พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดีและการส่งมอบโฉนดที่ดิน แม้มีคดีอื่นเกี่ยวข้อง ศาลมีอำนาจสั่งให้ส่งมอบโฉนดเพื่อบังคับคดีได้
โจทก์มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้เก็บโฉนดที่ดินพิพาทไว้ส่งมอบโฉนดที่ดินนั้นต่อศาลเพื่อดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ คำสั่งของศาลเช่นว่านี้ย่อมไม่ทำให้ผู้เก็บโฉนดที่ดินพิพาทสูญเสียสิทธิในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท และโฉนดที่ดินพิพาทที่ส่งมอบต่อศาลก็เพื่อไปดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่เอาไปเสียจากการยึดถือครอบครองของผู้เก็บโฉนดที่ดิน การที่ผู้เก็บโฉนดที่ดินพิพาทฟ้องจำเลยให้โอนที่ดินพิพาทแก่ตนก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ และฟ้องโจทก์จำเลยคดีนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งนั้น มิใช่เหตุที่ศาลจะงดการบังคับคดีนี้ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องหากไม่เสียหายโดยตรง
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์โดยนำโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่ 2 มาให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกัน ต่อมาจำเลยที่ 1 ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า โฉนดที่ดินดังกล่าวถูกไฟไหม้หายไป แล้วจำเลยที่ 1 ได้คัดรายงานประจำวันไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอออกใบแทนโฉนด และจำเลยทั้งสี่ให้ถ้อยคำยืนยันต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า โฉนดที่ดินถูกไฟไหม้สูญหายไปซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงโฉนดดังกล่าวอยู่ที่โจทก์ ดังนี้ การแจ้งความเท็จดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสี่กระทำต่อเจ้าพนักงาน และตามคำแจ้งความก็มิได้แจ้งเจาะจงกล่าวถึงโจทก์อันจะถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรง อีกทั้งโจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะบังคับเอากับโฉนดที่ดินดังกล่าวได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6371/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โฉนดที่ดินออกทับธรณีสงฆ์เป็นโมฆะ แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ต่อมา ผู้รับโอนก็ไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ ศาลมีอำนาจเพิกถอนได้
โฉนดที่ดินออกทับที่ธรณีสงฆ์ของวัดโจทก์เป็นการออกโฉนดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะมีการโอนทางทะเบียน ต่อมาจนถึงจำเลยผู้มีชื่อรายสุดท้ายจำเลยผู้รับโอนก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ตนรับโอนไม่ และเมื่อโฉนดที่ดินออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้วโจทก์จะขอให้ลงชื่อโจทก์แทนชื่อจำเลยในโฉนดดังกล่าวหาได้ไม่ และแม้โจทก์จะมิได้ขอให้เพิกถอนโฉนดดังกล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดดังกล่าวที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6371/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โฉนดที่ดินออกทับที่ธรณีสงฆ์เป็นโมฆะ แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ต่อมา ก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์สมบูรณ์ ศาลมีอำนาจเพิกถอนได้
โฉนดที่ดินออกทับที่ธรณีสงฆ์ของวัดโจทก์เป็นการออกโฉนดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะมีการโอนทางทะเบียนต่อมาจนถึงจำเลยผู้มีชื่อรายสุดท้าย จำเลยผู้รับโอนก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ตนรับโอนไม่ และเมื่อโฉนดที่ดินออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จะขอให้ลงชื่อโจทก์แทนชื่อจำเลยในโฉนดดังกล่าวหาได้ไม่และแม้โจทก์จะมิได้ขอให้เพิกถอนโฉนดดังกล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดดังกล่าวที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนโฉนดที่ดินเนื่องจากจดทะเบียนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และความรับผิดของผู้เกี่ยวข้อง
ผู้รับมอบอำนาจตายก่อนจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ หนังสือมอบอำนาจย่อมระงับสิ้นไปหรือหมดสภาพไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 826 จำเลยร่วมซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินทราบแล้วว่าผู้มอบอำนาจตายแต่ยังดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินจนเสร็จสิ้น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยร่วมเป็นการปฏิบัติราชการในหน้าที่ฝ่าฝืนกฎหมายเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อจำเลยร่วมเป็นข้าราชการในสังกัดของกรมที่ดินจำเลยที่ 1 ทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ย่อมต้องร่วมรับผิดด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
กรมที่ดินย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนและแก้ไขรายการจดทะเบียนที่ดินและโฉนดที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และแบ่งแยกโฉนดโดยมิชอบ โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจที่ระงับสิ้นไปแล้วเพราะผู้มอบอำนาจตายได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61
แม้จำเลยที่ 3 จะซื้อที่พิพาทมาโดยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันทางทะเบียนและเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตก็ตาม แต่โจทก์ก็รับซื้อทรัพย์สินดังกล่าวไว้จากจำเลยที่ 3 โดยสุจริตเช่นกัน เมื่อกรมที่ดินสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนที่พิพาทและโฉนดที่พิพาท เป็นเหตุให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นกลับคืนไปยังเจ้าของที่แท้จริงกรณีเช่นนี้ถือว่า โจทก์ถูกรอนสิทธิ์ จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 479.
