พบผลลัพธ์ทั้งหมด 598 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7812/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อระงับ ค่าเสียหายจากการไม่คืนรถ และอัตราดอกเบี้ยที่ใช้บังคับหลังเลิกสัญญา
เมื่อสัญญาเช่าซื้อระงับ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อ มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อไปคืนแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 เพิกเฉย ไม่ส่งมอบรถคืน มีผลทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ที่จะใช้รถนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
แม้สัญญาเช่าซื้อที่ทำขึ้นจะมีข้อความระบุทำนองว่า หากผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อและค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ ตามสัญญา ผู้เช่าซื้อยินยอมเสียดอกเบี้ยในเงินต้นที่ผิดนัดให้แก่เจ้าของในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่เมื่อสัญญาเช่าซื้อนั้นเลิกกันแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากฝ่ายจำเลยในอัตราดังกล่าวตามสัญญา หากแต่คงมีสิทธิเรียกให้ฝ่ายจำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดเพียงในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก
แม้สัญญาเช่าซื้อที่ทำขึ้นจะมีข้อความระบุทำนองว่า หากผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อและค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ ตามสัญญา ผู้เช่าซื้อยินยอมเสียดอกเบี้ยในเงินต้นที่ผิดนัดให้แก่เจ้าของในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่เมื่อสัญญาเช่าซื้อนั้นเลิกกันแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากฝ่ายจำเลยในอัตราดังกล่าวตามสัญญา หากแต่คงมีสิทธิเรียกให้ฝ่ายจำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดเพียงในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7523/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อ การหักกลบลบหนี้ และการชดใช้ค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์
จำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 1 ถึงงวดที่ 9เรียงลำดับมา แม้ทุกงวดจะชำระไม่ตรงเวลา แต่โจทก์ก็รับไปโดยไม่มีข้อโต้แย้งแสดงว่าในทางปฏิบัติคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ จึงไม่ถือว่าการชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงเวลาเป็นการผิดสัญญา เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครั้งสุดท้ายงวดที่ 9 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2534 แต่โจทก์ไปยึดรถที่เช่าซื้อเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534 ห่างจากวันชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายเพียง19 วัน เป็นการยึดรถคืนโดยไม่มีสิทธิจะกระทำได้ นอกจากนี้ตามสัญญาเช่าซื้อยังได้ตกลงไว้ว่า ในกรณีผู้เช่าไม่ใช้เงินค่าเช่าสองงวดติด ๆ กัน เมื่อโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวแล้ว แต่ผู้เช่าละเลยไม่ปฏิบัติตามภายในกำหนด 30 วัน ผู้เช่ายอมให้เจ้าของมีสิทธิบอกเลิกการเช่าและริบเงินที่ได้รับชำระแล้วและกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินได้ทันที อีกทั้งโจทก์ก็ยอมรับว่าโจทก์ต้องมีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายใน 30 วัน ก่อนจึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญา แต่โจทก์มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติการชำระค่าเช่าซื้อภายใน30 วัน กลับมีหนังสือบอกเลิกสัญญาทันที การบอกเลิกสัญญาโดยผิดข้อตกลงเช่นนี้จึงไม่ชอบ
การที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งเสียภายในเวลาอันสมควร จำเลยที่ 1 เพิ่งมาโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิยึดรถหลังจากถูกโจทก์ฟ้องและโจทก์ได้ยึดรถไปแล้ว 1 ปีเศษ จึงเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถคืน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับรถคืนแล้ว โจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระแล้วแก่จำเลยที่ 1 แต่การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองรถที่เช่าซื้อตั้งแต่วันทำสัญญาถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืน โจทก์ย่อมขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าใช้ทรัพย์แก่โจทก์ตามป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม
รถที่โจทก์ยึดคืนปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นเงิน 220,000 บาท และก่อนทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินดาวน์แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ไปแล้ว เป็นเงิน 200,000 บาท ถือได้ว่าเป็นการงานอันได้กระทำให้ เพราะเมื่อโจทก์ยึดรถคืนมาย่อมเป็นประโยชน์แก่โจทก์กล่าวคือ ตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นส่วนประกอบของรถ ส่วนเงินดาวน์ก็เป็นส่วนหนึ่งของราคารถ โจทก์จึงต้องใช้คืนแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสามแต่การที่จำเลยที่ 1 ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มก็ดี ชำระเงินดาวน์ก็ดี ย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 อยู่ด้วยในการที่นำรถไปใช้รับจ้างบรรทุกสิ่งของเป็นเวลาถึง 15 เดือนซึ่งรถย่อมมีการเสื่อมสภาพลง จึงต้องหักค่าเสื่อมราคาของรถออกเสียก่อน
ส่วนค่าเสียหายอย่างอื่นที่ต่างฝ่ายต่างเรียกร้องนั้น เมื่อสัญญาเช่าซื้อมิได้เลิกกันเพราะความผิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายจึงต่างไม่มีสิทธิเรียกให้อีกฝ่ายชำระ
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันที่จะต้องชำระหนี้เงินเป็นอย่างเดียวกัน และต่างฟ้องอีกฝ่ายหนึ่งให้รับผิดซึ่งศาลรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการบังคับคดี ศาลฎีกาจึงให้หักกลบลบหนี้เพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 341 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องโจทก์เป็นต้นไป
การที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งเสียภายในเวลาอันสมควร จำเลยที่ 1 เพิ่งมาโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิยึดรถหลังจากถูกโจทก์ฟ้องและโจทก์ได้ยึดรถไปแล้ว 1 ปีเศษ จึงเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถคืน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับรถคืนแล้ว โจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระแล้วแก่จำเลยที่ 1 แต่การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองรถที่เช่าซื้อตั้งแต่วันทำสัญญาถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืน โจทก์ย่อมขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าใช้ทรัพย์แก่โจทก์ตามป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม
รถที่โจทก์ยึดคืนปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นเงิน 220,000 บาท และก่อนทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินดาวน์แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ไปแล้ว เป็นเงิน 200,000 บาท ถือได้ว่าเป็นการงานอันได้กระทำให้ เพราะเมื่อโจทก์ยึดรถคืนมาย่อมเป็นประโยชน์แก่โจทก์กล่าวคือ ตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นส่วนประกอบของรถ ส่วนเงินดาวน์ก็เป็นส่วนหนึ่งของราคารถ โจทก์จึงต้องใช้คืนแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสามแต่การที่จำเลยที่ 1 ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มก็ดี ชำระเงินดาวน์ก็ดี ย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 อยู่ด้วยในการที่นำรถไปใช้รับจ้างบรรทุกสิ่งของเป็นเวลาถึง 15 เดือนซึ่งรถย่อมมีการเสื่อมสภาพลง จึงต้องหักค่าเสื่อมราคาของรถออกเสียก่อน
ส่วนค่าเสียหายอย่างอื่นที่ต่างฝ่ายต่างเรียกร้องนั้น เมื่อสัญญาเช่าซื้อมิได้เลิกกันเพราะความผิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายจึงต่างไม่มีสิทธิเรียกให้อีกฝ่ายชำระ
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันที่จะต้องชำระหนี้เงินเป็นอย่างเดียวกัน และต่างฟ้องอีกฝ่ายหนึ่งให้รับผิดซึ่งศาลรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการบังคับคดี ศาลฎีกาจึงให้หักกลบลบหนี้เพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 341 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องโจทก์เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7185/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินเนื่องจากเหตุสุดวิสัยและการเลิกสัญญาโดยความยินยอมของคู่สัญญา
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาสิ้นสุดตามสัญญาแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา เมื่อปัญหาดังกล่าวจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ทั้งมิได้อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวแต่อย่างใด จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ อีกทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
เมื่อขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทสามารถโอนกรรมสิทธิ์กันได้ เพียงแต่กรมที่ดินให้มีหมายเหตุไว้ในบัญชีอายัดและกลัดติดไว้ในโฉนดที่ดินว่า"เมื่อมีผู้มาขอจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ ให้แจ้งให้คู่กรณีทราบว่ากองทัพบกอ้างว่าเป็นที่สนามบินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หากเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินจริง ผู้รับโอนย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินนี้แต่อย่างใด ถ้าคู่กรณีทราบแล้วประสงค์จะให้จดทะเบียน ก็ให้บันทึกถ้อยคำไว้แล้วดำเนินการจดทะเบียนต่อไปได้" ดังนั้นในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย วัตถุที่ประสงค์ของสัญญามิได้เป็นการพ้นวิสัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ใหม่) จึงมีผลใช้บังคับระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญา
เหตุที่จำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้เกิดจากผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งอายัดที่ดินพิพาทตาม ป.ที่ดิน มาตรา 83ไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งผลของการแจ้งอายัดนั้น ป.ที่ดิน มาตรา 83 วรรคสองบัญญัติให้เจ้าพนักงานที่ดินเมื่อได้สอบสวนหลักฐานที่ผู้ขอได้นำมาแสดงให้ปรากฏแล้วถ้าเห็นสมควรเชื่อถือก็ให้รับอายัดไว้ได้มีกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ขออายัด โดยให้ผู้นั้นไปดำเนินการทางศาล และให้นำหลักฐานการยื่นฟ้องพร้อมสำเนาคำฟ้องในกรณีที่ขออายัดมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับอายัดภายในกำหนดเวลาที่อายัดถ้าผู้ขออายัดมิได้ปฏิบัติดังกล่าวให้ถือว่าการอายัดสิ้นสุดและจะขออายัดซ้ำในกรณีเดียวกันอีกไม่ได้ แต่ถ้าผู้ขออายัดได้แสดงหลักฐานดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่อายัดให้การอายัดมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด เพราะฉะนั้นการแจ้งขออายัดจึงไม่ทำให้ที่ดินพิพาทถูกห้ามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาด และไม่ทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นการชำระหนี้พ้นวิสัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 219 อีกทั้งหนังสือแจ้งอายัดก็ไม่ใช่เหตุใด ๆ อันจะเกิด จะให้ผลพิบัติ ไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ อันเป็นเหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 8 การที่จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสองไม่ได้ตามกำหนดในสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้คือการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์
ในวันครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญา ฝ่ายโจทก์นำแคชเชียร์เช็คไปพร้อมชำระราคาให้แก่จำเลย โดยโจทก์ไม่ได้ผิดสัญญา แต่ต่อมาหลังจากครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท และไม่สามารถโอนให้ได้แล้วจำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินตามสัญญาภายใน 10 วัน หากพ้นกำหนดถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและให้ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการแจ้งบอกเลิกสัญญาอันเป็นการที่จำเลยแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาพร้อมกันนั้นโจทก์ก็ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญา ให้จำเลยคืนเงินมัดจำ และราคาที่ได้ชำระแล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวมาแสดงว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายจึงเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 จำเลยจึงต้องให้โจทก์ทั้งสองได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม
เมื่อขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทสามารถโอนกรรมสิทธิ์กันได้ เพียงแต่กรมที่ดินให้มีหมายเหตุไว้ในบัญชีอายัดและกลัดติดไว้ในโฉนดที่ดินว่า"เมื่อมีผู้มาขอจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ ให้แจ้งให้คู่กรณีทราบว่ากองทัพบกอ้างว่าเป็นที่สนามบินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หากเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินจริง ผู้รับโอนย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินนี้แต่อย่างใด ถ้าคู่กรณีทราบแล้วประสงค์จะให้จดทะเบียน ก็ให้บันทึกถ้อยคำไว้แล้วดำเนินการจดทะเบียนต่อไปได้" ดังนั้นในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย วัตถุที่ประสงค์ของสัญญามิได้เป็นการพ้นวิสัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ใหม่) จึงมีผลใช้บังคับระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญา
เหตุที่จำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้เกิดจากผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งอายัดที่ดินพิพาทตาม ป.ที่ดิน มาตรา 83ไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งผลของการแจ้งอายัดนั้น ป.ที่ดิน มาตรา 83 วรรคสองบัญญัติให้เจ้าพนักงานที่ดินเมื่อได้สอบสวนหลักฐานที่ผู้ขอได้นำมาแสดงให้ปรากฏแล้วถ้าเห็นสมควรเชื่อถือก็ให้รับอายัดไว้ได้มีกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ขออายัด โดยให้ผู้นั้นไปดำเนินการทางศาล และให้นำหลักฐานการยื่นฟ้องพร้อมสำเนาคำฟ้องในกรณีที่ขออายัดมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับอายัดภายในกำหนดเวลาที่อายัดถ้าผู้ขออายัดมิได้ปฏิบัติดังกล่าวให้ถือว่าการอายัดสิ้นสุดและจะขออายัดซ้ำในกรณีเดียวกันอีกไม่ได้ แต่ถ้าผู้ขออายัดได้แสดงหลักฐานดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่อายัดให้การอายัดมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด เพราะฉะนั้นการแจ้งขออายัดจึงไม่ทำให้ที่ดินพิพาทถูกห้ามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาด และไม่ทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นการชำระหนี้พ้นวิสัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 219 อีกทั้งหนังสือแจ้งอายัดก็ไม่ใช่เหตุใด ๆ อันจะเกิด จะให้ผลพิบัติ ไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ อันเป็นเหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 8 การที่จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสองไม่ได้ตามกำหนดในสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้คือการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์
ในวันครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญา ฝ่ายโจทก์นำแคชเชียร์เช็คไปพร้อมชำระราคาให้แก่จำเลย โดยโจทก์ไม่ได้ผิดสัญญา แต่ต่อมาหลังจากครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท และไม่สามารถโอนให้ได้แล้วจำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินตามสัญญาภายใน 10 วัน หากพ้นกำหนดถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและให้ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการแจ้งบอกเลิกสัญญาอันเป็นการที่จำเลยแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาพร้อมกันนั้นโจทก์ก็ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญา ให้จำเลยคืนเงินมัดจำ และราคาที่ได้ชำระแล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวมาแสดงว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายจึงเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 จำเลยจึงต้องให้โจทก์ทั้งสองได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อไม่มีการเดินบัญชีต่อ และดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญาคิดได้ตามอัตราที่ตกลง
คำให้การของจำเลยที่อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่า ไม่ทราบไม่รับรองหนังสือมอบอำนาจเพราะเป็นเพียงสำเนานั้น มิใช่เป็นการปฏิเสธความแท้จริงของหนังสือมอบอำนาจ การที่จำเลยไม่ทราบไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์เสียไปและที่จำเลยไม่รับรองก็ยังไม่ชัดแจ้งเพียงพอว่าทำไมหนังสือมอบอำนาจที่เป็นสำเนาจึงไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง จึงไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี
เอกสารท้ายคำฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ตามบัญชีเดินสะพัดและใบแสดงรายการบัญชีเดินสะพัดเอกสารท้ายคำฟ้องระบุรายละเอียดรายการที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในแต่ละเดือน จำเลยย่อมเข้าใจได้ดี และในส่วนที่เป็นรหัสในบัญชีเดินสะพัดมีคำอธิบาย แม้จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นประเพณีปฏิบัติในวงการธนาคารเป็นที่ทราบกันทั่วไป แม้โจทก์ไม่ได้ทำคำแปลเป็นภาษาไทยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสาม ก็บัญญัติไว้เพียงว่าให้ศาลสั่งให้คู่ความที่ส่งทำคำแปลแนบไว้กับต้นฉบับเท่านั้น ส่วนเลขบัญชีและยอดเงินไม่ตรงกันและไม่ต่อเนื่องกันนั้นเป็นข้อเท็จจริงในรายละเอียดที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในทางบัญชี ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบให้เห็นในชั้นพิจารณาได้ ทั้งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้อย่างถูกต้อง คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่กำหนดระยะเวลากันไว้แน่นอนสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นย่อมสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 บัญญัติให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่พิพาทได้กำหนดระยะเวลาไว้แต่เมื่อครบกำหนดแล้วยังได้มีการเดินบัญชีสะพัดกันอีก ถือได้ว่ามีสัญญาต่อไปอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลา และหลังจากจำเลยได้ถอนเงินออกจากบัญชีเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว โจทก์ก็คิดดอกเบี้ยทบต้นเรื่อยมาโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักถอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไป ดังนี้ การที่โจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน ทั้งโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแล้ว พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยจึงแสดงให้เห็นว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย กรณีหาใช่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้สิ้นสุดลงในวันที่ครบกำหนดเวลาให้ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ไม่ โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงเพียงวันที่คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเท่านั้น
ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ17 ต่อปี และถ้าต่อไปผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จำเลยยอมให้ขึ้นได้ตามที่เห็นสมควร ซึ่งอัตราร้อยละ 17 ต่อปี เป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ดังนี้หลังจากเลิกสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี แบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้
เอกสารท้ายคำฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ตามบัญชีเดินสะพัดและใบแสดงรายการบัญชีเดินสะพัดเอกสารท้ายคำฟ้องระบุรายละเอียดรายการที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในแต่ละเดือน จำเลยย่อมเข้าใจได้ดี และในส่วนที่เป็นรหัสในบัญชีเดินสะพัดมีคำอธิบาย แม้จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นประเพณีปฏิบัติในวงการธนาคารเป็นที่ทราบกันทั่วไป แม้โจทก์ไม่ได้ทำคำแปลเป็นภาษาไทยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสาม ก็บัญญัติไว้เพียงว่าให้ศาลสั่งให้คู่ความที่ส่งทำคำแปลแนบไว้กับต้นฉบับเท่านั้น ส่วนเลขบัญชีและยอดเงินไม่ตรงกันและไม่ต่อเนื่องกันนั้นเป็นข้อเท็จจริงในรายละเอียดที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในทางบัญชี ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบให้เห็นในชั้นพิจารณาได้ ทั้งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้อย่างถูกต้อง คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่กำหนดระยะเวลากันไว้แน่นอนสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นย่อมสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 บัญญัติให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่พิพาทได้กำหนดระยะเวลาไว้แต่เมื่อครบกำหนดแล้วยังได้มีการเดินบัญชีสะพัดกันอีก ถือได้ว่ามีสัญญาต่อไปอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลา และหลังจากจำเลยได้ถอนเงินออกจากบัญชีเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว โจทก์ก็คิดดอกเบี้ยทบต้นเรื่อยมาโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักถอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไป ดังนี้ การที่โจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน ทั้งโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแล้ว พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยจึงแสดงให้เห็นว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย กรณีหาใช่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้สิ้นสุดลงในวันที่ครบกำหนดเวลาให้ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ไม่ โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงเพียงวันที่คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเท่านั้น
ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ17 ต่อปี และถ้าต่อไปผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จำเลยยอมให้ขึ้นได้ตามที่เห็นสมควร ซึ่งอัตราร้อยละ 17 ต่อปี เป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ดังนี้หลังจากเลิกสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี แบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6662/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกกัน, ดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทข้อ 4 มีข้อความว่าจำเลยที่ 1 จะผ่อนชำระหนี้ตามสัญญาให้ลดลงเรื่อย ๆ และให้หมดสิ้นภายในวันที่15 มกราคม 2531 แต่หลังจากครบกำหนดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันที่ 15มกราคม 2531 แล้ว ได้มีการหักทอนบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โดยโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแล้ว จำเลยที่ 1จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2531 เป็นต้นไป