พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6906/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้า: ศาลไม่รับพยาน เนื่องจากความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลย และการไม่ปฏิบัติตามกำหนดเวลา
จำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดที่สอง ซึ่งหลังวันสืบพยานครั้งแรกเดือนเศษ โดยไม่ปรากฏว่าเหตุใดจึงเพิ่งมายื่นคำร้องทั้งที่ควรจะยื่นคำร้องในโอกาสแรกที่พึงกระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในคดี จำเลยจะยกเรื่องทนายความของตนละทิ้งหน้าที่มาเป็นเหตุที่ทำให้ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาไม่ได้ และจำเลยไม่อาจอ้างเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมอันเกิดจากความผิดพลาดของจำเลยเอง ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องเสียเปรียบเพราะการดำเนินคดีต้องล่าช้าไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5877/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด หากไม่ดำเนินการตามกำหนดเวลา แม้จะมีเหตุผล ก็ไม่สามารถขยายเวลาอุทธรณ์ได้
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่รับรองให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยอธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอำนาจมิได้เป็นคณะในคำสั่งนั้นหากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต่อไป จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษานั้น ภายใน 7 วันเพื่อให้มีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 230 วรรคสาม แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ กลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้วโดยอ้างเหตุว่าจะได้มีเวลาขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอีกคนหนึ่งรับรองให้อุทธรณ์ จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยและไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ชอบด้วยกฎหมาย และผลของการไม่โต้แย้งการประเมินตามกำหนด
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 และมาตรา 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินหรือบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้นเป็นหลักในการคำนวณภาษี ซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนี้ทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในปี 2538 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2539 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินและแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระไปยังจำเลย ภาษีดังกล่าวเรียกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2539 ที่โจทก์ระบุว่าเป็นการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2539โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาคำนวณตามแบบแจ้งรายการจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
จำเลยได้รับแจ้งคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540หากจำเลยยังไม่พอใจคำชี้ขาดก็อาจนำคดีไปสู่ศาล เพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องได้ แต่ต้องทำภายในสามสิบวันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิโต้แย้งต่อศาลว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่ชอบในการโต้แย้งนั้นไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลยผู้รับประเมินก็หมดสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกัน
จำเลยได้รับแจ้งคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540หากจำเลยยังไม่พอใจคำชี้ขาดก็อาจนำคดีไปสู่ศาล เพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องได้ แต่ต้องทำภายในสามสิบวันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิโต้แย้งต่อศาลว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่ชอบในการโต้แย้งนั้นไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลยผู้รับประเมินก็หมดสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4885/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำฟ้องหลังกำหนดเวลา: ศาลไม่อนุญาตหากทราบข้อเท็จจริงก่อนฟ้อง แม้อ้างเพิ่งทราบผลอุทธรณ์
++ เรื่อง คดีปกครอง (เรียกค่าทดแทนที่ดิน) (ชั้นขอแก้ไขคำฟ้อง) ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้ร่วมกันจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเนื้อที่ 43 ไร่ 3 งาน79 ตารางวา เพิ่มขึ้นอีกตารางวาละ 3,000 บาท กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์อีกส่วนหนึ่งที่ถูกเวนคืนในคราวเดียวกัน เนื้อที่ดิน 4 ไร่ 2 งาน ซึ่งโจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินจากจำเลยทั้งสองคิดเป็นเงินตารางวาละ 8,000 บาท จำเลยทั้งสองให้การว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพียง 43 ไร่ 3 งาน79 ตารางวา เท่านั้น ซึ่งโจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เหมาะสมไปแล้วในอัตราตารางวาละ 5,000 บาท ส่วนที่ดินอีก 4 ไร่ 2 งาน เป็นที่ดินแนวเขตชลประทานซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ และโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มต่อจำเลยที่ 1 ภายใน 60 วัน จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นชี้สองสถานสืบพยานโจทก์เสร็จ และสืบพยานจำเลยทั้งสองได้ 2 ปาก คดีอยู่ในระหว่างสืบพยานจำเลยทั้งสอง โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง โดยขอเพิ่มเติมข้อความเป็นข้อ 2.1 ว่า จำเลยที่ 2 กับเจ้าหน้าที่จงใจหรือประมาทเลินเล่อละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้อง โดยมิได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่มีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน ให้แก่โจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420, 421 และตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 จำเลยทั้งสองยื่นคำแถลงคัดค้าน
++ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180แล้ว จึงไม่อนุญาต ให้ยกคำร้องขอ ค่าคำร้องขอเป็นพับ ++
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
++ โจทก์ฎีกา ++
++
++ ศาลฎีกาคณะคดีปกครองตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่ได้รับไปแล้วกับให้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินอีก 4 ไร่ 2 งาน ที่ถูกเวนคืนในคราวเดียวกันซึ่งโจทก์ยังไม่ได้รับเงิน หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว ในระหว่างสืบพยานจำเลยทั้งสอง โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2จงใจหรือประมาทเลินเล่อละเว้นไม่กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินอีกส่วนหนึ่งให้แก่โจทก์ โดยอ้างว่าโจทก์เพิ่งทราบเนื้อหาสาระในเรื่องที่ขอแก้ไขนี้ไม่อาจยื่นคำร้องขอได้ก่อนวันชี้สองสถาน และเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องหลังวันชี้สองสถานหรือไม่ ++
++ เห็นว่า คำฟ้องของโจทก์แสดงอยู่ว่า โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน นี้ตั้งแต่ก่อนฟ้องแล้ว จำเลยที่ 2หรือเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ผู้ใดกระทำละเมิดอย่างไร โจทก์ควรจะต้องทราบอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนฟ้อง ไม่ใช่ว่าเพิ่งทราบ ที่อ้างว่าเพิ่งทราบผลการพิจารณาอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดิน เพราะทนายจำเลยทั้งสองเพิ่งส่งสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2541 ตามสำเนาเอกสารท้ายคำร้อง เห็นได้จากเอกสารดังกล่าวว่าการอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการอุทธรณ์ในเรื่องเงินค่าทดแทนที่ดินทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับเรื่องละเมิดที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องหลังกำหนดเวลาตามกฎหมายเลย การที่จำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน ให้แก่โจทก์นั้นจำเลยที่ 2 อ้างเหตุว่า เป็นแนวเขตชลประทานอันเป็นที่สาธารณะที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ มีมติว่า สำหรับส่วนที่ยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทนให้กรมทางหลวงตรวจสอบ จึงน่าจะมีความหมายเพียงว่าให้ตรวจสอบเรื่องการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แน่ชัดเท่านั้น มิใช่ตรวจสอบการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 หรือเจ้าหน้าที่ เพราะที่ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่แรกไม่มีเรื่องละเมิดนี้อยู่ ที่โจทก์อ้างว่าเพิ่งทราบเนื้อหาสาระในเรื่องที่ขอแก้ไข ไม่อาจยื่นคำร้องขอได้ก่อนวันชี้สองสถานฟังไม่ขึ้น และที่โจทก์อ้างว่าที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน เป็นของโจทก์นั้นก็เห็นอยู่ว่า เป็นการอ้างสิทธิจะเอาที่ดินดังกล่าวเป็นของตน แม้จะพิพาทกับทางราชการ และมีประเด็นที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ก็มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะมิได้กระทบกระเทือนต่อคนส่วนมาก
++ ในเรื่องนี้มิใช่ว่าถ้าสิ่งที่พิพาทกันนั้นเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วจะต้องเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไปเสียทั้งหมด
++ กรณีของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 โจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันชี้สองสถานตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายมาตราดังกล่าวไม่อาจยื่นภายหลังได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอของโจทก์ชอบแล้ว ++
++ พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้ร่วมกันจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเนื้อที่ 43 ไร่ 3 งาน79 ตารางวา เพิ่มขึ้นอีกตารางวาละ 3,000 บาท กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์อีกส่วนหนึ่งที่ถูกเวนคืนในคราวเดียวกัน เนื้อที่ดิน 4 ไร่ 2 งาน ซึ่งโจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินจากจำเลยทั้งสองคิดเป็นเงินตารางวาละ 8,000 บาท จำเลยทั้งสองให้การว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพียง 43 ไร่ 3 งาน79 ตารางวา เท่านั้น ซึ่งโจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เหมาะสมไปแล้วในอัตราตารางวาละ 5,000 บาท ส่วนที่ดินอีก 4 ไร่ 2 งาน เป็นที่ดินแนวเขตชลประทานซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ และโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มต่อจำเลยที่ 1 ภายใน 60 วัน จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นชี้สองสถานสืบพยานโจทก์เสร็จ และสืบพยานจำเลยทั้งสองได้ 2 ปาก คดีอยู่ในระหว่างสืบพยานจำเลยทั้งสอง โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง โดยขอเพิ่มเติมข้อความเป็นข้อ 2.1 ว่า จำเลยที่ 2 กับเจ้าหน้าที่จงใจหรือประมาทเลินเล่อละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้อง โดยมิได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่มีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน ให้แก่โจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420, 421 และตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 จำเลยทั้งสองยื่นคำแถลงคัดค้าน
++ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180แล้ว จึงไม่อนุญาต ให้ยกคำร้องขอ ค่าคำร้องขอเป็นพับ ++
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
++ โจทก์ฎีกา ++
++
++ ศาลฎีกาคณะคดีปกครองตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่ได้รับไปแล้วกับให้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินอีก 4 ไร่ 2 งาน ที่ถูกเวนคืนในคราวเดียวกันซึ่งโจทก์ยังไม่ได้รับเงิน หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว ในระหว่างสืบพยานจำเลยทั้งสอง โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2จงใจหรือประมาทเลินเล่อละเว้นไม่กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินอีกส่วนหนึ่งให้แก่โจทก์ โดยอ้างว่าโจทก์เพิ่งทราบเนื้อหาสาระในเรื่องที่ขอแก้ไขนี้ไม่อาจยื่นคำร้องขอได้ก่อนวันชี้สองสถาน และเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องหลังวันชี้สองสถานหรือไม่ ++
++ เห็นว่า คำฟ้องของโจทก์แสดงอยู่ว่า โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน นี้ตั้งแต่ก่อนฟ้องแล้ว จำเลยที่ 2หรือเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ผู้ใดกระทำละเมิดอย่างไร โจทก์ควรจะต้องทราบอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนฟ้อง ไม่ใช่ว่าเพิ่งทราบ ที่อ้างว่าเพิ่งทราบผลการพิจารณาอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดิน เพราะทนายจำเลยทั้งสองเพิ่งส่งสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2541 ตามสำเนาเอกสารท้ายคำร้อง เห็นได้จากเอกสารดังกล่าวว่าการอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการอุทธรณ์ในเรื่องเงินค่าทดแทนที่ดินทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับเรื่องละเมิดที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องหลังกำหนดเวลาตามกฎหมายเลย การที่จำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน ให้แก่โจทก์นั้นจำเลยที่ 2 อ้างเหตุว่า เป็นแนวเขตชลประทานอันเป็นที่สาธารณะที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ มีมติว่า สำหรับส่วนที่ยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทนให้กรมทางหลวงตรวจสอบ จึงน่าจะมีความหมายเพียงว่าให้ตรวจสอบเรื่องการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แน่ชัดเท่านั้น มิใช่ตรวจสอบการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 หรือเจ้าหน้าที่ เพราะที่ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่แรกไม่มีเรื่องละเมิดนี้อยู่ ที่โจทก์อ้างว่าเพิ่งทราบเนื้อหาสาระในเรื่องที่ขอแก้ไข ไม่อาจยื่นคำร้องขอได้ก่อนวันชี้สองสถานฟังไม่ขึ้น และที่โจทก์อ้างว่าที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน เป็นของโจทก์นั้นก็เห็นอยู่ว่า เป็นการอ้างสิทธิจะเอาที่ดินดังกล่าวเป็นของตน แม้จะพิพาทกับทางราชการ และมีประเด็นที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ก็มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะมิได้กระทบกระเทือนต่อคนส่วนมาก
++ ในเรื่องนี้มิใช่ว่าถ้าสิ่งที่พิพาทกันนั้นเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วจะต้องเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไปเสียทั้งหมด
++ กรณีของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 โจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันชี้สองสถานตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายมาตราดังกล่าวไม่อาจยื่นภายหลังได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอของโจทก์ชอบแล้ว ++
++ พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาขอคืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 36 เริ่มนับเมื่อคดีถึงที่สุดหลังสิ้นสุดระยะอุทธรณ์ฎีกา
ป.อ. มาตรา 36 บัญญัติให้เจ้าของทรัพย์ที่แท้จริงเสนอคำขอคืนของกลางต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วัน คำพิพากษาถึงที่สุด คำว่า "หนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด" หมายถึงกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่คดีเรื่องนั้นถึงที่สุด โดยเริ่มนับเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์หรือฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 มิใช่นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งริบของกลางแล้วไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ คดีนี้แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ในเรื่องริบของกลางแต่จำเลยยังอุทธรณ์เรื่องขอให้รอการลงโทษจำคุกอยู่ คดีจึงยังไม่ถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4092/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคัดค้านคำร้องขอจัดการมรดก: ศาลไม่ควรกำหนดเวลาแตกต่างจากประกาศ หากไม่มีการส่งหมายนัดก็ยื่นได้ก่อนไต่สวน
แม้การที่ศาลชั้นต้นส่งหมายนัดไต่สวนและสำเนาคำร้องขอของผู้ร้องในคดีไม่มีข้อพิพาทให้ผู้คัดค้านจะเป็นการแจ้งให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบโดยตรงเพื่อใช้สิทธิร้องคัดค้านได้โดยสะดวกก็ตาม แต่ศาลก็ไม่ควรกำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำร้องคัดค้านให้ต่างไปจากประกาศคำร้องขอและกำหนดนัดไต่สวนที่ประกาศทางหนังสือพิมพ์จนเสียหายแก่สิทธิของผู้คัดค้าน ซึ่งหากไม่มีการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอผู้คัดค้านก็ชอบที่จะร้องคัดค้านเมื่อใดก็ได้ก่อนที่ศาลจะไต่สวน ฉะนั้นเมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านก่อนที่ศาลชั้นต้นจะไต่สวนคำร้องขอ ศาลชั้นต้นก็ต้องรับคำร้องคัดค้านไว้พิจารณา จะนับระยะเวลาตามหมายนัดมาตัดสิทธิของผู้คัดค้านหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องยื่นก่อนครบกำหนด หากเลยกำหนดศาลไม่มีอำนาจรับอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายหลังจากที่กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดลงแล้วโดยกรณีไม่มีเหตุสุดวิสัยศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปให้ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 198 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้น หากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 213 ดังกล่าว มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1อุทธรณ์ขึ้นมา
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 198 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้น หากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 213 ดังกล่าว มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1อุทธรณ์ขึ้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ที่เกินกำหนดระยะเวลา และอำนาจศาลในการพิจารณาคดีของจำเลยที่ไม่ได้อุทธรณ์
จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้น และหากเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 213มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1เพราะจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขึ้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3170/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งบังคับตามสัญญาประกันตัว: กำหนดเวลาอุทธรณ์นับจากคำสั่งล่าสุดที่บังคับใช้จริง
แม้ผู้ประกันจะผิดสัญญาประกันไม่ส่งตัวจำเลยต่อศาลตั้งแต่วันที่ 31กรกฎาคม 2541 และศาลชั้นต้นได้สั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันไปแล้วแต่ในวันนัดพร้อมต่อมาผู้ประกันแถลงขอเลื่อนการส่งตัวจำเลยและศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งอนุญาต ย่อมมีความหมายว่าในช่วงเวลาดังกล่าวศาลจะยังไม่บังคับผู้ประกันให้ชำระค่าปรับตามสัญญาประกันและเป็นที่เข้าใจว่าหากผู้ประกันสามารถติดต่อตามจำเลยมาส่งศาลได้ ศาลชั้นต้นย่อมสั่งลดค่าปรับให้แก่ผู้ประกัน ต่อมาเมื่อถึงวันนัดพร้อมอีกครั้งในวันที่ 2 ธันวาคม 2541 ผู้ประกันก็ยังไม่สามารถติดตามจำเลยได้และขอเลื่อนการส่งตัวอีกครั้งหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตและสั่งว่าถือว่าผู้ประกันผิดสัญญาประกัน ให้บังคับตามสัญญาประกันโดยให้ชำระค่าปรับภายใน 1 เดือน แต่ในวันนัดพร้อมวันที่ 30 ธันวาคม 2541อันเป็นนัดสุดท้าย ผู้ประกันก็ยังมิได้ชำระค่าปรับแต่มาแถลงต่อศาลขอเลื่อนการส่งตัวจำเลยอีกซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตและให้ผู้ประกันชำระค่าปรับภายใน 30 วัน คำสั่งดังกล่าวมีความหมายว่าให้ผู้ประกันชำระค่าปรับตามสัญญาประกันภายใน 30 วันนับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2541อันเป็นวันที่ศาลมีคำสั่ง ดังนั้น การอุทธรณ์ของผู้ประกันถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 30 ธันวาคม 2541 ที่ได้สั่งบังคับตามสัญญาประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119
เมื่อผู้ประกันได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์2542 เนื่องจากวันที่ 30 และ 31 มกราคม 2542 เป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดทำการงานตามปกติ อุทธรณ์ของผู้ประกันจึงมิได้ยื่นเกินกำหนด1 เดือน นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2541 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นสั่งบังคับตามสัญญาประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่ง
เมื่อผู้ประกันได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์2542 เนื่องจากวันที่ 30 และ 31 มกราคม 2542 เป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดทำการงานตามปกติ อุทธรณ์ของผู้ประกันจึงมิได้ยื่นเกินกำหนด1 เดือน นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2541 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นสั่งบังคับตามสัญญาประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2900/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาบังคับคดี 10 ปี มิใช่อายุความ การดำเนินการบังคับคดีไม่ทันกำหนด ทำให้สิทธิเรียกร้องหมดไป
กำหนดระยะเวลาในการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 เป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมายวิธีสบัญญัติ มิใช่เรื่องอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องอันจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันเป็นกฎหมายสารบัญญัติ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ เมื่อหนี้ที่ค้างชำระโจทก์ มิได้ดำเนินการบังคับคดีเสียภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษา โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสอง โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้ที่พ้นกำหนดเวลาบังคับคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายได้