คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายใหม่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักการใช้กฎหมายเก่าเมื่อกฎหมายใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย และอำนาจสั่งทำลายสิ่งของผิดกฎหมาย
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรค 1 ได้วางหลักให้พิจารณาความผิดและลงโทษจำเลยตามกฎหมายในขณะที่จำเลยกระทำการอันถูกกล่าวหานั้น แม้ถึงว่าได้มีการยกเลิกกฎหมายนั้นแล้ก็ตาม มาตรา 2 วรรค 2 และมาตรา 3 ก็ให้พิจารณาใช้กฎหมายใหม่เฉพาะแต่เมื่อเป็นคุณแก่จำเลยเท่านั้น ถ้ากฎหมายใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย ก็ยังให้ใช้กฎหมายเก่าบังคับคดี
อัยการมีอำนาจขอให้ศาลสั่งทำลายต้นยางพาราซึ่งปลูกโดยมได้รับอนุญาต และขอให้บังคับเสียค่าใช้จ่ายในการทำลายนั้นได้ คำว่าขอเช่นว่านี้ เป็นคำขอทางอาญาหาใช่คำขอทางแพ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของกฎหมายใหม่ต่อคดีอาวุธปืนระหว่างพิจารณา: การยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยฐานมีอาวุธปืน ซึ่งมีหมายเลขทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครอง โดยมิได้รับอนุญาต แต่ไม่ริบปืนของกลาง อัยการโจทก์จึงอุทธรณ์ ขอให้ริบปืนของกลาง ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2501ออกใช้บังคับโดยมี มาตรา 9 วรรคหนึ่ง เปิดโอกาสให้ผู้มีอาวุธปืนฯมาขออนุญาตต่อนายทะเบียนในกำหนด 90 วัน โดยผู้นั้นไม่มีโทษ ดังนี้ต้องถือว่าในระหว่างนั้น กฎหมายยกเว้นโทษแก่ผู้มีอาวุธปืน โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ในระหว่างใช้ พระราชบัญญัตดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ย่อมพิพากษายกฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะสัญชาติไทยและการเนรเทศ: คำสั่งเนรเทศชอบด้วยกฎหมายแม้ภายหลังมีกฎหมายใหม่ให้สัญชาติคืน
โจทก์เกิดในประเทศไทย บิดาเป็นคนต่างด้าวและโจทก์ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ต่อมาจำเลยสั่งเนรเทศโจทก์ก่อนพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 7 ใช้บังคับ คำสั่งเนรเทศดังกล่าวย่อมเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
ก่อนมีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 7 ใช้บังคับ โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุคคลมีสัญชาติไทยซึ่งขณะฟ้องโจทก์ยังคงเป็นบุคคลขาดสัญชาติไทยอยู่ แม้ว่าต่อมาได้มีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 7 ใช้บังคับแล้วก็ดีปัญหาที่ว่า โจทก์จะได้สัญชาติไทยกลับคืนมาหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ซึ่งโจทก์ฟ้องเพื่อขอแสดงว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยเพื่อจะให้ยกเลิกคำสั่งเนรเทศเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายเก่าบังคับคดีอาญา แม้มีกฎหมายใหม่ยกเลิกแล้ว โดยพิจารณาจากหลักกฎหมายอาญา
ขณะกระทำผิด พระราชบัญญัติอากรการฆ่าสัตว์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2496 ยังใช้บังคับอยู่ แม้ต่อมาชั้นพิจารณาได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อ พ.ศ. 2502 ก็ตาม แต่การฆ่าโคกระบือที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายยังคงถือว่าเป็นความผิดอยู่ และไม่มีคุณแก่ผู้กระทำผิด จึงต้องใช้พระราชบัญญัติอากรการฆ่าสัตว์ที่ใช้ขณะกระทำผิดบังคับแก่คดีตามหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญา
ฆ่ากระบือ กฏหมายให้ปรับเรียงตัวสัตว์ที่ฆ่าได้ไม่เกินตัวละ 500 บาท ฉะนั้น เมื่อศาลปรับเรียงตัวจำเลยจึงปรับได้ไม่เกินคนละ 500 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายยกเว้นโทษอาวุธปืนใหม่มีผลถึงคดีระหว่างพิจารณา ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกฟ้องจำเลยทั้งหมด
คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2501 มาตรา 9 บัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต นำปืนไปขอรับอนุญาตภายใน 90 วัน โดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษดังนี้ จึงต้องถือว่า ในระหว่างนั้นกฎหมายยกเว้นโทษแก่ผู้มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ในระหว่างใช้พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ย่อมยกฟ้องได้ และแม้จะอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภายหลังระยะเวลา 90 วัน ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ก็หาทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียไปไม่ (อ้างฎีกาที่ 766/2490) (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2503)
จำเลยที่ต้องโทษไม่ได้อุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่ามีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ออกใหม่บัญญัติว่า การกระทำของจำเลยไม่ต้องรับโทษ นับว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่ไม่ได้อุทธรณ์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานลักทรัพย์: เลือกใช้บทลงโทษเบากว่าเมื่อกฎหมายใหม่ไม่ถือเป็นเหตุฉกรรจ์
