พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5962/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ผู้มีสิทธิรับเงินค่าทดแทนต้องฟ้องคดีมีข้อพิพาทเมื่อมีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์
ผู้ร้องทั้งห้าไม่สามารถเข้าทำสัญญาซื้อขายและรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน เพราะผู้คัดค้านโต้แย้งคัดค้านว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้านทั้งหมด ดังนี้ ผู้ร้องทั้งห้าจึงต้องฟ้องผู้คัดค้านเป็นคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องทั้งห้าไม่มีสิทธิเสนอคดีเป็นคำร้องขอฝ่ายเดียวเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งห้าเข้าทำสัญญาซื้อขายและรับเงินค่าทดแทนที่เจ้าพนักงานฝากไว้กับธนาคารออมสิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17824/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การประเมินค่าทดแทนที่ดินและค่าเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงโครงการก่อสร้าง
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคท้าย บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนนั้นและบุคคลดังกล่าวได้รับความเสียหายเนื่องจากที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์นั้น ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับความเสียหายนั้นด้วย" ดังนั้น แม้โจทก์ทั้งสองจะมีโครงการก่อสร้างอาคารโดยจ้างบุคคลภายนอกให้ออกแบบก่อสร้างจนถึงขนาดได้รับอนุญาตจากกรุงเทพมหานครให้อนุญาตก่อสร้าง แต่เมื่อยังไม่ได้ลงมือก่อสร้างก็ไม่อาจรับนับว่าโจทก์ทั้งสองประกอบการค้าขายหรือการงานอยู่ในที่ดิน โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การคำนวณค่าทดแทนที่เหมาะสม และดอกเบี้ยกรณีศาลเพิ่มค่าทดแทน
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น" บทกฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสี่จะมิได้ตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสี่ก็ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวสำหรับจำนวนเงินค่าทดแทนที่ศาลพิพากษาให้ชำระเพิ่มขึ้นนั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6648/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนตาม พ.ร.ฎ. ใหม่ และกำหนดระยะเวลาชำระเงิน
หลังจาก พ.ร.ฎ. ปี 2537 สิ้นสุดลง รัฐได้ออก พ.ร.ฎ. ฉบับใหม่ในปี 2542 ซึ่งฝ่ายจำเลยดำเนินการเวนคืนที่ดินและกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยอาศัย พ.ร.ฎ. ฉบับใหม่ การคำนวณดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ทั้งสองจึงต้องพิจารณาตาม พ.ร.ฎ. ฉบับใหม่ ปรากฏว่า โจทก์ทั้งสองกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2542 ซึ่งตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ กำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขายซึ่งครบกำหนดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2542 โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินของเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2542 อันเป็นวันสุดท้ายที่ฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9883/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาค่าทดแทนที่เหมาะสมและดอกเบี้ยกรณีจ่ายช้า
เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์กับเจ้าหน้าที่เวนคืนได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 อันจะถือว่าเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม ฝ่ายจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินทั้งหมดในวันที่ 11 มิถุนายน 2540 แต่โจทก์ไม่ไปรับเงินตามกำหนดเวลาดังกล่าว ฝ่ายจำเลยย่อมมีหน้าที่นำเงินค่าทดแทนที่ดินนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในนามของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ในวันถัดจากวันที่ 11 มิถุนายน 2540 คือวันที่ 12 มิถุนายน 2540 อันเป็นวันที่ต้องมีการวางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน นับแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2139/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินแนวสายส่งไฟฟ้า การคำนวณดอกเบี้ย และข้อยกเว้นส่วนควบของที่ดิน
ในการสร้างบ้านพักอาศัยพร้อมสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ รวมทั้งถนนลูกรังและเขื่อนหินเรียงกันดินบริเวณหน้าบ้านพักอาศัยของโจทก์นั้น ได้รับความยินยอมและอยู่ในความรู้เห็นของเจ้าของที่ดิน จึงถือได้ว่าถนนลูกรังและเขื่อนหินเรียงกันดินบริเวณหน้าบ้านพักอาศัย เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ที่จะไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน การที่จำเลยยกข้อกฎหมายขึ้นอ้างว่าถนนลูกรังและเขื่อนหินเรียงเป็นส่วนควบของที่ดิน เพื่อปฏิเสธไม่จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ ทั้งๆ ที่โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง แต่กลับไม่อาจใช้ประโยชน์ได้ต่อไปเนื่องจากต้องรื้อถอนบ้านพักขนย้ายครอบครัวออกไป เพราะถูกแนวเดินสายส่งไฟฟ้าของจำเลยพาดผ่านจึงไม่ชอบด้วยเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ที่มุ่งหมายจะให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยต้องพิจารณาจ่ายค่าทดแทนให้แก่เจ้าของทรัพย์สินที่ถูกแนวเขตเดินสายส่งไฟฟ้าพาดผ่านอย่างเป็นธรรม
พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ทวิ วรรคสาม ที่บัญญัติว่า "...ให้เจ้าของหรือผู้มีสิทธิครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นใดได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย วางหรือฝากเงินค่าทดแทนนั้น" คำว่า "...ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย วางหรือฝากเงินค่าทดแทน หาใช่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ต้องจ่ายเพิ่มไม่ เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับเงินค่าทดแทนจากจำเลย จำเลยได้นำเงินดังกล่าวไปฝากไว้ที่ธนาคารออมสิน โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้น นับตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยนำเงินค่าทดแทนไปฝากธนาคารเป็นต้นไป ไม่ใช่นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7
พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ทวิ วรรคสาม ที่บัญญัติว่า "...ให้เจ้าของหรือผู้มีสิทธิครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นใดได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย วางหรือฝากเงินค่าทดแทนนั้น" คำว่า "...ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย วางหรือฝากเงินค่าทดแทน หาใช่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ต้องจ่ายเพิ่มไม่ เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับเงินค่าทดแทนจากจำเลย จำเลยได้นำเงินดังกล่าวไปฝากไว้ที่ธนาคารออมสิน โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้น นับตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยนำเงินค่าทดแทนไปฝากธนาคารเป็นต้นไป ไม่ใช่นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิในที่ดินที่ถูกเวนคืน และกำหนดเงินค่าทดแทนที่เหมาะสม
พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์และแขวงสีลม เขตบางรัก และแขวงยานนาวา แขวงทุ่งมหาเมฆ แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2516 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ให้เวนคืนอสังหาริมทรัพย์... ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้าย พ.ร.บ. นี้ ซึ่งปรากฏรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายตามบัญชีท้าย พ.ร.บ. นี้ ให้แก่กระทรวงมหาดไทย" ถ้อยคำตามตัวบทในมาตรานี้ ทำให้เห็นว่ากฎหมายฉบับนี้มุ่งประสงค์ให้ยึดถือแผนที่ท้าย พ.ร.บ. เวนคืนเป็นสำคัญในการกำหนดแนวทางเขตที่จะเวนคืนซึ่งในพื้นที่เวนคืนจะต้องมีการปักหลักเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืนไว้เป็นระยะก่อนที่จะออก พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามที่มีกฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 8 วรรคสาม ของ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่มีการเวนคืนในคดีนี้ หาใช่ว่าให้ยึดถือตามจำนวนเนื้อที่ที่ดินที่ต้องเวนคืนในบัญชีท้าย พ.ร.บ. เป็นสำคัญมากกว่าแนวเขตตามแผนที่ท้าย พ.ร.บ. ดังกล่าว
แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะตั้งรูปคดีเป็นเรื่องละเมิดแต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าที่ดินพิพาทอันสืบเนื่องมาจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันมีลักษณะเป็นคดีปกครองที่ผู้ถูกเวนคืนฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนรวมอยู่ด้วย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินพิพาทถูกเวนคืนโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนในเนื้อที่ซึ่งเพิ่มขึ้นพร้อมดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 26 วรรคสาม มาตรา 28 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้ โดยดอกเบี้ยต้องไม่เกินจากคำขอของโจทก์
แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะตั้งรูปคดีเป็นเรื่องละเมิดแต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าที่ดินพิพาทอันสืบเนื่องมาจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันมีลักษณะเป็นคดีปกครองที่ผู้ถูกเวนคืนฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนรวมอยู่ด้วย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินพิพาทถูกเวนคืนโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนในเนื้อที่ซึ่งเพิ่มขึ้นพร้อมดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 26 วรรคสาม มาตรา 28 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้ โดยดอกเบี้ยต้องไม่เกินจากคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8650/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักฐานการซื้อขายที่ไม่น่าเชื่อถือ และการกำหนดค่าทดแทนที่เป็นธรรม
แม้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง จะกำหนดหลักการสำคัญเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐในการจ่ายค่าทดแทนเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ว่า "...ต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของ ตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายในการเวนคืนนั้น ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ" และความในวรรคสองยังกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดค่าทดแทนด้วยว่า "การกำหนดค่าทดแทนตามวรรคหนึ่งต้องกำหนดให้อย่างเป็นธรรมโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติ การได้มา สภาพ และที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์และความเสียหายของผู้ถูกเวนคืน" แต่การได้มาโดยการซื้ออสังหาริมทรัพย์รวมทั้งความเสียหายของผู้ถูกเวนคืนนั้น จะต้องเป็นการได้มาโดยการซื้อขายกันจริงๆ ด้วยความสุจริต และผู้ถูกเวนคืนได้รับความเสียหายอย่างแท้จริงด้วย จึงจะนำมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2925/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การประเมินราคาที่ดินที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อทั้งเจ้าของที่ดินและสังคม
จำเลยเป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาฯ เป็นผู้แทนดำเนินกิจการต่าง ๆ แทนจำเลย แม้พระราชกฤษฎีกาฯ กำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน แต่อธิบดีกรมทางหลวงก็ต้องปฏิบัติราชการภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่ร่วมรับผิดชอบในการที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย เมื่อโจทก์ยังไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดให้ และได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ แต่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยภายในกำหนด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยให้มารับเงินค่าทดแทนที่ดินตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2539 ซึ่งตอนท้ายของหนังสือดังกล่าวได้แจ้งให้ทราบถึงสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ภายในกำหนด 60 วัน อันเป็นการปฏิบัติถูกต้องตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 40 ซึ่งเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่มีเหตุจำต้องแจ้งเป็นหนังสือซ้ำให้โจทก์ต้องไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินใหม่อีก แต่จำเลยกลับมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินในวันที่ 2 ธันวาคม 2539 อีก 1 ฉบับ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ จึงต้องตีความให้เป็นคุณแก่ฝ่ายโจทก์ว่า เจ้าหน้าที่ของจำเลยแสดงเจตนายกเลิกหนังสือแจ้งฉบับแรก และใช้หนังสือแจ้งฉบับหลังที่ชอบด้วยกฎหมายแทนฉบับแรก เมื่อนับระยะเวลานับแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2539 วันสุดท้ายแห่งระยะเวลา 60 วัน คือวันที่ 31 มกราคม 2540 เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในวันที่ 30 มกราคม 2540 จึงฟังได้ว่า โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ภายใน 60 วัน นับแต่ได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน อันทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง
โจทก์ได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยให้มารับเงินค่าทดแทนที่ดินตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2539 ซึ่งตอนท้ายของหนังสือดังกล่าวได้แจ้งให้ทราบถึงสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ภายในกำหนด 60 วัน อันเป็นการปฏิบัติถูกต้องตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 40 ซึ่งเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่มีเหตุจำต้องแจ้งเป็นหนังสือซ้ำให้โจทก์ต้องไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินใหม่อีก แต่จำเลยกลับมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินในวันที่ 2 ธันวาคม 2539 อีก 1 ฉบับ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ จึงต้องตีความให้เป็นคุณแก่ฝ่ายโจทก์ว่า เจ้าหน้าที่ของจำเลยแสดงเจตนายกเลิกหนังสือแจ้งฉบับแรก และใช้หนังสือแจ้งฉบับหลังที่ชอบด้วยกฎหมายแทนฉบับแรก เมื่อนับระยะเวลานับแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2539 วันสุดท้ายแห่งระยะเวลา 60 วัน คือวันที่ 31 มกราคม 2540 เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในวันที่ 30 มกราคม 2540 จึงฟังได้ว่า โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ภายใน 60 วัน นับแต่ได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน อันทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง