คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โจทก์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,033 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจากการหลอกลวงรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ โจทก์หลงเชื่อโอนเงินให้จำเลย
จำเลยได้มาหลอกลวงขอรับชำระหนี้เงินกู้จำนวน 200,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์กู้เงินจาก ค. จากโจทก์ โดยจำเลยอ้างว่ารับแทน ค. และโจทก์หลงเชื่อได้มอบเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยจำนวน 216,000 บาท ให้จำเลยไปการกระทำของจำเลยจึงเป็นการหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จโดยเจตนาทุจริต เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4869/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความบกพร่องของโจทก์ทำให้ไม่ทันระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี ศาลไม่ขยายเวลา
โจทก์มีเวลาบังคับคดีนานถึง 10 ปี และโจทก์เคยขอให้ศาลออกคำบังคับมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ไม่สนใจที่จะนำส่งจนเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีส่งคำบังคับคืนศาลชั้นต้น หลังจากนั้นโจทก์ได้ขอตรวจสำนวนหลายครั้งแต่มิได้ขอให้ดำเนินการบังคับ คงปล่อยให้เวลาล่วงเลยไป 9 ปีเศษ จนเหลือเวลาอีก 3 เดือนจะครบกำหนด 10 ปี จึงมาขอให้ส่งบังคับอีก แม้การส่งคำบังคับครั้งหลังดังกล่าวจะมีเหตุขัดข้องล่าช้าอยู่บ้าง แต่เมื่อคำนึงถึงการที่โจทก์ไม่นำส่งคำบังคับในครั้งแรกตั้งแต่ปี 2529 และปล่อยเวลาล่วงเลยมานาน 9 ปีเศษ จึงมาขอส่งคำบังคับใหม่เมื่อใกล้จะครบกำหนด 10 ปี นับได้ว่าเป็นความบกพร่องของโจทก์มาแต่แรกจึงถือไม่ได้ว่าเหตุตามคำร้องขอขยายระยะเวลาของโจทก์เป็นพฤติการณ์พิเศษที่ทำให้โจทก์ขอให้บังคับคดีไม่ทันภายใน 10 ปี ที่จะขยายระยะเวลาให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4869/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความบกพร่องของโจทก์ในการบังคับคดีทำให้ไม่สามารถขยายระยะเวลาได้ แม้จะมีเหตุล่าช้า
โจทก์มีเวลาบังคับคดีนานถึง 10 ปี และโจทก์เคยขอให้ศาลออกคำบังคับมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ไม่สนใจที่จะนำส่งจนเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีส่งคำบังคับคืนศาลชั้นต้น หลังจากนั้นโจทก์ได้ขอตรวจสำนวนหลายครั้งแต่มิได้ขอให้ดำเนินการบังคับ คงปล่อยให้เวลาล่วงเลยไป9 ปีเศษ จนเหลือเวลาอีก 3 เดือนจะครบกำหนด 10 ปีจึงมาขอให้ส่งบังคับอีก แม้การส่งคำบังคับครั้งหลังดังกล่าวจะมีเหตุขัดข้องล่าช้าอยู่บ้าง แต่เมื่อคำนึงถึงการที่โจทก์ไม่นำส่งคำบังคับในครั้งแรกตั้งแต่ปี 2529และปล่อยเวลาล่วงเลยมานาน 9 ปีเศษ จึงมาขอส่งคำบังคับใหม่เมื่อใกล้จะครบกำหนด 10 ปี นับได้ว่าเป็นความบกพร่องของโจทก์มาแต่แรกจึงถือไม่ได้ว่าเหตุตามคำร้องขอขยายระยะเวลาของโจทก์เป็นพฤติการณ์พิเศษที่ทำให้โจทก์ขอให้บังคับคดีไม่ทันภายใน 10 ปี ที่จะขยายระยะเวลาให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4717/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่เกิดจากการหลอกลวง: จำเลยต้องรับผิดชำระราคาต่อโจทก์ แม้ถูกหลอกโดยตัวการ
ส.หลอกลวงให้โจทก์เข้าใจว่าส. เป็นตัวแทนของฝ่ายจำเลยมาสั่งซื้อเครื่องปรับอากาศ 2 เครื่องจากโจทก์ให้นำไปติดตั้งที่บ้านจำเลย ในขณะเดียวกันส.ก็ทำให้จำเลยเข้าใจว่าส. เป็นเจ้าของเครื่องปรับอากาศดังกล่าวและนำพนักงานมาติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่บ้านจำเลยตามที่ได้เสนอขายให้จำเลยไว้กรณีจึงเป็นเรื่องที่ทั้งโจทก์และจำเลยต่างก็ถูก ส.หลอกลวง การกระทำทั้งหลายของ ส. ที่มีต่อโจทก์ย่อมไม่เกิดเป็นสัญญาผูกพันโจทก์ แม้การกระทำของ ส.ดังกล่าวที่มีต่อโจทก์จะเข้าลักษณะซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่งก็ไม่ทำให้ ส.ได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในเครื่องปรับอากาศของโจทก์ อันเกิดจากการกระทำเพื่อหลอกลวงใช้โจทก์เป็นเครื่องมือดังกล่าว ส. จึงไม่มีสิทธิขายเครื่องปรับอากาศของโจทก์ให้แก่จำเลยในขณะที่เครื่องปรับอากาศทั้งสองเครื่องดังกล่าวยังอยู่ในความครอบครองของพนักงานโจทก์ซึ่งถือได้ว่ายังอยู่ในความครอบครองของโจทก์ จำเลยจะอ้างเอาการซื้อเครื่องปรับอากาศ ดังกล่าวจาก ส. ขึ้นยันต่อโจทก์มิได้ เมื่อโจทก์ขอถอดเอาเครื่องปรับอากาศคืนไปแต่จำเลยกลับปฏิเสธและยึดเอาเครื่องปรับอากาศของโจทก์ไว้เป็นของตน ดังนี้ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระราคาเครื่องปรับอากาศแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการจำหน่ายคดีและการทิ้งฟ้องเนื่องจากโจทก์ละเลยหน้าที่
ป.วิ.พ.มาตรา 198 มีเจตนารมณ์ให้เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีที่โจทก์ไม่ยื่นคำขอภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หรืออีกนัยหนึ่งบทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์ในอันที่ศาลจะพิจารณาว่าโจทก์ยังประสงค์จะดำเนินคดีในกรณีดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งโดยปกติศาลย่อมจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีโดยอาศัยเหตุจากการละเว้นของโจทก์ดังกล่าวเว้นแต่จะมีเหตุสมควรที่ศาลจะไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น และกรณีเป็นการส่งหมายข้ามเขตซึ่งศาลเป็นผู้ส่งเอง เมื่อศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้โจทก์ทราบ โจทก์ย่อมไม่ทราบระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง นอกจากนี้เมื่อโจทก์มาขอดูสำนวนจึงทราบว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ต่อไปพฤติการณ์ของโจทก์ในคดีนี้จึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1
ส่วนจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งที่โจทก์ยื่นฟ้องว่า "รับคำฟ้องหมายส่งสำเนาให้จำเลย ให้โจทก์จัดการนำส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ส่งไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง" เมื่อเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วปรากฏว่าส่งไม่ได้เพราะหาบ้านไม่พบ และตามแบบพิมพ์ท้ายคำขอท้ายฟ้องซึ่งทนายโจทก์ผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อโจทก์มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าได้ยื่นสำเนาคำฟ้องโดยข้อความถูกต้องเป็นอย่างเดียวกันมาด้วยสองฉบับ และรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นให้แถลงภายใน7 วัน นับแต่วันส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ไม่ได้
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น แต่โจทก์กระทำเพียงเสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายให้จำเลยที่ 2 เท่านั้น มิได้นำส่งเอง โจทก์จึงมีหน้าที่ติดตามขวนขวายให้ได้ทราบผลการส่งหมายเอง ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องแจ้งผลการส่งหมายให้โจทก์ทราบอีก เมื่อโจทก์เพิกเฉยมิได้แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ละเลย ไม่ดำเนินคดีภายในกำหนด & การใช้ดุลพินิจของศาล
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 มีเจตนารมณ์ให้เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีที่โจทก์ไม่ยื่นคำขอภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรืออีกนัยหนึ่งบทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์ในอันที่ศาลจะพิจารณาว่าโจทก์ยังประสงค์จะดำเนินคดีในกรณีดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งโดยปกติศาลย่อมจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีโดยอาศัยเหตุจากการละเว้นของโจทก์ดังกล่าวเว้นแต่จะมีเหตุสมควรที่ศาลจะไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นและกรณีเป็นการส่งหมายข้ามเขตซึ่งศาลเป็นผู้ส่งเองเมื่อศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้โจทก์ทราบโจทก์ย่อมไม่ทราบระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยที่ 1ยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง นอกจากนี้เมื่อโจทก์มาขอดูสำนวนจึงทราบว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การซึ่งถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ต่อปีพฤติการณ์ของโจทก์ในคดีนี้จึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งที่โจทก์ยื่นฟ้องว่า"รับคำฟ้องหมายส่งสำเนาให้จำเลย ให้โจทก์จัดการนำส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ส่งไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง"เมื่อเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว ปรากฏว่าส่งไม่ได้เพราะหาบ้านไม่พบ และตามแบบพิมพ์ท้ายคำขอท้ายฟ้องซึ่งทนายโจทก์ผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อโจทก์มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าได้ยื่นสำเนาคำฟ้องโดยข้อความถูกต้องเป็นอย่างเดียวกันมาด้วยสองฉบับ และรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นให้แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นแต่โจทก์กระทำเพียงเสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายให้จำเลยที่ 2 เท่านั้น มิได้นำส่งเอง โจทก์จึงมีหน้าที่ติดตามขวนขวายให้ได้ทราบผลการส่งหมายเอง ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้อง แจ้งผลการส่งหมายให้โจทก์ทราบอีก เมื่อโจทก์เพิกเฉย มิได้แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปภายในเวลาที่ ศาลชั้นต้นกำหนด จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องเนื่องจากโจทก์ไม่มาศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ไม่มาศาลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 วรรคหนึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4509/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดำเนินคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องขอเข้าดำเนินคดีใหม่ หากโจทก์ยังคงดำเนินคดีเอง
