พบผลลัพธ์ทั้งหมด 368 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4849/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันด้วยเอกสารปลอม: จำเลย 2 ต้องรับผิดในฐานะส่วนตัว แม้หนังสือมอบอำนาจเป็นเท็จ
จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกทำหนังสือมอบอำนาจปลอมว่าจำเลยที่ 1มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 นำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหากับโจทก์แล้วจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาประกันกับโจทก์โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าว เพื่อให้โจทก์หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและยินยอมให้จำเลยที่ 2 ประกันตัวผู้ต้องหาไป หลังจากนั้นจำเลยที่ 2ได้ไปขอผัดส่งตัวผู้ต้องหากับโจทก์หลายครั้ง โดยเป็นที่ตระหนักดีแก่จำเลยที่ 2 ว่าตนเองมิได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 แต่อย่างใดจึงเท่ากับจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาประกันกับโจทก์ในฐานะส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4339/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารปลอมจดทะเบียนรถยนต์ถือเป็นกรรมต่างหาก และเป็นความผิดทั้งเอกสารสิทธิและเอกสารราชการ
เอกสารที่จำเลยยื่นแต่ละครั้งเป็นเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนรถยนต์ต่างกันแต่ละคัน จึงเป็นกรรมกระทำความผิดต่างหากจากกันเอกสารใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อเปลี่ยนแปลงโอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ จึงถือเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9) สำหรับเอกสารเรื่องราวจดทะเบียนรถยนต์ของกรมตำรวจเป็นเอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นเพื่อใช้ในราชการจึงเป็นเอกสารราชการ การที่จำเลยนำเอกสารปลอมดังกล่าวไปใช้ จึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิและเอกสารราชการปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 265
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4191/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ-ใช้เอกสารปลอม: สมรู้ร่วมคิดช่วยเหลือผู้อื่นใช้หนังสือเดินทางปลอมออกนอกประเทศ
ส.เป็นเจ้าพนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมืองมีหน้าที่ตรวจสอบว่าหนังสือเดินทางที่ผู้จะเดินทางออกนอกราชอาณาจักรนำมาให้ตรวจนั้นเป็นหนังสือเดินทางปลอมหรือไม่ ซึ่งก็ต้องตรวจดูว่าบุคคลผู้ถือหนังสือเดินทางเป็นบุคคลเดียวกันกับที่กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือเดินทางให้แท้จริงหรือไม่ ดังนั้น ที่จำเลยแจ้งแก่ส.ว่าพ. ผู้นำหนังสือเดินทางมาให้ตรวจเป็นย. ภริยาของจำเลยซึ่งเป็นข้อความอันเป็นเท็จก็เพื่อให้ส.หลงเชื่อว่าพ. เป็นบุคคลเดียวกันกับย. ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือเดินทาง และตรวจผ่านให้พ.เดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ทำให้ส.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่ได้รับความเสียหายเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน พฤติการณ์ที่จำเลยพูดจากับ ส. เพื่อช่วยเหลือให้พ. ใช้หนังสือเดินทางปลอมออกนอกราชอาณาจักรได้ทั้งหนังสือเดินทางปลอมที่ พ. ใช้นั้นก่อนถูกปลอมเป็นหนังสือเดินทางฉบับแท้จริงของย. ภริยาจำเลยแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยได้สมรู้ร่วมคิดกับ พ.นำหนังสือเดินทางปลอมดังกล่าวมาใช้ จำเลยจึงเป็นตัวการในการใช้หนังสือเดินทางปลอมด้วยมีความผิดฐานเป็นตัวการใช้เอกสารราชการปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบดับมาตรา 265,83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4117/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารปลอมเป็นหลักฐานต่อพนักงานสอบสวนเป็นความผิดที่ไม่สามารถยอมความได้ ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษได้
ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 เป็นความผิดที่ไม่อาจยอมความกันได้ โจทก์ไม่อาจขอถอนฟ้อง หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ระหว่างฎีกา จึงไม่อนุญาติให้ถอนฟ้อง การที่จำเลยที่ 1 นำใบรับเงินปลอมไปอ้างต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์ได้รับตามใบรับเงินดังกล่าว เป็นการกระทำอันเป็นเหตุ ที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้วไม่ว่าพนักงานสอบสวน จะเชื่อว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือไม่ก็ตาม ใบรับเงินเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ประกอบด้วยมาตรา 264 เป็นการปรับบทลงโทษไม่ถูกต้อง เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความ จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225 แต่โจทก์ มิได้ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาคงมีอำนาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยเอกสารปลอมและการคุ้มครองกรรมสิทธิ์เจ้าของเดิม แม้มีการจดทะเบียนโดยสุจริต
มีคนร้ายลักโฉนดที่ดินพิพาทไปจาก ส. ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ แล้วปลอมลายพิมพ์นิ้วมือของ ส. ในหนังสือมอบอำนาจ และใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมนั้นไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินต่อกันมาเป็นทอด ๆ น.เป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทคนหลังสุด เมื่อ ส.ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททุกทอดจนในที่สุดศาลฎีกาพิพากษาเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท จึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของส.เจ้าของเดิมมาโดยตลอด
แม้จำเลยรับจำนองที่ดินพิพาทจาก น.ซึ่งมิใช่เจ้าของโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ทั้งได้จดทะเบียนโดยสุจริต ก็ไม่ใช่เหตุที่จะพึงยกขึ้นกล่าวอ้างยันผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงได้ เมื่อจำเลยรับจำนองที่ดินพิพาทไว้จากผู้ที่มิใช่เป็นเจ้าของที่แท้จริงการจำนองก็ไม่ผูกพันผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงเพราะเป็นฝ่าฝืนป.พ.พ. มาตรา 705
แม้จำเลยรับจำนองที่ดินพิพาทจาก น.ซึ่งมิใช่เจ้าของโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ทั้งได้จดทะเบียนโดยสุจริต ก็ไม่ใช่เหตุที่จะพึงยกขึ้นกล่าวอ้างยันผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงได้ เมื่อจำเลยรับจำนองที่ดินพิพาทไว้จากผู้ที่มิใช่เป็นเจ้าของที่แท้จริงการจำนองก็ไม่ผูกพันผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงเพราะเป็นฝ่าฝืนป.พ.พ. มาตรา 705
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารปลอม กรณีลงชื่อแทนเจ้าพนักงานและใช้แผ่นป้ายทะเบียนปลอม
นอกจากจำเลยได้กรอกข้อความลงในใบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์โดยลงชื่อของจำเลยในช่องลงชื่อของเจ้าของรถแล้ว จำเลยยังลงชื่อบุคคลอื่นในช่องลงชื่อผู้บันทึกและนายทะเบียนด้วย แสดงให้เห็นว่าจำเลยทราบอยู่แล้วว่าผู้บันทึกและนายทะเบียนซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเป็นผู้มีอำนาจกระทำเอกสารดังกล่าว หาใช่จำเลยไม่ จำเลยจึงมีเจตนาทำปลอมใบคู่มือการจดทะเบียนอันเป็นเอกสารราชการ เมื่อจำเลยเป็นผู้ทำปลอมใบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ย่อมแสดงว่าจำเลยมีเจตนาทำปลอมแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ 2 แผ่นเพราะจำเลยได้นำไปใช้ติดกับรถยนต์ของกลางเพื่อให้ตรงกับหมายเลขทะเบียนในใบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ การที่จำเลยเป็นผู้ทำปลอมใบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ และว่าจ้างให้ผู้อื่นทำปลอมแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ 2 แผ่น แล้วนำเอกสารทั้งหมดไปใช้กับรถยนต์ของกลาง ย่อมฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้เอกสารปลอมดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารราชการปลอม vs. ใช้เอกสารปลอม: ความแตกต่างและขอบเขตความผิด
เอกสารมรณบัตรปลอมที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้นั้นเป็นภาพถ่ายเอกสาร โจทก์มิได้อ้างส่งเอกสารอันเป็นที่มาของภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว จึงไม่อาจทราบได้ว่าภาพถ่ายเอกสารดังกล่าวถ่ายเอกสารมาจากมรณบัตรที่เจ้าพนักงานทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ หรือสำเนาเอกสารที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ ซึ่งมีการปลอมโดยแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นหรือไม่ ต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองว่าภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว มิได้ถ่ายเอกสารมาจากเอกสารที่มีลักษณะดังกล่าว แต่ได้ถ่ายเอกสารมาจากภาพถ่ายเอกสารที่มีการปลอมโดยแก้ไขข้อความในภาพถ่ายเอกสารนั้น ซึ่งมิใช่เอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ จึงไม่เป็นเอกสารราชการปลอม การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ การทำเอกสารปลอม และการเบิกความเท็จในชั้นศาล
เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่ทำการจับกุมโจทก์มีหน้าที่ทำและกรอกข้อความในบันทึกการจับกุมได้ทำและกรอกข้อความลงในบันทึกการจับกุมนั้น โดยลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำบันทึก พร้อมทั้งให้โจทก์ในฐานะผู้ต้องหาลงลายมือชื่อจนเป็นเอกสารที่ครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ไปเขียนเติมข้อความอีกว่าสอบถามผู้ต้องหาแล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ซึ่งไม่เป็นความจริงจึงเป็นการเติมข้อความในเอกสารที่แท้จริง น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์อันเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นบางส่วนโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้นแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 161
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการจับกุมผู้กระทำความผิดได้จับกุมโจทก์ในข้อหาปลอมเอกสาร แต่กรอกข้อความเพิ่มเติมลงในบันทึกจับกุมว่า สอบถามโจทก์แล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาทั้งที่ทราบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เพราะบันทึกการจับกุมดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่ศาลอาจฟังลงโทษโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกความว่า "ข้าพเจ้าเข้าไปแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานและขอจับกุมโดยแสดงหมายจับให้จำเลยที่ 1 ดูด้วยข้าพเจ้าแจ้งข้อหาจำเลยฐานปลอมเอกสารตามข้อความในหมายจับ จำเลยให้การรับสารภาพ" ซึ่งเป็นความจริงและเป็นข้อสำคัญในคดี โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เบิกความเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร ฟ้องโจทก์จึงขาดการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดเท่าที่จะทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 18 (5) ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1ในข้อหานี้ได้
เมื่อศาลชั้นตันมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มิได้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขออนุญาตซักค้านพยานอันเป็นการโต้แย้งในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างขึ้นมาในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคแรก ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการจับกุมผู้กระทำความผิดได้จับกุมโจทก์ในข้อหาปลอมเอกสาร แต่กรอกข้อความเพิ่มเติมลงในบันทึกจับกุมว่า สอบถามโจทก์แล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาทั้งที่ทราบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เพราะบันทึกการจับกุมดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่ศาลอาจฟังลงโทษโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกความว่า "ข้าพเจ้าเข้าไปแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานและขอจับกุมโดยแสดงหมายจับให้จำเลยที่ 1 ดูด้วยข้าพเจ้าแจ้งข้อหาจำเลยฐานปลอมเอกสารตามข้อความในหมายจับ จำเลยให้การรับสารภาพ" ซึ่งเป็นความจริงและเป็นข้อสำคัญในคดี โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เบิกความเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร ฟ้องโจทก์จึงขาดการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดเท่าที่จะทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 18 (5) ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1ในข้อหานี้ได้
เมื่อศาลชั้นตันมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มิได้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขออนุญาตซักค้านพยานอันเป็นการโต้แย้งในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างขึ้นมาในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคแรก ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเอกสารปลอม: ไม่จำต้องระบุตัวผู้หลงเชื่อ
บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำเอกสารปลอมเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงนั้น เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิะพิจารณาความอาญามาตรา 158 (5) แล้ว ไม่จำต้องบรรยายด้วยว่า ผู้หนึ่งผู้ใดนั้นเป็นใครหรือชื่ออะไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใช้เอกสารปลอมหลอกลวงกู้เงิน – ฟ้องซ้ำ – ถอนฟ้อง – ลดโทษ
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันนำโฉนดที่ดินที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นโฉนดที่ดินปลอมไปใช้หลอกลวงโจทก์ร่วมเพื่อให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อยอมให้กู้เงินตามที่จำเลยทั้งสามต้องการ เป็นการร่วมกันใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 266 และฉ้อโกงโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341,83 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 266 ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยที่ 2 ฐานกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คภายหลังโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2เป็นคดีนี้ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้แล้วฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องของโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) และแม้การออกเช็คอันเป็นมูลที่โจทก์ร่วมนำมาฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวกับการใช้โฉนดที่ดินปลอมอันเป็นมูลที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยที่ 2ในคดีนี้ จะเป็นการกร ะทำโดยมีเจตนาเพื่อฉ้อโกงโจทก์ร่วมเช่นเดียวกันแต่คดีดังกล่าวโจทก์ร่วมขอถอนฟ้องและศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตไปแล้ว ถือไม่ได้ว่าศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้แล้ว ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับฟ้องของโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) และการที่โจทก์ร่วมถอนฟ้องคดีดังกล่าวซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ไม่มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโก์ในความผิดฐานใช้เอกสารปลอมซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ด้วย