พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2166/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง, การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม, และความชัดเจนของคำฟ้องในคดีแพ่ง
แม้โจทก์ได้ยื่นเอกสารต่อศาลชั้นต้นโดยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้อันเป็นการมิชอบด้วยกระบวนพิจารณาความก็ตาม แต่ต่อมาโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมอ้างเอกสารดังกล่าวก่อนที่จะสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนเสร็จ โจทก์จึงมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคสอง กฎหมายหาได้ห้ามการยื่นบัญชีระบุพยานอ้างเอกสารที่ส่งต่อศาลก่อนแล้วแต่อย่างใดไม่ โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอเพิ่มเติมเป็นการอธิบายว่า โจทก์ได้พิมพ์ตัวเลข พ.ศ. ที่จำเลยที่ 1 ขอกู้เพิ่มเติมในสัญญาผิดไปเป็นการบรรยายฟ้องให้ชัดขึ้นเท่านั้นจึงเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมเมื่อคดีไม่มีการชี้สองสถานและโจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานโจทก์จึงมีสิทธิขอแก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 179,180 แม้จะเป็นข้อที่จำเลยที่ 1 ได้ให้การต่อสู้ไว้เป็นประเด็นสำคัญก็ตาม โจทก์ได้แก้ไขคำฟ้องแล้วว่าโจทก์พิมพ์ พ.ศ. ในสัญญากู้เพิ่มเติมผิดไปเป็นการอธิบายถึงที่มาของปีที่มีการทำสัญญากู้เพิ่มเติมว่าพิมพ์ พ.ศ. ผิด จึงเป็นคำฟ้องที่ชัดแจ้งไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องรายละเอียดเล็กน้อย และการพิพากษาชดใช้ค่าเสียหายรถยนต์ที่เสียหายจากอุบัติเหตุ
การขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับชื่อจำเลยและวันเกิดเหตุละเมิดซึ่งเป็นรายละเอียดแห่งคำฟ้อง มิใช่เป็น การขอแก้ไขคำฟ้องตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179(1) และ (2)แม้โจทก์ทั้งห้าจะมิได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขก่อนวันสืบพยานศาลชั้นต้นก็อนุญาตให้โจทก์ทั้งห้าแก้ไขได้ กรณีไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 180 แม้โจทก์จะมิได้บรรยายในคำฟ้องว่า ธ.เป็นเจ้าของรถยนต์เก๋งคันที่ถูกชน แต่โจทก์ทั้งห้าก็ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จากเหตุรถชนกันทำให้รถยนต์ที่ ธ.ขับมาได้รับความเสียหายและ ธ. ถึงแก่ความตายเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ธ. ได้รับความเสียหายเกี่ยวกับรถยนต์คันดังกล่าว คิดเป็นเงิน 315,000 บาท และโจทก์ที่ 1 ขอให้จำเลยชดใช้ราคารถยนต์คันดังกล่าวด้วยเมื่อทางพิจารณาได้ความว่ารถยนต์ที่ถูกชนเป็นรถของ ธ.การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ราคารถคันดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 1 จึงมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเปลี่ยนแปลงตัวจำเลยเกินขอบเขตตาม ป.วิ.พ. การแก้ไขคำฟ้องต้องไม่เปลี่ยนตัวจำเลย
การแก้ไขคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 179 จะต้องเป็นการแก้ไขข้อหาหรือข้ออ้างที่มีต่อจำเลย โดยการเพิ่มหรือลดทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มฟ้องเดิมให้บริบูรณ์มิใช่เป็นการเพิ่มหรือเปลี่ยนตัวจำเลย ซึ่งเป็นตัวบุคคลที่จะต้องระบุไว้แน่ชัดตามมาตรา 67 หากโจทก์ประสงค์จะให้บุคคลอื่นนอกจากบุคคลที่โจทก์ยื่นฟ้องเป็นจำเลยไว้ตามฟ้องเดิมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้แต่เดิมแล้วโจทก์ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกบุคคลนั้นเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยเดิมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) ที่โจทก์ฟ้องบริษัท ร.เป็นจำเลยที่ 3ในคดีนี้มาตั้งแต่แรกโดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลนั้น แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องบุคคลธรรมดาเป็นจำเลยที่ 3 แต่ได้ฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลยที่ 3 เท่านั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 15 เมษายน 2530 ขอแก้ไขคำฟ้องเปลี่ยนชื่อบริษัท ร. จำเลยที่ 3 เป็นบริษัท ร.หรือ ว. จำเลยที่ 3 โดยอ้างว่า คำว่าบริษัท ร.เป็นชื่อในทางการค้าหรือนามแฝงหรือฉายาของ ว. แล้วต่อมายื่นคำร้องลงวันที่ 15 มกราคม 2531 ขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้ชื่อจำเลยที่ 3จากบริษัท ร. หรือ ว.เป็น ว.นั้น เท่ากับเป็นการขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมมาเป็นฟ้องบุคคลธรรมดาเพิ่มเป็นจำเลยที่ 3 ด้วย แล้วขอแก้ไขคำฟ้องอีกครั้งหนึ่งโดยขอเปลี่ยนตัวจำเลยที่ 3 จากนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมิใช่เป็นเรื่องที่จะขอแก้ไขคำฟ้องได้เช่นนั้นตามนัยแห่งบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น โจทก์จึงขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนั้นไม่ได้ เมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องของโจทก์เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบแล้ว บรรดากระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับ ว. หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเช่นนั้นแล้ว รวมทั้งคำสั่งของศาลชั้นต้นลงวันที่ 8 มีนาคม 2531 ซึ่งสั่งให้จำหน่ายบริษัท ร.ออกจากสำนวนความ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ชอบที่ศาลจะเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 บริษัท ร.ตามฟ้องเดิมจึงยังคงมีฐานะเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้อยู่ และแม้บริษัท ร.มิได้ฎีกาขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาอื่นนอกจากคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ลงวันที่ 15 เมษายน 2530 และวันที่ 15 มกราคม 2531กับคำสั่งศาลชั้นต้นลงวันที่ 8 มีนาคม 2531 ที่ให้จำหน่ายบริษัท ร.ออกจากสำนวนความ แต่เมื่อกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการพิจารณาคดี ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 142 (5)ประกอบด้วยมาตรา 246, 247 ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับ ว.หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ลงวันที่ 15 เมษายน 2530 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเปลี่ยนแปลงตัวจำเลยจากนิติบุคคลเป็นบุคคลธรรมดา มิชอบตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องบริษัทร.จำกัด เป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้มาตั้งแต่แรกโดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคล แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องบุคคลธรรมดาเป็นจำเลยที่ 3 การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเปลี่ยนชื่อบริษัทร.จำกัด จำเลยที่ 3 เป็นบริษัทร.จำกัดหรือนายว.จำเลยที่3โดยอ้างว่าคำว่าบริษัทร.จำกัด เป็นชื่อในทางการค้าหรือนามแฝงหรือฉายาของนายว. แล้วต่อมายื่นคำร้องอีกฉบับขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้ชื่อจำเลยที่ 3 จากบริษัทร.จำกัดหรือนายว.เป็นนายว.นั้น เท่ากับเป็นการขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมซึ่งฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลยที่ 3 เท่านั้นมาเป็นฟ้องบุคคลธรรมดาเพิ่มเป็นจำเลยที่ 3 ด้วยแล้วขอแก้ไขคำฟ้องอีกครั้งหนึ่งโดยขอเปลี่ยนตัวจำเลยที่ 3 จากนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมิใช่เป็นเรื่องที่จะขอแก้ไขคำฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179โจทก์จึงขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนั้นไม่ได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องของโจทก์ทั้งสองฉบับ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ บรรดากระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับนาย ว. หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเช่นนั้นแล้ว รวมทั้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในเวลาต่อมา ซึ่งสั่งให้จำหน่ายบริษัท ร. จำกัด ออกจากสำนวนความ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ชอบที่ศาลจะเพิกถอนเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 บริษัทร.จำกัดจึงยังคงมีฐานะเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้อยู่ และแม้บริษัทร.จำกัดมิได้ฎีกาขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาอื่นนอกจากคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์กับคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายบริษัทร.จำกัด ออกจากสำนวนความแต่เมื่อกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการพิจารณาคดีศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246,247 ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับนายว. หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3767/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้มีแก้ไข – ธนาคารฟ้องหนี้ ยอดคลาดเคลื่อนแต่แก้ไขแล้ว ศาลไม่เห็นว่าทำให้จำเลยสับสน
ธนาคารโจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับยอดเงินที่จำเลยที่ 1ค้างชำระคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจทำให้จำเลยสับสนได้ แต่โจทก์ก็ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับยอดหนี้ ให้ถูกต้องและสอดคล้องกับเอกสารท้ายฟ้องและศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตแล้ว ย่อมมีผลให้คำฟ้องของโจทก์ไม่คลาดเคลื่อนและไม่ทำให้จำเลยสับสนอีกต่อไป จึงเป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5978-5979/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำฟ้องระหว่างพิจารณาคดี & เหตุคุ้มครองชั่วคราว: การโอนที่ดินพิพาทขัดขวางบังคับคดี
ศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานและนัดสืบพยานโจทก์ ก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 2ที่ 3 ได้จดทะเบียนโอนขายที่นาพิพาทคืนให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์เพิ่งทราบหลังจากการชี้สองสถาน จึงขอแก้ไขคำฟ้องตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เพื่อบังคับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ซื้อที่นาพิพาทอีก ทอด หนึ่ง ให้โอนขายแก่โจทก์ด้วย เห็นได้ชัดว่าข้อเท็จจริงดังกล่าว เพิ่งเกิดขึ้นหลังวันชี้สองสถาน โจทก์จึงไม่อาจยื่นคำร้องได้ ก่อนวันชี้สองสถาน ตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องจำเลยที่ 1 ขายที่นาพิพาทให้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่แจ้งและเสนอขายให้โจทก์ในฐานะผู้เช่า ก่อนโจทก์จึงฟ้องขอบังคับซื้อที่ดินนาพิพาทจากจำเลยทั้งสาม ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ขณะคดีอยู่ ในระหว่าง พิจารณาจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ได้จดทะเบียนโอนขาย ที่นาพิพาทคืนให้จำเลยที่ 1 โจทก์จึงได้แก้ไขคำฟ้องเพื่อบังคับ จำเลยที่ 1 ตามข้อเท็จจริงที่เพิ่งเกิดขึ้นด้วย เป็นการแก้ไข คำฟ้องเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179(2) มีความเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม โจทก์มีสิทธิ ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182 ตามคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวกล่าวว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่ยอมส่งโฉนดที่พิพาทตามคำสั่งศาลเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐาน เพราะจำเลยทั้งสามตั้งใจโอนที่นาพิพาทเพื่อไม่ให้โจทก์บังคับคดี ต่อมาจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้โอนที่นาพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 กำลังบอกขายที่นาพิพาทเพื่อให้พ้นจากการบังคับคดี ของ โจทก์จึงขอให้ศาลอายัดที่นาก่อนศาลมีคำพิพากษา คำร้องของโจทก์ เป็น การขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอนขาย ยักย้าย หรือ จำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทจนกว่าคดีจะถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254(2) แม้โจทก์จะใช้คำว่าขอให้อายัด ก็แปลได้ว่าเป็นการ ขอให้ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนนั่นเอง เมื่อตามคำร้องปรากฏว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้โอนที่นาพิพาทให้จำเลยที่ 1 ในระหว่าง การพิจารณา และจำเลยที่ 1 กำลังบอกขายให้บุคคลอื่นต่อไป พอชี้ ให้เห็นความตั้งใจของจำเลยทั้งสามว่าจะจำหน่ายจ่ายโอนเพื่อ ขัดขวางแก่การบังคับตามคำบังคับคดี ซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จำเลย ทั้งสามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 255 แล้วคดีนี้โจทก์ฟ้องขอบังคับซื้อ ที่นาพิพาท หากจำเลยที่ 1 จะขายที่นาพิพาทต้องแจ้งให้โจทก์ทราบ ตามสิทธิที่จะซื้อก่อน ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 54 และหากขายที่นาพิพาทไปแล้วผู้ซื้อก็ต้อง รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามมาตรา 28ซึ่งโจทก์ได้รับความคุ้มครอง อยู่แล้วก็ตาม แต่ถ้าปล่อยให้จำเลยโอนที่นาพิพาทไปยังบุคคลภายนอก แม้โจทก์ชนะคดีก็ไม่อาจบังคับคดีแก่จำเลยเพื่อให้ได้มาซึ่ง ที่นาพิพาท โจทก์ต้องไปดำเนินการ เพื่อ บังคับซื้อจากบุคคลภายนอก ผู้รับโอนตามมาตรา 54 ใหม่ ทำให้เกิด ภาระ แก่โจทก์ไม่มีที่สิ้นสุด โจทก์จึงมีสิทธิขอคุ้มครองชั่วคราวได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 254(2) ศาลชั้นต้นต้องรับ คำร้อง ของโจทก์ไว้ไต่สวน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2519/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องคดีอาญาและการนับโทษต่อเนื่อง จำเป็นต้องบรรยายฟ้องระบุตัวบุคคลให้ชัดเจน