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเข้าว่าคดีนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 22 และ 25 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังคงเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาและเข้าว่าคดีนี้ตลอดมา โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิ่งยื่นคำร้องขอเข้าว่าคดีแทนโจทก์ในชั้นฎีกา และตามพฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่าโจทก์ทราบถึงข้อที่โจทก์ไม่มีอำนาจดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดเป็นต้นไป รวมตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 22 และ 25 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี กับให้ยกคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังประสงค์จะเข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอต่อศาลชั้นต้นเสียใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4417/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายและการแจ้งคำสั่งศาล: โจทก์ยังไม่ทิ้งอุทธรณ์ แม้ไม่ได้รับแจ้งโดยตรงจากความล่าช้าของเจ้าหน้าที่
พนักงานเดินหมายได้นำหมายและสำเนาอุทธรณ์คำสั่งไปส่งแก่จำเลย และพบภูมิลำเนาที่อยู่ของจำเลย ทั้งปรากฏตามหมายนัดของศาลชั้นต้นประทับตรายางไว้ชัดเจนว่า ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมาย ตามคำสั่งศาลชั้นต้นแต่พนักงานเดินหมายไม่ทำการปิดหมาย การที่เจ้าหน้าที่งานอุทธรณ์ฎีกาประทับตรายางในอุทธรณ์คำสั่งในวันที่ ท.ผู้รับมอบฉันทะโจทก์นำอุทธรณ์มายื่น โดย ท.ลงชื่อรับทราบไว้ว่าให้ ท.มาทราบคำสั่งในวันที่ 14 มีนาคม 2540 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว คงมีผลว่าโจทก์ได้รับทราบคำสั่งที่ศาลชั้นต้นสั่งไว้ว่าการส่งหมายหากไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมาย หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วันเท่านั้น แต่คดีนี้ทนายโจทก์ได้ติดตามผลการส่งหมายอยู่ตลอดเวลา ทั้งโจทก์ได้ชำระค่าส่งรายงานการส่งหมายมาให้ทนายโจทก์ทราบทางไปรษณีย์แก่พนักงานเดินหมายเมื่อปรากฏด้วยว่าระยะเวลาตั้งแต่ส่งถึงวันที่พนักงานเดินหมายรายงานถึงศาลชั้นต้นเป็นเวลานานถึง 3 เดือนเศษ ย่อมเป็นการยากที่โจทก์จะติดตามรับทราบผลการส่งหมายได้ ทั้งพนักงานเดินหมายมิได้ปฏิบัติในการส่งหมายด้วยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลชั้นต้นตามที่ถือว่าโจทก์รับทราบ กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์คำสั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4417/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายแจ้งคำสั่งศาล: การปฏิบัติตามหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ & ผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์
พนักงานเดินหมายได้นำหมายและสำเนาอุทธรณ์คำสั่งไปส่งแก่จำเลย และพบภูมิลำเนาที่อยู่ของจำเลย ทั้งปรากฏตาม หมายนัดของศาลชั้นต้นประทับตรายางไว้ชัดเจนว่า ไม่มีผู้รับ โดยชอบให้ปิดหมาย ตามคำสั่ง ศาลชั้นต้นแต่พนักงานเดินหมาย ไม่ทำการปิดหมาย การที่เจ้าหน้าที่งานอุทธรณ์ฎีกาประทับตรายาง ในอุทธรณ์คำสั่งในวันที่ ท.ผู้รับมอบฉันทะโจทก์นำอุทธรณ์มายื่น โดยท. ลงชื่อรับทราบไว้ว่าให้ท. มาทราบคำสั่งในวันที่14 มีนาคม 2540 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว คงมีผลว่าโจทก์ได้รับทราบคำสั่งที่ศาลชั้นต้นสั่งไว้ว่าการส่งหมายหาก ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมาย หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน เท่านั้น แต่คดีนี้ทนายโจทก์ได้ติดตามผลการส่งหมายอยู่ตลอดเวลา ทั้งโจทก์ได้ชำระค่าส่งรายงานการส่งหมายมาให้ทนายโจทก์ ทราบทางไปรษณีย์แก่พนักงานเดินหมายเมื่อปรากฏด้วยว่า ระยะเวลาตั้งแต่ส่งถึงวันที่พนักงานเดินหมายรายงานถึงศาลชั้นต้น เป็นเวลานานถึง 3 เดือนเศษ ย่อมเป็นการยากที่โจทก์จะติดตามรับทราบผลการส่งหมายได้ ทั้งพนักงานเดินหมายมิได้ปฏิบัติในการส่งหมายด้วยวิธีปิดหมายตามคำสั่ง ศาลชั้นต้นตามที่ถือว่า โจทก์รับทราบ กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์คำสั่ง
of 104