คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เวนคืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 555 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6521/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินต้องเป็นไปตามกฎหมาย หากการเข้าใช้ที่ดินเกินกว่าที่ระบุในบัญชีรายชื่อและแผนที่ ถือเป็นละเมิด
แม้โจทก์และจำเลยทั้งสี่แถลงรับข้อเท็จจริงกันว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสองเนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวาที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เป็นส่วนที่เกินจากจำนวนเนื้อที่ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน พ.ศ. 2532 ก็ตาม แต่เนื่องจากการเวนคืนที่ดินในกรณีนี้ต้องอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 15ดังนั้น การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องกระทำโดยอาศัยกฎหมายในรูปของพระราชบัญญัติซึ่งต้องระบุรายละเอียดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวด้วย เมื่อปรากฏว่ามีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2532 เวนคืน ที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้าย พระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งปรากฏรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายตามบัญชีท้าย พระราชบัญญัติให้แก่กรมทางหลวงแต่ตามบัญชีรายชื่อและแผนที่ท้ายพระราชบัญญัติระบุว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสองถูกเวนคืนเนื้อที่ 3 ไร่ 64 ตารางวาโดยข้อความใน มาตรา 4 บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าให้เวนคืนที่ดินภายในแนวเขตตามแผนที่และบัญชีรายชื่อท้ายพระราชบัญญัติเท่านั้นทั้งตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้บัญญัติไว้ว่า ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เมื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอนแล้วโดยให้ระบุที่ดินที่ต้องเวนคืนพร้อมทั้งรายชื่อเจ้าของและให้มีแผนที่หรือแผนผังแสดงเขตที่ต้องเวนคืนอย่างชัดเจนไว้ท้ายพระราชบัญญัติ และให้ถือว่าแผนที่หรือแผนผังนั้นเป็นส่วนหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติด้วยดังนั้น จำนวนเนื้อที่ดินและรูปแผนที่ในบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ต้องเวนคืนและแผนที่ท้ายพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องเป็นจำนวนที่ถูกเวนคืนที่แน่นอน เมื่อจำเลยที่ 4 นำชี้แนวเขตทางเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสองเกินกว่ารูปแผนที่และจำนวนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ต้องเวนคืนท้ายพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2532 แม้ยังอยู่ในระยะ 240 เมตรตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายคลองตัน-หนองงูเห่า พ.ศ. 2522กำหนดไว้ ก็ต้องถือว่าส่วนที่จำเลยที่ 4 นำชี้เพิ่มอีก3 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา ถูกเวนคืนด้วยไม่ได้ เมื่อที่ดินที่จำเลยที่ 4 นำชี้ให้รังวัดปักหลักเขตเข้า ไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสองผู้ถูกเวนคืนเพิ่มอีก3 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา ไม่ใช่ที่ดินที่ถูกเวนคืนตามกฎหมาย จำเลยทั้งสี่ย่อมไม่มีสิทธิเข้าไปเกี่ยวข้องการที่จำเลยที่ 3 มอบหมายให้จำเลยที่ 4 ไปนำชี้แนวเขตในนามของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามแผนที่แนวทางและระดับของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4นำชี้ให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง และวางหลักปักหมุดในที่ดินของโจทก์ทั้งสองเกินกว่าจำนวนเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนตามที่ระบุในแผนที่และบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ต้องเวนคืนท้ายพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2532จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้โต้แย้งคัดค้านแล้ว แต่จำเลยทั้งสี่ยังยืนยันจะเข้าไปสร้างทางในที่ดินของโจทก์ส่วนนี้ จนโจทก์ต้องดำเนินคดีทางศาล ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ระบุในคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลพิพากษาห้ามมิให้จำเลยทั้งสี่และบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ทั้งสองตามฟ้องเนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา หากจำเลยทั้งสี่ไม่ปฏิบัติหรือไม่สามารถ ปฏิบัติตามคำขอข้างต้นได้ให้จำเลยทั้งสี่ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินเท่าราคาที่ดินที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกับบุคคลภายนอก โดยโจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายอย่างอื่นอีกแต่ข้อเท็จจริงปรากฏตามสำนวนว่าในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยกับพวกมิให้กระทำการใด ๆในที่ดินพิพาทจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าคดีนี้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว และอยู่ในระหว่างนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่มีเหตุที่จะคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งสองในระหว่างอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง ซึ่งมีการอ่านคำสั่งในวันเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินที่ถูกเวนคืนจำเลยทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิที่จะเข้าไปถือครอบครองที่ดินพิพาทได้โดยพลการ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าหลังจากนั้นฝ่ายจำเลยได้เข้าไปครอบครองหรือดำเนินการก่อสร้างทางในที่ดินพิพาท คงได้ความแต่เพียงว่าฝ่ายจำเลยได้นำรังวัดปักหมุดในเขตที่ดินพิพาทเท่านั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่ได้สูญเสียที่ดินพิพาทตามฟ้องไป ดังนี้ ย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองเสียหายเท่าราคาที่ดินที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกับบุคคลภายนอกตามฟ้อง จำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องรับผิด ชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินค่าทดแทนต้องคำนึงถึงราคาตลาด สภาพที่ดิน และวัตถุประสงค์การเวนคืน
