พบผลลัพธ์ทั้งหมด 271 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนการปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยานตาม มาตรา 88 วรรคแรก
ในชั้นไต่สวนคำร้องของจำเลยที่อ้างว่าได้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมแล้วนั้น ไม่ใช่การสืบพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้ออ้างข้อเถียงในประเด็นแห่งคดีที่พิพาทกันตามคำฟ้องและคำให้การ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคแรก.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3854/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน: ศาลต้องไต่สวนเหตุผลก่อนมีคำสั่ง ไม่ใช่ยกคำร้องทันที
ศาลนัดสืบพยานโจทก์เวลา 9.00 นาฬิกาและสืบพยานจำเลยเวลา 13.30 นาฬิกาในวันเดียวกัน จำเลยไม่มาศาลในเวลาสืบพยานโจทก์ จนศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวจนหมดพยาน คดีเสร็จการพิจารณาให้รอฟังคำพิพากษา ก่อนศาลพิพากษาคดีในวันนั้นเวลา13.14 นาฬิกา จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ดังนี้ศาลชั้นต้นต้องไต่สวนคำร้องว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ และมีเหตุสมควรพิจารณาคดีใหม่หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3809/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีละเมิดอำนาจศาล: ไม่จำกัดรูปแบบการไต่สวนและไม่ต้องกระทำต่อหน้าคู่ความ
บทบัญญัติเรื่องละเมิดอำนาจศาลเป็นกฎหมายพิเศษที่ศาลมีอำนาจค้นหาข้อเท็จจริงโดยไม่จำต้องกระทำต่อหน้าผู้ถูกกล่าวหาหรือต่อหน้าจำเลยดังเช่นการพิจารณาคดีอาญาทั่วไปและการที่จะสอบปากคำผู้รู้เห็นข้อเท็จจริงเป็นจำนวนมากน้อยเพียงใดเป็นเรื่องดุลพินิจของศาล เมื่อเห็นว่าข้อเท็จจริงได้ความชัดพอที่จะวินิจฉัยชี้ขาดว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลจริงหรือไม่แล้ว ก็ชอบที่จะวินิจฉัยชี้ขาดไปตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้เลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากการเหมาค่าแรงก่อสร้าง และการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนเกินกำหนด
ในการก่อสร้างตึกแถวโจทก์เป็นผู้จัดหาและซื้อวัสดุก่อสร้างเองส่วนแรงงานเหมาจ่ายให้ผู้รับเหมาจัดหาคนงานมาทำการก่อสร้างโดยผู้รับเหมาจ่ายค่าแรงงานให้แก่คนงานเองหากงานล่าช้าต้องจ้างคนงานเพิ่มขึ้น โจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนี้ เงินได้ที่จ่ายให้แก่ผู้รับเหมาจึงมิใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1)แห่งประมวลรัษฎากร หากแต่เป็นเงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ตามมาตรา 40(8) โจทก์จึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา 5052 แห่งประมวลรัษฎากร การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในกรณีนี้จึงไม่ชอบ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ. 2521เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2522 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกลงวันที่ 27 มีนาคม 2527 เรียกโจทก์มาไต่สวน โจทก์ได้รับหมายเรียกเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2527 จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการเสียภาษี ถูกต้องตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว หมายเรียกเพื่อการตรวจสอบไต่สวนกำหนดให้โจทก์มาให้ถ้อยคำและนำพยานหลักฐานมาแสดงให้เวลาโจทก์น้อยกว่า 7 วันตามที่ระบุไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 19 โจทก์มีสิทธิไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกนั้น และเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีตามลำพังโดยอ้างว่าโจทก์ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกไม่ได้ แต่เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่โต้แย้ง การออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3663/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาเนื่องจากป่วย ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริงก่อนสั่งปรับผู้ประกัน
จำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยอ้างเหตุว่าป่วย และมีใบรับรองแพทย์มาแสดง หากศาลชั้นต้นไม่เชื่อว่าจำเลยป่วยจริง ก็ชอบที่จะไต่สวนฟังข้อเท็จจริงเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยประวิงคดี จงใจไม่มาฟังคำพิพากษาและสั่งว่าผู้ประกันผิดสัญญาประกันโดยมิได้มีการไต่สวนเสียก่อนจึงเป็นการไม่ชอบแม้ผู้ประกันร่วมจะมิได้ฎีกาศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงผู้ประกันร่วมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 247,243(2),245(1) ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3603/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาอุทธรณ์, การยกฟ้องเนื่องจากไม่มาศาล, และการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 200 กำหนดให้ศาลส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง ดังนี้เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์จึงเป็นหน้าที่ของศาลที่จะส่งสำเนาให้จำเลยโดยตรง โจทก์ไม่จำต้องวางเงินค่าส่งสำเนาอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษาการพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา200 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยชัดแจ้ง แต่เนื่องจากระยะเวลาที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนได้ล่วงเลยมาจนศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 181 กำหนดให้นำบทบัญญัติในมาตรา 139 และ 166 มาบังคับแก่การพิจารณาโดยอนุโลมดังนั้นศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะยกมาตรา 166 ดังกล่าวมาปรับแก่คดีในชั้นพิจารณาได้
โจทก์อ้างว่าในวันนัดสืบพยานโจทก์ ตัวโจทก์อยู่ที่จังหวัด สกลนคร เพื่อจัดการงานศพของมารดาภรรยาโจทก์ และต้องดูแลอาการป่วยของภรรยาโจทก์ กับโจทก์เข้าใจว่าในวันนัดดังกล่าวทนายโจทก์จะสืบพยานคนอื่นก่อน ส่วนโจทก์จะเข้าสืบในวันนัดภายหลัง โจทก์มิได้จงใจที่จะไม่มาศาลตามกำหนดนัด และโจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าทนายโจทก์ขอถอนตัวออกจากเป็นทนายให้โจทก์ กรณีดังกล่าวหากเป็นความจริงตามคำร้อง ของ โจทก์ก็ถือว่าโจทก์ได้แสดงให้ศาลเห็นได้ว่ามีเหตุสมควรจึงมาไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นด่วนวินิจฉัยสั่งยกคำร้องของโจทก์เสียโดยไม่ไต่สวนนั้นเป็นการไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษาการพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา200 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยชัดแจ้ง แต่เนื่องจากระยะเวลาที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนได้ล่วงเลยมาจนศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 181 กำหนดให้นำบทบัญญัติในมาตรา 139 และ 166 มาบังคับแก่การพิจารณาโดยอนุโลมดังนั้นศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะยกมาตรา 166 ดังกล่าวมาปรับแก่คดีในชั้นพิจารณาได้
โจทก์อ้างว่าในวันนัดสืบพยานโจทก์ ตัวโจทก์อยู่ที่จังหวัด สกลนคร เพื่อจัดการงานศพของมารดาภรรยาโจทก์ และต้องดูแลอาการป่วยของภรรยาโจทก์ กับโจทก์เข้าใจว่าในวันนัดดังกล่าวทนายโจทก์จะสืบพยานคนอื่นก่อน ส่วนโจทก์จะเข้าสืบในวันนัดภายหลัง โจทก์มิได้จงใจที่จะไม่มาศาลตามกำหนดนัด และโจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าทนายโจทก์ขอถอนตัวออกจากเป็นทนายให้โจทก์ กรณีดังกล่าวหากเป็นความจริงตามคำร้อง ของ โจทก์ก็ถือว่าโจทก์ได้แสดงให้ศาลเห็นได้ว่ามีเหตุสมควรจึงมาไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นด่วนวินิจฉัยสั่งยกคำร้องของโจทก์เสียโดยไม่ไต่สวนนั้นเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนการขายทอดตลาดหลังศาลอนุญาตแล้ว และการที่ศาลไม่ไต่สวนราคาประมูลที่ไม่สมเหตุสมผล
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเลื่อนการขายทอดตลาดออกไป เพื่อที่จำเลยจะได้หาเงินมาชำระให้แก่โจทก์นั้น มิใช่กรณีที่จำเลยอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่ถูกยึดโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างใด จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ดังนั้น เมื่อจำเลยขอเลื่อนการขายทอดตลาด ภายหลังศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาตให้ขายทรัพย์ที่ยึดไว้นั้นแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาต
ปัญหาว่า มีผู้ประมูลซื้อเพียงรายเดียวและซื้อในราคาที่ต่ำกว่าราคาจริง ขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนนั้น เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น เพิ่งยกขึ้นมาว่ากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้
ปัญหาว่า มีผู้ประมูลซื้อเพียงรายเดียวและซื้อในราคาที่ต่ำกว่าราคาจริง ขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนนั้น เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น เพิ่งยกขึ้นมาว่ากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2301/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนหนังสือมอบอำนาจปลอมเพื่อพิสูจน์ความสมบูรณ์ของสัญญาประกันตัว จำเป็นต้องมีการสืบพยานหลักฐานก่อนวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งปรับผู้ร้องตามสัญญาประกัน ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องไม่เคยประกันหรือมอบให้ผู้ใดประกันจำเลย ผู้ร้องได้นำหนังสือมอบอำนาจให้ทำ นิติกรรมขายที่ดินตามแบบพิมพ์ของกรมที่ดินซึ่งผู้ร้องลงชื่อในช่องผู้มอบอำนาจ มอบให้ จ. ผู้ซื้อที่ดินไปโอนที่ดินตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย แต่ จ. ได้ลงข้อความปลอมเป็นว่ามอบอำนาจให้ค้ำประกันจำเลย ดังนี้ ประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยคือหนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องปลอมหรือไม่ หากฟังว่า หนังสือมอบอำนาจปลอม สัญญาประกันที่ จ. ทำไว้ก็เป็นโมฆะไม่ผูกพันผู้ร้อง คำร้องของผู้ร้องจึงมีเหตุสมควรที่จะต้องทำการไต่สวนให้ได้ความชัดในประเด็นดังกล่าวก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2301/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจปลอมมีผลให้สัญญาประกันเป็นโมฆะ ศาลต้องไต่สวนเพื่อพิสูจน์ความจริง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งปรับผู้ร้องตามสัญญาประกัน ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าผู้ร้องไม่เคยประกันหรือมอบให้ผู้ใดประกันจำเลย ผู้ร้องได้นำหนังสือมอบอำนาจให้ทำนิติกรรมขายที่ดินตามแบบพิมพ์ของกรมที่ดินซึ่งผู้ร้องลงชื่อในช่องผู้มอบอำนาจ มอบให้ จ.ผู้ซื้อที่ดินไปโอนที่ดินตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย แต่ จ.ได้ลงข้อความปลอมเป็นว่ามอบอำนาจให้ค้ำประกันจำเลย ดังนี้ ประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยคือหนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องปลอมหรือไม่หากฟังว่า หนังสือมอบอำนาจปลอม สัญญาประกันที่ จ. ทำไว้ก็เป็นโมฆะไม่ผูกพันผู้ร้อง คำร้อง ของ ผู้ร้องจึงมีเหตุสมควรที่จะต้องทำการไต่สวนให้ได้ความชัดในประเด็นดังกล่าวก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยและการเพิกถอนคำสั่งทิ้งฟ้อง: ศาลมีอำนาจไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งทิ้งฟ้องได้หากมีเหตุผลสมควร
ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่ม โจทก์ไม่ได้นำมาชำระภายในกำหนด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความวันรุ่งขึ้นโจทก์ยื่นคำร้องอ้างเหตุที่ไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาชำระตาม คำสั่งศาลว่าเนื่องจากฝนตก หนักการจราจรติดขัดมาก ได้ โทรศัพท์แจ้งเหตุขัดข้องให้พนักงานรับฟ้องทราบเมื่อเวลา 15 นาฬิกา และเดินทางมาถึง ศาลเมื่อเวลา 17 นาฬิกาพนักงานศาลไม่ยอมรับค่าฤชาธรรมเนียม อ้างว่าศาลปิดทำการแล้วโจทก์มิได้จงใจทิ้งฟ้อง เป็นเหตุสุดวิสัย ขอให้ศาลไต่สวนอนุญาตให้โจทก์วางเงินค่าธรรมเนียมและดำเนิน กระบวนพิจารณาต่อไป ดังนี้แม้ศาลชั้นต้นจะได้ สั่งจำหน่ายคดีโดย เห็นว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไปแล้วก็ตามแต่ เมื่อโจทก์มายื่นคำร้องแสดงเหตุอันสมควร ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะทำการไต่สวนคำร้อง ของ โจทก์เพื่อทราบข้อเท็จจริง และถ้า เห็นว่าโจทก์มีพฤติการณ์พิเศษและเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้นเสียได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 และขยายระยะเวลาให้แก่โจทก์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23. (วินิจฉัยโดย ที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2532)