แม้ต่อมาจำเลยที่ 1ได้สั่งจ่ายเช็ค แต่โจทก์ได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำเงินตามเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีผู้ทรงเช็คดังกล่าวจึงได้นำมาเรียกเก็บเงิน และโจทก์จ่ายเงินตามเช็คให้ผู้ทรงไปก็ตาม เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ตามเช็คและโจทก์ยอมจ่ายเงินจำนวน 35,000 บาท ตามเช็คดังกล่าวไปเป็นการเฉพาะรายเท่านั้น กรณีจึงฟังไม่ได้ว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันโดยปริยายว่าจะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดหรือเบิกเงินเกินบัญชีกันต่อไปอีก สัญญาบัญชีเดินสะพัดและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันตั้งแต่วันที่16 มกราคม 2531 เป็นต้นไป
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีข้อ 2 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี หลังจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราดังกล่าวต่อไปเท่านั้น โจทก์จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเป็นอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2533 หาได้ไม่
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีข้อ 2 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี หลังจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราดังกล่าวต่อไปเท่านั้น โจทก์จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเป็นอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2533 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6662/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกแล้ว โจทก์คิดดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้เท่านั้น
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทข้อ 4 มี ข้อความว่า จำเลยที่ 1 จะผ่อนชำระหนี้ตามสัญญาให้ลดลงเรื่อย ๆและให้หมดสิ้นภายในวันที่ 15 มกราคม 2531 แต่หลังจากครบกำหนดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันที่ 15 มกราคม 2531แล้ว ได้มีการหักทอนบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โดยโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแล้ว จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2531 เป็นต้นไป แม้ต่อมาจำเลยที่ 1ได้สั่งจ่ายเช็ค แต่โจทก์ได้ปฎิเสธการจ่ายเงิน ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำเงินตามเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีผู้ทรงเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีผู้ทรงเช็คดังกล่าวจึงได้นำเรียกเก็บเงินและโจทก์จ่ายเงินตามเช็คให้ผู้ทรงไปก็ตาม เมื่อปรากฎว่าจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ตามเช็คและโจทก์ยอมจ่ายเงินจำนวน 35,000 บาท ตามเช็คดังกล่าวไปเป็นการเฉพาะรายเท่านั้น กรณีจึงฟังไม่ได้ว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1ตกลงกันโดยปริยายว่าจะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดหรือเบิกเงินเกินบัญชีกันต่อไปอีก สัญญาบัญชีเดินสะพัดและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2531 เป็นต้นไป ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีข้อ 2 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี หลังจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราดังกล่าวต่อไปเท่านั้น โจทก์จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเป็นอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่16 มีนาคม 2533 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6133/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่างานหลังเลิกสัญญา: ค่างานที่ทำไปแล้วต้องชดใช้ตามควรค่า แม้มีการเลิกสัญญา
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารในที่ดินของจำเลย รวมค่าก่อสร้างเป็นเงิน 1,260,000 บาท ตกลงแบ่งชำระค่าก่อสร้างเป็น 4 งวด งวดที่ 1 เป็นเงิน 300,000 บาท ภายหลังมีการเลิกสัญญาก่อสร้างเมื่อโจทก์ก่อสร้างอาคารให้จำเลยจนครบงวดงานที่ 1 แล้ว โดยจำเลยชำระค่าวัสดุแทนโจทก์ไปจำนวน 132,612 บาท และโจทก์เบิกเงินค่าแรงงานไปจากจำเลยจำนวน 82,832 บาท จำเลยคงค้างค่างานอยู่อีก 84,556 บาท เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมส่วนที่เป็นงานอันได้กระทำให้แก่กันแล้ว ให้ชดใช้กันด้วยเงินตามควรค่าแห่งงานนั้น ๆ ดังนี้ เมื่อขณะที่ยังมีข้อสัญญาที่ต้องปฏิบัติต่อกันโจทก์ได้ทำงานให้แก่จำเลยไปบ้างแล้ว ภายหลังเมื่อมีการเลิกสัญญา จำเลยย่อมต้องใช้ค่างานแก่โจทก์ตามที่ได้กระทำให้จำเลยไปแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่างานที่เหลือจำนวน 84,556 บาท จากจำเลยได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6133/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาก่อสร้าง: สิทธิเรียกร้องค่าค่างานที่ทำเสร็จแล้ว
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารในที่ดินของจำเลย รวมค่าก่อสร้างเป็นเงิน 1,260,000 บาท ตกลงแบ่งชำระค่าก่อสร้างเป็น 4 งวด งวดที่ 1 เป็นเงิน 300,000 บาทภายหลังมีการเลิกสัญญาก่อสร้างเมื่อโจทก์ก่อสร้างอาคารให้จำเลยจนครบงวดงานที่ 1 แล้ว โดยจำเลยชำระค่าวัสดุแทนโจทก์ ไปจำนวน 132,612 บาท และโจทก์เบิกเงินค่าแรงงานไปจากจำเลย จำนวน 82,832 บาท จำเลยคงค้างงานอยู่อีก 84,556 บาท เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมส่วนที่เป็นงานอันได้กระทำให้แก่กันแล้ว ให้ชดใช้กันด้วยเงินตามควรค่าแห่งงานนั้น ๆ ดังนี้ เมื่อขณะที่ยังมีข้อสัญญาที่ต้องปฏิบัติต่อกันโจทก์ได้ทำงานให้แก่จำเลยไปบ้างแล้ว ภายหลังเมื่อมีการเลิกสัญญา จำเลยย่อมต้อง ใช้ค่างานแก่โจทก์ตามที่ได้กระทำให้จำเลยไปแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่างานที่เหลือจำนวน 84,556 บาทจากจำเลยได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาสินค้าไม่ได้มาตรฐาน: คืนราคาสินค้า & ความรับผิดของหุ้นส่วน
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าสินค้าคืนจากจำเลยทั้งสามโดยอ้างว่าได้ส่งสินค้าคืนจำเลยทั้งสามแล้ว แม้โจทก์บรรยายในคำฟ้องว่า สินค้าของจำเลยไม่ได้มาตรฐานตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดและไม่ผ่านการทดสอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และจำเลยให้การว่าไม่เคยมีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ ซึ่งศาลชั้นต้นได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า สินค้าของจำเลยชำรุดบกพร่องหรือไม่ ทั้งได้มีการหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยตลอดมาถึงศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าโจทก์นำสินค้าไปคืนจำเลยโดยอ้างว่าสินค้าไม่ได้มาตรฐานและจำเลยที่ 1 ก็ยินยอมรับสินค้าคืนจากโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามยินยอมรับคืนโดยมีเงื่อนไขอย่างไร ย่อมฟังได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 กล่าวคือ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับสินค้าคืนจากโจทก์แล้วจึงจำต้องคืนราคาสินค้าแก่โจทก์ด้วย กรณีมิใช่พิพาทกันในเรื่องความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องในตัวทรัพย์ที่ซื้อขายกัน
โจทก์ซื้อสินค้าจากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 3,164,684 บาทแต่ในการชำระราคา เมื่อโจทก์ทราบว่าสายไฟฟ้าที่ซื้อจากจำเลยที่ 1 มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานจึงสั่งอายัดเช็คจำนวน 350,000 บาท และโจทก์ยังค้างชำระราคาสินค้าจำนวน 350,000 บาท ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากราคาสินค้าทั้งหมดก่อน คงเหลือราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1 ต้องคืนแก่โจทก์จำนวน2,814,684 บาท จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด แต่ในการเจรจาติดต่อนำสินค้าไปคืนแก่จำเลยที่ 1 รวมทั้งการทวงถามค่าสินค้าคืนจากจำเลยที่ 1โจทก์ได้ติดต่อโดยตรงกับจำเลยที่ 3 ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
โจทก์ติดต่อซื้อสายไฟฟ้าจากจำเลยที่ 1 โดยติดต่อผ่าน ส.โดยไม่ระบุยี่ห้อ และไม่มีข้อตกลงกำหนดมาตรฐานคุณภาพของสินค้าไว้ โดยการสั่งซื้อ โจทก์ไม่ได้ระบุว่าสินค้าจะผลิตจากโรงงานใด โจทก์เพียงแต่ระบุขนาดของสายไฟฟ้าที่จะใช้เท่านั้น นอกจากนี้ก็เป็นความผิดของโจทก์เองที่นำสายไฟฟ้าไปติดตั้งก่อนโดยไม่ผ่านการทดสอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้ ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าใหม่จึงเป็นความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยไม่อาจคาดเห็นได้ล่วงหน้า จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมรับผิดคืนราคาสินค้าและให้ชดใช้ค่าเสียหายอีกส่วนหนึ่งแก่โจทก์ มิได้พิพาทกันเกี่ยวกับความรับผิดในการรอนสิทธิ ที่จำเลยให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ก็ไม่ได้ความชัดแจ้งว่าขาดอายุความในเรื่องใด อย่างไร ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสองคดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ซื้อสินค้าจากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 3,164,684 บาทแต่ในการชำระราคา เมื่อโจทก์ทราบว่าสายไฟฟ้าที่ซื้อจากจำเลยที่ 1 มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานจึงสั่งอายัดเช็คจำนวน 350,000 บาท และโจทก์ยังค้างชำระราคาสินค้าจำนวน 350,000 บาท ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากราคาสินค้าทั้งหมดก่อน คงเหลือราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1 ต้องคืนแก่โจทก์จำนวน2,814,684 บาท จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด แต่ในการเจรจาติดต่อนำสินค้าไปคืนแก่จำเลยที่ 1 รวมทั้งการทวงถามค่าสินค้าคืนจากจำเลยที่ 1โจทก์ได้ติดต่อโดยตรงกับจำเลยที่ 3 ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
โจทก์ติดต่อซื้อสายไฟฟ้าจากจำเลยที่ 1 โดยติดต่อผ่าน ส.โดยไม่ระบุยี่ห้อ และไม่มีข้อตกลงกำหนดมาตรฐานคุณภาพของสินค้าไว้ โดยการสั่งซื้อ โจทก์ไม่ได้ระบุว่าสินค้าจะผลิตจากโรงงานใด โจทก์เพียงแต่ระบุขนาดของสายไฟฟ้าที่จะใช้เท่านั้น นอกจากนี้ก็เป็นความผิดของโจทก์เองที่นำสายไฟฟ้าไปติดตั้งก่อนโดยไม่ผ่านการทดสอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้ ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าใหม่จึงเป็นความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยไม่อาจคาดเห็นได้ล่วงหน้า จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมรับผิดคืนราคาสินค้าและให้ชดใช้ค่าเสียหายอีกส่วนหนึ่งแก่โจทก์ มิได้พิพาทกันเกี่ยวกับความรับผิดในการรอนสิทธิ ที่จำเลยให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ก็ไม่ได้ความชัดแจ้งว่าขาดอายุความในเรื่องใด อย่างไร ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสองคดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาสินค้าชำรุด หุ้นส่วนจำกัดรับผิดร่วม ส่วนค่าเสียหายจากการติดตั้งไม่ถือเป็นความผิด
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าสินค้าคืนจากจำเลยทั้งสามโดย อ้างว่าได้ส่งสินค้าคืนจำเลยทั้งสามแล้ว แม้โจทก์บรรยาย ในคำฟ้องว่า สินค้าของจำเลยไม่ได้มาตรฐานตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดและไม่ผ่านการทดสอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และจำเลยให้การว่าไม่เคยมีนิติสัมพันธ์กับ โจทก์ ซึ่งศาลชั้นต้นได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า สินค้าของจำเลยชำรุดบกพร่องหรือไม่ ทั้งได้มีการหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยตลอดมาถึงศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าโจทก์นำสินค้าไปคืนจำเลยโดยอ้างว่าสินค้าไม่ได้มาตรฐานและจำเลยที่ 1 ก็ยินยอมรับสินค้าคืนจากโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามยินยอมรับคืนโดยมีเงื่อนไขอย่างไร ย่อมฟังได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 กล่าวคือ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับสินค้าคืนจากโจทก์แล้วจึงจำต้องคืนราคาสินค้าแก่โจทก์ด้วย กรณีมิใช่พิพาทกันในเรื่องความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องในตัวทรัพย์ที่ซื้อขายกัน โจทก์ซื้อสินค้าจากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 3,164,684 บาทแต่ในการชำระราคา เมื่อโจทก์ทราบว่าสายไฟฟ้าที่ซื้อจากจำเลยที่ 1 มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานจึงสั่งอายัดเช็คจำนวน350,000 บาท และโจทก์ยังค้างชำระราคาสินค้าจำนวน350,000 บาท ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจาก ราคาสินค้าทั้งหมดก่อน คงเหลือราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1ต้องคืนแก่โจทก์จำนวน 2,814,684 บาท จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด แต่ในการเจรจาติดต่อนำสินค้า ไปคืนแก่จำเลยที่ 1 รวมทั้งการทวงถามค่าสินค้าคืนจาก จำเลยที่ 1 โจทก์ได้ติดต่อโดยตรงกับจำเลยที่ 3 ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์ติดต่อซื้อสายไฟฟ้าจากจำเลยที่ 1 โดยติดต่อผ่านส. โดยไม่ระบุยี่ห้อ และไม่มีข้อตกลงกำหนดมาตรฐานคุณภาพของสินค้าไว้ โดยการสั่งซื้อ โจทก์ไม่ได้ระบุว่าสินค้าจะผลิตจากโรงงานใด โจทก์เพียงแต่ระบุขนาดของสายไฟฟ้าที่จะ ใช้เท่านั้น นอกจากนี้ก็เป็นความผิดของโจทก์เองที่นำสายไฟฟ้า ไปติดตั้งก่อนโดยไม่ผ่านการทดสอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้ ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าใหม่ จึงเป็นความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลย ไม่อาจคาดเห็นได้ล่วงหน้า จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์ คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมรับผิดคืนราคาสินค้า และให้ชดใช้ค่าเสียหายอีกส่วนหนึ่งแก่โจทก์ มิได้พิพาทกัน เกี่ยวกับความรับผิดในการรอนสิทธิ ที่จำเลยให้การว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ ก็ไม่ได้ความชัดแจ้งว่าขาดอายุความ ในเรื่องใด อย่างไร ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย