พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,314 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1344/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่ติดอากรแสตมป์เป็นโมฆะ ทำให้ผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจฟ้องคดี
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นใบมอบอำนาจตามประมวลรัษฎากรปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในศาลชั้นต้น และเพิ่งจะยกขึ้นเป็นข้อโต้เถียงคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องและดำเนินคดี หากไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อรับฟังว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้นาย ก. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้ นาย ก. จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองแทนโจทก์
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องและดำเนินคดี หากไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อรับฟังว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้นาย ก. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้ นาย ก. จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองแทนโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมทหารโมฆะ: ขาดพยานถูกต้อง & ไม่เป็นพินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ
พลตรี น. ไม่ได้ลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมทหารฉบับพิพาท คงมีพันเอก พ. ลงชื่อเป็นพยานเพียงคนเดียวเท่านั้น พินัยกรรมทหารฉบับพิพาทจึงทำขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามแบบที่ ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1705 จำเลยที่ 3 ไม่อาจอาศัยพินัยกรรมทหารฉบับพิพาทมาอ้างอิงแสวงสิทธิใดๆ ได้
พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับเป็นพินัยกรรมซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ผู้ทำพินัยกรรมเขียนข้อความในส่วนสาระสำคัญด้วยลายมือตนเองทั้งหมด มีใจความกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในเรื่องอื่นที่จะให้เกิดผลบังคับเมื่อตนตายก็ได้ ทั้งนี้ ข้อความที่เขียนด้วยลายมือตนเองต้องมีข้อความที่อ่านแล้วพอเข้าใจได้ว่าผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะให้ทรัพย์มรดกตกได้แก่ใคร แต่พินัยกรรมทหารฉบับพิพาทเป็นแบบพิมพ์พินัยกรรมของทางราชการทหาร ซึ่งพิมพ์ข้อความกำหนดการเผื่อตายของผู้ทำพินัยกรรมไว้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว คงเว้นช่องว่างไว้ให้ผู้ทำพินัยกรรมกรอกแต่เฉพาะสถานที่และวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมกับชื่อของผู้ทำพินัยกรรม ผู้รับพินัยกรรมและลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้น หากตัดข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ออกเสียให้เหลือแต่เฉพาะข้อความที่พลเอก อ. ผู้ทำพินัยกรรมเขียนด้วยลายมือตนเองก็ไม่มีความหมายเป็นพินัยกรรม พินัยกรรมทหารฉบับพิพาทจึงไม่เป็นพินัยกรรมแบบผู้ทำพินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ที่จำเลยที่ 3 ยกขึ้นอ้างเป็นเรื่องอายุความการใช้สิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกที่ตนมีสิทธิได้รับในฐานะทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม แต่คดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรมทหารฉบับพิพาทตกเป็นโมฆะ ไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 3 จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติเรื่องอายุความดังกล่าว
พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับเป็นพินัยกรรมซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ผู้ทำพินัยกรรมเขียนข้อความในส่วนสาระสำคัญด้วยลายมือตนเองทั้งหมด มีใจความกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในเรื่องอื่นที่จะให้เกิดผลบังคับเมื่อตนตายก็ได้ ทั้งนี้ ข้อความที่เขียนด้วยลายมือตนเองต้องมีข้อความที่อ่านแล้วพอเข้าใจได้ว่าผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะให้ทรัพย์มรดกตกได้แก่ใคร แต่พินัยกรรมทหารฉบับพิพาทเป็นแบบพิมพ์พินัยกรรมของทางราชการทหาร ซึ่งพิมพ์ข้อความกำหนดการเผื่อตายของผู้ทำพินัยกรรมไว้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว คงเว้นช่องว่างไว้ให้ผู้ทำพินัยกรรมกรอกแต่เฉพาะสถานที่และวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมกับชื่อของผู้ทำพินัยกรรม ผู้รับพินัยกรรมและลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้น หากตัดข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ออกเสียให้เหลือแต่เฉพาะข้อความที่พลเอก อ. ผู้ทำพินัยกรรมเขียนด้วยลายมือตนเองก็ไม่มีความหมายเป็นพินัยกรรม