การพิจารณากำหนดค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืน นอกจากจะคำนึงถึงราคาประเมินของกรมที่ดินเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แล้วยังจะต้องคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินฯ ออกใช้บังคับสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21(1)(4) และ (5) ประกอบ การพิจารณาด้วย สำหรับราคาที่ดินซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด คดีนี้ โจทก์นำสืบว่าที่ดินของโจทก์ขณะถูกเวนคืนมีการซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตารางวาละ 5,000 บาท ก็มีแต่คำเบิกความของโจทก์ลอย ๆ ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุน จึงไม่น่าเชื่อว่าในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินฯ ใช้บังคับ ที่ดินของโจทก์จะมีราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตารางวาละ 5,000 บาทและเมื่อพิจารณาถึงสภาพและที่ตั้งของที่ดินโฉนดแล้ว ก็ได้ความว่า ที่ดินของโจทก์เป็นที่มา มีที่ดินแปลงอื่นล้อมรอบไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ และอยู่ห่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 345 ประมาณ3 ถึง 4 กิโลเมตร จะออกสู่ทางสาธารณะได้ต้องผ่านที่ดินของผ.บิดาโจทก์ไปออกถนนกรมชลประทานเลียบประตูน้ำพระอุดมไปทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 345 แต่ภายหลังการเวนคืนและสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 37 แล้ว แม้ที่ดินส่วนที่เหลือจะยังถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมรอบอยู่ แต่ก็อยู่ห่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 37 เพียง 100 เมตร เห็นได้ว่าโดยสภาพแล้วที่ดิน ของโจทก์ส่วนที่เหลือย่อมมีราคาสูงขึ้นอย่างแน่นอนซึ่งโจทก์เองก็ยอมรับว่าที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือหลังจากเวนคืนแล้ว มีผู้มาขอซื้อในราคา 15,000,000 บาท แสดงว่าโจทก์ได้ประโยชน์จากการเวนคืนมากกว่าเสียประโยชน์ ส่วนที่โจทก์ขอให้กำหนดค่าทดแทนตารางวาละ 1,000 บาท เท่ากับของ ส. นั้นก็ได้ความว่าที่ดินโจทก์ห่างที่ดิน ส. ประมาณ 1 กิโลเมตรต่างก็เป็นที่นา แต่ที่ดิน ส.อยู่ติดถนนเกษตรอุดม มีไฟฟ้าและน้ำประปาเข้าถึง ที่ดินส่วนที่ติดถนนเกษตรอุดม จำเลยที่ 2จ่ายค่าทดแทนให้ตารางวาละ 3,000 บาท ที่ดินส่วนที่อยู่ลึกเข้าไปจ่ายค่าทดแทนให้ตารางวาละ 1,000 บาท แต่ที่ดินโจทก์ถูกปิดล้อมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะไฟฟ้าและน้ำประปาก็เข้าไม่ถึง ดังนั้นสภาพความเจริญและที่ตั้งของที่ดิน ส. จึงดีกว่าที่ดินโจทก์ ไม่อาจกำหนดให้เท่ากันได้ และเนื่องจากเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนครั้งนี้เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 37 สายถนนวงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานครด้านตะวันตก อันเป็นการอำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยมิได้มีการแสวงหากำไรรวมอยู่ด้วย ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น กำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ตารางวาละ 400 บาทก็ได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21(1) ถึง (5) เพื่อให้เกิดความถูกต้องและเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินตามสัญญาซื้อขายที่เกี่ยวข้องกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มิใช่ลาภมิควรได้ ใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์ชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้จำเลยครบถ้วนตามสัญญาซื้อขายแล้วโดยมีข้อตกลงกันว่า หากปรากฏในภายหลังว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันมีมากกว่าที่ระบุไว้ในสัญญา โจทก์จะจ่ายค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้แก่จำเลย แต่ถ้าจำนวนเนื้อที่ดินน้อยกว่าที่ระบุในสัญญา จำเลยต้องคืนเงินค่าที่ดินให้แก่โจทก์ ดังนี้ เมื่อมีการรังวัดที่ดินแล้วพบว่าจำนวนเนื้อที่ดินมีน้อยกว่าที่ระบุไว้ในสัญญา จำนวนเงินที่จำเลยรับไว้ก็ดีหรือต้องคืนให้แก่โจทก์ก็ดี จึงเป็นเงินที่จำเลยรับไว้หรือต้องคืนตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไว้เป็นเงื่อนไขของการชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตาม อีกฝ่ายหนึ่งย่อมฟ้องร้องบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามสัญญาได้ กรณีหาใช่เป็นเรื่องลาภมิควรได้ซึ่งโจทก์จะต้องใช้สิทธิฟ้องร้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในกำหนดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 ไม่ และเมื่อการฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินที่ชำระไว้ล่วงหน้าตามสัญญาซื้อขายที่ดินอันเกี่ยวด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เช่นกรณีพิพาทนี้ ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คือมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามสัญญาซื้อขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินค่าซื้อขายที่ดินเวนคืน: 10 ปีตามหลักสัญญา ไม่ใช่ 1 ปีตามลาภมิควรได้
สัญญาซื้อขายที่ดินที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ ในการที่โจทก์เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางด่วนมีสาระสำคัญว่าโจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลย 4 ตารางวา ตารางวาละ 150,000 บาทรวมเป็นเงิน 600,000 บาท ถ้ามีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วหากปรากฏว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันมากกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาโจทก์จะจ่ายค่าที่ดินเพิ่มให้แก่จำเลยตามอัตราที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำนวนเนื้อที่ดินน้อยกว่าที่ระบุไว้ในสัญญา จำเลยต้องคืนเงินค่าที่ดินให้แก่โจทก์ตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ลดลงตามอัตราที่กำหนดไว้ ดังนี้จำนวนเงิน ที่จำเลยรับไว้ก็ดีหรือต้องคืนให้แก่โจทก์ก็ดี เป็นเงิน ที่จำเลยรับไว้หรือต้องคืนตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไว้เป็นเงื่อนไขของการชำระหนี้ตามสัญญา หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้มาซึ่งเงินหรือทรัพย์ เพราะการที่โจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้อันเป็นลาภมิควรได้อันโจทก์จะต้องใช้สิทธิฟ้องร้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในกำหนดอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 419 ไม่ แต่เป็นกรณีไม่มีกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30 คือมีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การประเมินราคา, การกระทำที่ไม่สุจริต, และสิทธิเจ้าของร่วม
แม้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตพระโขนง... และเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2530 ได้สิ้นอายุการใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2535 แต่ต่อมาเมื่อ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร... พ.ศ.2535 ประกาศใช้ อันมีผลบังคับใช้ในวันที่ 29 สิงหาคม 2535 โดยกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนเช่นเดียวกับ พ.ร.ฎ.ฉบับก่อน ซึ่งเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 ทำการสำรวจเขตที่ดินเพื่อเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง... พ.ศ.2530 เพื่อประโยชน์ในการสร้างทางพิเศษสายพระโขนง - หัวลำโพง - บางซื่อ และสายสาธร - ลาดพร้าวยังไม่แล้วเสร็จ การออก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร... พ.ศ.2535 เป็นการออกเพื่อดำเนินการในกิจการเดียวกันกับพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตพระโขนง...พ.ศ.2530และต่อมาวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2536 โจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 เพื่อสร้างทางพิเศษ โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายสาธร -ลาดพร้าว (บริเวณโรงซ่อมบำรุง) กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน อันอยู่ในระหว่างเวลาบังคับใช้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร... พ.ศ.2535 ซึ่งขณะนั้นจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ ดังนั้น การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ จำเลยที่ 2กระทำโดยมีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนกับโจทก์ทั้งสองได้ตามมาตรา 10แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ จึงไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ย่อมไม่ตกเป็นโมฆะ
จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ทั้งสองยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเกินกว่าระยะวลาที่กฎหมายกำหนด ดังนี้ เมื่อปรากฏตามสำเนาหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนในตอนท้ายของข้อความในบรรทัดที่ 17 ของสำเนาเอกสารดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองอ้างส่งศาลมีข้อความประทับไว้ว่า รับเรื่องแล้ว โดยมีลายมือชื่อผู้รับและผู้ส่งกับวันที่รับหนังสือคือวันที่ 8 เมษายน 2536 นอกจากนี้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองไว้พิจารณา ย่อมแสดงให้เห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2536ที่โจทก์ทั้งสองยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน2536 จึงอยู่ภายในกำหนดเวลา 60 วัน ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง และโจทก์ทั้งสองได้ยื่นฟ้องคดีนี้ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ แล้วโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ กันเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2536 ตามเอกสารหมายจ.7 อันอยู่ในระหว่างเวลาบังคับใช้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร... พ.ศ.2535 ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ ทำให้จำเลยที่ 2 มีอำนาจตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนจากโจทก์ทั้งสองได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 เมื่อการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ ที่ถูกเวนคืน จำเลยที่ 1 กระทำโดยอาศัยอำนาจของจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว จึงชอบด้วย พร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 การดำเนินการของฝ่ายจำเลยในการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ทั้งสอง จึงต้องอาศัยอำนาจที่ให้ไว้ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน... พ.ศ.2535 และเนื่องจากไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองที่จะต้องเวนคืนไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสองที่จะต้องเวนคืนจึงต้องคำนึงถึง มาตรา 21 (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
เจ้าของที่ดินได้ทำการพัฒนาที่ดินภายหลังที่ทราบว่ามีพ.ร.ฎ.เวนคืนเพื่อให้ที่ดินมีความเจริญขึ้น โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เวนคืนย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนในส่วนที่พัฒนาให้เจริญขึ้น นั้น
