คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไล่เบี้ย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4266/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนสั่งซื้อสินค้า - โจทก์มอบอำนาจ - ไม่เกิดความเสียหาย - ไม่มีสิทธิไล่เบี้ย
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างเป็นจำเลยด้วยกันในคดีก่อน ต้องถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลในคดีก่อน คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่สั่งซื้อสินค้าจาก อ. ในฐานะเป็นตัวแทนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติโจทก์ซึ่งเป็นตัวการ เมื่อสินค้าต่างๆ ที่สั่งซื้อมาไม่ได้มีการนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์หรือนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยทั้งสอง โจทก์จึงไม่มีความเสียหายอย่างใดเกิดขึ้นจากการที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนที่ต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 812
ค่าดอกเบี้ย ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าทนายความที่โจทก์นำมาฟ้อง มิใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นอันเป็นผลเนื่องจากการกระทำของจำเลยทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง แต่เป็นผลที่เกิดจากการที่โจทก์สมัครใจต่อสู้คดีในคดีก่อนมาตั้งแต่ต้น โดยให้การปฏิเสธความรับผิด จนกระทั่งศาลฎีกามีคำพิพากษาให้โจทก์แต่ผู้เดียวที่ต้องรับผิดเนื่องจากจำเลยที่ 1 กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ และสินค้าที่โจทก์ชำระให้แก่ อ. ไปในคดีก่อนนั้น เป็นสินค้าที่จำเลยทั้งสองสั่งซื้อมาและนำไปใช้ในราชการของโจทก์ ไม่ได้นำไปใช้ในการส่วนตัวของจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
หนี้ค่าดอกเบี้ยถือได้ว่าเป็นหนี้อุปกรณ์ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่จำต้องรับผิดในหนี้ประธานแล้ว จำเลยทั้งสองก็ไม่จำต้องรับผิดในหนี้อุปกรณ์ด้วย
ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความตามที่โจทก์มาฟ้องไล่เบี้ยเอากับจำเลยทั้งสอง ไม่ใช่หนี้อุปกรณ์ของหนี้ในคดีก่อนที่โจทก์ถูกฟ้อง เพราะมิได้เกิดขึ้นและสิ้นไปตามหนี้ดังกล่าว แต่เป็นหนี้ที่เกิดจากการดำเนินกระบวนพิจารณา ซึ่งความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติ มาตรา 161 แห่ง ป.พ.พ. เมื่อมิได้เกิดขึ้นจากความผิดของจำเลยทั้งสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยให้จำเลยทั้งสองชำระค่าฤชาธรรมเนียมรวมถึงค่าทนายความที่โจทก์ต้องรับผิดในคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4266/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนสั่งซื้อสินค้า, ความรับผิดจากการปฏิบัติหน้าที่, ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี, ไม่มีเหตุให้ไล่เบี้ย
คดีก่อน อ. ได้ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องจำเลยที่ 1 คดีนี้เป็นจำเลยที่ 3 ต่อศาลชั้นต้นเรียกเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่สั่งซื้อมาใช้ในกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนฯ ในที่สุดศาลฎีกามีคำพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย ให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าทนายความ ให้แก่ อ. เมื่อโจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว จึงมาฟ้องไล่เบี้ยเอากับจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นคดีนี้ ให้ร่วมกันชำระหนี้ค่าดอกเบี้ย ค่าฤชาธรรมเนียม ค่าทนายความและค่าขึ้นศาล อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ จนกระทั่งโจทก์ถูก อ. ฟ้องเป็นคดีก่อน ซึ่งในคดีก่อนโจทก์ให้การต่อสู้คดีในสาระสำคัญว่า การสั่งซื้อสินค้าจาก อ. เป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำในนามของโจทก์ ทั้งไม่ได้นำสินค้าต่างๆ มาใช้ในราชการของโจทก์ ศาลฎีกาวินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งซื้อสินค้าแทนโจทก์โดยใช้งบประมาณที่โจทก์จัดสรรให้มาเป็นรายปี การสั่งซื้อสินค้าได้นำไปใช้ในราชการของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าได้นำสินค้าไปใช้เป็นการส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ดังนี้แม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างเป็นจำเลยด้วยกันในคดีก่อนก็ตามก็ต้องถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลในคดีก่อน คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่สั่งซื้อสินค้าจาก อ. ในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ซึ่งเป็นตัวการ เมื่อไม่ปรากฏว่าสินค้าต่างๆ ที่สั่งซื้อมานั้นได้นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์หรือนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยทั้งสอง โจทก์จึงไม่มีความเสียหายอย่างใดเกิดขึ้นจากการที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 812
ส่วนค่าดอกเบี้ย ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าทนายความที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้นั้น มิใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นอันเป็นผลเนื่องจากการกระทำของจำเลยทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง แต่เป็นผลที่เกิดจากการที่โจทก์สมัครใจต่อสู้คดีในคดีก่อนมาตั้งแต่ต้น โดยให้การปฏิเสธความรับผิดว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำการในนามของโจทก์และไม่ได้นำสินค้ามาใช้ในราชการของโจทก์ จนกระทั่งศาลฎีกามีคำพิพากษาให้โจทก์แต่ผู้เดียวที่ต้องรับผิดเนื่องจากจำเลยที่ 1 กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ และสินค้าที่โจทก์ชำระให้แก่ อ. ไปในคดีก่อนนั้น ฟังได้ว่าเป็นสินค้าที่จำเลยทั้งสองสั่งซื้อมาและนำไปใช้ในราชการของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าได้นำไปใช้ในการส่วนตัวของจำเลยทั้งสองแต่อย่างใด นอกจากนี้หนี้ค่าดอกเบี้ย ถือได้ว่าเป็นหนี้อุปกรณ์ เมื่อหนี้ประธานจำเลยทั้งสองไม่จำต้องรับผิดแล้ว หนี้อุปกรณ์จำเลยทั้งสองก็ไม่จำต้องรับผิดด้วยส่วนค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความตามที่โจทก์ฟ้องไล่เบี้ยเอากับจำเลยทั้งสองนั้น ไม่ใช่หนี้อุปกรณ์ของหนี้ในคดีก่อนที่โจทก์ถูกฟ้อง เพราะมิได้เกิดขึ้นและสิ้นไปตามหนี้ดังกล่าว แต่เป็นหนี้ที่เกิดจากการดำเนินกระบวนพิจารณา ซึ่งความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความย่อมเป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 เมื่อมิได้เกิดขึ้นจากความผิดของจำเลยทั้งสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยให้จำเลยทั้งสองชำระค่าฤชาธรรมเนียมรวมถึงค่าทนายความที่โจทก์ต้องรับผิดในคดีก่อนจากจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3169/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยค่าเสียหายจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เริ่มนับแต่วันรู้ตัวผู้ต้องรับผิด
โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยอาจฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นที่จ่ายไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจากจำเลยทั้งสองได้ตั้งแต่วันที่โจทก์จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นไปคือวันที่ 2 ธันวาคม 2540 และวันที่ 28 พฤษภาคม 2541 ซึ่งขณะนั้น พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 มีผลใช้บังคับแล้ว กำหนดอายุความจึงต้องถือตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 ซึ่งตามมาตรา 31 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดว่าการใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกต้องกระทำภายใน 1 ปี นับแต่วันรู้ตัวผู้ซึ่งต้องรับผิด เมื่อโจทก์รู้ตัวผู้ซึ่งต้องรับผิดตั้งแต่ก่อนวันที่ 2 ธันวาคม 2540 แต่โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2541 เกิน 1 ปี นับแต่วันที่รู้ตัวผู้ซึ่งต้องรับผิดแล้ว จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 309/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันภัยรถยนต์: การไล่เบี้ยจากผู้กระทำละเมิด และขอบเขตการสละสิทธิ
สัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกันตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ของสมาคมประกันวินาศภัย มีวัตถุประสงค์จำกัดขอบเขตการสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกันในระหว่างผู้เข้าร่วมสัญญา ผู้เอาประกันภัย และบุคคลซึ่งต้องรับผิดต่อเหตุละเมิดเพียงเท่าจำนวนเงินเอาประกันภัยคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยของผู้ร่วมสัญญาฝ่ายที่ต้อง รับผิดเท่านั้น หาใช่สละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทั้งหมดไม่ โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ผู้กระทำละเมิดในค่าเสียหายส่วนเกินจากที่สละสิทธิเรียกร้องตามสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8951/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ค้ำประกันในการไล่เบี้ยลูกหนี้และรับช่วงสิทธิเจ้าหนี้เมื่อชำระหนี้แทน
โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันมีความผูกพันในอันจะต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เมื่อจำเลยไม่ชำระ และโจทก์ได้เข้าชำระหนี้นั้นแล้ว โจทก์จึงย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยรวมถึงเข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้บรรดามีเหนือลูกหนี้ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งการรับช่วงสิทธิของโจทก์ย่อมมีขึ้นด้วยอำนาจกฎหมายและย่อมสำเร็จเป็นประโยชน์แก่โจทก์ในทันทีตามมาตรา 229 (3)
กรณีเจ้าหนี้เรียกให้โจทก์ชำระค่าประกันชดเชยตามสัญญาค้ำประกัน แสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แล้วตามมาตรา 686 ดังนั้น โจทก์ซึ่งรับช่วงสิทธิทั้งหลายของเจ้าหนี้อันมีต่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดจึงมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยเพื่อต้นเงินและดอกเบี้ยที่ชำระแก่เจ้าหนี้ไป รวมทั้งดอกเบี้ยผิดนัดของต้นเงินนั้นในทันทีที่ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ เพียงแต่โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 224 วรรคสอง เท่านั้น เมื่อเงินที่โจทก์ชำระให้แก่เจ้าหนี้ไม่ปรากฏว่าเป็นดอกเบี้ย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินที่ได้ชำระแทนไปพร้อมดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราที่กฎหมายกำหนดตามที่โจทก์เรียกร้อง นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระหนี้แทนจำเลย เพราะจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดมาก่อนแล้ว หาใช่จะตกเป็นผู้ผิดนัดก็ต่อเมื่อโจทก์ได้เรียกให้ชำระหนี้ตามมาตรา 204 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการไล่เบี้ยค่าเสียหายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และสิทธิการไล่เบี้ยของบริษัทประกันภัย
ร. เอาประกันภัยรถจักรยานยนต์ไว้กับโจทก์ เป็นการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งมาตรา 7 บังคับให้เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย หากมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถที่โจทก์รับประกันภัยไว้ โจทก์ต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 20 และ 25 เมื่อได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด โจทก์มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้กระทำให้เกิดความเสียหายได้ตามมาตรา 31 อันเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายซึ่งบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์รับช่วงสิทธิของผู้ประสบภัยมาฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลย ทั้งไม่เข้าเหตุที่จะรับช่วงสิทธิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 เพราะผู้ประสบภัยไม่ใช่ผู้เอาประกันภัย โดยเดิม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 31 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 บัญญัติให้การใช้สิทธิไล่เบี้ยต้องกระทำภายใน 1 ปี นับแต่วันรู้ตัวผู้ซึ่งต้องรับผิด แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประสบภัย แต่ต่อมามี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2550 มาตรา 11 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ ให้ยกเลิกวรรคสองของมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 โดยมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ใช้ข้อความใหม่แทนข้อความเดิมที่ถูกยกเลิกไป จึงเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไล่เบี้ยไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่ที่โจทก์จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดี ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8154/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกา: โจทก์ชำระหนี้แทนจำเลยไม่ได้ไล่เบี้ย
การที่ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ อ. ร่วมกันชำระเงิน 1,350,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่จำเลยร่วมทั้งสอง หากจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ อ. ไม่ชำระให้บังคับเอาจากโจทก์เป็นเงิน 450,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย และมีคำวินิจฉัยด้วยว่า ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องที่ต่างฝ่ายต่างทำให้จำเลยร่วมทั้งสองได้รับความเสียหาย โจทก์ต้องรับผิดในมูลละเมิด ส่วนจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ อ. รับผิดในมูลสัญญาซื้อขาย แม้จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยร่วมทั้งสองจำนวนเดียวกัน แต่ก็มิใช่ร่วมกันทำให้จำเลยร่วมทั้งสองได้รับความเสียหาย หนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ อ. ต้องรับผิดต่อจำเลยร่วมทั้งสองและหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยร่วมทั้งสองมิใช่หนี้ร่วม แต่เป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระได้ เพียงแต่ศาลฎีกาจัดลำดับการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ อ. ร่วมกันชำระแก่โจทก์ก่อน หากจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ อ. ไม่ชำระก็ให้บังคับเอาจากโจทก์
เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ อ. ไม่ชำระและโจทก์ได้นำเงินจำนวนที่ต้องรับผิดต่อจำเลยร่วมทั้งสองตามคำพิพากษาศาลฎีกาไปวางศาลเป็นการชำระหนี้แก่จำเลยร่วมทั้งสอง การชำระหนี้แก่จำเลยร่วมทั้งสองดังกล่าวจึงเป็นการชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาในส่วนที่ผูกพันโจทก์ ไม่ใช่การชำระหนี้เพื่อหรือแทนจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ อ. โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของจำเลยร่วมทั้งสองมาบังคับให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ อ. ชำระหนี้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4159/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานมีผลผูกพัน หากจำเลยไม่โต้แย้งในศาลแรงงาน โจทก์มีสิทธิไล่เบี้ยเงินที่จ่ายให้ลูกจ้าง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินแก่โจทก์โดยอาศัยสิทธิในฐานะผู้รับเหมาชั้นต้นที่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยในฐานะผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างของผู้ร้องทั้งเก้าตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานและโจทก์ได้จ่ายเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานให้แก่ผู้ร้องทั้งเก้าไปเรียบร้อยแล้ว เพื่อไล่เบี้ยเงินที่ได้จ่ายไปแล้วดังกล่าวคืนจากจำเลยในฐานะผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 12 เมื่อคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าววินิจฉัยและมีคำสั่งว่าในช่วงเวลาพิพาทจำเลยมิใช่ลูกจ้างโจทก์ แต่จำเลยเป็นผู้รับเหมาช่วงและเป็นนายจ้างของผู้ร้องทั้งเก้า ให้โจทก์ในฐานะผู้รับเหมาชั้นต้นร่วมรับผิดกับจำเลยในฐานะผู้รับเหมาช่วงและเป็นนายจ้างของผู้ร้องทั้งเก้าในค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดแก่ผู้ร้องทั้งเก้า หากจำเลยไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานย่อมมีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานเพื่อให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง ในกรณีที่ไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าว คำสั่งนั้นย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 125 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลแรงงานตามที่บทบัญญัติดังกล่าวให้สิทธิไว้ คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานย่อมเป็นที่สุด จำเลยหามีสิทธิที่จะยกเรื่องการเป็นนายจ้างลูกจ้างกันและผู้รับเหมาช่วงที่ยุติไปแล้วในชั้นพนักงานตรวจแรงงานและมีผลผูกพันโจทก์จำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าวมากล่าวอ้างในชั้นที่โจทก์มาฟ้องต่อศาลแรงงานภาค 2 เพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ยเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ผู้ร้องทั้งเก้าตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานไปแล้วคืนจากจำเลยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 12 วรรคสอง ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 381/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยค่าเสียหายจากผู้ขับขี่และนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และ ป.พ.พ. มาตรา 425
ตารางกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นกรมธรรม์ที่ออกตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งบังคับให้เจ้าของรถจะต้องจัดให้มีการประกันตามมาตรา 7 ดังนั้น เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น 13,883 บาท ตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจาก ส. ผู้ขับรถโดยสารประจำทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายเพราะประมาทเลินเล่อได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 31 อันเป็นสิทธิไล่เบี้ยที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายเฉพาะ ทั้งจำเลยเป็นนายจ้างของ ส. ผู้ซึ่งได้กระทำละเมิดไปในทางการที่จ้าง แม้จำเลยจะมิใช่บุคคลตามมาตรา 31 ก็ตาม แต่นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 โจทก์จึงมีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าวจากจำเลยได้ด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยค่าสินไหมทดแทนจากลูกจ้างกรณีทำละเมิด: กฎหมายเฉพาะ (พรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่) ไม่เปิดช่องให้ไล่เบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่ง
การนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมาใช้บังคับแก่คดี เป็นปัญหาข้อกฎหมายสำคัญที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษควรวินิจฉัยให้ เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาโดยมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยในปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวนี้ไปเสียทีเดียวได้ และเพื่อความรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิจารณาพิพากษาใหม่
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 4 ให้คำนิยามของคำว่า เจ้าหน้าที่ หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือ... และคำว่า หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า... รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และมาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เมื่อโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นองค์การของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ. 2496 และ พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. 2519 อันอยู่ในนิยามของคำว่า หน่วยงานของรัฐ และจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์อันอยู่ในนิยามคำว่า เจ้าหน้าที่ จึงต้องใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวบังคับแก่คดีนี้ ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยกระทำด้วยความประมาทเลินเล่อ มิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
แม้ ป.พ.พ. มาตรา 426 บัญญัติว่า นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างในกรณีทั่วไป พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีเหตุผลในการประกาศใช้บังคับซึ่งปรากฏอยู่ที่ท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวว่า การที่เจ้าหน้าที่ดำเนินกิจการต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐนั้น หาได้เป็นไปเพื่อประโยชน์อันเป็นการเฉพาะตัวไม่ การปล่อยให้ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ในการปฏิบัติงานในหน้าที่และเกิดความเสียหายแก่เอกชนเป็นไปตามหลักกฎหมายเอกชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงเป็นการไม่เหมาะสม... ดังนั้น จึงสมควรกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเมื่อเป็นการจงใจกระทำเพื่อการเฉพาะตัว หรือจงใจให้เกิดความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น... จึงเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายเฉพาะที่มีเจตนารมณ์ไม่ให้นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการไล่เบี้ยระหว่างนายจ้างและลูกจ้างซึ่งเกิดจากลูกจ้างทำละเมิดต่อบุคคลภายนอกมาใช้บังคับ ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 426
ที่โจทก์ฎีกาว่า คำสั่งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพให้จำเลยชำระเงินค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ในฐานะนายจ้างชดใช้แก่ผู้เสียหายคืนแก่โจทก์ยังไม่ได้ถูกฟ้องขอให้เพิกถอน จึงมีผลในทางปฏิบัติต่อไป จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลางและในชั้นอุทธรณ์ โจทก์ก็มีอำนาจยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 252 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 57/1 วรรคหนึ่ง
จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ต้องพิจารณาจากการกระทำของจำเลยแล้วปรับเข้ากับบทบัญญัติของกฎหมาย เมื่อพิจารณาการกระทำของจำเลย บทบัญญัติของกฎหมาย และรูปคดีนี้แล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้คำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ดังกล่าวยังไม่ได้ถูกเพิกถอน ก็ถือได้ว่าคำสั่งดังกล่าวสิ้นผลบังคับไปโดยปริยาย
of 13