พินัยกรรมทหารฉบับพิพาทจึงไม่เป็นพินัยกรรมแบบผู้ทำพินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ที่จำเลยที่ 3 ยกขึ้นอ้างเป็นเรื่องอายุความการใช้สิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกที่ตนมีสิทธิได้รับในฐานะทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม แต่คดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรมทหารฉบับพิพาทตกเป็นโมฆะ ไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 3 จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติเรื่องอายุความดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10852/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายบ้านเป็นโมฆะจากดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมาย ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่จำเลย
จำเลยกู้เงินโจทก์จำนวน 350,000 บาท และค้างชำระดอกเบี้ยโจทก์ต่อมาสามีจำเลยได้ทำสัญญาขายบ้านพิพาทให้โจทก์ในราคา 590,000 บาท โดยมีการโอนหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระโจทก์จำนวน 590,000 บาท แทนการชำระราคาบ้าน เมื่อพิจารณาดอกเบี้ยเงินกู้ที่จำเลยค้างชำระโจทก์แล้วนำมารวมกับต้นเงินกู้เป็นเงินที่ชำระราคาซื้อขายบ้านพิพาทนั้น เป็นการคิดดอกเบี้ยร้อยละ 5 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตราที่เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี เป็นดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ฯ มาตรา 3 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 654 ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ สัญญาซื้อขายบ้านพิพาทจึงเกิดจากหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ราคาบ้านพิพาทที่กำหนดในสัญญาจะรวมเอาต้นเงินกู้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับไว้ด้วยก็ตาม แต่โจทก์และสามีจำเลยมิได้มีเจตนาจะแบ่งแยกซื้อขายบ้านบางส่วนในราคาต้นเงิน 350,000 บาท ที่จำเลยค้างชำระอยู่ สัญญาซื้อขายบ้านพิพาทระหว่างโจทก์กับสามีจำเลยย่อมเป็นโมฆะทั้งฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 โจทก์จึงฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10738/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะนิติกรรมจำนองจากผู้จัดการมรดกปลอม และการเพิกถอนหมายบังคับคดี
ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ บ. ซึ่งเป็นมารดาของผู้ร้องและจำเลยเนื่องจากจำเลยอ้างว่า บ. ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้จำเลย แล้วจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและนำไปจำนองเป็นประกันหนี้ต่อโจทก์ต่อมาศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์และให้ยึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดซึ่งโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อบังคับคดีแล้ว แต่ผู้ร้องยื่นคำร้องในคดีที่จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกขอให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ บ. ศาลไต่สวนและมีคำสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกเนื่องจากพินัยกรรมที่จำเลยอ้างเป็นโมฆะ และตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแทน คดีถึงที่สุดแล้ว กรณีจึงต้องถือว่าขณะจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนเองในฐานะส่วนตัวทั้งที่ตนไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมที่อ้าง เป็นการทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของ บ. อันเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1722 นิติกรรมการโอนตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โดยถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้นเลยกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังเป็นของกองมรดกของ บ. อยู่ตามเดิม สัญญาจำนองที่จำเลยในฐานะส่วนตัวทำกับโจทก์ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่โจทก์ที่จะบังคับเอาแก่ที่ดินพิพาท เพราะผู้จำนองไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่จำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 แม้โจทก์จะอ้างว่ารับจำนองโดยสุจริตก็ตาม