โจทก์กับเจ้าของที่ดินข้างเคียงซึ่งมีที่ดินอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตพระโขนงพ.ศ.2530 และตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร... ได้ร่วมกันทำการแบ่งแยกที่ดินและทำทางเข้าออกที่ดินในบริเวณดังกล่าวในขณะที่รู้อยู่แล้วว่าที่ดินเหล่านั้นจะต้องถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และโดยมีเจตนาในการแบ่งแยกที่ดินและใช้ส่วนหนึ่งของที่ดินที่แบ่งแยกนั้นสร้างทางลูกรังขึ้น เพื่อใช้เป็นข้ออ้างว่าที่ดินส่วนมากในบริเวณนั้นอยู่ติดทางเพื่อให้ได้เงินค่าทดแทนที่ดินมากขึ้นอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต หากกำหนดเงินค่าทดแทนของโจทก์โดยถือว่า ที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์มีสภาพและที่ตั้งในขณะที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตจตุจักร... พ.ศ.2535 มีผลใช้บังคับอยู่ติดกับทางลูกรังที่ฝ่ายโจทก์กระทำขึ้นโดยไม่สุจริตดังกล่าวเพิ่มขึ้นกว่าที่ควรจะได้รับอย่างกรณีปกติ ย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่สังคม กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนในคดีนี้มีด้านหนึ่งอยู่ติดทางหรืออยู่ติดถนนสาธารณะ
สภาพที่ดินที่ถูกเวนคืนทั้งสองแปลงของโจทก์ในขณะที่ถูกเวนคืนยังไม่ได้รับการพัฒนา และไม่มีถนนหรือทางสาธารณะเข้าถึงที่ดินทั้งสองแปลงการที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้พิจารณากำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนโดยถือตามราคาบัญชีประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน ซึ่งได้ประเมินราคาที่ดินเป็นรายแปลง โดยทางราชการได้สำรวจถึงสภาพทำเลและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ ตลอดจนนำราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินและข้อมูลจากธนาคารพาณิชย์ประกอบในการพิจารณาประเมินราคาที่ดิน โดยคำนึงถึงราคาในขณะประกาศใช้และราคาในอนาคตตามสภาพความเจริญของที่ดินเป็นเกณฑ์ ตามบัญชีประเมินทุนทรัพย์ดังกล่าว กรมที่ดินได้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2538 กำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินของโจทก์สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 138118 ใช้ราคาประเมินของที่ดินที่อยู่ติดซอยตารางวาละ 30,000 บาทและที่ดินโฉนดเลขที่ 138113 ซึ่งเป็นที่ดินทางภาระจำยอมตารางวาละ 15,000 บาทซึ่งเชื่อได้ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 138118 มีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันที่ พ.ร.ฎ.มีผลบังคับใช้ ตารางวาละไม่เกิน 30,000 บาท ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 138118 ตารางวาละ30,000 บาท จึงชอบด้วยหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5) อันเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนแล้ว
ส่วนการที่ที่ดินโฉนดเลขที่ 138113 เป็นที่ดินที่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่ที่ดินแปลงอื่น 13 แปลง โดยการกระทำที่ไม่สุจริตเพื่อใช้เป็นข้ออ้างให้ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นกว่าที่ควรจะได้รับอย่างกรณีปกติ โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงต้องรับผลเสียอันเกิดจากการจดทะเบียนภาระจำยอมของที่ดินแปลงนี้เอง การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 138113 ตารางวาละ 15,000 บาท เพราะสภาพที่ดินตกอยู่ในภาระจำยอมของที่ดินแปลงอื่นนั้น เป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว
โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินที่จะต้องเวนคืนทั้งสองแปลงที่ถูกเวนคืน และโจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นโดยบรรยายฟ้องถึงสิทธิในที่ดินและความเสียหายของโจทก์ทั้งสองรวมกันมา มิได้ระบุแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคน และเป็นการฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในที่ดินที่จะต้องเวนคืนในฐานะที่โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวม การคิดค่าขึ้นศาลในแต่ละชั้นศาลจึงต้องคำนวณรวมกันจากจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง โจทก์ทั้งสองจึงต้องชำระค่าขึ้นศาลรวมกันไม่เกิน 200,000 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (1)(ก) การที่ศาลชั้นต้นเรียกให้โจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นคนละ200,000 บาท จึงเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินกว่าที่จะต้องเสีย ศาลให้คืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นในส่วนที่เรียกเก็บเกินมาให้แก่โจทก์ทั้งสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การประเมินราคาที่ดินตามสภาพจริง, การกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อหวังผลประโยชน์ และค่าขึ้นศาล
แม้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตพระโขนงและเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530 ได้สิ้นอายุการใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2535 แต่ต่อมาเมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร พ.ศ. 2535 ประกาศใช้ อันมีผลบังคับใช้ในวันที่ 29 สิงหาคม 2535 โดยกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาฉบับก่อนซึ่งเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือ เนื่องจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 ทำการสำรวจเขตที่ดินเพื่อเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง พ.ศ. 2530 เพื่อประโยชน์ในการสร้างทางพิเศษสายพระโขนง-หัวลำโพง-บางซื่อและสาธร-ลาดพร้าว ยังไม่แล้วเสร็จ การออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร พ.ศ. 2535 เป็นการออกเพื่อดำเนินการในกิจการเดียวกันกับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตพระโขนง พ.ศ. 2530และต่อมาวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2536 โจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530เพื่อสร้างทางพิเศษ โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายสาธร-ลาดพร้าว(บริเวณโรงซ่อมบำรุง) กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน อันอยู่ในระหว่างเวลาบังคับใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร พ.ศ. 2535 ซึ่งขณะนั้นจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ดังนั้น การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ จำเลยที่ 2 กระทำโดยมีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนกับโจทก์ทั้งสองได้ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ จึงไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ย่อมไม่ตกเป็นโมฆะ
จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ทั้งสองยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดดังนี้เมื่อปรากฏตามสำเนาหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนที่จำเลยทั้งสองอ้างส่งศาลมีข้อความประทับไว้ว่า รับเรื่องแล้ว โดยมีลายมือชื่อผู้รับและผู้ส่งกับวันที่รับหนังสือ คือวันที่ 8 เมษายน 2536 นอกจากนี้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองไว้พิจารณา ย่อมแสดงให้เห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่ 8เมษายน 2536 ที่โจทก์ทั้งสองยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2536 จึงอยู่ภายในกำหนดเวลา 60 วัน ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง และโจทก์ทั้งสองได้ยื่นฟ้องคดีนี้ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ แล้วโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯกันเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2536 ตามเอกสารหมาย จ.7 อันอยู่ในระหว่างเวลาบังคับใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร พ.ศ. 2535 ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ทำให้จำเลยที่ 2 มีอำนาจตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนจากโจทก์ทั้งสองได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 10 เมื่อการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ ที่ถูกเวนคืนจำเลยที่ 1 กระทำโดยอาศัยอำนาจของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 การดำเนินการของฝ่ายจำเลยในการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ทั้งสอง จึงต้องอาศัยอำนาจที่ให้ไว้ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน พ.ศ. 2535 และเนื่องจากไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองที่จะต้องเวนคืนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสองที่จะต้องเวนคืนจึงต้องคำนึงถึง มาตรา 21(1) ถึง (5) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ
เจ้าของที่ดินได้ทำการพัฒนาที่ดินภายหลังที่ทราบว่ามีพระราชกฤษฎีกาเวนคืนเพื่อให้ที่ดินมีความเจริญขึ้น โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เวนคืนย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนในส่วนที่พัฒนาให้เจริญขึ้นนั้น
โจทก์กับเจ้าของที่ดินข้างเคียงซึ่งมีที่ดินอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตพระโขนงพ.ศ. 2530 และตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตจตุจักร พ.ศ. 2535 ได้ร่วมกันทำการแบ่งแยกที่ดินและทำทางเข้าออกที่ดินในบริเวณดังกล่าวในขณะที่รู้อยู่แล้วว่าที่ดินเหล่านั้นจะต้องถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และโดยมีเจตนาในการแบ่งแยกที่ดินและใช้ส่วนหนึ่งของที่ดินที่แบ่งแยกนั้นสร้างทางลูกรังขึ้น เพื่อใช้เป็นข้ออ้างว่าที่ดินส่วนมากในบริเวณนั้นอยู่ติดทางเพื่อให้ได้เงินค่าทดแทนที่ดินมากขึ้นอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต หากกำหนดเงินค่าทดแทนของโจทก์โดยถือว่าที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์มีสภาพและที่ตั้งในขณะที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตจตุจักร พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับอยู่ติดกับทางลูกรังที่ฝ่ายโจทก์กระทำขึ้นโดยไม่สุจริตดังกล่าวเพิ่มขึ้นกว่าที่ควรจะได้รับอย่างกรณีปกติ ย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่สังคม กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนในคดีนี้มีด้านหนึ่งอยู่ติดทางหรืออยู่ติดถนนสาธารณะ
สภาพที่ดินที่ถูกเวนคืนทั้งสองแปลงของโจทก์ในขณะที่ถูกเวนคืนยังไม่ได้รับการพัฒนา และไม่มีถนนหรือทางสาธารณะเข้าถึงที่ดินทั้งสองแปลง การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้พิจารณากำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนโดยถือตามราคาบัญชีประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน ซึ่งได้ประเมินราคาที่ดินเป็นรายแปลง โดยทางราชการได้สำรวจถึงสภาพทำเลและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ ตลอดจนนำราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินและข้อมูลจากธนาคารพาณิชย์ประกอบในการพิจารณาประเมินราคาที่ดิน โดยคำนึงถึงราคาในขณะประกาศใช้และราคาในอนาคตตามสภาพความเจริญของที่ดินเป็นเกณฑ์ ตามบัญชีประเมินทุนทรัพย์ดังกล่าว กรมที่ดินได้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2538 กำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินของโจทก์สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 138118 ใช้ราคาประเมินของที่ดินที่อยู่ติดซอยตารางวาละ 30,000 บาท และที่ดินโฉนดเลขที่ 138113 ซึ่งเป็นที่ดินทางภารจำยอมตารางวาละ 15,000 บาทซึ่งเชื่อได้ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 138118 มีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้ ตารางวาละไม่เกิน 30,000 บาท ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 138118 ตารางวาละ 30,000 บาท จึงชอบด้วยหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21(1) ถึง (5) อันเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนแล้ว