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต่อมาได้ขอแก้ไขคำฟ้องว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอื่นหลายคดีรวมทั้งคดีหมายเลขแดงที่2510/2533 ของศาลอาญาธนบุรี ขอให้นับโทษจำเลยต่อจากคดีดังกล่าว แต่ภายหลังโจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับหมายเลขคดีที่ขอให้นับโทษต่ออีก ซึ่งหลังจากศาลอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องครั้งหลังแล้ว คำฟ้องโจทก์ไม่มีข้อความระบุว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2510/2533 ของศาลอาญาธนบุรี คงมีแต่คำขอท้ายฟ้องขอให้นับโทษจำเลยต่อจากคดีดังกล่าว ถือว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ดังนี้ ศาลจะนับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีดังกล่าวตามคำขอท้ายฟ้องโดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวในคำบรรยายฟ้องไม่ได้ แม้จำเลยให้การรับสารภาพและรับว่าเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีอาญาต่าง ๆ ตามที่โจทก์ฟ้องและขอแก้ไขคำฟ้อง ก็หมายความเพียงว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำบรรยายฟ้องเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6017/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเลขที่บ้านและการวินิจฉัยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาข้ออุทธรณ์ของจำเลย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องจากบ้านเลขที่ 73 หมู่ที่ 5เป็นบ้านเลขที่ 73/1 หมู่ 5 เพื่อให้เป็นไปตามคำให้การของจำเลยเมื่อมีการชี้ สองสถาน จำเลยไม่มาศาล ศาลนัดสืบพยานจำเลย ถึงวันนัดทนายจำเลยรับสำเนาคำร้องดังกล่าวก็ไม่ได้คัดค้าน แสดงว่าคู่ความเต็ม ใจที่จะดำเนินคดีกันตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลได้ชี้ สองสถานไว้ไม่ต้องการให้ดำเนินกระบวนพิจารณาล่าช้าเพราะเหตุนี้ ประเด็นเรื่องแก้ไขคำฟ้องจึงยุติแล้ว แม้ว่าศาลชั้นต้นจะมิได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องให้แก่จำเลยทราบล่วงหน้าอย่างน้อย3 วัน ก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องนั้นก็ตาม แต่การขอแก้ไขเลขบ้านตามคำฟ้องหาใช่การขอแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 181 ไม่ ศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบที่จะหยิบยกมาเป็นเหตุยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น หากแต่ควรจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยไปให้สิ้นกระแสความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6017/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเลขที่บ้าน ศาลไม่ควรยกคำพิพากษาเดิมหากไม่มีผลต่อประเด็นข้อพิพาท และควรพิจารณาอุทธรณ์ให้สิ้นสุด
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องจากบ้านเลขที่ 73 หมู่ 5 เป็นบ้านเลขที่ 73/1 หมู่ 5 เพื่อให้เป็นไปตามคำให้การของจำเลย เมื่อมีการชี้สองสถาน จำเลยไม่มาศาล ศาลนัดสืบพยานจำเลย ถึงวันนัดทนายจำเลยรับสำเนาคำร้องดังกล่าวก็ไม่ได้คัดค้าน แสดงว่าคู่ความเต็มใจที่จะดำเนินคดีกันตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลได้ชี้สองสถานไว้ ไม่ต้องการให้ดำเนินกระบวนพิจารณาล่าช้าเพราะเหตุนี้ ประเด็นเรื่องแก้ไขคำฟ้องจึงยุติแล้ว แม้ว่าศาลชั้นต้นจะมิได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องให้แก่จำเลยทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วันก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องนั้นก็ตามแต่การขอแก้ไขเลขบ้านตามคำฟ้องหาใช่การขอแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา181 ไม่ ศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบที่จะหยิบยกมาเป็นเหตุยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่ศาลอุทธรณ์ควรจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยไปให้สิ้นกระแสความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4661/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล: การแก้ไขเอกสารท้ายฟ้องที่ผิดพลาดไม่กระทบอำนาจฟ้อง
โจทก์แนบเอกสารท้ายฟ้องอันแสดงถึงการเป็นนิติบุคคลของโจทก์ผิดพลาด โดยแนบสำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลอื่น การแนบเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวก็เพื่อให้ชัดเจนถึงฐานะของโจทก์ไม่ใช่หลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี และจำเลยก็ให้การยอมว่าเคยเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์ เท่ากับเป็นการรับรองว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลแล้ว การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับการเป็นนิติบุคคลของโจทก์โดยแนบหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของโจทก์ฉบับที่ถูกต้องภายหลังที่โจทก์ได้สืบพยานไปแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องดังกล่าวได้กรณีไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 เมื่อโจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลมาแต่ต้นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจึงชอบด้วยกฎหมาย