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องในคดีที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อบังคับคดีโดยอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าว และขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดี จึงเป็นคำร้องที่มีความหมายว่า โจทก์ขอหมายบังคับคดีเอาแก่ที่ดินพิพาทซึ่งมิใช่กรรมสิทธิ์ของจำเลยที่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา และโจทก์ไม่ได้เป็นผู้รับจำนองไว้โดยชอบ เพราะไม่ได้รับจำนองไว้จากผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ แต่เป็นการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 282 วรรคหนึ่ง ถือได้ว่าผู้ร้องกล่าวอ้างว่าหมายบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ยื่นคำขอเจาะจงว่าให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่ที่ดินพิพาท และศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้ตามขอ ถือได้ว่าเป็นการออกหมายบังคับคดีโดยไม่ชอบตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลชอบที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดีดังกล่าวได้
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องในคดีที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อบังคับคดีโดยอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าว และขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดี จึงเป็นคำร้องที่มีความหมายว่า โจทก์ขอหมายบังคับคดีเอาแก่ที่ดินพิพาทซึ่งมิใช่กรรมสิทธิ์ของจำเลยที่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา และโจทก์ไม่ได้เป็นผู้รับจำนองไว้โดยชอบ เพราะไม่ได้รับจำนองไว้จากผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ แต่เป็นการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 282 วรรคหนึ่ง ถือได้ว่าผู้ร้องกล่าวอ้างว่าหมายบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ยื่นคำขอเจาะจงว่าให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่ที่ดินพิพาท และศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้ตามขอ ถือได้ว่าเป็นการออกหมายบังคับคดีโดยไม่ชอบตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลชอบที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดีดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6190/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาตใช้เครื่องหมายการค้าต้องจดทะเบียน มิฉะนั้นเป็นโมฆะ และไม่มีอำนาจฟ้องละเมิด
ในขณะที่มีการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาท สิทธิของโจทก์มีเพียงตามสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังมิได้จดทะเบียนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเท่านั้น บทบัญญัติตามมาตรา 68 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ กำหนดให้สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าที่ยังมิได้จดทะเบียนดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 152 โจทก์จึงไม่มีสิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยว่าละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6190/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาตใช้เครื่องหมายการค้าต้องจดทะเบียน มิฉะนั้นเป็นโมฆะ ผู้ไม่มีสิทธิจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
บทบัญญัติตามมาตรา 68 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 กำหนดให้สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าระหว่าง ก. กับโจทก์ที่ยังมิได้จดทะเบียนย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 152 โจทก์จึงไม่มีสิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยว่าละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5278/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิพากษาครบถ้วน แม้ลายมือชื่อในเอกสารบางส่วนไม่ครบถ้วน การพิจารณาคดีไม่เป็นโมฆะ
แม้จะมีลายมือชื่อผู้พิพากษาคนเดียวในคำเบิกความพยานลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2544 วันที่ 30 ตุลาคม 2544 และวันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 แต่ปรากฏจากรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2544 และวันที่ 30 ตุลาคม 2544 ด้านหน้ามีข้อความระบุว่าผู้พิพากษาออกนั่งพิจารณาคดีนี้เวลา 10 นาฬิกา และ 11.20 นาฬิกา ตามลำดับ และมีลายมือชื่อผู้พิพากษาสองคนลงลายมือชื่อไว้ด้วย จึงต้องฟังตามรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวว่า ในวันเวลาดังกล่าวมีผู้พิพากษาสองคนนั่งพิจารณาคดีอันถือได้ว่าเป็นการนั่งพิจารณาครบองค์คณะตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 แล้ว ส่วนรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 ที่มีผู้พิพากษาเพียงคนเดียวลงลายมือชื่อไว้นั้น อาจเกิดจากความหลงลืมของผู้พิพากษาอีกคนหนึ่งที่มิได้ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาก็เป็นได้ ทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้คัดค้านว่าการพิจารณาคดีในวันดังกล่าวผู้พิพากษานั่งพิจารณาคดีไม่ครบองค์คณะจนกระทั่งคดีเสร็จการพิจารณา กรณีจึงเชื่อได้ว่าในวันเวลาดังกล่าวมีผู้พิพากษาสองคนนั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 แล้วเช่นกัน หาได้เป็นการขัดต่อมาตรา 236 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พ.ศ.2540 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5219/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าโดยได้รับอนุญาต แม้สัญญาเป็นโมฆะ แต่การกระทำไม่ถือเป็นการละเมิดหากสุจริตและปฏิบัติตามสัญญา
จำเลยได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายบริการ THE HIDE-AWAY และรูปภาพเด็กนอนพิงผลมะนาว (LEMON BABY) จากบริษัทไฮด์อะเวย์ กรุ๊ป (1991) จำกัด มีกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2541 ตั้งแต่วันที่โจทก์รับโอนเครื่องหมายบริการดังกล่าวเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 ถึงวันที่โจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2546 ก็ยังอยู่ในช่วงเวลาของอายุสัญญาดังกล่าว แม้สัญญาจะเป็นโมฆะเพราะไม่ได้จดทะเบียนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 68 วรรคสอง ประกอบมาตรา 80 ก็ตาม แต่เนื้อความในสัญญาที่อนุญาตให้จำเลยใช้ข้อมูลทางเทคนิคเกี่ยวกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและการหายใจภายใต้เครื่องหมายบริการและชื่อทางการค้า "The Hide Away Thai Herbal Steam Sauna" ซึ่งใช้ผลิตภัณฑ์สินค้าของผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิ ย่อมทำให้จำเลยผู้ได้รับอนุญาตเข้าใจและเชื่อโดยสุจริตว่าตนสามารถใช้เครื่องหมายบริการและชื่อทางการค้าดังกล่าวได้เนื่องจากกระทำภายใต้เครื่องหมายบริการและชื่อทางการค้ากับใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิ ยิ่งกว่านั้นหลังจากบริษัทผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิโอนเครื่องหมายบริการดังกล่าวให้บริษัทไฮด์อะเวย์ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด จำเลยกับบริษัทผู้รับโอนเครื่องหมายดังกล่าวก็ยังคงปฏิบัติตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธินี้ด้วยดีตลอดมา ยิ่งทำให้จำเลยเชื่อเช่นนั้น ฉะนั้น การที่จำเลยโฆษณาการให้บริการลูกค้าของจำเลยโดยใช้แผ่นป้ายโฆษณาที่มีเครื่องหมายบริการของโจทก์ในช่วงเวลาก่อนโจทก์ร้องทุกข์จึงไม่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการเสียหายและถือไม่ได้ว่าจำเลยละเมิดเครื่องหมายบริการของโจทก์โดยนำไปโฆษณา ขายหรือเพื่อขายธุรกิจบริการของจำเลยในแผ่นป้ายโฆษณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5101/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดในการอุทธรณ์ประเด็นใหม่ – สัญญาจ้างโมฆะเนื่องจากไม่ได้รับใบอนุญาตทำงาน
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างของจำเลย เพราะโจทก์ไม่เคยทำงานและรับค่าจ้างจากจำเลย สัญญาจ้างของโจทก์ไม่มีข้อความใดระบุว่าจำเลยตกลงจ้างโจทก์ให้ทำงานกับจำเลยโดยจะจ่ายค่าจ้างให้ และในสัญญาดังกล่าวไม่มีตราประทับของจำเลยเท่านั้น โดยมิได้ให้การต่อสู้ว่า ตามสัญญาจ้างระบุให้เริ่มต้นในทันทีที่โจทก์ได้รับใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย แต่โจทก์ไม่เคยได้รับใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย การทำงานของโจทก์ขัดต่อ พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าวฯ สัญญาจ้างแรงงานตกเป็นโมฆะตามประเด็นที่อุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลางต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4922/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินต้องปิดอากรแสตมป์ก่อนใช้เป็นหลักฐานในคดี หากไม่ปฏิบัติตาม สัญญาเป็นโมฆะ
หนังสือสัญญากู้เงินที่เป็นการรวมหนี้ที่จำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์หลายครั้งโดยผู้กู้และผู้ให้กู้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสัญญากู้ยืมเงิน เข้าลักษณะแห่งตราสารซึ่งต้องปิดอากรแสตป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร
การขออนุญาตนำตราสารไปปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 117 จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำตราสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นจะชี้ขาดตัดสินคดี การที่โจทก์ขออนุญาตปิดอากรแสตมป์ในหนังสือสัญญากู้เงินในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ ศาลฎีกาไม่อนุญาต
การขออนุญาตนำตราสารไปปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 117 จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำตราสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นจะชี้ขาดตัดสินคดี การที่โจทก์ขออนุญาตปิดอากรแสตมป์ในหนังสือสัญญากู้เงินในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ ศาลฎีกาไม่อนุญาต