พบผลลัพธ์ทั้งหมด 635 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดทุนทรัพย์คดีขับไล่: การพิจารณาตามราคาที่ดินที่จำเลยแต่ละคนครอบครองและข้อจำกัดในการฎีกา
คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามและแผนที่พิพาทไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกันทำละเมิดในที่ดินของโจทก์ทั้งสาม โดยปรากฏแต่เพียงว่าจำเลยทั้งแปดเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของโจทก์คนละส่วนต่างหากจากกัน ซึ่งโจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคนละคดีได้และแม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งแปดเข้ามาเป็นคดีเดียวกัน แต่การพิจารณาว่าคดีมีทุนทรัพย์เท่าใด ย่อมต้องถือตามราคาที่ดินที่จำเลยแต่ละคนต่างเข้าไปยึดถือครอบครอง มิใช่นับรวมกัน เมื่อที่พิพาททั้งหมดซึ่งมีเนื้อที่รวม 159 ไร่เศษ ราคาประมาณ 640,000 บาท จึงคิดเป็นราคาประมาณไร่ละอย่างสูงไม่เกิน 4,000 บาท ฉะนั้น เมื่อที่ดินที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 ยึดถือครอบครองมีเนื้อที่ไม่ถึงคนละ 50 ไร่ ซึ่งคำนวณเป็นราคาไม่เกินคนละสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตของเจ้าของรวม ไม่เป็นการทำละเมิด
จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งได้ฟ้องขับไล่โจทก์ให้รื้อถอนบ้านพิพาทและขนย้ายออกไปจากที่ดินส่วนที่โจทก์ขายฝากให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยเช่นนี้เป็นการใช้สิทธิทางศาลและได้กระทำโดยสุจริตซึ่งศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะและคดีถึงที่สุดแล้ว จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ กรณีผู้เช่าเดิมให้บุคคลอื่นใช้พื้นที่ก่อนสัญญาเช่าใหม่ สิทธิของผู้ให้เช่าในการรอนสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2529 โจทก์ได้เช่าที่ดินราชพัสดุ บริเวณพื้นที่โดยรอบตลาดสดเทศบาล 3 จากเทศบาลเมืองขอนแก่นเพื่อเข้าดำเนินการจัดหาประโยชน์ด้วยตนเองหรือจัดแบ่งให้บุคคลอื่นเช่าช่วงเพื่อประกอบการค้ามีกำหนด 20 ปี ก่อนที่โจทก์จะได้รับสิทธิการเช่าพื้นที่ดังกล่าวนั้น เมื่อประมาณปี 2524ช. ซึ่งเป็นผู้เช่าคนเดิมได้อนุญาตให้จำเลยทั้งหมดซึ่งเป็นพ่อค้าและแม่ค้าเข้ามาวางขายสินค้าชั่วคราวที่ถนนบริเวณรอบนอกอาคารตลาดสดเทศบาล 3 โดยจำเลยทั้งหมดมิได้เสียค่าเช่าหรือผลประโยชน์ให้แก่บุคคลใด เมื่อโจทก์ได้รับโอนสิทธิการเช่าในพื้นที่ทั้งหมดจาก ช. นับแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2529 จำเลยทั้งหมดคงอยู่และตั้งแผงขายสินค้าในที่ดินดังกล่าวจนบัดนี้ โจทก์ได้มีหนังสือให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันขนย้ายสัมภาระและสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ที่ได้ปลูกสร้างลงในพื้นที่พิพาทและห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องแต่อย่างใดทั้งสิ้นแล้ว แต่จำเลยทั้งหมดเพิกเฉย ทำให้โจทก์เสียหาย จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งหมดพร้อมบริวารขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและสัมภาระออกไปจากพื้นที่พิพาท ดังนี้ เห็นว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องได้ความว่าจำเลยทั้งหมดได้เข้าไปครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาททำการค้าตลอดมาก่อนที่โจทก์จะทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเมืองขอนแก่น ซึ่งโจทก์ยังไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่า จำเลยทั้งหมดไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ รูปคดีเป็นความรับผิดของผู้ให้เช่าในการรอนสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 549ประกอบด้วยมาตรา 477 โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยเองโดยลำพังไม่ได้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง กรณีพิพาทขับไล่และค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทคู่ความจึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงไม่ชอบ โดยฟังข้อเท็จจริงบางส่วนตามที่ทนายจำเลยที่ 2 แถลงรับ แต่ยังมีข้อเท็จจริงอื่น ๆ ในคำฟ้อง คำให้การและเอกสารประกอบคำให้การซึ่งหากนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยประกอบด้วยแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็จะไม่วินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของที่ดินที่ตึกแถวพิพาทปลูกอยู่และเป็นการปลูกสร้างโดยไม่มีสิทธิในที่ดินของโจทก์ร่วมแต่อย่างใดนั้น เป็นการคัดค้านว่าศาลอุทธรณ์ไม่รับฟังข้อเท็จจริงที่สมควรจะฟัง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าเป็นจำเลยร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในคดีขับไล่
เมื่อคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยมีข้อโต้เถียงเป็นประเด็นพิพาทถึงสิทธิของผู้ร้องซึ่งมีข้อต่อสู้ว่าโจทก์จะขับไล่ผู้ร้องด้วย ดังที่อ้างว่าเป็นบริวารของจำเลย จึงถือได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี มีสิทธิร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าเป็นจำเลยร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในคดีขับไล่ เมื่อมีการโต้แย้งสิทธิโดยตรง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นภรรยาของ ท. ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินของโจทก์เพื่อปลูกบ้านพักและทำสวน ระหว่างสัญญาเช่า ท. ถึงแก่กรรมโจทก์อนุญาตให้จำเลยพร้อมบริวารอาศัยอยู่ต่อไปจนครบสัญญาเช่าจึงบอกกล่าวให้จำเลยและบริวารขนย้ายครอบครัวพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาท แต่จำเลยเพิกเฉยจึงขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไป จำเลยให้การว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรเขยของจำเลยได้ตกลงเช่าที่ดินดังกล่าวกับโจทก์ต่อจากสามีจำเลยเพื่อใช้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จำเลยไม่ได้เช่าที่ดินจากโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ยกฟ้อง ต่อมา ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นจำเลยร่วมอ้างว่า ผู้ร้องเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ต่อจากสามีจำเลย จำเลยเป็นบริวารของผู้ร้อง ดังนี้ คำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยมีข้อโต้เถียงเป็นประเด็นพิพาทถึงสิทธิของผู้ร้องซึ่งมีข้อต่อสู้ว่าโจทก์จะขับไล่ผู้ร้องด้วย ถือได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี มีสิทธิร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดโดยสุจริต แม้ยังไม่ชำระราคาครบถ้วน หรือจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ก็มีสิทธิฟ้องขับไล่
โจทก์เป็นผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต สิทธิของโจทก์จึงไม่เสียไปแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์นั้นมิใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 และแม้จะยังมิได้มีการชำระราคาทรัพย์ครบถ้วน หรือยังมิได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้อยู่อาศัยในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง: คดีค่าเสียหายที่ไม่เกินสองแสนบาทและมีลักษณะคล้ายคดีขับไล่
ในการวินิจฉัยว่าคดีต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงหรือไม่นั้นต้องพิจารณาบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันยื่นคำฟ้องฎีกา คดีฟ้องขับไล่ตามสัญญาเช่าแม้จะไม่มีประเด็นเรื่องขับไล่ในชั้นฎีกา แต่ในการวินิจฉัยว่าคดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ก็ต้องแปลว่ามีประเด็นในเรื่องขับไล่ในชั้นฎีกาด้วย เพื่อให้บทบัญญัติของกฎหมายซึ่งใช้เฉพาะในชั้นฎีกามีผลเช่นเดียวกันอย่างแท้จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติแล้วว่าไม่มีประเด็นขับไล่ และค่าเสียหายไม่เกินสองแสนบาท
คดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง ต้องแปลว่ามีประเด็นในเรื่องขับไล่ในชั้นฎีกาด้วย เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้นว่าจำเลยได้ขนย้ายออกจากสถานที่เช่าและได้ส่งมอบสถานที่เช่าให้โจทก์แล้วตั้งแต่ก่อนโจทก์จะนำคดีมาฟ้องคดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องขับไล่ในชั้นฎีกาคงมีปัญหาเฉพาะเรื่องค่าเสียหายเพียงอย่างเดียว เมื่อค่าเสียหายไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4865/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินยกให้ก่อนสมรสเป็นสินส่วนตัว การปลูกสร้างบนที่ดินด้วยความยินยอมทำให้เป็นบริวารต้องออกจากที่ดินเมื่อถูกขับไล่
จำเลยได้รับการยกให้ที่ดินจากมารดาก่อนสมรสกับผู้ร้องที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(1) ผู้ร้องปลูกบ้านลงในที่ดินดังกล่าวโดยได้รับอนุญาตจากจำเลยซึ่งเป็นสามี แสดงว่าผู้ร้องอาศัยสิทธิของจำเลย ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย