พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,314 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทจากแชร์ที่ผิดกฎหมาย: แม้เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ แต่สัญญานิติกรรมเป็นโมฆะ ทำให้ไม่มีมูลหนี้
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้เป็นนายวงจัดให้มีการเล่นแชร์ โจทก์เป็นกรรมการบริษัท ก. โจทก์ในนามบริษัทดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 ร่วมเข้าเล่นแชร์ดังกล่าวรวม 2 วง ต่อมาโจทก์ประมูลแชร์ทั้งสองวงได้ และได้รับเช็คพิพาทรวม 2 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ค่าแชร์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่าย มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลัง ต่อมา เช็คพิพาททั้งสองฉบับถึงกำหนดชำระเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายแม้เช็คพิพาททั้งสองฉบับจะระบุจ่าย "บริษัท ก." แต่ก็มิได้ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก เช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงเป็นเช็คผู้ถือ เมื่อโจทก์เป็นผู้ครอบครอง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 และมีอำนาจฟ้อง แต่แชร์ทั้งสองวงดังกล่าว มีนิติบุคคลเป็นนายวงแชร์ ซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 5 นิติกรรมการเล่นแชร์ทั้งสองวง จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงไม่มีมูลหนี้ที่จะบังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์ไม่มีสิทธิ เรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารกู้ยืมปลอม การกรอกข้อมูลเกินจริง ทำให้สัญญากู้ยืมและค้ำประกันเป็นโมฆะ
การที่โจทก์กรอกข้อความลงในสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันที่จำเลยลงลายมือชื่อ แต่ยังไม่ได้กรอกข้อความอื่นใดว่าได้มีการกู้ยืมเงินและค้ำประกันในจำนวนเงินถึง 100,000 บาท เกินกว่าจำนวนหนี้ที่เป็นจริงโดยจำเลยทั้งสองมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันจึงไม่สมบูรณ์ ทำให้เอกสารนั้นเป็นเอกสารปลอม โจทก์จึงอ้างเอกสารนั้นมาเป็นพยานหลักฐานในคดีอย่างใดไม่ได้ ฉะนั้น การกู้เงินและการค้ำประกันที่ฟ้องจึงถือว่าไม่มีพยานหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 และมาตรา 680
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2711/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาซื้อขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงสัญญาขายฝาก โมฆะ และต้องคืนเงินตามจำนวนที่รับจริง
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โจทก์กู้เงินจากมารดาจำเลยหลายครั้ง โจทก์มอบโฉนดที่ดินให้มารดาจำเลยไว้เป็นประกัน ต่อมามารดาจำเลยแจ้งว่าโจทก์ค้างชำระต้นเงินและดอกเบี้ย โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทและในวันเดียวกันนั้น โจทก์กับจำเลยก็ได้ทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทที่บ้านของมารดาจำเลยในราคา 180,410 บาท เจตนาของโจทก์จำเลยที่แท้จริง คือต้องการขายฝากที่ดินพิพาท โจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญาขายที่ดินพิพาท สัญญาขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ส่วนสัญญาขายฝากที่ถูกอำพรางไว้ก็ตกเป็นโมฆะเช่นเดียวกัน เนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 155 วรรคสองและมาตรา 152 เมื่อสัญญาทั้งสองฉบับต่างตกเป็นโมฆะคู่สัญญาคือโจทก์จำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม กรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ คือ โจทก์ต้องคืนเงินให้จำเลย และจำเลยต้องคืนที่ดินพิพาทให้โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ได้ปฏิเสธในยอดหนี้ที่มารดาจำเลยกล่าวอ้าง อีกทั้งยอมไถ่ถอนที่ดินพิพาทในราคา 180,410 บาท ตามคำขอท้ายฟ้อง ต้องถือว่ามีการรับเงินหรือหักกลบลบหนี้กันตามจำนวนดังกล่าว เมื่อสัญญาตกเป็นโมฆะโจทก์จึงต้องคืนเงินจำนวน 180,410 บาท แก่จำเลย แต่จำเลยฎีกาขอให้โจทก์คืนเงินเพียง 180,000 บาท ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาเกินไปจากคำขอฎีกาของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2486/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าประทานบัตรเหมืองแร่โมฆะ หากไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.แร่
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าประทานบัตรโดยโจทก์เป็นผู้ผลิตหินแกรนิต แล้วให้จำเลยที่ 1 ผู้ถือประทานบัตรติดต่อขอใบอนุญาตขนแร่จากทรัพยากรธรณีจังหวัด เพื่อโจทก์จะได้นำหินแกรนิตที่ผลิตได้ออกจำหน่าย แสดงว่า โจทก์ทราบแล้วว่าตนไม่มีสิทธิขนแร่ได้เองเสมือนเป็นผู้ถือบัตรประทานบัตร เพราะโจทก์ไม่ได้เป็นผู้รับช่วงการทำเหมืองตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 77 ทั้งมีเจตนาฝ่าฝืนบทห้ามของ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 ซึ่งได้กำหนดโทษทางอาญาสำหรับผู้ถือประทานบัตรไว้ในมาตรา 140 นอกจากนี้มาตรา 75 บัญญัติว่า ประทานบัตรให้ใช้ได้เฉพาะตัวผู้ถือประทานบัตร ด้วยประสงค์ให้ผู้ถือประทานบัตรดำเนินการตามประทานบัตรเอง การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาให้โจทก์เช่าประทานบัตรโดยไม่ยื่นขออนุญาต จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย และขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1696/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินป่าสงวนระหว่างเอกชน ย่อมไม่เป็นโมฆะ แม้ที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวน
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เดิมจำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจาก ส. เป็นการซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามหลักฐาน ภ.บ.ท. 5 และจำเลยได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปลูกไม้ยืนต้น จำเลยเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามตนเองและ ส. ผู้ขายตลอดมา ต่อมาจำเลยได้ยื่นขอสิทธิทำกินในที่ดินพิพาท จำเลยได้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าครอบครองที่ดินพิพาทจำนวน 19 ไร่ พนักงานเจ้าหน้าที่บอกว่ายื่นขอสิทธิทำกินได้ไม่เกินคนละ 15 ไร่ จำเลยจึงให้ ช. บุตรชายยื่นคำขอสิทธิทำกินอีก 1 แปลง จำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา
ต่อมาโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลย ขณะที่โจทก์ทำสัญญาที่ดินพิพาทยังมีชื่อจำเลยเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ เมื่อโจทก์ชำระราคาแล้วได้มีการเปลี่ยนชื่อใน ภ.บ.ท. 5 จากจำเลยเป็น อ. การซื้อขายที่ดินพิพาทเกิดจากความสมัครใจของคู่สัญญาตามความเป็นจริง และโจทก์ได้เข้าครอบครองโดยทำรั้วล้อมรอบที่ดินพิพาทแล้ว แม้ตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร ซึ่งเป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันย่อมมีสิทธิขายการครอบครองและพืชผลที่ปลูกอยู่แล้วในที่ดินและมีหน้าที่ส่งมอบการครอบครองพืชผลที่ปลูกนั้นให้แก่กัน ทั้งประกาศสำนักงานป่าไม้ที่ระบุว่า พื้นที่ สทก. ที่ได้รับอนุญาตห้ามจำหน่ายจ่ายโอน แต่ให้ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทได้ ก็เพิ่งประกาศใช้หลังจากสัญญาเป็นผลระหว่างคู่สัญญาไปแล้ว นอกจากนี้ข้อกำหนดห้ามโอนดังกล่าวกระทำโดยประกาศของทางราชการมิใช่โดยกฎหมาย สัญญาซื้อขายการครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันจะเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง แต่ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนจำเลยทั้งสี่ จึงไม่ถูกต้องเพราะจำเลยที่ 2 และที่ 4 มิได้อุทธรณ์ด้วย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ต่อมาโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลย ขณะที่โจทก์ทำสัญญาที่ดินพิพาทยังมีชื่อจำเลยเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ เมื่อโจทก์ชำระราคาแล้วได้มีการเปลี่ยนชื่อใน ภ.บ.ท. 5 จากจำเลยเป็น อ. การซื้อขายที่ดินพิพาทเกิดจากความสมัครใจของคู่สัญญาตามความเป็นจริง และโจทก์ได้เข้าครอบครองโดยทำรั้วล้อมรอบที่ดินพิพาทแล้ว แม้ตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร ซึ่งเป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันย่อมมีสิทธิขายการครอบครองและพืชผลที่ปลูกอยู่แล้วในที่ดินและมีหน้าที่ส่งมอบการครอบครองพืชผลที่ปลูกนั้นให้แก่กัน ทั้งประกาศสำนักงานป่าไม้ที่ระบุว่า พื้นที่ สทก. ที่ได้รับอนุญาตห้ามจำหน่ายจ่ายโอน แต่ให้ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทได้ ก็เพิ่งประกาศใช้หลังจากสัญญาเป็นผลระหว่างคู่สัญญาไปแล้ว นอกจากนี้ข้อกำหนดห้ามโอนดังกล่าวกระทำโดยประกาศของทางราชการมิใช่โดยกฎหมาย สัญญาซื้อขายการครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันจะเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง แต่ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนจำเลยทั้งสี่ จึงไม่ถูกต้องเพราะจำเลยที่ 2 และที่ 4 มิได้อุทธรณ์ด้วย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 165/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สินและผลกระทบต่อบุคคลภายนอกผู้ซื้อโดยสุจริต
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองโดยมีชื่อโจทก์ที่ 2 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โจทก์ทั้งสองกู้ยืมเงินและจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่ธนาคาร แต่ไม่สามารถชำระหนี้ได้โจทก์ที่ 2 จึงโอนที่ดินพิพาทใส่ชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไว้เพื่อไม่ให้ธนาคารบังคับจำนอง และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้ไว้แก่ธนาคารดังกล่าวอีก ต่อมาโจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง ระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองแล้วโอนขายให้แก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เช่นนี้ เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ฉะนั้น ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ทั้งสองที่จะต้องนำสืบถึงความไม่สุจริตของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทโดยผู้จัดการมรดกที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ห. ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยไม่ได้รับความยินยอมจาก ข. ผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่ง จึงไม่ใช่นิติกรรมที่ได้รับความเห็นชอบด้วยเสียงส่วนมาก ไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1726 ย่อมไม่ผูกพันกองมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1724 การที่ ข. ให้ความยินยอมในภายหลังไม่ทำให้นิติกรรมที่ไม่ชอบกลับเป็นนิติกรรมสมบูรณ์ขึ้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้จำเลยที่ 1 และ ข. ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขาย เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และ ข. ในภายหลังโดยเสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนแล้ว ทั้งจำเลยที่ 1 ได้แจ้งยกเลิกการขายที่ดินพิพาทกับโจทก์แล้ว จึงไม่ใช่เป็นการกระทำที่ทำลงโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมโมฆะ: การจัดทำพินัยกรรมไม่เป็นไปตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด (มาตรา 1658, 1705)
การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองจะต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1658 ที่บัญญัติว่า "(1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่กรมการอำเภอต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน (2) กรมการอำเภอต้องจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบนั้นลงไว้ และอ่านข้อความนั้นให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง" เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการทำพินัยกรรมมีเฉพาะ ส. เข้าไปในบ้านเพื่อทำพินัยกรรมให้กับ บ. ตามที่ได้ยื่นคำร้องไว้ โดยปลัดอำเภออาวุโสรักษาราชการแทนนายอำเภอกับ ถ. นั่งรับประทานอาหารอยู่ที่ร้านอาหารตรงกันข้ามกับปากตรอกทางเข้าบ้าน บ. เมื่อทำพินัยกรรมเสร็จแล้ว ส. จึงนำพินัยกรรมนั้นมาให้ปลัดอำเภออาวุโสรักษาราชการแทนนายอำเภอและ ถ. ลงลายมือชื่อที่ร้านอาหารแม้ในหน้าสุดท้ายของพินัยกรรมจะระบุว่า ปลัดอำเภอรักษาราชการแทนนายอำเภอ รับรองว่าเป็นผู้ทำหน้าที่จดข้อความ แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าผู้ทำหน้าที่จดข้อความคือ ส. แม้จะฟังว่า ปลัดอำเภอรักษาราชการแทนนายอำเภอสั่งให้ ส. ช่วยจดข้อความแทน แต่ขณะจดข้อความนั้นมิได้กระทำต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกันพินัยกรรมนี้จึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1658 และตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทจากการเล่นแชร์ แม้ผิดกฎหมายแต่ไม่ตกเป็นโมฆะ ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามเช็ค
จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทและโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทแม้เช็คดังกล่าวโจทก์จะได้มาจากการเล่นแชร์ซึ่งตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6 ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่ามากกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง แต่ในมาตรา 7 ก็บัญญัติให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์ที่จะฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ได้ ย่อมแสดงว่ากฎหมายมิได้กำหนดว่าการเล่นแชร์ดังกล่าวตกเป็นโมฆะเสียหมด การที่โจทก์จำเลยกับพวกซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมเล่นแชร์มีการประมูลระหว่างกันและจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าแชร์แล้วเช็คมาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ซึ่งเป็นลูกวงแชร์ด้วยกัน ย่อมไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 6 นิติกรรมการเล่นแชร์ของโจทก์จำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 จำเลยต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7921/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินที่เกิดจากหนี้การพนันเป็นโมฆะ
มูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยเป็นหนี้การพนันสลากกินรวบแก่โจทก์ซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 150