เหตุเกิดในขณะใช้กฎหมายลักษณะอาญา จำเลยทั้ง 4 คน สมคบกันลักของใช้สำหรับราชการ และลักในเวลาค่ำคืน แต่ประมวลกฎหมายอาญา ม.335 มิได้บัญญัติว่าการลักของใช้ในราชการเป็นเหตุฉกรรจ์ของการลักทรัพย์ จึงลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา ม. 294 (4) ไม่ได้ (เทียบฎีกาที่ 535/2500)
แต่ว่าโดยที่การกระทำของจำเลยยังเป็นเหตุฉกรรจ์ ของการลักทรัพย์อยู่อีก 2ประการคือ ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน และร่วมกระทำผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ซึ่งประมวลกฎหมาย ม. 335 ยังบัญญัติไว้ให้เป็นเหตุฉกรรจ์อยู่ในอนุมาตรา (1) และ (7) ซึ่งตรงกับกฎหมายลักษณะอาญา ม.293(1) และ (11) และโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา ม. 293 เบากว่าโทษในประมวลกฎหมายอาญา ม.335 เช่นนี้ ต้องวางบทลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา ม. 293 (1) และ (11)
ขณะนี้ผลแห่งการตรวจสอบด้วยเครื่องจับเท็จ ยังมิใช่เป็นพยานหลักฐานที่ศาลยุติธรรมจะรับฟังเป็นยุติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานลักทรัพย์: การปรับบทลงโทษเมื่อกฎหมายใหม่ไม่ถือว่าการลักของใช้ราชการเป็นเหตุฉกรรจ์
เหตุเกิดในขณะใช้กฎหมายลักษณะอาญา จำเลยทั้ง 4 คนสมคบกันลักของใช้สำหรับราชการ และลักในเวลาค่ำคืน แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 มิได้บัญญัติว่าการลักของใช้ในราชการเป็นเหตุฉกรรจ์ของการลักทรัพย์ จึงลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 294(4) ไม่ได้(เทียบฎีกาที่ 535/2500) แต่ว่าโดยที่การกระทำของจำเลยยังเป็นเหตุฉกรรจ์ของการลักทรัพย์อยู่อีก 2 ประการ คือ ลักทรัพย์ในเวลากลางคืนและร่วมกระทำผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ยังบัญญัติไว้ให้เป็นเหตุฉกรรจ์อยู่ในอนุมาตรา (1) และ (7) ซึ่งตรงกับกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 293(1) และ (11) และโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 293 เบากว่าโทษในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335 เช่นนี้ ต้องวางบทลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 293(1) และ(11)
ขณะนี้ผลแห่งการตรวจสอบด้วยเครื่องจับเท็จ ยังมิใช่เป็นพยานหลักฐานทีศาลยุติธรรมจะรับฟังเป็นยุติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะโทษกักกันเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยหลังมีกฎหมายใหม่ และผลกระทบต่อการล้างมลทิน
ศาลพิพากษาจำคุกจำเลย 1 ปี และให้ส่งตัวไปกักกันอีก 3 ปีคดีถึงที่สุดก่อนใช้พระราชบัญญัติล้างมลทินและประมวลกฎหมายอาญาเมื่อจำเลยถูกจำคุกครบ 1 ปี แล้วระหว่างที่จำเลยถูกกักกันอยู่ มีพระราชบัญญัติล้างมลทินฯและประมวลกฎหมายอาญา ประกาศใช้บังคับเมื่อความผิดของจำเลยที่ต้องคำพิพากษามาแล้วนั้น เข้าเกณฑ์ที่ศาลอาจพิพากษาให้กักกันได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา41โทษกักกันที่จำเลยได้รับอยู่จึงเปลี่ยนลักษณะมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา15 วรรคแรกแม้ตามประมวลกฎหมายอาญาไม่ถือว่ากักกันเป็นโทษหากเป็นแต่เพียงวิธีการเพื่อความปลอดภัยที่จำเลยยังต้องรับต่อไปก็ตามก็ยังไม่ถือว่าจำเลยได้พ้นโทษกักกันนั้นไปแล้ว เพราะยังต้องถูกกักกันอยู่ โดยผลแห่งคำพิพากษาของศาลความผิดในกรณีนี้ของจำเลยจึงยังไม่ถูกลบล้างตาม มาตรา3 พระราชบัญญัติลบล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 ศาลจะสั่งปล่อยจำเลยไปหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมกระทงลงโทษและการปรับโทษตามกฎหมายใหม่ ศาลไม่จำเป็นต้องปรับโทษหากโทษเดิมไม่หนักกว่า
ศาลรวมกระทงลงโทษจำคุกจำเลย 15 ปีตาม ก.ม.ลักษณะอาญา มาตรา 131 และ 230 มิใช่ลงโทษตามบทที่หนัก โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาในกรณีนี้จึงไม่หนักกว่าโทษที่กำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และ 162 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา ม.3 (1) ไม่เป็นกรณีที่ศาลจะต้องกำหนดโทษเสียใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงโทษค่าปรับเป็นกักขังตามกฎหมายใหม่ แม้คดีถึงที่สุดแล้ว ศาลยังปรับโทษได้หากเป็นคุณแก่จำเลย
ศาลพิพากษาปรับ และให้บังคับตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 18 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิพากษาต่อมาประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 ใช้บังคับ ศาลย่อมกักขังแทนค่าปรับตามกฎหมายใหม่ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย แม้คำพิพากษาที่ใช้กฎหมายเก่าจะถึงที่สุดไปแล้วก็ตาม
of 27