พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1928/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลเจ้าหนี้โดยการจดทะเบียนหย่าและแบ่งทรัพย์สิน เพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้
จำเลยที่ 1 ปลอมใบมอบอำนาจของจำเลยที่ 2 สามี นำโฉนดที่ดินจำเลยที่ 2 ไปทำนิติกรรมขายฝากโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงฟ้องขอเพิกถอนการขายฝาก ศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอน ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาข้อหาปลอมเอกสารและฉ้อโกงเกี่ยวกับการขายฝากนั้นย่อมเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 จะต้องถูกโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าขายฝากที่ดินคืนและจำเลยที่ 2 จะต้องถูกโจทก์ฟ้องขอให้แยกสินสมรสออกเป็นส่วนของจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นอีกดังนี้ การที่จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการหย่าหลังจากศาลฎีกาพิพากษาเพิกถอนการขายฝากเพียง 20 วันเศษ และบันทึกระบุเรื่องทรัพย์สินระหว่างจำเลยทั้งสองว่าให้ตกเป็นของจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวหลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาดังกล่าวเพียง 7 วันจึงเห็นได้ชัดว่าเป็นการกระทำที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้โจทก์ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าเป็นทางทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเหตุนี้จึงเป็นการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1432/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องบังคับตามข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า โดยฟ้องในนามตนเอง ไม่ใช่การฟ้องแทนบุตร
สามีภริยาไม่จดทะเบียนสมรสหย่าและตกลงกันให้แบ่งที่ดินยกให้เป็นของบุตร เมื่อภริยาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงสามีฟ้องขอบังคับให้แบ่งตามข้อตกลงได้ โดยฟ้องในนามตนเองให้ภริยาปฏิบัติตามข้อตกลงซึ่งไม่เป็นการที่บุตรฟ้องบิดามารดา ไม่ต้องห้าม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวมฟ้องแบ่งทรัพย์สิน: ไม่จำต้องฟ้องทายาททุกคน
เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิฟ้องทายาทคนหนึ่งคนใดของเจ้าของรวมคนอื่นให้แบ่งทรัพย์สินได้ ไม่จำต้องฟ้องทายาททุกคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวมฟ้องทายาทแบ่งทรัพย์สิน ไม่ต้องฟ้องทุกคน
เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ มีสิทธิฟ้องทายาทคนหนึ่งคนใดของเจ้าของรวมคนอื่นให้แบ่งทรัพย์สินได้ ไม่จำต้องฟ้องทายาททุกคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษา: ลำดับการแบ่งทรัพย์สินก่อนขายทอดตลาด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้แบ่งบ้านพิพาทออกเป็น 4 ส่วน หากไม่อาจทำได้ก็ให้เอาบ้านพิพาทออกขายทอดตลาด ได้เงินสุทธิเท่าใดให้แบ่งกันตามส่วน การบังคับคดีย่อมอาศัยคำพิพากษาเป็นหลักแห่งคำบังคับ ดังนั้นจึงต้องดำเนินการบังคับคดีก่อนหลังกันไปตามลำดับ เมื่อการแบ่งบ้านพิพาทไม่อาจกระทำได้ก็ต้องขายทอดตลาดบ้านพิพาทตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจะขอวางเงินแล้วขอให้ศาลมีคำสั่งถอนการยึดโดยโจทก์ไม่ยินยอมด้วยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2464/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มรดกตกทอดและการครอบครองร่วมกัน ศาลฎีกาพิพากษาให้แบ่งทรัพย์สินมรดกเป็นส่วน ๆ
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินเป็นของโจทก์โดยได้รับยกให้และครอบครองมาขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองและขับไล่จำเลย ทางพิจารณาฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นทายาทและได้ครอบครองร่วมกันมา ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งที่พิพาทให้โจทก์และจำเลยตามส่วนที่มีสิทธิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามลำดับขั้นตอนที่ศาลพิพากษา การแบ่งทรัพย์สินก่อนชำระค่าเสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ให้กลับมาเป็นของโจทก์และจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละครึ่ง ให้แบ่งที่ดินดังกล่าวให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 คนละเท่า ๆ กัน หากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้ประมูลระหว่างกันเอง หรือขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันคนละครึ่ง หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจัดการให้เป็นไปตามข้อแรกได้ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหาย หรือค่าที่ดินให้โจทก์ 150,000 บาท ดังนี้ การบังคับคดีต้องเป็นไปตามลำดับที่ศาลได้พิพากษาไว้ คือต้องแบ่งที่ดินพิพาทกันระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของรวมเสียก่อน ถ้าการแบ่งตกลงกันไม่ได้ก็เอาที่ดินออกขายแบ่งเงินกันตามส่วน จำเลยที่ 1 จะไม่ยอมแบ่งที่ดินให้โจทก์โดยจะเลือกใช้ค่าเสียหายแทนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการบังคับคดีตามคำพิพากษา: ต้องแบ่งทรัพย์สินก่อนใช้ค่าเสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ให้กลับมาเป็นของโจทก์และจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละครึ่ง ให้แบ่งที่ดินดังกล่าวให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 คนละเท่าๆกัน หากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้ประมูลระหว่างกันเอง หรือขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันคนละครึ่ง หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจัดการให้เป็นไปตามข้อแรกได้ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายหรือค่าที่ดินให้โจทก์150,000บาท ดังนี้ การบังคับคดีต้องเป็นไปตามลำดับที่ศาลได้พิพากษาไว้ คือต้องแบ่งที่ดินพิพาทกันระหว่างโจทก์และจำเลยที่1 ผู้เป็นเจ้าของรวมเสียก่อน ถ้าการแบ่งตกลงกันไม่ได้ก็เอาที่ดินออกขายแบ่งเงินกันตามส่วน จำเลยที่ 1 จะไม่ยอมแบ่งที่ดินให้โจทก์โดยจะเลือกใช้ค่าเสียหายแทนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนาย: การกำหนดจำนวนเงินแน่นอน ไม่ใช่การแบ่งทรัพย์สินจากลูกความ, อายุความ 2 ปีเริ่มนับเมื่อคดีถึงที่สุด
การเรียกค่าจ้างว่าความซึ่งกำหนดจำนวนเงินไว้แน่นอนนั้น หาใช่เป็นการแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความไม่ ไม่เป็นโมฆะ และปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้วินิจฉัยให้ก็ตาม จำเลยชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
สัญญาจ้างว่าความมีว่า จำเลยจะให้ค่าจ้างแก่โจทก์เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธิ์เรียกร้องของโจทก์จึงอาจเริ่มบังคับได้เมื่อคดีถึงที่สุด
อายุความฟ้องเรียกเงินค่าจ้างว่าความมีกำหนด 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(15)
สัญญาจ้างว่าความมีว่า จำเลยจะให้ค่าจ้างแก่โจทก์เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธิ์เรียกร้องของโจทก์จึงอาจเริ่มบังคับได้เมื่อคดีถึงที่สุด
อายุความฟ้องเรียกเงินค่าจ้างว่าความมีกำหนด 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(15)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนาย: การตกลงค่าจ้างที่แน่นอน ไม่ถือเป็นการแบ่งทรัพย์สิน และอายุความ 2 ปีเริ่มนับเมื่อคดีถึงที่สุด
การเรียกค่าจ้างว่าความซึ่งกำหนดจำนวนเงินไว้แน่นอนนั้นหาใช่เป็นการแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความไม่ ไม่เป็นโมฆะ และปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้วินิจฉัยให้ก็ตาม จำเลยชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
สัญญาจ้างว่าความมีว่า จำเลยจะให้ค่าจ้างแก่โจทก์เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงอาจเริ่มบังคับได้เมื่อคดีถึงที่สุด
อายุความฟ้องเรียกเงินค่าจ้างว่าความมีกำหนด 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(15)
สัญญาจ้างว่าความมีว่า จำเลยจะให้ค่าจ้างแก่โจทก์เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงอาจเริ่มบังคับได้เมื่อคดีถึงที่สุด
อายุความฟ้องเรียกเงินค่าจ้างว่าความมีกำหนด 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(15)