พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7465/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังพ้นกำหนด หากเกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอนุญาตได้
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานในวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 โดยไม่มีการชี้สองสถาน การที่จำเลยที่ 2 จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การจึงอาจทำได้ภายในวันที่ 12 กรกฎาคม 2548 เมื่อจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในวันที่ 13 กรกฎาคม 2548 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเมื่อพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่การที่จำเลยที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การเป็นว่า สัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง จึงไม่มีมูลหนี้และตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ปัญหาที่ว่านิติกรรมใดเป็นโมฆะหรือไม่ ถือเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในเรื่องดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 แม้เป็นการยื่นเมื่อพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7465/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การเกินกำหนด หากเกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอนุญาตได้
การที่จำเลยที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การเป็นว่า สัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง จึงไม่มีมูลหนี้และตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ปัญหาที่ว่านิติกรรมใดเป็นโมฆะหรือไม่ ถือเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในเรื่องดังกล่าวได้ แม้เป็นการยื่นเมื่อพ้นระยะเวลาที่ ป.วิ.พ. มาตรา 180 กำหนดก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7115/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำให้การหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยาน: ศาลอนุญาตได้หากไม่กระทบความสงบเรียบร้อย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์แล้วนัดฟังคำพิพากษา จึงไม่มีวันชี้สองสถานและวันสืบพยาน จำเลยที่ 3 ย่อมจะยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การนอกจากที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยที่ 3 แก้ไขคำให้การได้แล้วจะเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4575/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล, การรับสารภาพ, การแก้ไขคำให้การ, ประวิงคดี: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
การกระทำความผิดฐานยักยอกของจำเลยมิได้เกิดในเขตอำนาจของศาลแขวงนครศรีธรรมราช แต่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราชและอยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงนครศรีธรรมราช พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชย่อมมีอำนาจสอบสวน โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาลแขวงนครศรีธรรมราชตาม ป.วิ.อ. มาตรา 22 (1)
การขอแก้ไขคำให้การ จำเลยสามารถกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันสมควรตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง เท่านั้น อีกทั้งเป็นดุลพินิจของศาล การที่จำเลยขอเพิกถอนคำให้การรับสารภาพเป็นให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ เท่ากับจำเลยยื่นคำให้การใหม่โดยขอถอนคำให้การเดิม ซึ่งมีผลเป็นการแก้ไขคำให้การหลังจากที่ได้ให้การรับสารภาพแล้วถึง 1 ปี โดยอ้างเหตุว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์นำคดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงนครศรีธรรมราชมาฟ้องรวมกันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ขอให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความและอ้างว่าจำเลยไม่เข้าใจจึงรับสารภาพเพื่อให้เรื่องจบเท่านั้น เป็นการให้การปฏิเสธภายหลังจำเลยผิดนัดชำระเงินค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วมแล้วเพื่อให้มีการสืบพยานต่อไปอีกถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อประวิงคดี จึงเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอันควร ไม่ชอบที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ
การขอแก้ไขคำให้การ จำเลยสามารถกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันสมควรตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง เท่านั้น อีกทั้งเป็นดุลพินิจของศาล การที่จำเลยขอเพิกถอนคำให้การรับสารภาพเป็นให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ เท่ากับจำเลยยื่นคำให้การใหม่โดยขอถอนคำให้การเดิม ซึ่งมีผลเป็นการแก้ไขคำให้การหลังจากที่ได้ให้การรับสารภาพแล้วถึง 1 ปี โดยอ้างเหตุว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์นำคดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงนครศรีธรรมราชมาฟ้องรวมกันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ขอให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความและอ้างว่าจำเลยไม่เข้าใจจึงรับสารภาพเพื่อให้เรื่องจบเท่านั้น เป็นการให้การปฏิเสธภายหลังจำเลยผิดนัดชำระเงินค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วมแล้วเพื่อให้มีการสืบพยานต่อไปอีกถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อประวิงคดี จึงเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอันควร ไม่ชอบที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำให้การนอกกรอบเวลา: ศาลไม่รับแก้คำให้การหากไม่ใช่เหตุเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
