คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายอาญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 392 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวตามกฎหมายอาญา กรณีถูกทำร้ายก่อนและมีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อปกป้องชีวิต
ถึงจำเลยจะได้พูดโต้เถียงกับผู้ตายที่วงสุรา เมื่อมีคนมาพาจำเลยไปเสียจากที่นั้น จำเลยก็ยอมไปโดยดี แต่ผู้ตายกลับใช้ให้จ.ตามจำเลยไป แม้จำเลยจะพูดกับ จ. เป็นทำนองชวนวิวาทกับผู้ตายจำเลยก็มิได้แสดงอาการอย่างใดให้เห็นว่าจำเลยตั้งใจจะวิวาทกับผู้ตายจำเลยกลับขึ้นไปอยู่เสียบนเรือนผู้อื่น ที่เกิดยิงกันขึ้นก็เพราะผู้ตายใช้ให้คนไปตามจำเลยมา ผู้ตายชักปืนออกจ้องจะยิงจำเลย จำเลยมิได้ตอบโต้แต่หลบอยู่ข้างหลัง น. จนถูกผู้ตายยิงเอาบาดเจ็บ จำเลยก็ยังไม่ควักปืนยิงผู้ตาย คงเข้ากอดปล้ำล้มลงทั้งคู่เห็นได้ว่าจำเลยประสงค์จะมิให้ผู้ตายทำร้ายจำเลยต่อไป มิได้สมัครใจวิวาทกับผู้ตายแต่อย่างใดต่อเมื่อผู้ตายจะยิงจำเลยซ้ำ จำเลยจึงควักปืนออกมายิงผู้ตายเพียงนัดเดียวหากจำเลยไม่กระทำดังนั้นก็คงต้องถูกผู้ตายยิงเอาถึงตายเป็นแน่การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุจำเลยไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายอาญาปรับแก่คดีอาญา: การเปลี่ยนแปลงโทษหลังกระทำผิด และหลักการใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
ขณะที่จำเลยกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง ยังไม่มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ออกใช้บังคับ การกระทำอันมีองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี ฯลฯ นั้น ยังไม่มีกฎหมายกำหนดโทษให้หนักขึ้นในขณะจำเลยกระทำผิดโจทก์ย่อมขอให้ศาลใช้มาตรา 340 ตรี เป็นบทลงโทษหรือนำไปประกอบมาตรา 340 วรรค 4 เพื่อให้โทษหนักขึ้นมิได้ คงได้แต่ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรค 4 เดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำผิด แต่เมื่อปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ออกใช้บังคับข้อ 14 ประกาศนี้แก้ไขโทษของมาตรา 340 วรรค 4 เดิมให้เบาลงก็ต้องใช้มาตรา 340 วรรค 4 ตามที่แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ข้อ 14 บังคับแก่คดีนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3โจทก์จะอ้างว่าโทษตามมาตรา 340 วรรค 4 ที่แก้ไขใหม่โดยประกาศข้อ 14 ให้เพิ่มขึ้นกึ่งหนึ่งตามมาตรา 340 ตรี. ที่บัญญัติเพิ่มเติมขึ้นโดยข้อ 15 คำนวณโทษแล้วมีอัตราหนักกว่ามาตรา 340 วรรค 4 เดิมมาตรา 340 วรรค 4 ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี ที่แก้ไขใหม่นั้นไม่เป็นคุณแก่จำเลย จะต้องวางโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรค 4 เดิม ดังนี้ หาถูกต้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายอาญาในอดีตและปัจจุบัน กรณีโทษเบากว่าเดิม คดีปล้นทรัพย์
ขณะที่จำเลยกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง ยังไม่มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ออกใช้บังคับ การกระทำอันมีองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรีฯลฯ นั้น ยังไม่มีกฎหมายกำหนดโทษให้หนักขึ้นในขณะจำเลยกระทำผิดโจทก์ย่อมขอให้ศาลใช้มาตรา 340 ตรี เป็นบทลงโทษหรือนำไปประกอบมาตรา 340 วรรค 4 เพื่อให้โทษหนักขึ้นมิได้ คงได้แต่ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรค 4 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำผิด แต่เมื่อปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ออกใช้บังคับ ข้อ 14 ประกาศนี้แก้ไขโทษของมาตรา 340 วรรค 4 เดิมให้เบาลงก็ต้องใช้มาตรา 340 วรรค 4 ตามที่แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 14 บังคับแก่คดีนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 โจทก์จะอ้างว่าโทษตามมาตรา 340 วรรค 4 ที่แก้ไขใหม่โดยประกาศข้อ 14 ให้เพิ่มขึ้นกึ่งหนึ่งตามมาตรา 340 ตรี. ที่บัญญัติเพิ่มเติมขึ้นโดยข้อ 15 คำนวณโทษแล้วมีอัตราหนักกว่ามาตรา 340 วรรค 4 เดิม มาตรา 340 วรรค 4 ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี ที่แก้ไขใหม่นั้นไม่เป็นคุณแก่จำเลย จะต้องวางโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรค 4 เดิม ดังนี้ หาถูกต้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนของกลางที่ใช้ในการกระทำผิด เมื่อเจ้าของมิได้รู้เห็นเป็นใจ ศาลมีอำนาจสั่งคืนได้ตามกฎหมายอาญา
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 35 เป็นบทบัญญัติในเรื่องริบของกลางที่ใช้หรือได้มาโดยการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ แต่เมื่อมีผู้ร้องขอให้สั่งคืนของกลางที่ศาลสั่งริบไปแล้ว พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ประกอบด้วยมาตรา17 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทกฎหมายอาญาตามประกาศคณะปฏิวัติที่ส่งผลต่อโทษของจำเลย แม้ไม่ได้อุทธรณ์
ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำเลย 4 คน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรค 4 จำเลยคนหนึ่งฎีกา ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงตามศาลล่าง แต่เมื่อคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11ออกใช้บังคับ ข้อ 14ของประกาศดังกล่าวได้แก้ไขอัตราโทษของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรค 4 ให้เบาลง ซึ่งเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติมาใช้แก่จำเลยและเมื่อศาลฎีกาพิพากษาแก้บทเป็นให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรค 4 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ข้อ 14 ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้ตลอดไปถึงจำเลยอีก 3 คนที่ไม่ได้ฎีกาด้วยได้เพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทกฎหมายอาญาตามประกาศคณะปฏิวัติเมื่อมีกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย แม้จำเลยอื่นไม่ได้ฎีกา ก็มีผลถึงทุกคน
ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำเลย 4 คน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรค 4 จำเลยคนหนึ่งฎีกา ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงตามศาลล่าง แต่เมื่อคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11ออกใช้บังคับ ข้อ 14 ของประกาศดังกล่าวได้แก้ไขอัตราโทษของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรค 4 ให้เบาลง ซึ่งเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติมาใช้แก่จำเลย และเมื่อศาลฎีกาพิพากษาแก้บทเป็นให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา340 วรรค 4 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ข้อ 14 ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้ตลอดไปถึงจำเลยอีก 3 คนที่ไม่ได้ฎีกาด้วยได้ เพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทกฎหมายอาญาในคดีข่มขืนโทรมหญิง: กฎหมายใหม่ใช้บังคับกับเหตุการณ์ก่อนประกาศใช้ไม่ได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 เดิม ไม่มีข้อความซึ่งบัญญัติให้การกระทำโดยใช้อาวุธปืนและมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงมีโทษหนักขึ้นเหมือนอย่างที่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมแล้วโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 7 จำเลยกับพวก ร่วมกันใช้อาวุธปืนขู่เข็ญข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในลักษณะโทรมหญิงก่อนใช้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ระหว่างพิจารณามีประกาศนั้นออกใช้ประกาศดังกล่าวข้อ 7ไม่ใช่กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามมาตรา 3 แห่งประมวลกฎหมายอาญา จึงนำมาปรับบทแก่การกระทำผิดของจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันดาลโทสะจากการถูกด่าทอถึงบิดามารดา ถือเป็นการข่มเหงร้ายแรงตามกฎหมาย
ก่อนเกิดเหตุ ผู้ตายเคยมาทวงเงินจากจำเลยค่าพระเครื่องที่ผู้ตายหาว่าจำเลยเป็นคนซื้อไว้ 3-4 ครั้งแล้ว จำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นคนซื้อ วันเกิดเหตุผู้ตายมาทวงอีก เมื่อจำเลยปฏิเสธ ผู้ตายก็ด่าจำเลยว่า มึงอย่าหมา มึงเอาจริง ถ้าอย่างนั้นมึงลูกแม่ไม่สอน หมาเย็ดแม่ และเมื่อผู้ตายลงจากเรือนมาแล้วก็ยังด่าแล้วด่าอีกด้วยถ้อยคำหยาบคายก้าวร้าวถึงบิดามารดาของจำเลยอยู่ตลอดเวลา จนจำเลยอดโทสะไว้ไม่ได้ ตามไปใช้มีดฟันผู้ตายจนถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ เพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมฟ้องอาญาเพื่อยืนยันสถานะเจ้าพนักงานของผู้เสียหาย ไม่เป็นการอ้างกฎหมายใหม่เพื่อเพิ่มโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่า จำเลยได้ทำร้ายผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายได้รับอันตรายสาหัสเพราะเหตุที่ได้ปฏิบัติการตามหน้าที่ ต่อมาโจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องโดยอ้างพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494มาตรา 16 การขอเพิ่มเติมฟ้องนี้ก็เพื่อชี้ให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นว่ามีกฎหมายรับรองความเป็นเจ้าพนักงานของผู้เสียหาย หาได้เป็นการอ้างกฎหมายขึ้นใหม่เพื่อให้ศาลลงโทษจำเลยหนักขึ้นประการใดไม่ ฉะนั้น การที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้อง จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการลดโทษ: ลดมาตราส่วนก่อนกำหนดโทษตามกฎหมายอาญา มาตรา 76 และความแตกต่างจากมาตรา 54
การลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 นั้นหมายความว่าลดมาตราส่วนโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่จำเลยกระทำ (ก่อนกำหนดโทษจำเลย) มิใช่กำหนดโทษจำเลยเสียก่อนแล้วจึงลดมาตราส่วนโทษลง ส่วนมาตรา 54 นั้น เป็นเรื่องการคำนวณการเพิ่มโทษหรือลดโทษ (จากโทษที่ได้กำหนดแล้ว)
of 40