พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องซ้ำเรื่องเครื่องหมายการค้าเดิมที่ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ถือเป็นการฟ้องซ้ำที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีเรื่องก่อน โดยเฉพาะคดีแดงที่ 4475/2506 เป็นเรื่องที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HIPEX สำหรับใช้สินค้าจำพวก 8 คือ เครื่องรับวิทยุ ฯลฯ. และได้ฟ้องจำเลยขอให้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวนี้. เพราะจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าHYPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 คือ เครื่องรับวิทยุฯลฯ. ศาลพิพากษายกฟ้อง. โจทก์กลับยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HIPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 ซ้ำอีก. ครั้นนายทะเบียนไม่รับจด. โจทก์ก็มาฟ้องจำเลยเป็นคดีขึ้นอีก. เห็นว่าคดีหลังนี้กับคดีแดงที่4475/2506 เป็นเรื่องเดียวกันโดยมีประเด็นข้อพิพาทเป็นอย่างเดียวกันว่า โจทก์มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าHIPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 หรือไม่. ในเมื่อจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HYPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันไว้แล้ว. ซึ่งต้องพิจารณาเรื่องที่กระทำ ไม่ใช่ครั้งของการกระทำ. แม้โจทก์จะประดิษฐ์รูปลักษณะของตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้าง. แต่ตัวอักษรก็ยังเป็นอย่างเดิม และเรียกขานเหมือนเดิม คือ HIPEX. ส่วนลวดลายส่วนประกอบโดยรอบตัวอักษร แม้จะมีเพิ่มขึ้นก็ไม่ใช่ส่วนสำคัญเพราะเป็นเพียงส่วนประกอบของลักษณะบ่งเฉพาะแห่งเครื่องหมายเท่านั้น. ไม่ทำให้เครื่องหมาย HIPEX ที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนครั้งหลังอันเป็นมูลฟ้องคดีนี้กลายเป็นคนละเครื่องหมายคนละเรื่องกับเรื่องก่อนไปได้. เมื่อคดีหลังกับคดีก่อนคือคดีแดงที่ 4475/2506 ของศาลชั้นต้นเป็นเรื่องเดียวกัน และขณะโจทก์ฟ้องคดีหลังนี้ คดีแดงที่ 4475/2506 ยังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา. โจทก์จึงฟ้องคดีหลังนี้ไม่ได้. ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตให้ถอนฟ้องหลังจำเลยให้การ แม้จำเลยคัดค้าน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 ที่บัญญัติในเรื่องโจทก์ขอถอนคำฟ้องภายหลังที่จำเลยยื่นคำให้การแล้วนั้น คงมีข้อห้ามไม่ให้ศาลอนุญาตโดยมิฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอดก่อนเท่านั้น หาได้มีข้อห้ามว่า ถ้าจำเลยคัดค้านแล้ว ศาลก็อนุญาตให้ถอนฟ้องไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ แม้จำเลยจะคัดค้าน ศาลย่อมสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ เพราะเป็นดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งตามที่เห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807-808/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายข้าวเปลือกเกิน 500 บาท แม้ไม่มีเอกสาร แต่การตวงข้าวถือเป็นการชำระหนี้ โจทก์ฟ้องได้
การซื้อขายข้าวเปลือกราคาเกินกว่า 500 บาท เมื่อจำเลยตวงข้าวไปจากโจทก์แล้ว ถือได้ว่ามีการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรค 2 แล้ว แม้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ก็ฟ้องเรียกราคาข้าวจากจำเลยได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (2) ที่ห้ามไม่ให้นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารนั้น ต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเท่านั้น กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกราคาข้าวที่ขายให้จำเลยโดยไม่มีเอกสารเป็นหนังสือมาแสดง แม้เอกสารจะมีข้อความว่า " รับฝากข้าวเปลือก" โจทก์ก็นำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าเป็นเรื่องซื้อขายข้าวกัน
จำเลยที่ 2 กระทำในนามผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 ได้เอาตราของบริษัทจำเลยที่ 1 มาดีประทับด้วย ถือว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ซื้อข้าวไปจากโจทก์ แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซื้อเชื่อข้าวเปลือกเจ้าจากโจทก์ ดังนี้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ผู้ประกอบกสิกรรมฟ้องเรียกเอาค่าผลิตผลแห่งกสิกรรมที่ได้ขายให้จำเลยซึ่งเป็นบริษัทโรงสี กรณีไม่เข้าอยู่ในบังคับแห่งอายุความ 2 ปี อายุความจึงมีกำหนด 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคท้าย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (2) ที่ห้ามไม่ให้นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารนั้น ต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเท่านั้น กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกราคาข้าวที่ขายให้จำเลยโดยไม่มีเอกสารเป็นหนังสือมาแสดง แม้เอกสารจะมีข้อความว่า " รับฝากข้าวเปลือก" โจทก์ก็นำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าเป็นเรื่องซื้อขายข้าวกัน
จำเลยที่ 2 กระทำในนามผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 ได้เอาตราของบริษัทจำเลยที่ 1 มาดีประทับด้วย ถือว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ซื้อข้าวไปจากโจทก์ แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซื้อเชื่อข้าวเปลือกเจ้าจากโจทก์ ดังนี้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ผู้ประกอบกสิกรรมฟ้องเรียกเอาค่าผลิตผลแห่งกสิกรรมที่ได้ขายให้จำเลยซึ่งเป็นบริษัทโรงสี กรณีไม่เข้าอยู่ในบังคับแห่งอายุความ 2 ปี อายุความจึงมีกำหนด 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำและการแบ่งทรัพย์สินร่วมกัน ศาลสั่งแบ่งทรัพย์สินตามสัดส่วนการครอบครอง
เดิมโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาท ศาลพิพากษาว่าโจทก์จำเลยและสามีได้ครอบครองที่พิพาทร่วมกันมา จึงไม่อาจพิพากษาขับไล่ได้ ให้ยกฟ้องโจทก์ แต่ไม่ตัดสิทธิที่จะฟ้องคดีใหม่เรียกทรัพย์ส่วนแบ่งของตนตามส่วนที่จะพึงได้ คดีนั้นถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ในนาพิพาทว่าเป็นของโจทก์ทั้งหมด และขอให้ขับไล่จำเลยกับบริวารอีก ดังนี้ ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์มีส่วนได้ในที่พิพาทบางส่วน ก็ควรพิพากษาแบ่งส่วนให้โจทก์จำเลยไปเสียทีเดียวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2) โดยไม่จำต้องให้ไปฟ้องใหม่กันอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องหลังศาลยังไม่ได้ชี้สองสถาน ไม่ขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ในวันนัดพร้อม ศาลจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า "ประเด็นตกโจทก์นำสืบก่อน ให้นัดสืบพยานโจทก์ 12 ก.พ. 06 เวลา 8.30 น." ดังนี้ ยังไม่ถือว่าเป็นการชี้สองสถานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183
ศาลนัดสืบพยานโจทก์ไว้ แต่เพราะโจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องในวันนั้น ศาลจึงสั่งนัดพิจารณาคำร้อง และคู่ความขอเลื่อนการสืบพยานไปก่อน ดังนี้ ไม่ถือว่าวันนั้นเป็นวันสืบพยานโจทก์ คำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องที่ยื่นในวันนั้น จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180.
ศาลนัดสืบพยานโจทก์ไว้ แต่เพราะโจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องในวันนั้น ศาลจึงสั่งนัดพิจารณาคำร้อง และคู่ความขอเลื่อนการสืบพยานไปก่อน ดังนี้ ไม่ถือว่าวันนั้นเป็นวันสืบพยานโจทก์ คำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องที่ยื่นในวันนั้น จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การโต้แย้งข้อเท็จจริงตามฟ้องไม่ใช่ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย
จำเลยฎีกาว่า ข้อเท็จจริงต่างกับฟ้องก็เพราะอ้างว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดดังนี้เป็นการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 683/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในที่ดินจากผู้ไม่มีสิทธิ การครอบครองปรปักษ์ และการฟ้องเรียกคืนการครอบครอง
ผู้ที่มิใช่เจ้าของที่ดิน ทำหนังสือสัญญาโอนขายที่ดินมือเปล่าที่อำเภอ แม้ผู้ซื้อจะได้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริต ก็ไม่ได้สิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299,1300
ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมือเปล่าโจทก์ได้มอบให้จำเลยที่ 1 ดูแลจัดให้คนเช่าจำเลยที่ 1 เอาที่พิพาทนั้นไปโอนขายให้แก่จำเลยที่2 โดยทำสัญญาซื้อขายกันที่อำเภอ จำเลยที่ 2 รับโอนไว้โดยสุจริต ดังนี้ แม้จะได้ความต่อไปว่า จำเลยที่ 2 ได้ครอบครองที่พิพาทนั้นมาเกินกว่า 1 ปีแล้วก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็คงได้สิทธิไปเพียงเท่าที่จำเลยที่ 1 มีอยู่ คือ มีฐานะเป็นผู้ยึดถือที่พิพาทแทนโจทก์สืบต่อจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น จะถือว่าจำเลยที่ 2 แย่งการครอบครองจากโจทก์ยังไม่ได้ จนกว่าจำเลยที่ 2 จะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381
ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมือเปล่าโจทก์ได้มอบให้จำเลยที่ 1 ดูแลจัดให้คนเช่าจำเลยที่ 1 เอาที่พิพาทนั้นไปโอนขายให้แก่จำเลยที่2 โดยทำสัญญาซื้อขายกันที่อำเภอ จำเลยที่ 2 รับโอนไว้โดยสุจริต ดังนี้ แม้จะได้ความต่อไปว่า จำเลยที่ 2 ได้ครอบครองที่พิพาทนั้นมาเกินกว่า 1 ปีแล้วก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็คงได้สิทธิไปเพียงเท่าที่จำเลยที่ 1 มีอยู่ คือ มีฐานะเป็นผู้ยึดถือที่พิพาทแทนโจทก์สืบต่อจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น จะถือว่าจำเลยที่ 2 แย่งการครอบครองจากโจทก์ยังไม่ได้ จนกว่าจำเลยที่ 2 จะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนชื่อออกจาก ส.ค.1 เมื่อมีข้อพิพาทเรื่องสิทธิในที่ดิน ต้องเริ่มคดีด้วยการยื่นฟ้อง
การร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนชื่อบุคคลผู้ไม่มีสิทธิออกจากแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1 ) นั้น เห็นได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น ระหว่างผู้ร้องกับผู้มีชื่อในแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ว่าใครมีสิทธิเหนือที่ดินดีกว่ากัน เป็นคดีมีข้อพิพาทแล้ว จึงต้องเริ่มคดีโดยทำเป็นคำฟ้องต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าเมื่อยังไม่ได้จดทะเบียนสำหรับทุกประเภทสินค้า
โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้ว สำหรับสินค้าประเภท 2 และโจทก์ได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับประเภท 3 ในสินค้าอย่างเดียวกัน ซึ่งนายทะเบียนไม่ยอมรับจดให้จนกว่าโจทก์จำเลยจะตกลงกันเองหรือนำคดีขึ้นสู่ศาลซึ่งเป็นการสั่งให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 21, 22 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยห้ามใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 572/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการอุทธรณ์/ฎีกาขอไม่ให้รอการลงโทษจำกัดเฉพาะผู้เสียหายจากการกระทำโดยตรง
เมื่อศาลล่างฟังข้อเท็จจริงว่าการทำร้ายเกิดจากการวิวาทต่อสู้โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายดังนั้นจะอุทธรณ์หรือฎีกาขอไม่ให้รอการลงอาญาจำเลยไม่ได้