายนอกซึ่งจะได้รับคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 116 นั้น นอกจากต้องเป็นผู้ได้รับโอนหรือได้สิทธิมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนแล้ว ยังต้องรับโอนหรือได้สิทธิมาก่อนมีการขอให้ล้มละลายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702-705/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: การโอนราคาต่ำกว่าจริง, เจตนาเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้รายหนึ่ง, และระยะเวลา 3 ปี
คำร้องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 แม้จะบรรยายว่าจำเลยได้โอนเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2501 อันเป็นระยะเวลาภายใน 3 ปี ก่อนถูกฟ้องล้มละลาย โดยมิได้ใช้คำว่า 'ก่อนล้มละลาย' แต่เมื่อได้บรรยายด้วยว่าศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยโดยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 18กุมภาพันธ์ 2502 ซึ่งเป็นวันที่การล้มละลายของจำเลยเริ่มต้น มีผลตามมาตรา 62 แล้ว ก็ถือได้ว่าการโอนที่ขอให้เพิกถอนคือการโอนที่ได้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 ปีก่อนล้มละลายนั่นเอง คำร้องเช่นนี้ต้องด้วย มาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 แล้ว
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามมาตรา 114 และ 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวให้ ส. มีข้อสัญญาให้ส. ชำระราคาเป็นงวด ๆ จนกว่าจะหมดใน 3 ปี ชำระหมดแล้วจึงจะโอนกัน หลังจากทำสัญญาได้เพียง 4 เดือนและอยู่ในระหว่าง3 เดือนก่อนจำเลยถูกฟ้องล้มละลาย จำเลยก็โอนที่ดินและตึกแถวให้ส. ทั้ง ๆ ที่ยังชำระราคาไม่ครบ และจำเลยก็รู้ดีว่าตนเป็นหนี้คนอื่นอีก มากและการโอนทรัพย์รายนี้ จะทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ ดังนี้ย่อมถือว่า ส. มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามความหมายของมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702-705/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: การโอนราคาต่ำกว่าจริง หรือเพื่อเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้รายหนึ่ง
คำร้องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 แม้จะบรรยายว่า จำเลยได้โอนเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2501 อันเป็นระยะเวลาภายใน 3 ปี ก่อนถูกฟ้องล้มละลายโดยมิได้ใช้คำว่า 'ก่อนล้มละลาย' แต่เมื่อได้บรรยายด้วยว่าศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยโดยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2502 ซึ่งเป็นวันที่การล้มละลายของจำเลยเริ่มต้นมีผลตามมาตรา 62 แล้ว ก็ถือได้ว่าการโอนที่ขอให้เพิกถอนคือการโอนที่ได้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 ปีก่อนล้มละลายนั่นเอง คำร้องเช่นนี้ต้องด้วยมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 แล้ว
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามมาตรา 114 และ 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวให้ ส. มีข้อสัญญาให้ส. ชำระราคาเป็นงวด ๆ จนกว่าจะหมดใน 3 ปี ชำระหมดแล้วจึงจะโอนกัน หลังจากทำสัญญาได้เพียง 4 เดือนและอยู่ในระหว่าง3 เดือนก่อนจำเลยถูกฟ้องล้มละลาย จำเลยก็โอนที่ดินและตึกแถวให้ ส. ทั้ง ๆ ที่ยังชำระราคาไม่ครบ และจำเลยก็รู้ดีว่าตนเป็นหนี้คนอื่นอีกมากและการโอนทรัพย์รายนี้ จะทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ ดังนี้ย่อมถือว่า ส. มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามความหมายของมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย ต้องระบุระยะเวลาการโอน และมีพฤติการณ์หลีกเลี่ยงหนี้
การร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนทรัพย์สินตามมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะต้องระบุในคำร้องขอด้วยว่าลูกหนี้ได้กระทำการโอนทรัพย์สินนั้น ในระยะเวลาสามปีก่อนล้มละลาย
พฤติการณ์ที่แสดงว่าลูกหนี้ได้ทำการโอนทรัพย์สิน โดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากข้อตกลงในคดีก่อน การเพิกถอนการโอนทรัพย์สิน และการรับมรดก
นาพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 มีชื่อในโฉนดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เอง มิใช่มีชื่อในฐานะเป็นผู้ซื้อแทนโจทก์ โจทก์หามีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการโอนและการขายฝากนาพิพาทที่จำเลยกระทำต่อกันได้ไม่
ในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504 โจทก์จำเลยตกลงกันว่าให้ถือเอาผลแห่งคำพิพากษาคดีนี้เป็นข้อแพ้ชนะกัน คือ ถ้าโจทก์ในคดีนี้(จำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504)แพ้จะไม่เกี่ยวข้องกับที่พิพาท และยินยอมใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ในคดีนี้ (โจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504) เป็นรายปีๆ ละ900 บาทนับแต่ พ.ศ.2504 เป็นต้นไป จนกว่าโจทก์จะออกจากที่ดิน แต่ถ้าจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายแพ้คดี ก็ไม่ติดใจเอาค่าเสียหายดังกล่าวและไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินอีกต่อไป ผลที่สุดจำเลยที่ 1 ถอนฟ้องคดีนั้นแล้วมาฟ้องแย้งในคดีนี้ว่าโจทก์บุกรุกที่พิพาทซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ผู้รับซื้อฝากจากจำเลยที่ 1 เรียกค่าเสียหายจากโจทก์ปีละ 900 บาทตั้งแต่ พ.ศ.2504 ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 มีมูลที่จะฟ้องแย้งได้ จำเลยที่ 2 ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์มาในฟ้องแย้งได้ โดยไม่ต้องอาศัยข้อตกลงในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504 และเป็นที่เห็นได้ว่าการที่จำเลยที่ 2 อ้างถึงข้อตกลงนั้น ก็เพื่อแสดงว่าโจทก์ได้เคยรับรองว่าจำเลยที่ 2 จะคิดค่าเสียหายได้ตามจำนวนที่ปรากฏในข้อตกลงนั้น ศาลจะได้ถือเป็นหลักวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายในคดีนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องนำสืบกันอีกชั้นหนึ่ง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ขอให้บังคับตามข้อตกลงนั้นโดยตรง โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องแย้งเรียกร้องค่าเสียหายในคดีนี้ เพราะเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ในคดีก่อนยังไม่สำเร็จ
โจทก์เพิ่งมากล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาว่านาพิพาทเป็นมรดกของนายอินบิดาโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง เป็นคนละประเด็นกันกับที่กล่าวในฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้
โจทก์เพิ่งจะยกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีนี้ขัดกับคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505 ทั้งอ้างข้อเท็จจริงมาไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505 นั้นปรากฏว่า จำเลยที่ 3 กับพวกซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้ได้ถอนฟ้องข้อหาเกี่ยวกับนาพิพาทเสีย โจทก์ (จำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505) ชนะในประเด็นอื่นซึ่งไม่เกี่ยวกับนาพิพาท ฎีกาโจทก์ข้อนี้หาเป็นสาระแก่คดีไม่(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5-6/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนสินเดิมที่ทำโดยไม่ชอบ และการแบ่งมรดก
ก่อนสามีโจทก์ตาย ได้ทำนิติกรรมยกที่ดินสินเดิม (ซึ่งเป็นสินบริคณห์)ของสามีให้จำเลยโดยเสน่หาโดยมิได้รับความยินยอมของโจทก์จึงเป็นนิติกรรมที่ทำไปโดยมิชอบการเพิกถอนก็ต้องเพิกถอนนิติกรรมนั้นทั้งหมดจะเพิกถอนเฉพาะบางส่วนหาได้ไม่ เพราะที่ดินนี้เป็นสินเดิมทั้งแปลง
โจทก์ตั้งประเด็นฟ้องขอแบ่งที่พิพาทซึ่งสามีโจทก์ยกให้จำเลยก่อนตายอ้างว่าเป็นสินสมรส (ซึ่งเป็นสินบริคณห์) ระหว่างโจทก์กับสามีผู้ตายแต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าที่พิพาทเป็นสินเดิมของผู้ตายซึ่งต้องตกเป็นมรดกของผู้ตายอันจะพึงได้แก่ทายาทต่อไปเช่นนี้ศาลจะแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ในชั้นนี้ยังไม่ได้ เพราะโจทก์ไม่ได้ตั้งประเด็นฟ้องขอแบ่งในฐานะเป็นผู้รับมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์และการฟ้องเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่ติดอายุความ
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการที่จำเลยจัดการโอนที่พิพาทใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดซึ่งที่ดินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้วนั้น มิใช่เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ฉะนั้นถึงแม้โจทก์จะฟ้องเกิน 1 ปีนับจากวันที่โจทก์รู้เรื่องการโอนใส่ชื่อจำเลยลงในโฉนด คดีก็หาขาดอายุความไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน แม้ผู้รับโอนไม่รู้ตัว
การที่จำเลยโอนทรัพย์ให้ผู้ร้องโดยเสน่หาเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ ทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้น แม้จะฟังว่าผู้ร้องไม่รู้ถึงข้อความจริงที่ทำให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบก็ดี โจทก์ก็ขอให้เพิกถอนการโอนนั้นเสียได้
ในชั้นบังคับคดีร้องขัดทรัพย์นั้น หากโจทก์อ้างว่าผู้ร้องได้ทรัพย์นั้นมาโดยไม่สุจริต เป็นการหลีกเลี่ยงการชำระหนี้โจทก์แล้ว ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 ได้โดยไม่ต้องให้โจทก์ไปดำเนินคดีฟ้องร้อง ขอให้ทำลายการโอนหรือเพิกถอนการฉ้อฉลเสียก่อนแต่ประการใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน แม้ผู้รับโอนไม่รู้เรื่อง ศาลมีอำนาจชี้ขาดในชั้นบังคับคดี
การที่จำเลยโอนทรัพย์ให้ผู้ร้องโดยเสน่หาเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้นแม้จะฟังว่าผู้ร้องไม่รู้ถึงข้อความจริงที่ทำให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบก็ดีโจทก์ก็ขอให้เพิกถอนการโอนนั้นเสียได้
ในชั้นบังคับคดีร้องขัดทรัพย์นั้น หากโจทก์อ้างว่าผู้ร้องได้ทรัพย์นั้นมาโดยไม่สุจริตเป็นการหลีกเลี่ยงการชำระหนี้โจทก์แล้วศาลก็มีอำนาจชี้ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ได้โดยไม่ต้องให้โจทก์ไปดำเนินคดีฟ้องร้อง ขอให้ทำลายการโอนหรือเพิกถอนการฉ้อฉลเสียก่อนแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681-682/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนที่ดินที่บุตรเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ศาลไม่สามารถพิพากษาให้ผูกพันบุคคลภายนอกได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินซึ่งมีชื่อบุตรจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่บุตรจำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดี กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ศาลจะพิพากษาหรือสั่งใด ๆ ให้ผูกพันบุตรของจำเลย ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้
of 15