คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โจทก์ร่วม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 236 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2708/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เช่าซื้อ, การรับประกันภัย, และการเรียกโจทก์ร่วม - กรณีรถยนต์ถูกลัก
โจทก์ได้เช่าซื้อรถยนต์ที่ถูกลักไปจากโจทก์ร่วม และได้เป็นผู้ร่วมเอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้แก่จำเลยโจทก์จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมตามสัญญาเช่าซื้อ เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ร่วมและโจทก์ร่วมก็ไม่ฟ้องจำเลยให้รับผิด โจทก์ย่อมเสียหาย ถือได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยและมีสิทธิเรียกผู้ให้เช่าซื้อเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วยเนื่องจากเป็นผู้รับประโยชน์และมีส่วนได้เสียโดยตรงอันเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นจำเป็นที่จะเรียกเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ในรายการ 7 ของตารางกรมธรรม์ประกันภัยมีว่า 'ยกเว้นการใช้เพิ่มเติม ห้ามรับจ้างหรือให้เช่า' แต่ขณะที่คนร้ายลักเอารถยนต์ไป รถยนต์จอดอยู่ ณ ที่เก็บมิได้ถูกลักไปในขณะที่ใช้งานรับจ้างอันเป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยแต่อย่างใด การที่โจทก์ใช้รถยนต์รับจ้างมิได้เป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้รถยนต์ถูกคนร้ายลักไป จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญา
ก่อนวันสืบพยานศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีตามคำขอของโจทก์โดยมิได้ส่งสำเนาคำขอของโจทก์ให้แก่จำเลย แต่เมื่อจำเลยทราบความข้อนี้แล้วก็มิได้คัดค้านหรือขอแก้ไขคำให้การเพราะการที่โจทก์ร่วมถูกเรียกเข้ามาในคดีแต่อย่างใดปัญหาว่าการเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยชอบแล้ว
โจทก์ร่วมถูกเรียกเข้ามาในคดีตามคำขอของโจทก์ มิได้ขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วยความสมัครใจเอง โจทก์ร่วมย่อมไม่อาจมีคำขอใดๆ ได้ เมื่อจำเลยต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามคำฟ้อง และได้ความว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมได้โดยอาศัยคำขอและพยานหลักฐานของโจทก์นั้นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาคดีก่อนผูกพันคู่ความและโจทก์ร่วมในคดีใหม่ ห้ามโต้แย้งสิทธิที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
คดีก่อนศาลแพ่งได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินรายพิพาทมาจากนายพงษ์และนางถวิล สังข์เลี้ยง โดยสุจริต และจดทะเบียนสิทธิแล้ว และต่อมายกให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินรายพิพาทโดยชอบ โจทก์ไม่อาจยกการได้กรรมสิทธิ์โดยทางครอบครองซึ่งมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขึ้นต่อสู้ โจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านประการใด คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ ซึ่งเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณามิให้โต้เถียงเป็นอย่างอื่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ส่วนโจทก์ร่วมนั้นในระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 2 พิพาทกันในคดีก่อน โจทก์ร่วมยังเป็นภริยาของโจทก์อยู่ ถึงแม้โจทก์ร่วมจะได้ร่วมกับโจทก์ครอบครองที่ดินรายพิพาทมา ที่ดินรายพิพาทก็เป็นสินสมรสซึ่งโจทก์ในฐานะสามีมีอำนาจจัดการ การที่โจทก์เข้าต่อสู้คดีเกี่ยวกับที่ดินรายพิพาทย่อมเป็นการกระทำแทนโจทก์ร่วมด้วย คำพิพากษาในคดีก่อนจึงผูกพันโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 ดุจเดียวกัน ดังนั้นโจทก์และโจทก์ร่วมจะฟ้องคดีใหม่ว่า จำเลยที่ 1 มิได้ซื้อที่ดินและจำเลยที่ 2 ไม่ได้กรรมสิทธิ์อันเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาในคดีก่อนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการแก้ฟ้องของโจทก์ร่วมที่ดำเนินคดีโดยอาศัยฟ้องของพนักงานอัยการ และขอบเขตการลงโทษ
โจทก์ร่วมเข้ามาดำเนินคดีแก่จำเลยโดยอาศัยสิทธิตามฟ้องของพนักงานอัยการ จึงไม่มีอำนาจขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องให้นอกเหนือไปจากฟ้องของพนักงานอัยการ หากศาลชั้นต้นสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องส่วนที่โจทก์ร่วมขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องไว้ก็มีอำนาจสั่งงดเสียได้
เมื่อศาลมิได้อนุญาตให้แก้และเพิ่มเติมฟ้องตามคำร้องของโจทก์ร่วม จึงลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องนั้นไม่ได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลย 1 เดือนปรับ 500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการแก้ฟ้องของโจทก์ร่วมที่ดำเนินคดีโดยอาศัยฟ้องของอัยการ และผลต่อการพิจารณาคดี
โจทก์ร่วมเข้ามาดำเนินคดีแก่จำเลยโดยอาศัยสิทธิตามฟ้องของพนักงานอัยการ จึงไม่มีอำนาจขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องให้นอกเหนือไปจากฟ้องของพนักงานอัยการ หากศาลชั้นต้นสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องส่วนที่โจทก์ร่วมขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องไว้ก็มีอำนาจสั่งงดเสียได้
เมื่อศาลมิได้อนุญาตให้แก้และเพิ่มเติมฟ้องตามคำร้องของโจทก์ร่วม จึงลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องนั้นไม่ได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลย 1 เดือนปรับ 500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โจทก์ร่วม: การฟ้องละเมิดร่วมกัน แม้ค่าเสียหายต่างกัน ก็รวมฟ้องได้ตามมาตรา 59 ว.พ.พ.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 บัญญัติว่า"บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปอาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ......ฯลฯ" ซึ่งหมายความว่าต้องมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีนั้นโดยถือหนี้อันเป็นมูลของคดีนั้นเป็นสารสำคัญ ฉะนั้นในกรณีทำละเมิดต่อโจทก์หลายคนร่วมกันแม้ค่าเสียหายของโจทก์แต่ละคนจะแยกต่างหากจากกันได้ ก็อาจเป็นโจทก์ร่วมกันในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2142/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่อุทธรณ์เรื่องความเคลือบคลุมของฟ้อง และการอนุญาตให้เจ้าของที่ดินเข้าเป็นโจทก์ร่วม
การที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะชื่อโจทก์ในฟ้องไม่ถูกต้องและไม่ตรงกับความจริงมีถึง 2 คน จะให้จำเลยเข้าใจได้ถูกต้องว่าอะไรแน่นั้นฎีกาของจำเลยดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยอ้างเหตุแห่งความเคลือบคลุมของฟ้องโจทก์ขึ้นมาใหม่นอกเหนือจากที่ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นฎีกานอกประเด็นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินจากโจทก์ร่วม แต่เข้าครอบครองที่ดินที่เช่าไม่ได้เพราะจำเลยไม่ยอมออกไป ถ้าโจทก์แพ้คดีโจทก์ไม่สามารถเรียกค่าทดแทนที่ไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินตามสัญญาจากโจทก์ร่วมได้และอาจถูกโจทก์ร่วมเรียกค่าเสียหายได้ด้วยดังนี้ จึงเป็นเหตุจำเป็นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ก) ที่จะอนุญาตให้หมายเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีได้ โจทก์และโจทก์ร่วมย่อมมีอำนาจฟ้องให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฎีกาคำสั่งศาล: โจทก์ร่วมแต่ละคนมีสิทธิฎีกาเฉพาะส่วน หากประโยชน์จากภารจำยอมแตกต่างกัน
แม้โจทก์ที่ 5 และโจทก์ที่ 1 จะเป็นโจทก์ร่วมในคดีเดียวกัน แต่มูลความแห่งคดีมิใช่เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เพราะโจทก์แต่ละคนอาจได้รับประโยชน์แตกต่างกัน การที่โจทก์ที่ 5 ยื่นคำร้องต่อศาลจึงถือมิได้ว่าโจทก์ที่ 5 กระทำแทนโจทก์ที่ 1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 เมื่อโจทก์ที่ 1 มิใช่เป็นผู้ยื่นคำร้อง โจทก์ที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจฎีกาคำสั่งคำร้องนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2975/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อโกงโดยอ้างประกันตัว: โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายโดยชอบ
โจทก์ร่วมถูกควบคุมตัวอยู่ในข้อหาปลอมเอกสาร จำเลยหลอกโจทก์ร่วมว่าได้ติดต่อเจ้าหน้าที่ศาล และขอเช่าโฉนดที่ดินของผู้มีชื่อไว้แล้ว เพื่อขอประกันตัวโจทก์ร่วมต่อศาล ขอเรียกเงินค่าเช่าโฉนด และค่าปรับโฉนดจากโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้จ่ายเงินให้จำเลยตามที่เรียกร้องเพราะหลงเชื่อตามที่จำเลยหลอกลวง มิได้มอบเงินให้จำเลยไปเพื่อให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน ดังนี้ ถือว่า โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายโดยตรงในความผิดฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องเพื่อขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ สิทธิในการฟ้องไม่ระงับ
ผู้เสียหายยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานบุกรุกและกระทำอนาจารเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2522 และรุ่งขึ้นวันที่ 12 มกราคม 2522 พนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันนั้นเข้ามาใหม่ ต่อมาวันที่ 15 มกราคม 2522 ผู้เสียหายถอนฟ้องคดีที่ผู้เสียหายได้ฟ้องไว้ และในวันนั้นเองผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยนั้น ดังนี้ เห็นได้ว่าการถอนฟ้องดังกล่าวก็เพื่อจะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยนั้นเอง มิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาด ตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของผู้เสียหายจึงไม่ระงับไปดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) ผู้เสียหายจึงมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ โดยหาจำต้องกล่าวหรือมีข้อแม้ไว้ในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนไปเพื่อขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องค่าอุปการะและค่าปลงศพกรณีบุตรนอกสมรส & การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของมารดาผู้ตาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 บุตรชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่มีหน้าที่จำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาผู้ตายไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นนั้น เฉพาะแต่บุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 เท่านั้นที่มีหน้าที่จัดการศพ โจทก์ไม่ใช่ทายาทของผู้ตาย เพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเช่นเดียวกัน (อ้างฎีกาที่477/2514)
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่มารดาผู้ตายร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ถึงแม้จะบรรยายมาในคำร้องว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีความประสงค์ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยถือเอาคำฟ้องและหลักฐานต่าง ๆ ของโจทก์เป็นของผู้ร้องก็ตาม เมื่อฟังว่าผู้ร้องเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ซึ่งย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดทำให้บุตรของตนตายได้โดยตรงอยู่แล้ว ดังนี้ คำร้องของผู้ร้องจึงแปลได้ว่าเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) นั่นเองโดยอาศัยคำฟ้องของโจทก์เป็นของผู้ร้องหาใช่เป็นการร้องสอดเข้ามาตามมาตรา 57(2) ไม่ ดังนั้น แม้ฟ้องเดิมโจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้อง ผู้ร้องก็เข้ามาในคดีได้ (ข้อนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2521)
จำเลยถือสิทธิครอบครองใช้แพที่เกิดเหตุซึ่งเดิมใช้สำหรับผู้โดยสารเรือเล็กที่รับส่งข้ามฟาก หรือไปมาในระยะใกล้เป็นครั้งคราวมาใช้สำหรับรับส่งคนโดยสาร-เรือด่วนของจำเลยเป็นประจำ วันเกิดเหตุผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น แพโป๊ะทานน้ำหนักไม่ได้เกิดแตกล่มจำเลยมีส่วนจะต้องรับผิดในความประมาทเลินเล่อที่มิได้ระมัดระวังป้องกัน ตรวจสภาพปรับปรุงซ่อมแซมท่าเทียบเรือให้แข็งแรงคงทนเหมาะสมกับกิจการของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดได้
การที่บุตรตายลง ย่อมทำให้ผู้เป็นมารดาต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตายตามกฎหมาย ทั้งนี้โดยไม่ต้องพิจารณาถึงว่าผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูมารดาหรือไม่
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอื่น จะต้องพิจารณาตามสมควรตามความจำเป็นและตามฐานะของผู้ตาย และบิดามารดา ทั้งต้องพิจารณาถึงประเพณีการทำศพตามลัทธินิยมประกอบด้วยและต้องไม่ใช่รายการที่ฟุ่มเฟือยเกินไป
of 24