พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำคุกและประหารชีวิตในคดีปล้นทรัพย์และกักขังเรียกค่าไถ่ โดยมีข้อจำกัดในการเพิ่มโทษ
เมื่อจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคท้าย ประกอบด้วย มาตรา 340ตรี แต่เนื่องจากตาม มาตรา 340วรรคท้าย มีโทษถึงประหารชีวิต จึงไม่อาจวางโทษให้หนักขึ้นอีกกึ่งหนึ่งตามมาตรา 340ตรี ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์พระพุทธรูป และการเพิ่มโทษจากคดีก่อนหน้าที่มีการล้างมลทิน
พระพุทธรูปที่จำเลยลักไปหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว ตั้งไว้ที่มุมโต๊ะบูชาในห้องของหอสวดมนต์ ถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ทวิ วรรคแรก แม้จำเลยจะลักพระพุทธรูปนี้ในวัดก็ ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 335 ทวิ วรรคสอง
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา พระราชบัญญัติล้างมลทินได้ใช้ บังคับ โดยพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่าบรรดาผู้ต้องโทษและได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้ บังคับ เป็นผู้มิได้เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นๆ ดังนี้เมื่อความผิดที่ศาลจำคุกจำเลยที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยได้พ้นโทษไปก่อนวันที่พระราชบัญญัติข้างต้นใช้บังคับจึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ แต่สำหรับโทษจำคุกที่ศาลรอการลงโทษไว้นำมาบวกแก่โทษของจำเลยได้
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา พระราชบัญญัติล้างมลทินได้ใช้ บังคับ โดยพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่าบรรดาผู้ต้องโทษและได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้ บังคับ เป็นผู้มิได้เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นๆ ดังนี้เมื่อความผิดที่ศาลจำคุกจำเลยที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยได้พ้นโทษไปก่อนวันที่พระราชบัญญัติข้างต้นใช้บังคับจึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ แต่สำหรับโทษจำคุกที่ศาลรอการลงโทษไว้นำมาบวกแก่โทษของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์พระพุทธรูปที่ไม่เป็นทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน และผลกระทบของ พ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษ
พระพุทธรูปที่จำเลยลักไปหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว ตั้งไว้ที่มุมโต๊ะบูชาในห้องของหอสวดมนต์ ถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ทวิ วรรคแรก แม้จำเลยจะลักพระพุทธรูปนี้ในวัดก็ ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 335 ทวิ วรรคสอง ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา พระราชบัญญัติล้างมลทินได้ใช้ บังคับ โดยพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่าบรรดาผู้ต้องโทษและได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้ บังคับ เป็นผู้มิได้เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นๆ ดังนี้ เมื่อความผิดที่ศาลจำคุกจำเลยที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้ เพิ่มโทษ จำเลยได้พ้นโทษไปก่อนวันที่พระราชบัญญัติข้างต้นใช้บังคับจึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ แต่สำหรับโทษจำคุกที่ศาลรอการลงโทษไว้ นำมาบวกแก่โทษของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 130/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายโดยเมาสุรา ไม่ปรากฏเจตนาฆ่า และผลกระทบของการล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษ
ขณะเกิดเหตุจำเลยเมาสุราจนไม่รู้เรื่อง แม้จะไล่แทงผู้เสียหายหลายครั้งแต่แทงไม่ค่อยถูก เมื่อผู้เสียหายล้มลงและมีเสียงคนเรียกให้ช่วย จำเลยก็ผละไปไม่ได้ซ้ำเติมผู้เสียหาย บาดแผลที่ถูกแทงเป็นเพียงบาดแผลตื้นๆรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพียง 1 วันแพทย์ก็ให้ออกมารักษาข้างนอก อาวุธมีดที่ใช้มีลักษณะเป็นมีดปอกผลไม้ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า
จำเลยพ้นโทษจากการกระทำผิดในคดีก่อน ก่อนวันที่ 6 เมษายน 2525 ซึ่งพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ. 2526 ให้ถือว่ามิได้ถูกลงโทษในความผิดนั้นๆ จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้
จำเลยพ้นโทษจากการกระทำผิดในคดีก่อน ก่อนวันที่ 6 เมษายน 2525 ซึ่งพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ. 2526 ให้ถือว่ามิได้ถูกลงโทษในความผิดนั้นๆ จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษกรณีมีอาวุธในการปล้นทรัพย์: ความแตกต่างระหว่างบทเพิ่มโทษและบทกำหนดโทษหนักขึ้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคสอง, 83 จำคุกคนละ 20 ปี จำเลยมีอาวุธปืนติดตัวในการปล้นทรัพย์ จึงให้เพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่งตาม มาตรา 340 ตรี เป็นจำคุกคนละ 30 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยที่ มาตรา 340 ตรี เป็นบทบัญญัติให้ต้องรับโทษหนักขึ้นมิใช่บทเพิ่มโทษ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 340 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี และมาตรา 83 ป.ว. ฉบับที่ 11 ข้อ 14 และ 15 ให้ลงโทษจำคุกคนละ 30 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3032/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของ พ.ร.บ.ล้างมลทิน ต่อการเพิ่มโทษจำเลยในคดีความผิดซ้ำ
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2526 มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2526 ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2525 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับหรือซึ่งได้พ้นโทษไปโดยผลแห่งพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2525 โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดนั้น ๆ จำเลยพ้นโทษคดีก่อนก่อนที่พระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2526 ใช้บังคับ จำเลยย่อมได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัตินี้ ต้องถือว่ามิได้เคยถูกลงโทษมาก่อน จึงเพิ่มโทษจำเลยตามคำขอของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3032/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้างมลทินทางอาญา: ผลกระทบต่อการเพิ่มโทษจำเลย
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2526 มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2526 ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2525 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับหรือซึ่งได้พ้นโทษไปโดยผลแห่งพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2525 โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดนั้น ๆ จำเลยพ้นโทษคดีก่อนก่อนที่พระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2526 ใช้บังคับจำเลยย่อมได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัตินี้ ต้องถือว่ามิได้เคยถูกลงโทษมาก่อน จึงเพิ่มโทษจำเลยตามคำขอของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษคดีซ้ำจากความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แม้ความผิดแรกเกิดก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
แม้ว่าโทษที่จำเลยได้รับครั้งก่อนจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติกัญชาพุทธศักราช 2477 แต่พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 3 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติกัญชา พุทธศักราช 2477 ทั้งฉบับ โดยถือว่ากัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 และผู้มีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตาม มาตรา 26, 76 ดังนั้น การที่จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกฐานมีกัญชาไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาตในคดีก่อนจึงต้องถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษด้วย เมื่อจำเลยกระทำความผิดฐานมีเฮโรอีนอันเป็น ยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ไว้ในครอบครองภายในกำหนดเวลาห้าปี นับแต่วันพ้นโทษคดีก่อน จึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษจำเลยตาม มาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษคดีจำเลยกระทำผิดซ้ำภายในห้าปี แม้ความผิดก่อนหน้าตามกฎหมายเดิม ศาลฎีกาชี้ว่าเพิ่มโทษได้ตามกฎหมายยาเสพติด
แม้ว่าโทษที่จำเลยได้รับครั้งก่อนจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติกัญชาพุทธศักราช 2477 แต่พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 3 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติกัญชา พุทธศักราช 2477 ทั้งฉบับ โดยถือว่ากัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 และผู้มีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตาม มาตรา 26,76ดังนั้น การที่จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตในคดีก่อนจึงต้องถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษด้วยเมื่อจำเลยกระทำความผิดฐานมีเฮโรอีนอันเป็น ยาเสพติดให้โทษประเภท1 ไว้ในครอบครองภายในกำหนดเวลาห้าปี นับแต่วันพ้นโทษคดีก่อน จึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษทางอาญาต้องมีการนำสืบพยานหลักฐานแสดงว่าจำเลยเคยต้องโทษจริง การแจ้งวิธีการนำสืบพยานไม่ถือเป็นคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาแล้วขอให้เพิ่มโทษจำเลยเมื่อจำเลยมิได้ให้การรับในข้อเคยต้องโทษจำคุกและโจทก์เพียงแต่ยื่นบัญชีพยานอ้างคดีอาญาที่อ้างว่าจำเลยเคยถูกศาลพิพากษาจำคุกและระบุไว้ในช่องหมายเหตุบัญชีพยานว่าอยู่ที่ศาลให้ศาลเรียกมาซึ่งการระบุเช่นนั้นมิใช่เป็นคำขอหากเป็นแต่เพียงแจ้งวิธีการที่จะนำพยานหลักฐานมาสู่ศาลเท่านั้นถือว่าโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏว่าจำเลยเคยต้องโทษมาแล้วจึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้