จำเลยทั้งแปดขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต โจทก์ไม่ได้ออกสแตนบายเลตเตอร์ออฟเครดิต โจทก์ไม่ได้ชำระเงินให้แก่ธนาคารสแกนดิเนเวีย เอ็นไคด้าหนังสือรับสภาพหนี้ตามฟ้องไม่ใช่หนังสือรับสภาพหนี้ กับฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ล้วนเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งแปดยกข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในเรื่องที่จำเลยทั้งแปดย่อมทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่เมื่อได้รับสำเนาคำฟ้องของโจทก์ ซึ่งจำเลยทั้งแปดอาจยื่นคำให้การต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวได้ตั้งแต่ยื่นคำให้การครั้งแรก และการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การดังกล่าวนั้นแม้เป็นเหตุที่อาจมีผลต่อจำเลยทั้งแปด แต่ไม่ได้มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลจะรับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การที่มิได้ยื่นก่อนวันชี้สองสถานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การต้องมีเหตุสมควร ศาลมีอำนาจพิจารณาอนุญาต/ไม่อนุญาต การอ้างไม่เข้าใจกฎหมายหลังรับสารภาพไม่ถือเป็นเหตุสมควร
ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง บัญญัติว่า "เมื่อมีเหตุอันควร จำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การของเขาก่อนศาลพิพากษา ถ้าศาลเห็นสมควรอนุญาตก็ให้ส่งสำเนาแก่โจทก์" ซึ่งหมายความว่า หากจำเลยประสงค์จะขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การ จำเลยจะต้องยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การเพราะเหตุใด มิใช่เป็นไปตามอำเภอใจของจำเลยทั้งนี้ ศาลมีอำนาจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้ โดยพิจารณาถึงเหตุผลที่จำเลยอ้างอิงในคำร้องว่าเป็นเหตุผลอันสมควรอนุญาตหรือไม่ คดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่าเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นวันนัดสอบคำให้การจำเลย ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความ จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความ ศาลชั้นต้นจึงอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การรับสารภาพ ต่อมาวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังอีกครั้งหนึ่ง จำเลยยังคงยืนยันให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลย โดยจำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน คดีเสร็จการพิจารณาศาลชั้นต้นให้นัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 14 มิถุนายน 2547 แต่เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2547 จำเลยขอยื่นคำให้การฉบับใหม่เป็นให้การปฏิเสธในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจาร โดยอ้างว่าไม่เข้าใจข้อกฎหมาย ทั้ง ๆ ที่ศาลชั้นต้นได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้วถึง 2 ครั้ง จำเลยก็ให้การรับสารภาพ ซึ่งแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อกล่าวหาในความผิดฐานดังกล่าวตามที่โจทก์ฟ้องแล้ว การที่จำเลยขอถอนคำให้การรับสารภาพและขอให้การใหม่เป็นปฏิเสธฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจาร หลังจากที่ให้การรับสารภาพมาแล้วประมาณ 2 เดือนเศษ โดยอ้างเหตุว่าจำเลยไม่เข้าใจข้อกฎหมายนั้น เห็นได้ว่าเป็นการให้การปฏิเสธเพื่อให้มีการสืบพยานต่อไปอีกส่อไปในทางประวิงคดีให้ล่าช้า จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การเพิ่มเติมประเด็นฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การพิจารณาความแตกต่างระหว่างมูลหนี้จากสัญญาจ้างและมูลหนี้ละเมิด
จำเลยที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การเพิ่มเติมประเด็นฟ้องซ้อน เป็นการขอแก้ไขเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 2 จึงอาจขอแก้ไขได้ก่อนศาลแรงงานกลางพิพากษาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
กรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานความผิดยักยอกทรัพย์และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ซึ่งการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ทำให้เกิดความเสียหายนั้นอาจเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องได้สองทาง คือในมูลละเมิดและในมูลแห่งสัญญาจ้างแรงงานที่มีต่อกันอยู่ ในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้ถึงแม้คำขอบังคับจะเป็นอย่างเดียวกันคือ ขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายแต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นมิได้เป็นอย่างเดียวกัน ในคดีอาญานั้นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น มาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดทางอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาจ้างแรงงาน และคำฟ้องของโจทก์กรณีของการผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้นเป็นอำนาจของคู่สัญญาโดยเฉพาะ พนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ในคดีอาญาไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องของสัญญาจ้างแรงงานมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้ จึงมิใช่เป็นกรณีที่เป็นการฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้อนตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
กรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานความผิดยักยอกทรัพย์และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ซึ่งการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ทำให้เกิดความเสียหายนั้นอาจเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องได้สองทาง คือในมูลละเมิดและในมูลแห่งสัญญาจ้างแรงงานที่มีต่อกันอยู่ ในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้ถึงแม้คำขอบังคับจะเป็นอย่างเดียวกันคือ ขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายแต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นมิได้เป็นอย่างเดียวกัน ในคดีอาญานั้นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น มาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดทางอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาจ้างแรงงาน และคำฟ้องของโจทก์กรณีของการผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้นเป็นอำนาจของคู่สัญญาโดยเฉพาะ พนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ในคดีอาญาไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องของสัญญาจ้างแรงงานมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้ จึงมิใช่เป็นกรณีที่เป็นการฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้อนตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การเพิ่มเติมประเด็นฟ้องซ้อน: อำนาจฟ้องและข้อกฎหมายความสงบเรียบร้อย
จำเลยที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การเพิ่มเติมประเด็นฟ้องซ้อนเป็นการขอแก้ไขเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 2 จึงขอแก้ไขได้ก่อนศาลแรงงานกลางพิพากษาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คดีอาญาเรื่องก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ฐานยักยอกทรัพย์และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แต่ก็เป็นกรณีที่เนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ซึ่งการกระทำของจำเลยที่ 1 นั้นอาจเป็นบ่อเกิดแห่งคดีที่จะใช้สิทธิเรียกร้องได้สองทางคือในมูลละเมิดและสัญญาจ้างแรงงาน แม้คำขอบังคับจะเป็นอย่างเดียวกันแต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิได้เป็นอย่างเดียวกัน และคำฟ้องของโจทก์กรณีผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้นเป็นอำนาจของคู่สัญญาโดยเฉพาะ พนักงานอัยการไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้ จึงมิใช่เป็นเรื่องเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คดีอาญาเรื่องก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ฐานยักยอกทรัพย์และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แต่ก็เป็นกรณีที่เนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ซึ่งการกระทำของจำเลยที่ 1 นั้นอาจเป็นบ่อเกิดแห่งคดีที่จะใช้สิทธิเรียกร้องได้สองทางคือในมูลละเมิดและสัญญาจ้างแรงงาน แม้คำขอบังคับจะเป็นอย่างเดียวกันแต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิได้เป็นอย่างเดียวกัน และคำฟ้องของโจทก์กรณีผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้นเป็นอำนาจของคู่สัญญาโดยเฉพาะ พนักงานอัยการไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้ จึงมิใช่เป็นเรื่องเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6145/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยาน: ต้องยื่นก่อนกำหนด และไม่ใช่การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย
ข้อความที่จำเลยขอแก้ไขเป็นการสละข้อต่อสู้เดิมที่ปฏิเสธว่าไม่เคยทำสัญญาค้ำประกัน แล้วยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ยอมรับว่าทำสัญญาค้ำประกันแต่ไม่ต้องรับผิดเนื่องจากคดีขาดอายุความ เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทราบอยู่แล้ว จึงเป็นเรื่องที่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เนื่องจากไม่มีการชี้สองสถานและกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ทั้งข้อความที่ขอแก้ไขว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความนั้นไม่ใช่เป็นปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้อง จึงมิใช่เป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่อำนาจฟ้อง จึงมิใช่เป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การภายหลังที่โจทก์ได้สืบพยานไปบางส่วนแล้วจึงเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5491/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยาน และการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อความที่จำเลยขอแก้ไขคำให้การของจำเลยทั้งสี่ข้อ ได้แก่ 1) ข้อที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจากเดิมเป็นว่า ลายมือชื่อโจทก์ผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม และตราประทับไม่ใช่ตราสำคัญของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ 2) ข้อที่เกี่ยวกับอาคารพิพาทที่อ้างว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนและจำเลยมีสิทธิอยู่ได้ตลอดชีวิตเป็นว่า โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารที่จำเลยเช่า 3) ข้อที่เกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาและการบอกกล่าวของโจทก์ที่อ้างว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นว่า ภายหลังสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยยังคงครอบครองอาคารที่เช่าโดยโจทก์ไม่เคยทักท้วงจึงเป็นการเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลา การเลิกสัญญาเช่าจะต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 566 ก่อนฟ้องโจทก์ไม่เคยบอกเลิกสัญญาและหนังสือบอกกล่าวของโจทก์มิใช่หนังสือบอกเลิกสัญญา โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และ 4) ข้อที่เกี่ยวกับเหตุที่ทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมทั้งหมดเป็นว่า การที่โจทก์บรรยายฟ้องโดยมิได้บรรยายว่าจำเลยเข้ามาอยู่บนที่ดินแปลงใดบ้านพิพาทตั้งอยู่บนถนนตรอกซอยอะไร ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม ล้วนเป็นการยกข้อเท็จจริงและเหตุแห่งการปฏิเสธขึ้นใหม่เปลี่ยนแปลงข้อต่อสู้เดิมที่จำเลยได้ให้การไว้ตั้งแต่แรก รวมทั้งที่ศาลชั้นต้นเคยมีคำสั่งอนุญาตให้แก้ไขตามคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลย ทั้งจำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขได้ก่อนวันสืบพยาน มิใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน กรณีไม่ต้องด้วยเหตุยกเว้นที่จำเลยอาจยื่นคำร้องได้ภายหลังวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การภายหลังวันสืบพยานแล้วจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว นอกจากนี้ การที่จำเลยฎีกาในข้อ 3) และ ข้อ 4) ยังเป็นการยกข้อต่อสู้ตามคำร้องขอแก้ไขคำให้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขขึ้นกล่าวอ้างในฎีกา จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้และจำเลยฎีกาต่อมา ก็ถือว่าเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249