พบผลลัพธ์ทั้งหมด 154 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับเหมาในการตรวจสอบฐานะผู้ว่าจ้าง สัญญาไม่ตกเป็นโมฆียะจากกลฉ้อฉล
ในการทำสัญญารับเหมาก่อสร้างเป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างโดยตรงที่จะต้องระวังรักษาผลประโยชน์ของตนเอง ฉะนั้น จึงมีหน้าที่ต้องพิจารณาด้วยตนเองว่า ผู้ว่าจ้างเป็นบุคคลมีหลักฐานสมควรที่ผู้รับจ้างเข้าทำสัญญาด้วยหรือไม่ การที่ผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวย่อมเป็นความประมาทและเสี่ยงภัยของตนเอง ฉะนั้น แม้ผู้อื่นจะแจ้งแก่ผู้รับจ้างโดยไม่เป็นความจริงว่า ผู้ว่าจ้างเป็นคนร่ำรวยมีฐานะดีก็ยังถือไม่ได้ว่าผู้อื่นทำกลฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ สัญญารับเหมาก่อสร้างจึงไม่ตกเป็นโมฆียะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส สินบริคณห์ การโอนขายโดยไม่ได้รับอนุญาต โมฆียะ อายุความบอกล้าง
เมื่อการให้มิได้มีข้อความจดทะเบียนระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัวของคู่สมรส ฝ่ายที่รับให้ การให้นั้นก็ต้องถือว่าเป็นการให้ตามธรรมดา ทรัพย์สินที่ให้กันจึงเป็นสินสมรส อันเป็นสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1462
ภรรยานำที่ดินพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างที่ตนได้รับให้ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายให้แก่ผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาตจากสามี การโอนขายนั้นย่อมเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 สามีจะบอกล้างเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 วรรค 2 แต่ต้องบอกล้างเสียภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจจะให้สัตยาบันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143
ภรรยานำที่ดินพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างที่ตนได้รับให้ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายให้แก่ผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาตจากสามี การโอนขายนั้นย่อมเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 สามีจะบอกล้างเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 วรรค 2 แต่ต้องบอกล้างเสียภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจจะให้สัตยาบันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส สินบริคณห์ โมฆียะ: การโอนขายทรัพย์สินโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
เมื่อการให้มิได้มีข้อความจดทะเบียนระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายที่รับให้การให้นั้นก็ต้องถือว่าเป็นการให้ตามธรรมดาทรัพย์สินที่ให้กันจึงเป็นสินสมรสอันเป็นสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1462
ภรรยานำที่ดินพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างที่ตนได้รับให้ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายให้แก่ผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาตจากสามีการโอนขายนั้นย่อมเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38สามีจะบอกล้างเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 วรรค 2 แต่ต้องบอกล้างเสียภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจจะให้สัตยาบันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143
ภรรยานำที่ดินพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างที่ตนได้รับให้ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายให้แก่ผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาตจากสามีการโอนขายนั้นย่อมเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38สามีจะบอกล้างเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 วรรค 2 แต่ต้องบอกล้างเสียภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจจะให้สัตยาบันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับสินสมรส: สิทธิของผู้ร้องขัดทรัพย์เมื่ออ้างว่าจำนองไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ผู้ร้องขัดทรัพย์จะได้ยอมรับว่าที่ดินที่ถูกยึดเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย แต่ผู้ร้องยังได้กล่าวอ้างว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นยินยอมและมิได้จำนองที่ดินนั้นด้วย ทั้งผู้ร้องได้มีหนังสือบอกล้างนิติกรรมจำนองให้โจทก์ทราบแล้ว เช่นนี้ ถ้าหากเป็นความจริง โจทก์จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์ที่ยังเป็นสินบริคณห์อยู่ไม่ได้ ผู้ร้องมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมผู้เยาว์ไม่ได้รับการยินยอม: โมฆียะแต่ยังผูกพันจนกว่าบอกล้าง
นิติกรรมที่โจทก์ทำกับจำเลยในขณะโจทก์เป็นผู้เยาว์แต่มิได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมนั้น เป็นโมฆียะ เมื่อนิติกรรมนั้นมิได้ถูกบอกล้างจึงยังมีผลผูกพันโจทก์อยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์โดยมีเจตนาหลอกลวงและสุจริตของผู้รับโอน ผลต่อการเพิกถอนนิติกรรม
การร้องทุกข์หรือการฟ้องคดีกล่าวหาว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้จำเลยนั้น ไม่ถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม การโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138
หากฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตทั้งได้มีการจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1329 และมาตรา 1300 แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เดิมจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนนั้นไม่ได้ (ทั้งนี้ มิพักต้องคำนึงถึงว่าผู้โอนทรัพย์สินให้จะได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะและนิติกรรมนั้นถูกบอกล้างในภายหลัง หรือหาไม่)
หากฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตทั้งได้มีการจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1329 และมาตรา 1300 แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เดิมจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนนั้นไม่ได้ (ทั้งนี้ มิพักต้องคำนึงถึงว่าผู้โอนทรัพย์สินให้จะได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะและนิติกรรมนั้นถูกบอกล้างในภายหลัง หรือหาไม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่สุจริตและการคุ้มครองผู้รับโอนที่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การร้องทุกข์หรือการฟ้องคดีกล่าวหาว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้จำเลยนั้น ไม่ถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138
หากฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริต ทั้งได้มีการจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1329 และ มาตรา 1300 แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เดิมจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนนั้นไม่ได้ (ทั้งนี้ มิพักต้องคำนึงถึงว่าผู้โอนทรัพย์สินให้จะได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะและนิติกรรมนั้นถูกบอกล้างในภายหลังหรือหาไม่)
หากฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริต ทั้งได้มีการจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1329 และ มาตรา 1300 แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เดิมจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนนั้นไม่ได้ (ทั้งนี้ มิพักต้องคำนึงถึงว่าผู้โอนทรัพย์สินให้จะได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะและนิติกรรมนั้นถูกบอกล้างในภายหลังหรือหาไม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปกปิดโรคภัยไข้เจ็บก่อนทำประกันชีวิตทำให้กรมธรรม์เป็นโมฆียะเมื่อบริษัทบอกล้างสิทธิ
ผู้เอาประกันชีวิตเคยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคมะเร็งในเม็ดโลหิตขาว ซึ่งขณะนี้ไม่มีทางรักษาหายและจะตายอย่างช้าใน 5 ปี แต่ปกปิดความจริงว่าไม่เคยเจ็บป่วย ไม่เคยรักษาตัวในโรงพยาบาลใด ทำให้กรมธรรม์ประกันชีวิตเป็นโมฆียะ เมื่อผู้รับประกันชีวิตบอกล้างใน 1 เดือนแล้ว ย่อมตกเป็นโมฆะ ผู้รับประโยชน์จะฟ้องเรียกเงินประกันชีวิตไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 49/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสุขภาพก่อนทำสัญญาประกันภัยทำให้สัญญามีโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กรมธรรม์ประกันชีวิตขาดอายุ บริษัทต่ออายุให้ เพราะผู้ถูกประกันชีวิตทำใบรับรองว่าสุขภาพดีเช่นเดิม แต่ความจริงผู้ถูกประกันชีวิตรู้อยู่ว่า ป่วยเกี่ยวกับท้องและสุขภาพไม่สมบูรณ์เป็นการปกปิดความจริงอันควรต้องแจ้งให้บริษัททราบบริษัทบอกล้างสัญญาซึ่งเป็นโมฆียะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปกปิดข้อมูลอาชีพและประวัติการประกันภัยถือเป็นสาระสำคัญ ทำให้สัญญาประกันเป็นโมฆียะ
การปกปิดข้อความจริงในเรื่องอาชีพของผู้เอาประกันชีวิตในเรื่องการชำระเบี้ยประกันของผู้เอาประกัน หรือแม้ในเรื่องที่ผู้เอาประกันชีวิตได้เอาประกันชีวิตไว้ก่อนแล้ว ถือว่าเป็นการปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสำคัญ ซึ่งถ้าบริษัทรับประกันชีวิตทราบความจริงแล้วย่อมจะบอกปัดไม่รับประกัน สัญญาประกันชีวิตเช่นว่านี้เป็นโมฆียะ
การบอกล้างโมฆียะกรรมดังกล่าว กฎหมายไม่ได้บังคับว่าให้บอกล้างกับผู้เอาประกันโดยตรง เมื่อบริษัทผู้รับประกันทราบถึงมูลอันจะบอกล้างได้ ก็ย่อมบอกล้างแก่ผู้ซึ่งจะได้รับประโยชน์ในการประกันจากบริษัทผู้รับประกันได้
การบอกล้างโมฆียะกรรมดังกล่าว กฎหมายไม่ได้บังคับว่าให้บอกล้างกับผู้เอาประกันโดยตรง เมื่อบริษัทผู้รับประกันทราบถึงมูลอันจะบอกล้างได้ ก็ย่อมบอกล้างแก่ผู้ซึ่งจะได้รับประโยชน์ในการประกันจากบริษัทผู้รับประกันได้