คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขอบเขต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 651 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6937/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์ในคดีฟ้องขับไล่: แยกพิจารณาคำฟ้องหลักและคำฟ้องแย้ง
แม้คดีในส่วนคำฟ้องของโจทก์เป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง ก็ตาม แต่ในส่วนคำฟ้องแย้ง จำเลยฟ้องแย้งโดยอ้างว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่า และขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนการเช่าให้จำเลยซึ่งมิใช่การเรียกร้องเอาทรัพย์สินจากโจทก์ จึงเป็นคดีที่ขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามบทกฎหมายดังกล่าว และต้องแยกพิจารณาการต้องห้ามอุทธรณ์ของคดีในส่วนตามคำฟ้องแย้งของจำเลยต่างหากจากส่วนคำฟ้องของโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงให้สิ่งปลูกสร้างที่จำเลยปลูกสร้างลงในที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์เมื่อครบกำหนดเวลาเช่าแล้วเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าได้ ส่วนอุทธรณ์ของจำเลยข้ออื่นนอกจากนี้เป็นอุทธรณ์ในข้อที่ว่า จำเลยไม่ได้กระทำผิดสัญญาเช่า ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยนั้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องโจทก์โดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับคำฟ้องแย้งของจำเลย จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6360/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการพิจารณาคดีจัดการมรดก: ประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับตัวทรัพย์เป็นเรื่องนอกเหนือจากคำขอ
ในคดีร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก ประเด็นแห่งคดีมีว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่เท่านั้น ที่ผู้คัดค้านอ้างว่าทรัพย์ตามคำร้องขอเป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ใช่ทรัพย์ของผู้ตายจึงเป็นเรื่องพิพาทกันเกี่ยวกับตัวทรัพย์ว่าเป็นมรดกหรือไม่ ซึ่งไม่มีประเด็นในชั้นร้องขอจัดการมรดก ข้อโต้แย้งดังกล่าวเป็นเรื่องนอกเหนือจากคำขอและนอกประเด็น ชอบที่ผู้คัดค้านจะไปดำเนินคดีเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5297/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาเพื่อร่วมกิจกรรมสหภาพแรงงาน: ขอบเขตการลาเพื่อร่วมประชุมที่ทางราชการกำหนด
พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 102 เป็นการให้สิทธิลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานลาเพื่อไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงาน และไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้ จึงต้องหมายถึงการไปร่วมประชุมในเรื่องที่เกี่ยวกับสหภาพแรงงานที่ทางราชการกำหนดขึ้นและต้องเป็นสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างดังกล่าวสังกัดอยู่เท่านั้น มิใช่สหภาพแรงงานใดก็ได้โดยไม่มีขอบเขตจำกัด มิฉะนั้นลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานก็จะอ้างสิทธิไปร่วมประชุมในเรื่องที่ทางราชการกำหนดได้ทุกเรื่อง หากกฎหมายประสงค์จะให้สิทธิลูกจ้างไปประชุมในเรื่องอื่นก็จะต้องบัญญัติไว้ ดังนั้น การที่ ส.ไปร่วมประชุมในฐานะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์เกี่ยวกับกรณีลูกจ้างบริษัท ว.ยื่นคำร้องกล่าวหาว่าถูกนายจ้างกระทำการอันไม่เป็นธรรม ซึ่งไม่เกี่ยวกับสหภาพแรงงานโจทก์ที่ส.สังกัดอยู่ ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการเป็นส่วนตัว หาใช่เป็นการร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดไม่ จึงไม่ก่อให้ ส.เกิดสิทธิลาไปร่วมประชุมตามนัยมาตรา 102 จึงถือไม่ได้ว่าวันที่ ส.ลาไปร่วมประชุมคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกรณีข้างต้นรวม 8 วัน เป็นวันทำงาน เมื่อ ส.เป็นลูกจ้างรายวันและไม่ได้ทำงานในวันดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันลาทั้ง 8 วันนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5029/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกเคหะสถาน: ขอบเขตการอนุญาตและการเข้าถึงพื้นที่ส่วนตัว
จำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าไปร่วมดื่มสุรากับ อ.ภายในบ้านดังกล่าวก็เพียงอยู่ภายในบริเวณที่เป็นห้องโถงซึ่งมีสภาพเป็นห้องรับแขกเท่านั้นไม่มีผู้ใดอนุญาตให้จำเลยเข้าไปในห้องนอนของผู้เสียหายซึ่งมีลักษณะเป็นห้องส่วนตัวและโดยสภาพย่อมไม่ใช่สถานที่ที่บุคคลภายนอกหรือผู้เป็นแขกทั่วไปจะถือวิสาสะเข้าไปได้ เมื่อจำเลยเข้าไปในห้องนอนผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายหรือผู้มีสิทธิอนุญาต และไม่มีเหตุอันสมควรที่จะเข้าไปจำเลยย่อมมีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5029/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอนุญาตเข้าบ้าน: การบุกรุกห้องส่วนตัว แม้ได้รับอนุญาตเข้าพื้นที่ส่วนรวม
จำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าไปร่วมดื่มสุรากับอ.ภายในบ้านดังกล่าวก็เพียงอยู่ภายในบริเวณที่เป็นห้องโถงซึ่งมีสภาพเป็นห้องรับแขกเท่านั้นไม่มีผู้ใดอนุญาตให้จำเลยเข้าไปในห้องนอนของผู้เสียหายซึ่งมีลักษณะเป็นห้องส่วนตัวและโดยสภาพย่อมไม่ใช่สถานที่ที่บุคคลภายนอกหรือผู้เป็นแขกทั่วไปจะถือวิสาสะเข้าไปได้เมื่อจำเลยเข้าไปในห้องนอนผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายหรือผู้มีสิทธิอนุญาตและไม่มีเหตุอันสมควรที่จะเข้าไปจำเลยย่อมมีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และการหักชดใช้จากสัญญาประกันชีวิต
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ข้อ 2 (1) กำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นว่า จำนวนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท สำหรับความเสียหายต่อร่างกาย เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลไปจำนวน 14,413 บาทจำเลยผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ไม่เกิน 10,000 บาทตามกฎกระทรวงดังกล่าว จำเลยจะขอเอาเงินที่โจทก์ได้รับชดใช้ตามสัญญาประกันชีวิตจากบริษัท ม.มาหักมิได้ เพราะเป็นเรื่องนิติสัมพันธ์ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าวโดยเฉพาะ หานำมาลบล้างหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยได้ไม่ และถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462-463/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์และฎีกา การบังคับชำระหนี้และการโอนกรรมสิทธิ์ที่ไม่ปรากฏในฟ้องอุทธรณ์
จำเลยมิได้มีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้โจทก์รับเงินค่าที่ดินพร้อมตึกแถวและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยและมิได้เสียค่าขึ้นศาลในส่วนนี้แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะอุทธรณ์ในประเด็นนี้ศาลจึงพิพากษาให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางเกินขอบเขตที่จดทะเบียน ไม่ถือเป็นการใช้สิทธิโดยปรปักษ์
แม้ตามคำฟ้องจะไม่ได้กล่าวถึงที่ดินโฉนดเลขที่ 11114 ถึง11117 รวม 4 โฉนด แต่โจทก์ก็ได้กล่าวในคำฟ้องว่า เมื่อปี 2511 จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 7496 ได้จดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของ ป. เพื่อให้รถบรรทุกเข้าออกจากโรงสีสู่ถนนสรรประศาสน์มากว่า 10 ปีป.ได้ทำทางภาระจำยอมเป็นถนนมีความกว้าง 5 ถึง 6 เมตร ต่อมาที่ดินโฉนดเลขที่ 7496 ได้ถูกแบ่งแยกออกเป็น 4 โฉนด โดยมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นผู้รับโอนมา ครั้นต่อมาเดือนพฤษภาคม 2531 จำเลยทั้งห้าร่วมกันปักเสาปูนเข้าไปในทาง ทำให้ทางแคบลงเหลือความกว้างเพียง 3 เมตร โจทก์ไม่สามารถนำรถบรรทุกขนข้าวเปลือกได้ จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าถอนเสาปูนออกไป ห้ามมิให้จำเลยทั้งห้ากระทำการใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์ของภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 7496มีเนื้อที่ 2 ไร่ ต่อมาได้ทำการแบ่งเป็นแปลงย่อยอีก 4 แปลง คือแปลงโฉนดเลขที่ 11114 ถึง 11117 รวม 4 โฉนด และตกมาเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2ถึงที่ 5 คนละแปลง ส่วนโฉนดเดิมคงเหลือเนื้อที่ 91 ตารางวา โดยมีความกว้าง3 เมตร ยาว 125 เมตร และได้จดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของป. ทั้งตามคำขอของโจทก์ขอบังคับมิให้จำเลยทั้งห้ากระทำการใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์ของภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ดังนี้ ตามคำฟ้องพอเข้าใจได้ว่าโจทก์มุ่งประสงค์ให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 11114 ถึง 11117 รวม 4 โฉนด ซึ่งถูกแบ่งแยกมาจากโฉนดเลขที่ 7496 และมีชื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นเจ้าของตกเป็นทางภาระจำยอมโดยมีความกว้าง 5 ถึง 6 เมตร ยาว 125 เมตร ซึ่งมีความกว้างเกินกว่าที่จดทะเบียนไว้ 2 ถึง 3 เมตร ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความด้วย
การได้สิทธิในทางภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 นั้น จะต้องเป็นกรณีที่โจทก์ได้ใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยทั้งห้าโดยปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดินเพื่อให้ได้ทางภาระจำยอมแต่การที่โจทก์ใช้ทางล้ำออกไปมากกว่าที่ได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินนั้นถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยความยินยอมของเจ้าของที่ดินโดยปริยาย มิใช่เป็นการใช้สิทธิในทางพิพาทโดยการกระทำที่เป็นปรปักษ์ต่อจำเลยทั้งห้า แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทมานานเพียงใด โจทก์ก็ไม่อาจอ้างว่าได้สิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทตามบทกฎหมายดังกล่าว ประกอบกับโจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางสำหรับรถบรรทุกขนาดเล็กและขนาดใหญ่บรรทุกข้าวจากโรงสีของโจทก์อันเป็นการใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่การค้าของโจทก์ มิใช่เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยตรง เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนทางภาระจำยอมมีความกว้างเพียง 3 เมตรโจทก์จะใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่การค้าของโจทก์มากกว่า 3 เมตร ผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้โดยจำเลยที่ 1 มิได้ยินยอมด้วยไม่ได้ อีกทั้งการที่จำเลยทั้งห้าร่วมกันปักเสาปูนลงในทางพิพาทด้านที่ติดกับที่ดินของโจทก์ ทำให้ทางภาระจำยอมเหลือความกว้างอยู่เพียง 3 เมตร นั้น แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งห้ามิได้กระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์ของภาระจำยอมที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนไว้ลดหรือเสื่อมความสะดวกไป โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งห้ารื้อถอนเสาปูนที่ปักไว้และเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งห้าไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำพิพากษาที่ไม่ผูกพันบุคคลภายนอก และอำนาจในการบังคับคดีตามคำพิพากษา
คำสั่งศาลชั้นต้นลงวันที่ 27 เมษายน 2537 นั้น พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คำสั่งศาลชั้นต้นลงวันที่ 29 มีนาคม 2537 ที่ว่า คำพิพากษาไม่ผูกพันบุคคลภายนอก แม้จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากคำพิพากษาในคดีนี้ คำพิพากษาจึงไม่ผูกพันท. นั้น เป็นคำสั่งเกี่ยวกับบุคคลภายนอกซึ่งมิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลว่าคำพิพากษาไม่ผูกพันบุคคลภายนอก ส่วนคำสั่งศาลชั้นต้นลงวันที่ 27 เมษายน2537 ที่ว่า คู่ความทุกฝ่ายมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา ผู้ร้องที่ 2 ไม่มีอำนาจแจ้งอายัดมิให้เจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติตามคำพิพากษา ผู้ร้องทั้งสองไม่มีอำนาจคัดค้านมิให้จดทะเบียนใส่ชื่อนางทองเปลวถือกรรมสิทธิ์ร่วมด้วย และให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทด้านทิศเหนือเนื้อที่ 26 ไร่ ใส่ชื่อผู้ร้องทั้งสองและ ท.ร่วมกันโดยมิต้องระบุส่วนแบ่งของแต่ละคนนั้น เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคู่ความที่มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาและคู่ความอีกฝ่ายร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา จึงเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน กรณีมิใช่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดข้อหนึ่งแห่งคดีแล้วดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดนั้น อันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำพิพากษาและการบังคับคดี: คำพิพากษาผูกพันเฉพาะคู่ความ ไม่ผูกพันบุคคลภายนอก แม้ได้รับประโยชน์
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าคำพิพากษามีผลผูกพันผู้ร้องทั้งสองและผู้คัดค้านทั้งสองในคดีให้ต้องปฏิบัติตามแต่ไม่ผูกพันท.บุคคลภายนอกแม้จะเป็นผู้รับผลประโยชน์จากคำพิพากษาเป็นคำสั่งเกี่ยวกับบุคคลภายนอกซึ่งมิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลว่าคำพิพากษาไม่ผูกพันบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสอง ส่วนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าคู่ความทุกฝ่ายมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาผู้ร้องที่2ไม่มีอำนาจแจ้งอายัดมิให้เจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติตามคำพิพากษาผู้ร้องทั้งสองไม่มีอำนาจคัดค้านมิให้จดทะเบียนใส่ชื่อท. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยและให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทด้านทิศเหนือเนื้อที่26ไร่ใส่ชื่อผู้ร้องทั้งสองและท. ร่วมกันโดยมิต้องระบุส่วนแบ่งของแต่ละคนเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคู่ความที่มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาและคู่ความอีกฝ่ายที่ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกันและมิใช่กรณีมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดข้อหนึ่งแห่งคดีแล้วดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่วินิจฉัยชี้ขาดแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144
of 66