พบผลลัพธ์ทั้งหมด 369 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดทุนโดยโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลายถือเป็นการโอนทรัพย์สินโดยไม่สุจริต ผู้ร้องมีสิทธิเพิกถอนได้
การที่ผู้คัดค้านทั้งห้าได้ตกลงนำที่ดินและตึกแภว มาลงหุ้นกันตั้งแต่ห้างหุ้นส่วนจำกัดลูกหนี้ที่ 1ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งลูกหนี้ที่ 1ยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลนั้น ถือว่าขณะนั้นลูกหนี้ที่ 1เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1079 แล้ว เมื่อผู้คัดค้านทั้งห้านำที่ดินและตึกแถวมาลงหุ้น กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวจึงตกเป็นของลูกหนี้ที่ 1 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้ผู้คัดค้านทั้งห้าจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ลูกหนี้ที่ 1 เมื่อลูกหนี้ที่ 1เป็นนิติบุคคลแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้ที่ดินและตึกแถวไม่เป็นของลูกหนี้ที่ 1 ไปได้ ส่วนมาตรา 1030 ที่ว่าความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับห้างหุ้นส่วนในเรื่องส่งมอบ ให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการซื้อขายกันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการส่งมอบตัวทรัพย์หาได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องกรรมสิทธิ์ไม่ ดังนั้น ในระหว่างผู้คัดค้านทั้งห้ากับลูกหนี้ที่ 1 ต้องถือว่ากรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวได้ตกเป็นของลูกหนี้ที่ 1 ตั้งแต่เวลาที่นำมาลงหุ้นแล้ว การลดทุนโดยถอนหุ้นที่ลงหุ้นด้วยที่ดินและตึกแถวบางส่วนออกไป ในขณะที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดลูกหนี้ที่ 1กำลังประสบกับภาวะการขาดทุนซึ่งลูกหนี้ที่ 1 กับผู้คัดค้านทั้งห้าก็ทราบดี จึงเป็นการที่ลูกหนี้ที่ 1ได้โอนทรัพย์สินหรือยอมให้โอนทรัพย์สินไปในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ที่ 1 ล้มละลายโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนเสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดทุนโดยการถอนหุ้นด้วยที่ดินและตึกแถวเข้าสู่ภาวะล้มละลาย ถือเป็นการโอนทรัพย์สินโดยไม่สุจริต
ผู้คัดค้านทั้งห้าตกลงนำที่ดินและตึกแถวมาลงหุ้นตั้งแต่ลูกหนี้ที่ 1 ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลนั้น ถือว่าลูกหนี้ที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1079 แม้ยังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แต่ในระหว่างผู้คัดค้านทั้งห้าและลูกหนี้ที่ 1 ต้องถือว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวตกเป็นของลูกหนี้ที่ 1 ตั้งแต่เวลาที่นำมาลงหุ้นเป็นต้นมาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1030บัญญัติว่าด้วยความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับห้างหุ้นส่วนในเรื่องส่งมอบให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการซื้อขายนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการส่งมอบตัวทรัพย์ หาได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องกรรมสิทธิ์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5431/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด vs. สิทธิครอบครองเดิม ผู้ซื้อย่อมได้สิทธิเหนือกว่าหากผู้ครอบครองไม่คัดค้าน
กรณีการยึดทรัพย์ขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1330 ผู้ครอบครองทรัพย์จะรู้หรือไม่ว่ามีการขายทอดตลาดก็หาเป็นเหตุที่จะยกขึ้นต่อสู้สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์ได้ไม่ แม้จำเลยจะอ้างว่าเป็นผู้ครอบครองที่ดิน-พิพาทมาโดยตลอด แต่จำเลยมิได้ร้องคัดค้านเสียตั้งแต่ต้น กลับปล่อยให้มีการขายทอดตลาดจนสำเร็จบริบูรณ์โดยโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทดังกล่าวไปแล้ว สิทธิครอบ-ครองของจำเลยจึงไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้
จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า โจทก์บกพร่องซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สืบเรื่องราวก่อนว่ามีสิทธิหรือไม่ โดยมิได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องนำสืบว่าที่ดินพิพาทโจทก์ได้มาโดยสุจริตหรือไม่เพียงใด
จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า โจทก์บกพร่องซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สืบเรื่องราวก่อนว่ามีสิทธิหรือไม่ โดยมิได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องนำสืบว่าที่ดินพิพาทโจทก์ได้มาโดยสุจริตหรือไม่เพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนจำนองในคดีล้มละลาย: การกระทำอันไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแต่ใส่ชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ต่อมามีการจดทะเบียนจำนองแก่ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย โดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจำนอง เป็นการกล่าวอ้างว่าการที่มีชื่อ น.ในโฉนดเป็นเพียงการถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ น. โดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบอันผู้ร้องจะต้องร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลระหว่างจำเลยกับ น. ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 ผู้ร้องจึงร้องขอให้เพิกถอนการจำนองได้โดยตรง
แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจะเคยมีความเห็นว่าผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจึงไม่เพิกถอนการจำนองก็ตาม แต่เมื่อได้มีการสั่งให้สอบสวนถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อีกครั้งแล้ว ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอเพิกถอนการจำนองต่อศาลได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114เพราะอำนาจในการร้องขอให้เพิกถอนไม่อาจสละได้
ผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยไม่มีค่าตอบแทน จึงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านรับจำนองไว้โดยไม่สุจริตไปด้วย แม้ผู้คัดค้านได้ฟ้องบังคับจำนองในระหว่างที่คดีล้มละลายอยู่ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องสอบสวนเพื่อพิจารณาร้องขอเพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท และผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผู้คัดค้านกลายเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดไปโดยสุจริต เมื่อผู้คัดค้านเพิ่งฟ้องบังคับจำนองหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด จึงถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องบังคับจำนองนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การบังคับคดีและการที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้ จึงใช้ยันแก่ผู้ร้องไม่ได้
แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจะเคยมีความเห็นว่าผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจึงไม่เพิกถอนการจำนองก็ตาม แต่เมื่อได้มีการสั่งให้สอบสวนถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อีกครั้งแล้ว ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอเพิกถอนการจำนองต่อศาลได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114เพราะอำนาจในการร้องขอให้เพิกถอนไม่อาจสละได้
ผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยไม่มีค่าตอบแทน จึงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านรับจำนองไว้โดยไม่สุจริตไปด้วย แม้ผู้คัดค้านได้ฟ้องบังคับจำนองในระหว่างที่คดีล้มละลายอยู่ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องสอบสวนเพื่อพิจารณาร้องขอเพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท และผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผู้คัดค้านกลายเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดไปโดยสุจริต เมื่อผู้คัดค้านเพิ่งฟ้องบังคับจำนองหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด จึงถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องบังคับจำนองนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การบังคับคดีและการที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้ จึงใช้ยันแก่ผู้ร้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย: การถือครองกรรมสิทธิ์แทนและการรับจำนองโดยไม่สุจริต
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแต่ใส่ชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนต่อมามีการจดทะเบียนจำนองแก่ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย โดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจำนอง เป็นการกล่าวอ้างว่าการที่มีชื่อน. ในโฉนดเป็นเพียงการถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยเท่านั้นมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ น.โดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ อันผู้ร้องจะต้องร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลระหว่างจำเลยกับ น. ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 ผู้ร้องจึงร้องขอให้เพิกถอนการจำนองได้โดยตรง แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจะเคยมีความเห็นว่าผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจึงไม่เพิกถอนการจำนองก็ตาม แต่เมื่อได้มีการสั่งให้สอบสวนถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อีกครั้งแล้ว ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอเพิกถอนการจำนองต่อศาลได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 เพราะอำนาจในการร้องขอให้เพิกถอนไม่อาจสละได้ ผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยไม่มีค่าตอบแทนจึงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านรับจำนองไว้โดยไม่สุจริตไปด้วยแม้ผู้คัดค้านได้ฟ้องบังคับจำนองในระหว่างที่คดีล้มละลายอยู่ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องสอบสวนเพื่อพิจารณาร้องขอเพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท และผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผู้คัดค้านกลายเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดไปโดยสุจริต เมื่อผู้คัดค้านเพิ่งฟ้องบังคับจำนองหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด จึงถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องบังคับจำนองนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์การบังคับคดีและการที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้จึงใช้ยันแก่ผู้ร้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ไม่ชอบ, การถอนฟ้องที่ไม่สุจริต, และการประนีประนอมยอมความที่เป็นการเอาเปรียบ
โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาและยื่นคำขอในเหตุฉุกเฉินเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2531 ศาลชั้นต้นมิได้ทำการไต่สวนคำร้องทั้งสองฉบับของโจทก์ในวันดังกล่าว แต่มีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องทั้งสองฉบับให้แก่จำเลยทั้งสี่ และนัดไต่สวนคำร้องในวันที่ 18ตุลาคม 2531 การที่ศาลชั้นต้นให้นัดไต่สวนคำร้อง ของ โจทก์หลังวันยื่นคำร้องถึง 8 วัน จึงมิใช่เป็นการพิจารณาเป็นการด่วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 ถือว่าศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องโจทก์อย่างวิธีธรรมดา ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นที่สุดโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 247 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่จดแจ้งการโอนหุ้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1และออกใบหุ้นพร้อมกับใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แต่ตามคำร้องที่โจทก์ขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษากลับเป็นเรื่องโจทก์ต้องการใช้สิทธิเข้าไปดูแลครอบงำการจัดการและเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อจะได้ดำเนินการบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อไปชั่วคราว ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือจากประเด็นแห่งคำฟ้อง โจทก์ไม่อาจร้องขอให้คุ้มครองดังกล่าวได้ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 254(2) มาใช้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 และในวันเดียวกันกรรมการชุดใหม่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์เป็นผู้ร่วมประชุมแต่งตั้งได้ยื่นคำร้องขอถอนทนายจำเลยที่ 1 ที่กรรมการชุดเดิมได้ตั้งไว้ หลังจากนั้นโจทก์กับทนายคนใหม่ของจำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เช่นนี้ เป็นที่เห็นได้ว่า กระทำไปโดยไม่สุจริตและกระทำเพื่อเอาเปรียบในเชิงคดีแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งจำเลยดังกล่าวต่างให้การต่อสู้อยู่ว่า หุ้นตามฟ้องมิใช่ของโจทก์ทั้งยังคัดค้านคำร้องขอถอนฟ้องด้วย ย่อมทำให้จำเลยที่ 2 ที่ 3และที่ 4 ไม่มีโอกาสต่อสู้คดีกับโจทก์ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 แล้วพิพากษาคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 376/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลายโดยไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน
การที่จำเลยทำนิติกรรมแลกเปลี่ยนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยซึ่งมีราคาสูงกว่า แลกเปลี่ยนกับที่ดินของผู้คัดค้านซึ่งเป็นที่ดินว่างเปล่าและไม่ติดถนนให้แก่ผู้คัดค้าน ในระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลาย เป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ผู้ร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 114.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3450/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริตและเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ ศาลเพิกถอนการโอนและให้ชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 2 มีอาชีพค้าขายที่ดินและบ้านจัดสรรมาหลายปีแล้วทั้งจำเลยที่ 2 เห็นรั้วอิฐบล็อกที่กั้นที่ดินพิพาทจากทางทิศใต้ไปทางทิศเหนือรวม 2 แนวซึ่งไปจดรั้วของบ้านจำเลยที่ 2 และเห็นการถมดินและอาคารซึ่งเทพื้นคอนกรีตโดยมีโครงหลังคาเหล็กก่อสร้างในที่ดินพิพาทเช่นนี้ จำเลยที่ 2 น่าจะรู้ราคาจริงของที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างว่าเป็นเงินเท่าใด และราคาซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยที่ 2 รับซื้อไว้จากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 900,000 กว่าบาทนั้น ต่ำกว่าราคาซื้อขายที่แท้จริงเพียงใดหรือไม่เพราะตามปกติราคาซื้อขายที่แท้จริงของที่ดินจะสูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แต่ได้ความตามคำเบิกความของจำเลยที่ 2 เองว่าราคาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นเงิน 900,000 กว่าบาท ส่วนราคาที่ดินพิพาทซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินประเมินไว้เป็นเงินถึง 1,480,000 บาทดังนั้นถ้าถือตามราคาที่ดินพิพาทที่ซื้อขายกันดังคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาประเมินมากเมื่อพิเคราะห์ประกอบกับการที่จำเลยที่ 2 รู้จักกับจำเลยที่ 1 มาเป็นเวลาหลายปีและจำเลยที่ 2 มีที่ดินติดต่อกันด้วยแล้ว จึงฟังได้ว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นไปโดยไม่สุจริตโดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท ให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ หากโอนไม่ได้จึงให้ชำระค่าเสียหายนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ จึงถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2722/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้ข้อหาผู้ทรงเช็คโดยไม่สุจริต จำเลยต้องพิสูจน์การคบคิดฉ้อฉล หรือความไม่สุจริตในการโอนเช็ค
จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การว่าโจทก์ผู้ทรงได้รับเช็คพิพาทมาด้วยการคบคิดกันฉ้อฉล แม้จะให้การว่าโจทก์เป็นผู้ทรงโดยไม่สุจริต ก็มิได้บรรยายให้เข้าใจได้ว่า โจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาจากผู้ใด ด้วยวิธีการใด ไม่สุจริตอย่างไร จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท คดีไม่จำเป็นต้องสืบพยาน หรือหากสืบพยานมาก็ไม่จำเป็นต้องพิเคราะห์พยานหลักฐานนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนสิทธิเรียกร้องเพื่อชำระหนี้ การโอนโดยไม่สุจริต และผลกระทบต่อดอกเบี้ย
เมื่อศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดโอนให้ แก่ผู้คัดค้านเสียย่อมมีผลให้สิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อจาก ผู้เช่าซื้อที่ยังค้างชำระอยู่ กลับคืนมาเป็นของจำเลยที่ 1 ตามเดิม จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจาก ผู้เช่าซื้อต่อไปได้ ผู้คัดค้านต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่ได้รับไว้แล้วตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อเท่านั้น ไม่ต้อง รับผิดในเงินค่าเช่าซื้อที่ยังมิได้รับชำระ การเพิกถอนการโอนทรัพย์เป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือ เป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วัน ยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียก ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ให้เพิกถอนการโอน.