คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เอกสารสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องทุกข์ไม่ใช่เอกสารสิทธิ การหลอกลวงให้ถอนคำร้องทุกข์ไม่เป็นความผิดฉ้อโกง
คำร้องทุกข์ของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ใช่เอกสารสิทธิตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(9)ฉะนั้นแม้จะได้ความว่าจำเลยเจตนาทุจริตหลอกลวงให้ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ก็ดี ก็ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิชำระหนี้, อำนาจสอบสวนคดีอาญา
จำเลยขำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เพียง 10,000 บาทแล้วจำเลยแก้ไขจำนวนเงินในใบรับเงินที่เจ้าหนี้เซ็นชื่อเป็นผู้รับเงิน โดยแก้ 10,000 บาท เป็ฯ 70,0100 บาท ต่อมาจำเลยคัดสำเนาใบรับเงินที่ปลอมนั้นมาแสดงต่อศาลทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย เพราถ้าศาลหลงเชื่อว่าเป็ฯเอาสารที่แ้จริงแล้ว เจ้าหนี้จะต้องขาดเงินที่ควรได้รับชำระหนี้ไป 60,000 บาท การปลอมของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 264 แล้ว และเอกสารนี้เป็นใบรับเงินชำระหนี้ แสดงว่าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ในจำนวนเงินนี้ระงับไปแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอาสารสิทธิตามมาตรา 265 และการที่จำเลยคัดสำเนาเอกสารที่ปลอมแสดงต่อศาลเป็นการอ้างถึงเอกสารที่ปลอม จึงเป็นความผิดตามมาตรา 268 ด้วย ต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 268 ตามอัตราโทษในมาตรา 265
คำบรรยายฟ้องที่แสดงว่าวันเวลาที่ระบุไว้นั้นหมายถึงวันเวลาที่ทำปลอมกับที่ใช้เอกสารปลอมด้วย
จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้เจ้าหนี้และเจ้าหนี้ออกใบรับเงินให้ที่บ้านในท้องที่บุบผาราม จำเลยที่ 1 และที่ 2 อยู่ที่เทเวศร์ จำเลยที่ 1 ปลอมใบรับเงินนั้นที่ไหนไม่ปรากฎ แต่เอามาใช้อ้างที่ศาลแพ่ง จำเลยที่ 1 ถูกจับในท้องที่นางเลิ้ง ส่วนจำเลยที่ 2 ถูกจับที่สถานีตำรวจบุบผาราม เมื่อเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดได้กระทำในท้องที่ใด แต่จำเลยที่ 2 ถูกจับที่สถานีตำรวจบุบผารามเช่นนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจบุบผารามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้ และย่อมสอบสวนจำเลยที่ 1 ได้ด้วย เพราะมีข้อหาว่าร่วมกันกระทำผิดในคดีนี้ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน การกำหนดอำนาจสอบสวน
จำเลยชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เพียง 10,000 บาทแล้วจำเลยแก้ไขจำนวนเงินในใบรับเงินที่เจ้าหนี้เซ็นชื่อเป็นผู้รับเงิน โดยแก้ 10,000 บาท เป็น 70,000 บาท ต่อมาจำเลยคัดสำเนาใบรับเงินที่ปลอมนั้นมาแสดงต่อศาลทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหายเพราะถ้าศาลหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงแล้ว เจ้าหนี้จะต้องขาดเงินที่ควรได้รับชำระหนี้ไป 60,000 บาทการปลอมของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 264 แล้ว และเอกสารนี้เป็นใบรับเงินชำระหนี้แสดงว่าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ในจำนวนเงินนี้ระงับไปแล้วจำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามมาตรา 265 และการที่จำเลยคัดสำเนาเอกสารที่ปลอมแสดงต่อศาลเป็นการอ้างถึงเอกสารที่ปลอม จึงเป็นความผิดตามมาตรา 268 ด้วยต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 268 ตามอัตราโทษในมาตรา 265
คำบรรยายฟ้องที่แสดงว่าวันเวลาที่ระบุไว้นั้นหมายถึงวันเวลาที่ปลอมกับที่ใช้เอกสารปลอมด้วย
จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้เจ้าหนี้และเจ้าหนี้ออกใบรับเงินที่บ้านในท้องที่บุบผาราม.จำเลยที่1และที่2อยู่ที่เทเวศร์ จำเลยที่ 1 ปลอมใบรับเงินนั้นที่ไหนไม่ปรากฏ แต่เอามาใช้อ้างที่ศาลแพ่ง จำเลยที่ 1 ถูกจับในท้องที่นางเลิ้งส่วนจำเลยที่2ถูกจับที่สถานีตำรวจบุบผาราม เมื่อเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดได้กระทำในท้องที่ใด แต่จำเลยที่ 2 ถูกจับที่สถานีตำรวจบุบผารามเช่นนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจบุบผารามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้และย่อมสอบสวนจำเลยที่ 1 ได้ด้วย เพราะมีข้อหาว่าร่วมกันกระทำผิดในคดีนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ทางราชการ ปลอมเอกสาร และการรับผิดของเจ้าพนักงาน
(1) เมื่อโจทก์บรรยายว่า จำเลยเป็นเสมียนตรามีหน้าที่จัดทำ รักษา และรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และการเบิกจ่ายเงิน และมีเจตนาทุจริตเบียดบังยักยอกเอาเงินไป มีรายการต่าง ๆ ซึ่งพอเข้าใจได้ว่าเงินนั้นอยู่ในความรับผิดของจำเลย ทั้งระบุวันเวลาทำผิดแต่ละรายการไว้ด้วย นั้น ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนที่ว่าจำเลยรับมาจากใคร ที่ไหน เมื่อใด เป็นรายละเอียดไม่ต้องกล่าวไว้
(2) เมื่อเป็นคดีอาญาแผ่นดิน ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องบรรยายว่ารู้การกระทำของจำเลยเมื่อใด
(3) เมื่อพยานโจทก์และจำเลยเบิกความตรงกันว่า เสมียนตรามีหน้าที่ทำบัญชีเงิน รับเงินและจ่ายเงินของแผนกมหาดไทย แม้นายอำเภอจะสั่งให้คนอื่นเป็นหัวหน้าแต่ก็เพื่อช่วยคอยสอดส่องควบคุมอีกชั้นหนึ่งโดยมิได้ให้จำเลยพ้นจากหน้าที่เสมียนตราไป เช่นนี้ จำเลยก็ต้องเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ฯลฯ ที่แก้ไขแล้ว
(4) บัญชีเงินต่าง ๆ ของทรงราชการกระทรวงมหาดไทย เช่น แบบ 2 บัญชีรายรับจ่ายเงินเบ็ดเตล็ด และแบบ 7 บัญชีเงินการจร มีช่องที่ผู้รับเงินจะต้องลงชื่อ เมื่อลงแล้วและรับเงินไปแล้ว ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการระงับไปซึ่งสิทธิ ทำให้ผู้นั้นหมดสิทธิเรียกร้องเอาเงินจากทางราชการอีก ซึ่งตรงตามความหมายในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(9) จึงเป็นเอกสารสิทธิทางราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266
(5) ผู้ไม่มีสิทธิ แต่ได้ลงชื่อของผู้มีสิทธิในช่องบัญชีของผู้มีสิทธิรับเงินตามแบบ 2,แบบ 7 ย่อมเป็นการปลอมหนังสือ และเป็นข้อสาระสำคัญแห่งคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ส.ค.1 เป็นเอกสารสิทธิ ตามความหมายในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 เกี่ยวกับการแจ้งการครอบครองที่ดิน
แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) เป็นเอกสารสิทธิตามที่กล่าวถึงในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ส.ค.1 เป็นเอกสารสิทธิ ตามความหมายประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ทำให้ผู้แจ้งมีสิทธิครอบครองที่ดิน
แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) เป็นเอกสารสิทธิตามที่กล่าวถึงในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งสิทธิครอบครองที่ดินไม่เป็นความเท็จ แต่เป็นการแจ้งเท็จ ไม่เข้าข่ายปลอมแปลงเอกสาร
ฟ้องว่าจำเลยปลอมหนังสือแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ได้ความว่า เอกสารแจ้งการครอบครองนั้น จำเลยนำยื่นเอง ลงชื่อจำเลยเอง ระบุว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครอง เป็นเอกสารของจำเลยอันแท้จริง ส่วนข้อความที่แจ้งจะถูกต้องหรือไม่ เป็นแต่เรื่องแจ้งเท็จ มิใช่ปลอมหนังสือของใคร หรือตั้งใจให้เป็นหนังสือของคนอื่นหาเป็นการปลอมหนังสือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการส่งมอบเอกสารสิทธิ แม้มีข้อพิพาทเรื่องหนี้สิน ผู้ให้กู้ต้องส่งมอบเอกสารให้เจ้าหนี้บังคับคดีตามคำพิพากษา
ทำสัญญากู้เงินเขาแล้วมอบใบโฉนดตราจองซึ่งมีชื่อผู้กู้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้จนกว่าจะชำระเงินเสร็จภายหลังผู้กู้ถูกผู้อื่นฟ้องอ้างว่า ผู้กู้แจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงานใส่ชื่อผู้กู้ในโฉนดผู้กู้จึงยอมความในศาล ยอมรับว่าที่ดินนั้นเป็นของผู้อื่นนั้นและยอมให้ศาลสั่งเจ้าพนักงานที่ดินทำการเพิกถอนการโอนที่ผู้กู้ก่อขึ้นเสียและจดทะเบียนโอนมาเป็นของผู้อื่นที่ฟ้องนั้นดังนี้ เมื่อปรากฎว่าใบแทนโฉนดอยู่ที่ผู้ให้กู้ยึดถือไว้ ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะหมายเรียกใบแทนโฉนดนั้นมาจากผู้ให้กู้ เพื่อจัดการตามคำบังคับได้ แต่ถ้าศาลหรือเจ้าพนักงานมิได้จัดการดังกล่าวนั้น ผู้ชนะคดีก็ย่อมฟ้องผู้ให้กู้เป็นจำเลย ขอให้ศาลบังคับให้ผู้ให้กู้ส่งใบแทนโฉนดนั้นมาเพื่อจัดการให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีก่อนนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการส่งมอบเอกสารสิทธิเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ตามคำพิพากษา
ทำสัญญากู้เงินเขาแล้วมอบใบแทนโฉนดตราจองซึ่งมีชื่อผู้กู้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้จนกว่าจะชำระเงินเสร็จ ภายหลัง ผู้กู้ถูกผู้อื่นฟ้องอ้างว่า ผู้กู้แจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงานใส่ชื่อผู้กู้ในโฉนดผู้กู้จึงยอมความในศาล ยอมรับว่าที่ดินนั้นเป็นของผู้อื่นนั้น และยอมให้ศาลสั่งเจ้าพนักงานที่ดินทำการเพิกถอนการโอนที่ผู้กู้ก่อขึ้นเสียและจดทะเบียนโอนมาเป็นของผู้อื่นที่ฟ้องนั้นดังนี้ เมื่อปรากฏว่าใบแทนโฉนดอยู่ที่ผู้ให้กู้ยึดถือไว้ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะหมายเรียกใบแทนโฉนดนั้นมาจากผู้ให้กู้เพื่อจัดการตามคำบังคับได้ แต่ถ้าศาลหรือเจ้าพนักงานมิได้จัดการดังกล่าวนั้น ผู้ชนะคดีก็ย่อมฟ้องผู้ให้กู้เป็นจำเลย ขอให้ศาลบังคับให้ผู้ให้กู้ส่งใบแทนโฉนดนั้นมาเพื่อจัดการให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีก่อนนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของคำฟ้องในคดีปลอมแปลงเอกสารสิทธิ การบรรยายฟ้องต้องระบุชัดเจนถึงการกระทำความผิด
คำบรรยายฟ้องของโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยบังอาจปลอมหนังสือซื้อขายที่ดินขึ้นหรือใช้หนังสือปลอมนั้น เป็นหลักฐานว่า จำเลยขายที่ดินให้โจทก์ ซึ่งไม่ใช่เป็นความจริงดังนี้ หาเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่
of 15