ส่วนการที่ที่ดินโฉนดเลขที่ 138113 เป็นที่ดินที่ได้จดทะเบียนภารจำยอมให้แก่ที่ดินแปลงอื่น 13 แปลง โดยการกระทำที่ไม่สุจริตเพื่อใช้เป็นข้ออ้างให้ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นกว่าที่ควรจะได้รับอย่างกรณีปกติ โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงต้องรับผลเสียอันเกิดจากการจดทะเบียนภารจำยอมของที่ดินแปลงนี้เอง การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 138113 ตารางวาละ 15,000 บาท เพราะสภาพที่ดินตกอยู่ในภารจำยอมของที่ดินแปลงอื่นนั้น เป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว
โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินที่จะต้องเวนคืนทั้งสองแปลงที่ถูกเวนคืน และโจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นโดยบรรยายฟ้องถึงสิทธิในที่ดินและความเสียหายของโจทก์ทั้งสองรวมกันมา มิได้ระบุแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคน และเป็นการฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในที่ดินที่จะต้องเวนคืนในฐานะที่โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวม การคิดค่าขึ้นศาลในแต่ละชั้นศาลจึงต้องคำนวณรวมกันจากจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง โจทก์ทั้งสองจึงต้องชำระค่าขึ้นศาลรวมกันไม่เกิน200,000 บาท ตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ(1)(ก)การที่ศาลชั้นต้นเรียกให้โจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นคนละ 200,000 บาทจึงเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินกว่าที่จะต้องเสีย ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นในส่วนที่เรียกเก็บเกินมาให้แก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าทดแทนการเวนคืนสำหรับผู้เช่า: การเยียวยาความเสียหายจากการออกจากที่เช่า และขอบเขตค่าทดแทน
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารพิพาทซึ่งเป็นการเช่าที่มีหลักฐานเป็นหนังสือและทำไว้ก่อนวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แต่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ที่จะเวนคืน...พ.ศ.2530 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 โดยหลังจากวันที่ 1 กันยายน2533 โจทก์ยังคงอยู่ในสถานที่เช่าต่อไป ซึ่งถือเป็นการเช่ารายเดือนต่อไป ต่อมาโจทก์ออกจากสถานที่เช่าเมื่อปลายปี 2536 และจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดเงินค่าทดแทนโดยเหตุที่ต้องออกจากทรัพย์สินที่เช่าก่อนสัญญาเช่าระงับซึ่งเท่ากับฝ่ายจำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 18 (3) และได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่โจทก์เสียหายจริงเพราะเหตุที่ต้องออกจากที่ดินและอาคารก่อนสัญญาเช่าระงับ ซึ่งโจทก์ได้รับเงินจำนวนนี้ไปแล้วโดยมิได้เรียกร้องค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่ม จึงไม่มีเหตุที่ศาลต้องวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนส่วนนี้หรือไม่ และไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องกำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้อีก
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืนโดยการเช่านั้นมีหลักฐานเป็นหนังสือซึ่งได้ทำไว้ก่อนวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 โจทก์จึงเป็นบุคคลตามมาตรา18 (3) ทั้งโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืนตามสิทธิในฐานะผู้เช่าตามสัญญาเช่าโดยชอบ จึงเป็นผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้ประกอบการค้าขายอยู่ในที่ดินและอาคารที่เช่าที่ถูกเวนคืนและได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากทรัพย์สินที่เช่านั้น กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายตามมาตรา 21 วรรคท้าย
ค่าโอนสิทธิการเช่าเป็นเงินค่าตอบแทนที่โจทก์ผู้เช่าจ่ายให้แก่ผู้เช่าเดิมเพื่อโจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่าและเข้าครอบครองที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืน ซึ่งโจทก์ได้รับสิทธิตามสัญญาดังกล่าวไปแล้ว ดังนี้ เงินค่าตอบแทนการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวมิใช่ความเสียหายโดยตรงเนื่องจากการที่ต้องออกจากที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้
ก่อนทำสัญญาเช่าอาคารและก่อนตกแต่งอาคารที่เช่าที่ถูกเวนคืนโจทก์ผู้เช่าได้มีหนังสือสอบถามจำเลยที่ 1 แล้วว่าที่ดินและอาคารที่เช่าจะถูกเวนคืนหรือไม่ เมื่อหนังสือของจำเลยที่ 1 ที่มีถึงโจทก์มีข้อความชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1ยืนยันว่าที่ดินและอาคารที่โจทก์เช่านี้อยู่ในเขต พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ หาได้แจ้งว่าที่ดินและอาคารที่โจทก์เช่าไม่ถูกเวนคืนการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการใช้สิทธิที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง: การประเมินความเสียหายจากการตกแต่ง, ดอกเบี้ย, และการกระทำละเมิด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 421.ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 142,246,247.พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
พ.ศ. 2530 มาตรา 6,18(3),21. โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารพิพาทซึ่งเป็นการเช่าที่มีหลักฐานเป็นหนังสือและทำไว้ก่อนวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แต่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ที่จะเวนคืน พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 โดยหลังจากวันที่ 1 กันยายน 2533โจทก์ยังคงอยู่ในสถานที่เช่าต่อไป ซึ่งถือเป็นการเช่ารายเดือนต่อไป ต่อมาโจทก์ออกจากสถานที่เช่าเมื่อปลายปี 2536 และจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดเงินค่าทดแทนโดยเหตุที่ต้องออกจากทรัพย์สินที่เช่าก่อนสัญญาเช่าระงับซึ่งเท่ากับฝ่ายจำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18(3)และได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่โจทก์เสียหายจริงเพราะเหตุที่ต้องออกจากที่ดินและอาคารก่อนสัญญาเช่าระงับ ซึ่งโจทก์ได้รับเงินจำนวนนี้ไปแล้วโดยมิได้เรียกร้องค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่ม จึงไม่มีเหตุที่ศาลต้องวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนส่วนนี้หรือไม่และไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องกำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้อีก โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืนโดยการเช่านั้น มีหลักฐานเป็นหนังสือซึ่งได้ทำไว้ก่อนวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 โจทก์จึงเป็นบุคคลตามมาตรา 18(3) ทั้งโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืนตามสิทธิในฐานะผู้เช่าตามสัญญาเช่าโดยชอบจึงเป็นผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้ประกอบการค้าขายอยู่ในที่ดินและอาคารที่เช่าที่ถูกเวนคืนและได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากทรัพย์สินที่เช่านั้น กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายตามมาตรา 21 วรรคท้าย ค่าโอนสิทธิการเช่าเป็นเงินค่าตอบแทนที่โจทก์ผู้เช่าจ่ายให้แก่ผู้เช่าเดิมเพื่อโจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่าและเข้าครอบครองที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืน ซึ่งโจทก์ได้รับสิทธิตามสัญญาดังกล่าวไปแล้ว ดังนี้ เงินค่าตอบแทนการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวมิใช่ความเสียหายโดยตรงเนื่องจากการที่ต้องออกจากที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืนโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้ ก่อนทำสัญญาเช่าอาคารและก่อนตกแต่งอาคารที่เช่าที่ถูกเวนคืนโจทก์ผู้เช่าได้มีหนังสือสอบถามจำเลยที่ 1แล้วว่าที่ดินและอาคารที่เช่าจะถูกเวนคืนหรือไม่เมื่อหนังสือของจำเลยที่ 1 ที่มีถึงโจทก์มีข้อความชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ยืนยันว่าที่ดินและอาคารที่โจทก์เช่าอยู่นี้อยู่ในเขตพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ หาได้แจ้งว่าที่ดินและอาคารที่โจทก์เช่าไม่ถูกเวนคืน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการใช้สิทธิที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ความชอบด้วยกฎหมายของแนวเขต, การจ่ายค่าทดแทน, และการดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
จำเลยที่ 3 เจ้าของที่ดินที่อยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ซึ่งต่างอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฏ.ฯ ได้ยื่นคำร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ก็เพราะจำเลยที่ 3 ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อไม่ตรงกับมติคณะผู้บริหาร อันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการสร้างทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าวทั้งนี้ต้องตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2522 มาตรา 18และมาตรา 19 (1) และ (2) (ง) การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นละเมิด
การที่จำเลยที่ 4 ได้ทำการสำรวจและทำแผนที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อให้เป็นไปตามมติคณะผู้บริหารของจำเลยที่ 1 ก็เพื่อต้องการทราบว่าลักษณะรูปแผนที่และแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าว เพื่อเสนอให้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาประกอบเรื่องร้องทุกข์ ส่วนคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จะเห็นพ้องด้วยหรือไม่ก็อยู่ในดุลพินิจของกรรมการแต่ละคน จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในเขตทางหลวงที่ถูกเวนคืนดังกล่าว
ส่วนจำเลยที่ 8 และที่ 9 ที่ร่วมเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของจำเลยที่ 3 ตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งบัญญัติไว้ในภาค 1 หมวด 3 แห่ง พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกาพ.ศ.2522 คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนี้ได้ และในการพิจารณาเรื่องนี้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ก็พิจารณาถึงการกระทำของเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ว่า ทำแผนที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จะสร้างถูกต้องเป็นไปตามมติคณะผู้บริหารของจำเลยที่ 1 หรือไม่และที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร ไม่ได้พิจารณาถึงที่ดินหรือการกระทำของโจทก์ ทั้งโจทก์ก็มิได้เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องทุกข์แต่อย่างใดดังนั้น การที่จำเลยที่ 8 และที่ 9 มิได้เรียกโจทก์เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งพยานหลักฐานประกอบการพิจารณา ไม่ถือว่ากระทำต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อในที่ดินของโจทก์ก็กระทำโดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อ พ.ศ.2535 และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อ เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน ซึ่งตามพ.ร.ฎ.และประกาศดังกล่าว หากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้วกล่าวคือ หากจำเลยที่ 1 ได้จ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ และมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์แล้ว จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นได้
ผู้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนได้วางเงินค่าทดแทนโดยนำไปฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์แล้ว และจำเลยที่ 1 จะเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์เมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้ง การที่จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองและใช้ที่ดินของโจทก์สร้างทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด60 วันนับแต่วันที่แจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องห้ามจำเลยที่ 1 กระทำการดังกล่าว รวมทั้งไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำนั้น
การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งให้ถือเอาแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จำเลยที่ 4 จัดทำขึ้น เป็นหลักในการสร้างทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าว สอดคล้องกับคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่สั่งการตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ให้ถือแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จำเลยที่ 4 โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์จัดทำขึ้นเป็นหลัก ทั้งสอดคล้องกับรูปแผนที่ท้าย พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายนั้น การสั่งการของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าทำละเมิดต่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมาย และการไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย
จำเลยที่ 3 เจ้าของที่ดินที่อยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ซึ่งต่าง อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฯ ได้ยื่นคำร้องทุกข์ ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ก็เพราะจำเลยที่ 3 ได้รับ ความเดือดร้อนและเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของ เจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ ของรัฐที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่าง ถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อ ไม่ตรงกับมติคณะผู้บริหารอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการสร้างทางหลวงเทศบาล สายดังกล่าวทั้งนี้ต้องตามบทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 มาตรา 18 และมาตรา 19(1) และ (2)(ง)การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตและชอบด้วย กฎหมาย จึงไม่เป็นละเมิด การที่จำเลยที่ 4 ได้ทำการสำรวจและทำแผนที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อ ให้เป็นไปตามมติคณะผู้บริหารของจำเลยที่ 1 ก็เพื่อต้องการทราบว่า ลักษณะรูปแผนที่และแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าว เพื่อเสนอให้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาประกอบเรื่อง ร้องทุกข์ ส่วนคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จะเห็นพ้องด้วยหรือไม่ ก็อยู่ในดุลพินิจของกรรมการแต่ละคน จึงไม่เป็นการกระทำละเมิด โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในเขตทางหลวงที่ถูกเวนคืนดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 8 และที่ 9 ที่ร่วมเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของจำเลยที่ 3 ตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งบัญญัติไว้ในภาค 1 หมวด 3 แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 คำวินิจฉัยของ คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มี อำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนี้ได้ และในการพิจารณา เรื่องนี้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ก็พิจารณาถึงการกระทำ ของเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ว่า ทำแผนที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จะสร้างถูกต้องเป็นไปตามมติคณะผู้บริหาร ของจำเลยที่ 1 หรือไม่และที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร ไม่ได้ พิจารณาถึงที่ดินหรือการกระทำของโจทก์ ทั้งโจทก์ก็มิได้ เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องทุกข์แต่อย่างใดดังนั้น การที่ จำเลยที่ 8 และที่ 9 มิได้เรียกโจทก์เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืน มาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งพยานหลักฐานประกอบการพิจารณา ไม่ถือว่ากระทำต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรี กับซอยทองหล่อ ในที่ดินของโจทก์ก็กระทำโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อ พ.ศ. 2535 และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรี กับซอยทองหล่อ เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาและประกาศดังกล่าว หากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้วกล่าวคือหากจำเลยที่ 1 ได้จ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์และมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์แล้ว จำเลยที่ 1ก็มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นได้ ผู้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนได้วางเงิน ค่าทดแทนโดยนำไปฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์แล้วและจำเลยที่ 1 จะเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์เมื่อพ้นกำหนด60 วัน นับแต่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้ง การที่จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองและใช้ที่ดินของโจทก์สร้างทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันที่แจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องห้ามจำเลยที่ 1 กระทำการดังกล่าว รวมทั้งไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำนั้น การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งให้ถือเอาแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จำเลยที่ 4 จัดทำขึ้นเป็นหลักในการสร้างทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าว สอดคล้องกับคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่สั่งการตามคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ให้ถือแนวเขตทางหลวงเทศบาล ที่จำเลยที่ 4 โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์จัดทำขึ้นเป็นหลัก ทั้งสอดคล้องกับรูปแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายนั้น การของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าทำละเมิดต่อโจทก์ ผู้ถูกเวนคืน
of 56