คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไขคำพิพากษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 365 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีแพ่ง: การแก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยและทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 7,500 บาทศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ 44,067 บาทตามฟ้องเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน50,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 ป.วิ.พ. กรณีศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อยและทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 7,500 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะในเรื่องค่าเสียหายเป็นว่าให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าเสียหายให้โจทก์44,067 บาท ดังนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่เพียงเล็กน้อยและทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาทจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 ว.พ.พ. กรณีศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเล็กน้อย และทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 7,500 บาทศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ 44,067 บาทตามฟ้องเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน50,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจแก้ไขคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์จำกัดเฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย
คำร้องของโจทก์ที่โต้เถียงว่า จำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสองค้างชำระถึงวันฟ้องมีมากกว่าจำนวนหนี้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยและขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขจำนวนเงินเพิ่มจากเดิมถึงสองหมื่นบาทเศษมิใช่ข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาคดีไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีสุรากลั่น-แช่เป็นกรรมเดียว ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาแม้มิได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
ความผิดในข้อหามีสุรากลั่นมีสุราแช่เป็นความผิดกรรมเดียวศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยมาสองกรรมเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้อง ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันในการชำระค่าเสียหาย, การแก้ไขคำพิพากษาศาลล่างให้ถูกต้องตามคำขอ
โจทก์เสียหายเดือน ละ 500 บาท โดย จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดร่วมกันซึ่ง เป็นการชำระหนี้ไม่อาจแบ่งแยกได้ แต่ ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยที่ 1 ใช้ ค่าเสียหายเดือน ละ 500 บาท และจำเลยที่ 2ใช้ ค่าเสียหายเดือน ละ 500 บาท จนกว่าจะออกจากที่ดินและบ้านโจทก์โดย มิได้กำหนดให้ร่วมรับผิด ทำให้แต่ ละคนต้อง ใช้ ค่าเสียหายคนละ 500บาท เกินค่าเสียหายจริงของโจทก์ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ร่วมรับผิดและให้มีผลถึง จำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วย ได้. โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ ค่าเสียหายนับแต่วันฟ้อง (1 ตุลาคม2527) แต่ ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยที่ 1 รับผิดนับแต่วันละเมิดคือวันที่ 13 กันยายน 2527 เป็นการเกินคำขอ ดังนี้ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 722/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเมื่อศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี แม้จะแก้คำพิพากษา
การที่จะพิจารณา ว่าคดีใดต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น ต้องถือโทษที่ศาลลงแก่จำเลยเป็นรายกระทงไป เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด2 กระทง แต่ละกระทงลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน10,000 บาท แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้ให้ระบุวรรคตอนของบทมาตราที่เป็นความผิดและบทลงโทษให้ชัดเจน กับแก้ โทษจำคุกให้น้อยลงโดยไม่รอการลงโทษและไม่ลงโทษปรับจำเลย ก็เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219.
จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามฎีกาการที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยโดยศาลอุทธรณ์ ทำให้จำเลยไม่สามารถฎีกาในข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยผู้บุกรุกให้รื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินบางส่วนของโจทก์ที่ 1 ซึ่งให้โจทก์ที่ 2 เช่าและร่วมกันเรียกค่าเสียหาย 10,000 บาท กับอีกเดือนละ 1,000 บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองชนะคดีเต็มตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 2 และให้จำเลยชำระค่าเสียหายเพียงเดือนละ 500 บาท คงให้โจทก์ที่ 1 ชนะคดี จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในคดีแก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อย: การบุกรุกและค่าเสียหาย
โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยผู้บุกรุกให้รื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินบางส่วนของโจทก์ที่ 1 ซึ่งให้โจทก์ที่ 2 เช่าและร่วมกันเรียกค่าเสียหาย 10,000 บาท กับอีกเดือนละ 1,000 บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองชนะคดีเต็มตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 2 และให้จำเลยชำระค่าเสียหายเพียงเดือนละ 500 บาท คงให้โจทก์ที่ 1ชนะคดี จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2196/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าสินไหมทดแทน: ข้อผิดพลาดเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ โดยนำค่าซากรถไปหักจากค่าซ่อมรถแล้วพิพากษาให้จำเลยชำระในส่วนที่เหลือ คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จะขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขคำพิพากษาโดยให้นำค่าซากรถไปหักออกจากราคารถมิได้เพราะเป็นการแก้ไขจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จะพึงเรียกได้มิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
of 37