กรมที่ดินย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนและแก้ไขรายการจดทะเบียนที่ดินและโฉนดที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และแบ่งแยกโฉนดโดยมิชอบ โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจที่ระงับสิ้นไปแล้วเพราะผู้มอบอำนาจตายได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61
แม้จำเลยที่ 3 จะซื้อที่พิพาทมาโดยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันทางทะเบียนและเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตก็ตาม แต่โจทก์ก็รับซื้อทรัพย์สินดังกล่าวไว้จากจำเลยที่ 3 โดยสุจริตเช่นกัน เมื่อกรมที่ดินสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนที่พิพาทและโฉนดที่พิพาท เป็นเหตุให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นกลับคืนไปยังเจ้าของที่แท้จริงกรณีเช่นนี้ถือว่า โจทก์ถูกรอนสิทธิ์ จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 479.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3511/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในโฉนดที่ดิน: ผู้ครอบครองชอบโดยกฎหมายย่อมมีอำนาจครอบครอง ผู้มีสิทธิรับมรดกยังไม่มีชื่อในโฉนดจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดกในที่ดินบางส่วน และต้องการรับมรดก แต่จำเลยไม่ยอมให้โฉนด ขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดแก่โจทก์ดังนี้ เมื่อโฉนดระบุชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยจึงมีอำนาจครอบครองโฉนดไว้โดยชอบ โจทก์ไม่มีสิทธิยึดถือหรือเกี่ยวข้อง หรือติดตามเอาคืน หากจำเลยจะได้โต้แย้งสิทธิก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์อันเป็นที่ดิน ซึ่งโจทก์จะต้องพิสูจน์สิทธิตามขั้นตอน กรณีเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน ถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่ต้องรับผิดละเมิดจากการคืนโฉนดที่ดินตามสัญญาจำนอง แม้โจทก์จะร้องขอให้รอไว้ก่อน
ร.เป็นหนี้เงินกู้เบิกเกินบัญชีธนาคารจำเลยที่1ร.ตกลงกับโจทก์ว่าหากโจทก์ชำระหนี้ของ ร.ให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนร.จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 30052 พร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำนองไว้กับจำเลยที่ 1 ให้โจทก์ทันทีต่อมาโจทก์ชำระหนี้แทน ร.ครบถ้วนแล้ว โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1ว่า ขออย่าได้มอบโฉนดที่ดินให้ ร.ไปจนกว่าจะได้รับความยินยอมจากโจทก์ ดังนี้เป็นหน้าที่ของ ร. ที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงนั้น แม้ข้อตกลงนี้จะทำขึ้นที่ธนาคารจำเลยที่ 1โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการสาขาและเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นพยาน แต่ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ร. หาผูกพันจำเลยทั้งสามให้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามไม่ ส่วนที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 ก็เป็นการชำระในนาม ร. ซึ่งก็เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ร. การที่จำเลยที่ 2ที่ 3 ในฐานะลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มอบโฉนดที่ดินคืนให้แก่ร. เพื่อไปไถ่ถอนจำนอง จึงเป็นการปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาจำนองโดยชอบแม้การคืนโฉนดที่ดินจะมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายและให้โจทก์เสียหาย จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดฐานกระทำละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4106/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ไม่ถูกต้องตามคำพิพากษาเดิม ผู้ได้รับหนังสือหรือคู่กรณีมีอำนาจฟ้องร้องต่อศาลได้
ประเด็นในคดีซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้วและในชั้นศาลอุทธรณ์จำเลยก็ได้หยิบยกขึ้นโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์อันเป็นประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อนี้ไว้ ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนก็ชอบจะทำได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวน
ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 วรรคท้ายในกรณีที่มีการออกโฉนดที่ดินโดยไม่ถูกต้อง ผู้ได้รับหนังสือหรือคู่กรณีมีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องยังศาลให้เพิกถอนได้ ไม่จำเป็นจะต้องให้อธิบดีกรมที่ดินเป็นผู้เพิกถอนทุกกรณี และเมื่อศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือแก้ไขอย่างไรแล้วจึงให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นตามวิธีการที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด
ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 วรรคท้ายในกรณีที่มีการออกโฉนดที่ดินโดยไม่ถูกต้อง ผู้ได้รับหนังสือหรือคู่กรณีมีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องยังศาลให้เพิกถอนได้ ไม่จำเป็นจะต้องให้อธิบดีกรมที่ดินเป็นผู้เพิกถอนทุกกรณี และเมื่อศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือแก้ไขอย่างไรแล้วจึงให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นตามวิธีการที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4106/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ไม่ถูกต้องตามคำพิพากษา ผู้รับหนังสือ/คู่กรณีมีอำนาจฟ้องร้องได้โดยตรง
ประเด็นในคดีซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้วและในชั้นศาลอุทธรณ์จำเลยก็ได้หยิบยกขึ้นโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์อันเป็นประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อนี้ไว้ ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนก็ชอบจะทำได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวน
ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 วรรคท้ายในกรณีที่มีการออกโฉนดที่ดินโดยไม่ถูกต้อง ผู้ได้รับหนังสือหรือคู่กรณีมีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องยังศาลให้เพิกถอนได้ ไม่จำเป็นจะต้องให้อธิบดีกรมที่ดินเป็นผู้เพิกถอนทุกกรณี และเมื่อศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือแก้ไขอย่างไรแล้วจึงให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นตามวิธีการที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด
ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 วรรคท้ายในกรณีที่มีการออกโฉนดที่ดินโดยไม่ถูกต้อง ผู้ได้รับหนังสือหรือคู่กรณีมีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องยังศาลให้เพิกถอนได้ ไม่จำเป็นจะต้องให้อธิบดีกรมที่ดินเป็นผู้เพิกถอนทุกกรณี และเมื่อศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือแก้ไขอย่างไรแล้วจึงให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นตามวิธีการที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4106/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ถูกต้องตามคำพิพากษาเดิม ผู้มีสิทธิฟ้องร้องต่อศาลได้โดยตรง
ประเด็นในคดีซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้วและในชั้นศาลอุทธรณ์จำเลยก็ได้หยิบยกขึ้นโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์อันเป็นประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อนี้ไว้ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนก็ชอบจะทำได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวน ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา61วรรคท้ายในกรณีที่มีการออกโฉนดที่ดินโดยไม่ถูกต้องผู้ได้รับหนังสือหรือคู่กรณีมีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องยังศาลให้เพิกถอนได้ไม่จำเป็นจะต้องให้อธิบดีกรมที่ดินเป็นผู้เพิกถอนทุกกรณีและเมื่อศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือแก้ไขอย่างไรแล้วจึงให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา71แห่งประมวลกฎหมายที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นตามวิธีการที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด.