คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ก่อสร้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 306 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1563/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำทางน้ำสาธารณะด้วยการก่อสร้างกำแพง เจ้าของที่ดินไม่มีสิทธิในที่ดินสาธารณะ
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 16573 และ 17726 ทิศใต้ของที่ดินทั้งสองแปลงมีลำกระโดงหลอดเจ๊กโป้ตั้งอยู่ ลำกระโดงดังกล่าวชาวบ้านได้ใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำมาเป็นเวลานับสิบ ๆ ปี โดยไม่มีผู้ใดขัดขวางหวงห้าม นอกจากนี้ทางราชการยังเคยเข้าไปขุดลอกเมื่อลำกระโดงนั้นตื้นเขิน ถือได้โดยปริยายว่าเจ้าของที่ดินได้อุทิศที่ดินส่วนที่เป็นลำกระโดงให้เป็นทางน้ำสาธารณประโยชน์แล้วลำกระโดงหลอดเจ๊กโป้ จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) ซึ่งไม่อาจโอนให้กันได้ การที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารกำแพงอิฐบล็อคคอนกรีตเสริมเหล็กรุกล้ำเข้าไปในลำกระโดงหลอดเจ๊กโป้ซึ่งเป็นทางน้ำสาธารณประโยชน์โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้นจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522ข้อ 69 และข้อ 72 วรรคแรก เมื่อปรากฏว่ากำแพงอิฐบล็อคคอนกรีตเสริมเหล็กของจำเลยทั้งสองในส่วนที่รุกล้ำเข้าไปในลำกระโดงดังกล่าวไม่สามารถที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522ข้อ 72 วรรคแรกได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นในเขตกรุงเทพมหานคร จึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารกำแพงอิฐบล็อคคอนกรีตเสริมเหล็กให้พ้นพื้นที่ลำกระโดงหลอดเจ๊กโป้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดิน: รายละเอียดการรุกล้ำไม่เป็นเหตุฟ้องขาดสาระสำคัญ, การก่อสร้างโดยสุจริต
แม้ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าอาคารของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์อย่างไร ส่วนไหน ขนาดกว้างยาวเท่าไร อยู่ทางทิศไหนของที่ดินก็หาเป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์ขาดสาระสำคัญไม่ เพราะข้อที่โจทก์มิได้บรรยายมานั้นเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยมีส่วนร่วมรู้เห็นและควบคุมดูแลการชี้แนวเขตและทำการก่อสร้าง แต่ไม่ทราบว่ามีการก่อสร้างคลาดเคลื่อนทำให้ตึกแถวรุกล้ำที่ดินของโจทก์ถือได้ว่าจำเลยได้ก่อสร้างตึกแถวรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างรุกล้ำที่ดิน แม้ได้รับประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้าง ก็ต้องเสียค่าใช้ที่ดิน และอาจจดทะเบียนภารจำยอมได้
ที่ดินของโจทก์อยู่ติดกัน โจทก์จำเลยว่าจ้าง บ. ให้ปลูกสร้างตึกแถว 4 ชั้น บนที่ดินของทั้ง 2 ฝ่าย โดยให้ตึกแถวส่วนของโจทก์อยู่บนที่ดินของโจทก์และตึกแถวส่วนของจำเลยอยู่บนที่ดินของจำเลยโดยให้ใช้คานคอดินกับผนังตึกซึ่งอยู่กึ่งกลางตามแนวเขตร่วมกันแต่เมื่อการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จจึงรู้ว่าคานคอดินและผนังตึกที่ใช้ร่วมกันรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์เป็นเนื้อที่ประมาณ1 ตารางวา เช่นนี้ เมื่อการก่อสร้างคลาดเคลื่อนทำให้คานคอดินที่เป็นแนวแบ่งแยกตึกรวมทั้งผนังตึกที่ตั้งอยู่บนคานคอดินซึ่งโจทก์จำเลยใช้ประโยชน์ร่วมกันรุกล้ำเข้าไปอยู่ในที่ดินของโจทก์แม้โจทก์จะได้รับประโยชน์จากคานคอดินและผนังตึกด้วยก็จะถือว่าจำเลยมิได้ก่อสร้างตึกแถวรุกล้ำที่ดินของโจทก์หาได้ไม่ หากแต่ต้องถือว่าจำเลยก่อสร้างตึกแถวรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยโจทก์มิได้ยินยอม อันเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์ในที่ดินแล้ว แม้ปรากฏว่าขณะทำการชี้แนวเขตวางผังและทำการก่อสร้างโจทก์จำเลยมีส่วนร่วมรู้เห็นและควบคุมดูแล แต่ก็ไม่ทราบว่ามีการก่อสร้างคลาดเคลื่อนอันทำให้ตึกแถวของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์จำเลยจะอ้างว่าการก่อสร้างรุกล้ำเกิดจากความผิดพลาดของโจทก์เองหาได้ไม่และจะถือว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยก่อสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ก็ไม่ได้ เนื่องจากโจทก์จำเลยตกลงกันมาแต่ต้นเพียงว่าให้ตึกแถวของโจทก์และจำเลยตั้งอยู่บนที่ดินของแต่ละฝ่าย ทั้งจะถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงแต่เพียงฝ่ายเดียวก็ไม่ได้ เพราะจำเลยก็มีหน้าที่ต้องระมัดระวังเช่นเดียวกัน กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องเสียเงินเป็นค่าใช้ที่ดินส่วนที่รุกล้ำเข้าไปให้แก่โจทก์ และมีสิทธิเรียกให้โจทก์จดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและการก่อสร้างโดยสุจริต การฟ้องค่าเสียหายและภารจำยอม
แม้ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าอาคารของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์อย่างไร ส่วนไหน ขนาดกว้างยาวเท่าไร อยู่ทางทิศไหนของที่ดิน ก็หาเป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์ขาดสาระสำคัญไม่ เพราะข้อที่โจทก์มิได้บรรยายมานั้นเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยมีส่วนร่วมรู้เห็นและควบคุมดูแลการชี้แนวเขตและทำการก่อสร้าง แต่ไม่ทราบว่ามีการก่อสร้างคลาดเคลื่อนทำให้ตึกแถวรุกล้ำที่ดินของโจทก์ถือได้ว่าจำเลยได้ก่อสร้างตึกแถวรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาจ้างก่อสร้าง: การคิดค่าปรับเมื่อผู้รับจ้างไม่เริ่มงานตามสัญญา
สัญญากำหนดว่า หากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญาผู้รับจ้างจะจ่ายค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นจำนวนเงินวันละ23,706.54 บาท สำหรับความล่าช้านับแต่วันกำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาหรือวันที่ผู้ว่าจ้างได้ขยายให้จนถึงวันที่ทำงานแล้วเสร็จจริงหมายความว่าผู้รับจ้างต้องจ่ายค่าปรับเพราะเหตุส่งมอบงานล่าช้านับแต่วันที่กำหนดทำงานแล้วเสร็จตามสัญญา จนถึงวันทำงานแล้วเสร็จจริงกรณีหนึ่งกับสำหรับความล่าช้านับแต่วันที่ผู้ว่าจ้างขยายให้จนถึงวันที่ผู้รับจ้างทำงานแล้วเสร็จอีกกรณีหนึ่ง เมื่อผู้รับจ้างมิได้เข้าทำงานตามที่ได้ทำสัญญาไว้เลย จึงไม่มีวันที่ผู้รับจ้างทำงานแล้วเสร็จหลังจากวันที่ครบกำหนดสัญญาได้ ผู้ว่าจ้างจึงไม่อาจเรียกเบี้ยปรับเป็นรายวันตามข้อสัญญาดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาก่อสร้าง: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับหากสูงเกินส่วน โดยอ้างอิงความเสียหายที่แท้จริง
ตามสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า จำเลยต้องทำงานให้แล้วเสร็จภายใน 300 วันถ้าเกินกำหนดจำเลยต้องเสียค่าปรับให้แก่โจทก์วันละ2,640 บาท แต่ค่าปรับดังกล่าวคือค่าเสียหายที่โจทก์จำเลยตกลงกำหนดเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์เมื่อปฏิบัติผิดสัญญา จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับแม้มีข้อตกลงกันไว้แต่ก็มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าจำนวนเบี้ยปรับจะต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลชอบที่จะยกบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องลดเบี้ยปรับมาใช้บังคับแก่คดีโดยลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ อันเป็นอำนาจของศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการไม่ชำระงานก่อสร้างตามสัญญา ศาลกำหนดตามสมควรเมื่อโจทก์พิสูจน์จำนวนค่าเสียหายไม่ได้
ตามสัญญาว่าจ้างให้จำเลยทำการก่อสร้างหลักไพ นำพร้อมอุปกรณ์และหลักกิโลเมตร จำเลยไม่สามารถก่อสร้างได้แล้วเสร็จตามกำหนดสัญญา โจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญานอกจากโจทก์จะมีสิทธิริบหลักประกันแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ด้วย ความเสียหายที่โจทก์ได้รับคือไม่สามารถใช้สอยหลักกิโลเมตรร่องน้ำที่จำเลยรับจ้างก่อสร้างให้โจทก์ไม่ใช่ค่าเสียหายเท่ากับค่าจ้างก่อสร้างที่ได้จ้างให้แก่จำเลย และเมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบถึงจำนวนค่าเสียหายได้ ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหาย ให้โจทก์ได้รับตามจำนวนสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุริมสิทธิพิเศษจากการก่อสร้างบนที่ดินของผู้อื่น และสถานะเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย
เจ้าหนี้ได้ก่อสร้างอาคารขึ้นบนที่ดินของจำเลยที่ 3 ตามสัญญาจ้างเหมา ทำให้ราคาที่ดินของจำเลยที่ 3 สูงขึ้น หนี้ค่าก่อสร้างจึงมีอยู่เป็นคุณแก่เจ้าหนี้ ทำให้เจ้าหนี้มีบุริมสิทธิในมูลจ้างทำของเหนือที่ดินของจำเลยที่ 3 ในหนี้ค่าก่อสร้างดังกล่าว แต่เจ้าหนี้มิได้ทำรายการประมาณราคาชั่วคราวไปบอกลงทะเบียนไว้ก่อน เริ่มลงมือทำการก่อสร้างอาคารเพื่อให้มีผลบริบูรณ์เป็นบุริมสิทธิพิเศษ ใช้ยันเจ้าหนี้อื่นในการที่จะได้รับชำระหนี้เหนือที่ดินของจำเลยที่ 3 ต่อไปก่อนเจ้าหนี้อื่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 286 ดังนั้น จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันตามความหมายใน มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483เจ้าหนี้อยู่ในฐานะที่ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ได้อย่างเจ้าหนี้สามัญตามมาตรา 130 (8) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างปรับปรุงถนนเพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ถือเป็นละเมิด หากผู้ซื้อที่ดินทราบถึงความเสี่ยงและประโยชน์สาธารณะมีน้ำหนักมากกว่าความเสียหายส่วนตัว
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะเกิดกรณีพิพาทคดีนี้ ข้อ 7 กำหนดให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษาทางหลวงจังหวัด และข้อ 18 ให้อธิบดีของจำเลยเป็นเจ้าหน้าที่กำกับตรวจตราและควบคุมงานที่เกี่ยวกับทางหลวงจังหวัด เมื่อจำเลยดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงถนนพิพาทโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าว เพื่อความสะดวกปลอดภัยในการจราจรของประชาชนทั่วไปและเพื่อป้องกันน้ำท่วมซึ่งเป็นการสร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่น โดยมิได้มีเจตนากลั่นแกล้งผู้ใด ประกอบกับไม่สามารถหลีกเลี่ยงการยกระดับถนนให้ต่ำลงกว่าที่สร้างได้ เพราะจะทำให้การจราจรติดขัดและอาจเกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของผู้ที่ต้องใช้ทางหลวงจังหวัดสายนี้จำนวนมากได้ ทั้งโจทก์ทราบมาก่อนซื้อที่ดินพร้อมบ้านแล้วว่าจำเลยจะก่อสร้างปรับปรุงยกระดับถนนพิพาท เมื่อเอาสภาพและตำแหน่งที่ดินพร้อมบ้านที่โจทก์ซื้อดังกล่าวซึ่งอยู่ติดถนนพิพาทมาคำนึงประกอบแล้ว โจทก์จึงคาดหมายได้ว่าการยกระดับถนนพิพาทอาจทำให้ที่ดินและบ้านที่โจทก์กำลังจะซื้อนั้นถูกถนนพิพาทบังทางลมและแสงสว่าง เท่ากับโจทก์ยอมรับสภาพดังกล่าวก่อนซื้อที่ดินและบ้านไว้แล้ว และเมื่อเปรียบเทียบประโยชน์ที่ประชาชนทั่วไปจำนวนมากจะได้รับความสะดวกปลอดภัยและความเจริญของท้องถิ่นจากการยกระดับถนนพิพาทในระดับที่สร้างกับการที่โจทก์ต้องขาดความสะดวกสบายไปบ้างแล้ว ความเดือดร้อนของโจทก์ดังกล่าวไม่เกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ และมีเหตุอันสมควร โจทก์จำต้องยอมรับเอาดังเช่นบุคคลอื่นที่อยู่ร่วมกับโจทก์ในสังคมยอมรับ การก่อสร้างปรับปรุงยกระดับถนน-พิพาทไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบงานก่อสร้าง, การแก้ไขงาน, และสิทธิเรียกร้องค่าจ้างเพิ่มเติม
โจทก์ส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้แก่จำเลยแล้ว ต่อมาจำเลยแจ้งให้โจทก์ก่อสร้างท่อระบายน้ำแก้ไขงานที่ยังไม่เรียบร้อยอีก 9 รายการ โจทก์มีหนังสือลงวันที่ 30 ตุลาคม 2529 แจ้งจำเลยว่าแก้ไขงานเสร็จเรียบร้อยแล้วแต่จำเลยแจ้งว่างานรายการที่ 5 คือบ่อพักบางจุดไม่มีขอบรัดฝาบ่อพัก และฝาบ่อพักไม่วางบนขอบบ่อพัก ให้โจทก์แก้ไขโดยไม่โต้แย้งงานอีก 8 รายการ แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์แก้ไขงานอื่นตามที่จำเลยแจ้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว สำหรับงานรายการที่ 5 นั้น นับแต่เริ่มทำการก่อสร้างปรากฏว่าแนวของท่อระบายน้ำไปติดกับท่อเมนประปาและบ้านเรือนของราษฎร เป็นอุปสรรคไม่สามารถก่อสร้างตามแบบแปลนได้ ช่างควบคุมงานก่อสร้างของจำเลยทำบันทึกลงวันที่ 26 พฤษภาคม2529 ขออนุมัติจำเลยเปลี่ยนแปลงแนวท่อ จำเลยอนุมัติในวันเดียวกันนั้น โจทก์ได้ก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้าตามแบบแปลนที่แก้ไขใหม่ โดยย้ายแนวท่อตามที่ช่างควบคุมงานก่อสร้างของจำเลยกำหนด ถือได้ว่าจำเลยอนุมัติให้แก้ไขรายการก่อสร้างให้ไม่ต้องมีขอบรัดฝาบ่อพักสำหรับบ่อพักที่เป็นปัญหาตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2529แล้ว ดังนี้ย่อมถือว่าโจทก์ได้ส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้จำเลยแล้วเสร็จบริบูรณ์ในวันที่ 30 ตุลาคม 2529 จำเลยจึงมีสิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันนับแต่วันที่ 12 ตุลาคม2529 อันเป็นวันหลังวันที่โจทก์จะต้องทำงานแล้วเสร็จตามสัญญาจนถึงวันที่ 29 ตุลาคม2529 รวมเป็นเวลา 18 วันเท่านั้น
ตามสัญญาจ้างมีข้อความว่า จำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำการก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้าคันหินรางตื้นถนนประชาสัมพันธ์ฝั่งด้านทิศใต้จากถนนอุทัยรามฤทธิ์ถึงถนนวารีราชเดช..ความยาวไม่น้อยกว่า 555 เมตร เป็นราคารวมทั้งสิ้น1,026,000 บาท เป็นการว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างโดยกำหนดจุดที่จะก่อสร้างไว้โดยชัดเจน และกำหนดราคาจ้างเหมาทั้งสิ้น โดยกำหนดความยาวของท่อระบายน้ำทางเท้าไม่น้อยกว่า 555 เมตร เมื่อโจทก์ก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้ายาวเกินกว่ากว่า 555 เมตร ออกไปอีก 9.20 เมตร แต่ส่วนที่ก่อสร้างเพิ่มเติมยังอยู่ในช่วงถนนตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าก่อสร้างเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายแก่โจทก์พร้อมค่าเสียหายในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินค่าจ้างนับแต่วันแก้ไขงานเรียบร้อยถึงวันฟ้อง และค่าเสียหายในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนี้โจทก์ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคต
of 31