คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 632 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4241/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย: จำเลยโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
เนื้อหาของฎีกาจำเลยล้วนเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัย ของศาลชั้นต้นทั้งสิ้น โดยจำเลยคัดข้อความมาจาก คำอุทธรณ์ทั้งหมด แม้คำขอท้ายฎีกาจะเป็นการขอให้ศาลฎีกา พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่ฎีกาของจำเลย มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบอย่างไร จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไล่ออกข้าราชการ – การโต้แย้งสิทธิ – ผลกระทบต่อสถานภาพ – เหตุผลไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนคำสั่งและมีคำสั่งใหม่ให้โจทก์เข้ารับราชการเหมือนเดิม และให้มีคำสั่งให้โจทก์ได้รับเงินเดือนย้อนหลังหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยโดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะหรือหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควร ยิงปืนในหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควร เมาสุราทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย และถูกพักราชการระหว่างรอฟังผลคดีอาญา ต่อมาศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ กองบัญชาการตำรวจภูธร 1 มีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการและลงโทษกักขังโจทก์มีกำหนด 60 วัน ซึ่งตามคำสั่งดังกล่าวระบุว่าเป็นการลงโทษข้อหาเสพสุราจนมีอาการมึนเมาและเสียกริยาในที่สาธารณะ ต่อมาจำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการ ซึ่งตามคำสั่งดังกล่าวระบุว่าเป็นการลงโทษข้อหาละทิ้งหน้าที่เสพสุรามึนเมาอาละวาดทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น และยิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควรคำสั่งของจำเลยดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ยุติธรรม และขัดต่อคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่าคำสั่งของจำเลยดังกล่าวได้อ้างข้อหาเมาสุราซึ่งโจทก์ถูกลงโทษกักขัง 60 วันไปแล้ว และมีข้อหายิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควรซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องถึงที่สุดไปแล้ว กับมีข้อหาละทิ้งหน้าที่เพิ่มขึ้นอีก จึงอาจเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามที่โจทก์อ้าง และคำสั่งไล่ออกก็เป็นคำสั่งที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ คำฟ้องของโจทก์ถือได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ฟังข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของโจทก์เสียก่อนจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไล่ออกข้าราชการตำรวจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การโต้แย้งสิทธิ และอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนคำสั่งและมีคำสั่งใหม่ให้โจทก์เข้ารับราชการเหมือนเดิมและให้มีคำสั่งให้โจทก์ได้รับเงินเดือนย้อนหลังหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยโดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะ หรือหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควร ยิงปืนในหมู่บ้านโดยไม่มี เหตุอันสมควร เมาสุราทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย และถูกพักราชการระหว่างรอฟังผลคดีอาญา ต่อมา ศาลพิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ กองบัญชาการตำรวจภูธร 1มีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการและลงโทษกักขังโจทก์มีกำหนด 60 วัน ซึ่งตามคำสั่งดังกล่าวระบุว่าเป็นการลงโทษข้อหาเสพสุราจนมีอาการมึนเมาและเสียกริยาในที่สาธารณะ ต่อมาจำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการ ซึ่งตามคำสั่งดังกล่าวระบุว่าเป็นการลงโทษข้อหาละทิ้งหน้าที่เสพสุรามึนเมาอาละวาดทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น และยิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควรคำสั่งของจำเลยดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ยุติธรรม และขัดต่อคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้วดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่าคำสั่ง ของจำเลยดังกล่าวได้อ้างข้อหาเมาสุราซึ่งโจทก์ถูกลงโทษ กักขัง 60 วันไปแล้ว และมีข้อหายิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งศาลพิพากษา ยกฟ้องถึงที่สุดไปแล้ว กับมีข้อหา ละทิ้งหน้าที่เพิ่มขึ้นอีก จึงอาจเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามที่โจทก์อ้าง และคำสั่งไล่ออกก็เป็นคำสั่งที่มีผล กระทบต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ คำฟ้องของโจทก์ถือได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมี อำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ยกฟ้อง โจทก์โดย ไม่ฟังข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของโจทก์เสียก่อนจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3900/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการค้นตัวผู้ต้องหาหญิงโดยเจ้าพนักงานตำรวจชาย การฎีกาเรื่องการจับกุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้หยิบเมทแอมเฟตามีนที่เหลือจากการขาย ซึ่งใส่ถุงพลาสติกซ่อนในเสื้อชั้นในออกมามอบให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมเอง การที่จำเลยฎีกาว่า เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมเป็นผู้ค้นตัวจำเลยซึ่งเป็นหญิงโดยมิได้ให้หญิงอื่นเป็นผู้ค้น เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเป็นเหตุให้การจับกุมและสอบสวนไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.อ มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากคำขอคุ้มครองชั่วคราวที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สิทธิเรียกร้องยังไม่เกิด
ฟ้องแย้งของจำเลยสืบเนื่องมาจากการที่โจทก์ใช้สิทธิตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ.ในเรื่องวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมีข้อกำหนดให้ผู้ขอใช้วิธีการชั่วคราวซึ่งใช้สิทธิโดยมิชอบต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไว้แล้วดังนั้น หากการใช้สิทธิของโจทก์ทั้งสองเป็นไปโดยมิชอบ ก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติของป.วิ.พ.ในลักษณะดังกล่าว
ฟ้องแย้งของจำเลยกล่าวอ้างว่า โจทก์รู้ว่าทางพิพาทไม่ตกอยู่ในภาระจำยอม แต่ยังฟ้องคดีโดยไม่สุจริต และยื่นคำขอคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลจนทำให้จำเลยเสียหาย ต้องรื้อรั้วและยอมให้บุคคลอื่นใช้ทางพิพาท เป็นการกล่าวอ้างว่าเหตุที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์เป็นความผิดของโจทก์ซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่จำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 263(1) แต่ตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อศาลตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี ขณะจำเลยยื่นฟ้องแย้งศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำพิพากษา ทั้งยังไม่แน่นอนว่าศาลชั้นต้นจะตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของจำเลยยังไม่เกิด จำเลยยังไม่มีสิทธิฟ้องร้อง จึงไม่อาจรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: สิทธิยังไม่เกิดก่อนมีคำพิพากษา
ฟ้องแย้งของจำเลยสืบเนื่องมาจากการที่โจทก์ทั้งสองใช้สิทธิตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในเรื่องวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ซึ่งมีข้อกำหนดให้ผู้ขอใช้วิธีการชั่วคราวซึ่งใช้สิทธิโดยมิชอบต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไว้แล้ว ดังนั้น หากการใช้สิทธิของโจทก์ทั้งสองเป็นไปโดยมิชอบ ก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในลักษณะนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์ทั้งสองรู้ว่าทางพิพาทไม่ตกอยู่ในภารจำยอม แต่ยังฟ้องคดีโดยไม่สุจริตและยื่นคำขอคุ้มครองชั่วคราวต่อศาล จนทำให้จำเลยเสียหายต้องรื้อรั้วและยอมให้บุคคลอื่นใช้ทางพิพาท เป็นการกล่าวอ้างว่าเหตุที่ศาลมีคำสั่ง อนุญาตตามคำขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ทั้งสองเป็นความผิด ของโจทก์ทั้งสอง ซึ่งโจทก์ทั้งสองจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 263(1) แต่ตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์ทั้งสองจะต้องรับผิดชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนเมื่อศาลตัดสินให้โจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายแพ้คดี ขณะจำเลยยื่นฟ้องแย้งศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำพิพากษา ทั้งยัง ไม่แน่นอนว่าศาลชั้นต้นจะตัดสินให้โจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายแพ้คดีด้วยสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของจำเลยยังไม่เกิด จำเลยยัง ไม่มีสิทธิฟ้องร้อง จึงไม่อาจรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องรอจนกว่าคดีถึงที่สุด
ฟ้องแย้งของจำเลยสืบเนื่องมาจากการที่โจทก์ใช้สิทธิ ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในเรื่องวิธีการ ชั่วคราวก่อนพิพากษา ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมีข้อกำหนด ให้ผู้ขอใช้วิธีการชั่วคราวซึ่งใช้สิทธิโดยมิชอบต้องรับผิดชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนไว้แล้ว ดังนั้น หากการใช้สิทธิของโจทก์ ทั้งสองเป็นไปโดยมิชอบ ก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในลักษณะดังกล่าว ฟ้องแย้งของจำเลยกล่าวอ้างว่า โจทก์รู้ว่าทางพิพาทไม่ตกอยู่ในภารจำยอม แต่ยังฟ้องคดีโดยไม่สุจริต และยื่น คำขอคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลจนทำให้จำเลยเสียหายต้องรื้อรั้วและยอมให้บุคคลอื่นใช้ทางพิพาทเป็นการกล่าวอ้างว่าเหตุที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ เป็นความผิดของโจทก์ ซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 263(1)ตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อศาลตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี แต่ขณะจำเลยยื่นฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำพิพากษา ทั้งยังไม่แน่นอนว่าศาลชั้นต้นจะตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของจำเลยยังไม่เกิด จำเลยยังไม่มีสิทธิฟ้องร้อง จึงไม่อาจรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการใช้วิธีการชั่วคราวที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องรอผลคำพิพากษาถึงจะเกิดสิทธิ
ฟ้องแย้งของจำเลยสืบเนื่องมาจากการที่โจทก์ใช้สิทธิ ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในเรื่อง วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมีข้อกำหนด ให้ผู้ขอใช้วิธีการชั่วคราวซึ่งใช้สิทธิโดยมิชอบต้องรับผิดชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนไว้แล้ว ดังนั้น หากการใช้สิทธิของโจทก์ทั้งสอง เป็นไปโดยมิชอบ ก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในลักษณะดังกล่าว ฟ้องแย้งของจำเลยกล่าวอ้างว่า โจทก์รู้ว่าทางพิพาทไม่ตกอยู่ ในภารจำยอม แต่ยังฟ้องคดีโดยไม่สุจริต และยื่นคำขอคุ้มครอง ชั่วคราวต่อศาลจนทำให้จำเลยเสียหาย ต้องรื้อรั้วและยอมให้ บุคคลอื่นใช้ทางพิพาท เป็นการกล่าวอ้างว่าเหตุที่ศาลมีคำสั่ง อนุญาตตามคำขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์เป็นความผิดของโจทก์ซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่จำเลยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 263(1)แต่ตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อศาลตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี ขณะจำเลยยื่นฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำพิพากษา ทั้งยังไม่แน่นอนว่าศาลชั้นต้น จะตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ของจำเลยยังไม่เกิด จำเลยยังไม่มีสิทธิฟ้องร้อง จึงไม่อาจรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งออกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้เสียสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้า แม้ผู้นำเข้าจะอ้างว่าไม่ทราบการกระทำของผู้ส่งออก
แม้มาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 ประกอบมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 19 และ ข้อ 9 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 จะเพียงแต่ บัญญัติให้ผู้นำเข้าต้องส่งสินค้าที่ผลิตด้วยของที่นำเข้า ดังกล่าวออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันนำเข้า จึงจะได้รับคืนเงินอากรขาเข้าก็ตาม แต่การส่งออก ดังกล่าวต้องเป็นการส่งออกโดยชอบตามมาตรา 45แห่ง พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งบัญญัติให้ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติศุลกากรและกฎหมาย อื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรและยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้องด้วยการที่บริษัทว.ส่งสินค้าของโจทก์ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ ทั้งยังระบุใน ใบกำกับสินค้าว่าส่งออกไปยังเมืองฮ่องกงนั้น ถือเป็นการส่งออกที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 45 ซึ่งการกระทำดังกล่าวผูกพันโจทก์ด้วย โจทก์จะอ้างว่าตนไม่ทราบถึงการกระทำของบริษัทดังกล่าวหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยคืนเงินอากรขาเข้าตาม พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 19 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีซ้ำและการคืนเงินเกินสิทธิ ทำให้การประเมินภาษีและการวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในครั้งแรกเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีการค้า โจทก์สำหรับรายรับในเดือนธันวาคม 2539 โดยอ้างว่าโจทก์ มีรายรับต้องเสียภาษีการค้าจำนวน 3,876,591.69 บาทและโจทก์ได้ชำระภาษีการค้า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นเงิน336,449.37 บาท ตามการประเมินแล้ว แต่รายรับตามจำนวนคำพิพากษาฎีกาให้หักออกจากการประเมินมีจำนวน3,454,107.77 บาท โจทก์จึงมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้า อยู่อีกจำนวน 422,483.92 บาท ซึ่งตามคำพิพากษาศาลฎีกา ในคดีดังกล่าวให้นำรายรับ จำนวน 3,454,107.77 บาทมาหักออกจากยอดรายรับตามการประเมินจำนวน3,876,591.69 บาท เหลือรายรับเท่าใดแล้วจึงคำนวณภาษีการค้าหากมีภาษีการค้าที่จะต้องคืนแก่โจทก์ให้จำเลยคืนภาษีการค้าพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีแม้จะได้ความว่าต่อมาโจทก์ได้ขอคืนเงินภาษีและจำเลยได้คืนเงินที่โจทก์ได้ชำระภาษีการค้า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยคืนภาษีการค้า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ไปเกินกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับคืนตามคำพิพากษาก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องเรียกเงินที่ชำระแก่โจทก์เกินไปคืน การที่จำเลยกลับมาทำการประเมินและปรากฏว่ารายรับพิพาทจำนวน 422,483.92 บาท ตามหนังสือแจ้งภาษีการค้าเป็นรายรับที่รวมอยู่ในจำนวนเดียวกันกับรายรับจำนวน3,876,591.69 บาท ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินได้เคยทำการประเมินแล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีการค้าสำหรับรายรับพิพาทจำนวน 422,483.92 บาท จึงเป็น การประเมินซ้ำกับการประเมินครั้งแรก ทำให้โจทก์เสียหาย โดยต้องชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีหน้าที่ต้อง ชำระเพียงภาษีการค้าที่จำเลยคืนให้โจทก์เกินไปเท่านั้น ไม่มีหน้าที่ต้องชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่อย่างใดทำให้หนังสือแจ้งภาษีการค้าดังกล่าวเป็นหนังสือแจ้งการประเมินที่ออกโดยไม่มีอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นเหตุให้คำวินิจฉัย อุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบตามไปด้วย
of 64