คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขั้นตอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประชุมผู้ถือหุ้นชอบด้วยกฎหมายเมื่อเป็นไปตามขั้นตอนที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนด
จำเลยกับพวกผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ขึ้น โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะประธานกรรมการของบริษัทได้ทำหนังสือเรียกประชุมผู้ถือหุ้นกำหนดวันประชุมแล้วจัดส่งทางไปรษณีย์ ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน และเมื่อถึงวันนัดประชุม ได้มีผู้ถือหุ้นมาเข้าประชุม 24 คน ซึ่งรวมจำนวนหุ้นแล้วมีจำนวน 64 หุ้น อันมีจำนวนหุ้นเกินกว่าหนึ่งในสี่แห่งทุนของบริษัท ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 100 หุ้น ดังนี้ การประชุมใหญ่ที่จำเลยกับพวกจัดขึ้นเป็นไปตามขั้นตอนถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1172, 1175 และ 1178 แล้ว การประชุมใหญ่ดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อที่ประชุมใหญ่ลงมติอย่างไรไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัทแล้ว มตินั้นย่อมเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประชุมผู้ถือหุ้นชอบด้วยกฎหมายเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนและมีองค์ประชุมครบตามกฎหมาย
จำเลยกับพวกผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ขึ้น โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะประธานกรรมการของบริษัท ได้ทำหนังสือเรียกประชุมผู้ถือหุ้น กำหนดวันประชุม แล้วจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน และเมื่อถึงวันนัดประชุม ได้มีผู้ถือหุ้นมาเข้าประชุม 24 คน ซึ่งรวมจำนวนหุ้นแล้วมีจำนวน 64 หุ้น อันมีจำนวนหุ้นเกินกว่าหนึ่งในสี่แห่งทุนของบริษัท ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 100 หุ้น ดังนี้ การประชุมใหญ่ที่จำเลยกับพวกจัดขึ้นเป็นไปตามขั้นตอนถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1172,1175 และ 1178 แล้ว การประชุมใหญ่ดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อที่ประชุมใหญ่ลงมติอย่างไรไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัทแล้ว มตินั้นย่อมเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการทุเลาการบังคับ: อุทธรณ์เป็นอำนาจศาลอุทธรณ์ ฎีกาเป็นอำนาจศาลฎีกา
การทุเลาการบังคับนั้น กฎหมายกำหนดวิธีการให้อยู่ในอำนาจของศาลเป็นขั้น ๆ ไป ต่อเมื่อเป็นการขอทุเลาการบังคับในระหว่างฎีกาจึงจะอยู่ในอำนาจศาลฎีกา ถ้าเป็นการขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ก็เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจศาลอุทธรณ์ กฎหมายไม่ประสงค์จะให้ศาลฎีกาไปเกี่ยวข้องกับการขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์การขอทุเลาการบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 231 เป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดวิธีการไว้เป็นพิเศษ จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งการอุทธรณ์และฎีกาอย่างเรื่องอื่น ๆ
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 101/2491)
ศาลชั้นต้นสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด และพิพากษาให้ล้มละลาย จำเลยอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า "ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยจะขอทุเลาการบังคับไม่ได้" ดังนี้ แม้จำเลยจะฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ฎีกาของจำเลยก็เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามกฎหมายศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาจำเลย ให้คืนค่าธรรมเนียมขั้นฎีกาให้แก่จำเลยทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการทุเลาการบังคับ: อุทธรณ์-ฎีกาแยกกัน, ไม่อุทธรณ์/ฎีกาเรื่องทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์
การทุเลาการบังคับนั้น กฎหมายกำหนดวิธีการให้อยู่ในอำนาจของศาลเป็นขั้น ๆ ไป ต่อเมื่อเป็นการขอทุเลาการบังคับในระหว่างฎีกาจึงจะอยู่ในอำนาจศาลฎีกาถ้าเป็นการขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ก็เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจศาลอุทธรณ์กฎหมายไม่ประสงค์จะให้ศาลฎีกาไปเกี่ยวข้องกับการขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์การขอทุเลาการบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 231 เป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดวิธีการไว้เป็นพิเศษ จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งการอุทธรณ์และฎีกาอย่างเรื่องอื่น ๆ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 101/2491)
ศาลชั้นต้นสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด และพิพากษาให้ล้มละลายจำเลยอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า "ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยจะขอทุเลาการบังคับไม่ได้" ดังนี้ แม้จำเลยจะฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ฎีกาของจำเลยก็เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาจำเลย ให้คืนค่าธรรมเนียมชั้นฎีกาให้แก่จำเลยทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีและการยื่นบัญชีรายชื่อพยาน ศาลต้องพิจารณาตามขั้นตอน และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่เกินคำขอ
ในวันนัดสืบพยานซึ่งโจทก์เป็นฝ่ายนำสืบก่อน ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนอ้างว่าป่วย ทนายจำเลยแถลงว่าไม่ค้าน แต่ค้านว่าโจทก์ไม่ยื่นบัญชีพยานก่อนสืบพยานโจทก์ 3 วัน ขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ ดังนี้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อน ส่วนการยื่นบัญชีระบุพยานเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 อีกชั้นหนึ่งหลังจากที่ศาลมีคำสั่งเรื่องการขอเลื่อนคดีแล้วจะถือว่าโจทก์หมดสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานเสียในชั้นนี้ยังไม่ได้
ศาลชั้นต้นสั่งว่าโจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนสืบพยาน 3 วัน ถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ และนัดสืบพยานจำเลยต่อไปครั้นสืบพยานจำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ดังนี้การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ พิพากษารับบัญชีระบุพยานโจทก์และดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าขอให้มีการสืบพยานโจทก์ด้วย และการที่จะมีการสืบพยานโจทก์ได้ก็จะต้องให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเสียก่อนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดี และให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงหาเกินคำขอของโจทก์ที่อุทธรณ์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีและการอุทธรณ์ หากมิได้อุทธรณ์ตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด จะไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล
ภาษีการค้าอันเป็นภาษีอากรประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 77 ทวิซึ่งตามมาตรา 84 วรรค 2 ผู้ประกอบการค้าในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามแบบที่อธิบดีกำหนด ทุกครั้งนั้น เจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินตามรายการที่ยื่นเพื่อเสียภาษีอากรนั้นแล้วแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไป ยังผู้ต้องเสียภาษีอากรตามมาตรา 18 หากผู้ประกอบการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจประเมินภาษีได้เองตามมาตรา 87(1) และต้องแจ้งการประเมินไปยังผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 88 เมื่อได้มีการประเมินภาษีอากรและแจ้งการประเมินไปยังผู้ประกอบการค้าแล้วผู้ประกอบการค้ามีสิทธิที่จะอุทธรณ์การประเมินได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18, 88 การอุทธรณ์นั้นให้อุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกำหนด และอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 30 วันตามมาตรา 30 เมื่อไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามมาตรา 30(2) โจทก์สั่งเครื่องอะไหล่ของเครื่องจักรจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อใช้แทนของเก่าเมื่อชำรุด ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและได้ชำระเงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแก่จำเลยไปแล้ว แต่โจทก์เห็นว่าสินค้าที่นำเข้ามานั้นเป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าของโจทก์เอง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามมาตรา 79 ตรี (11) จึงได้ยื่นหนังสือต่อจำเลยขอเงินค่าภาษีอากรนั้นคืน จำเลยยังมิได้พิจารณาดังนี้แม้เป็นกรณีที่อ้างว่าได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากรก็ตาม เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้เสียภาษีอากรและแจ้งให้โจทก์ทราบแล้ว โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์ตามขั้นตอนที่ บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีและการอุทธรณ์: ผู้เสียภาษีต้องอุทธรณ์ตามขั้นตอนก่อนฟ้องคดี แม้ได้รับยกเว้นภาษี
ภาษีการค้าอันเป็นภาษีอากรประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ทวิ ซึ่งตามมาตรา 84 วรรค 2 ผู้ประกอบการค้าในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามแบบที่อธิบดีกำหนดทุกครั้งนั้น เจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินตามรายการที่ยื่นเพื่อเสียภาษีอากรนั้นแล้วแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรตามมาตรา18 หากผู้ประกอบการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจประเมินภาษีได้เองตามมาตรา 87(1) และต้องแจ้งการประเมินไปยังผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 88 เมื่อได้มีการประเมินภาษีอากรและแจ้งการประเมินไปยังผู้ประกอบการค้าแล้ว ผู้ประกอบการค้ามีสิทธิที่จะอุทธรณ์การประเมินได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18,88 การอุทธรณ์นั้นให้อุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกำหนดและอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 30 วันตามมาตรา 30 เมื่อไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามมาตรา 30(2) โจทก์สั่งเครื่องอะไหล่ของเครื่องจักรจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อใช้แทนของเก่าเมื่อชำรุด ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและได้ชำระเงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแก่จำเลยไปแล้ว แต่โจทก์เห็นว่าสินค้าที่นำเข้ามานั้นเป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าของโจทก์เอง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามมาตรา 79 ตรี(11) จึงได้ยื่นหนังสือต่อจำเลยขอเงินค่าภาษีอากรนั้นคืน จำเลยยังมิได้พิจารณา ดังนี้แม้เป็นกรณีที่อ้างว่าได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากรก็ตาม เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้เสียภาษีอากรและแจ้งให้โจทก์ทราบแล้ว โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์ตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2581/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำพยานเอกสารที่ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนและเวลาที่กฎหมายกำหนด ทำให้ศาลไม่รับฟังและไม่สามารถใช้เอกสารนั้นในการตัดสินคดีได้
บัญชีระบุพยานของจำเลยอ้างพินัยกรรมที่เจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้รักษา ซึ่งเป็นสำเนาพินัยกรรมที่จำเลยรับรองและยื่นไว้โดยมิได้ระบุอ้างต้นฉบับพินัยกรรมที่มีอยู่ที่จำเลย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะส่งต้นฉบับพินัยกรรมเป็นพยานต่อศาล
วันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อน จำเลยมิได้นำต้นฉบับพินัยกรรมมาส่งศาลเพิ่งมาส่งในวันสืบพยานโจทก์หลังจากที่สืบพยานจำเลยเสร็จไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีโอกาสซักค้านต้นฉบับพินัยกรรมนี้ซึ่งโจทก์ก็ได้คัดค้านว่าจำเลยมิได้ระบุพยานอ้างเอกสารนี้ไว้และว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาพินัยกรรมให้โจทก์ ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพยานไม่ได้
เมื่อต้นฉบับพินัยกรรมมีอยู่ สำเนาพินัยกรรมที่เรียกมาจากเจ้าพนักงานที่ดินย่อมรับฟังไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา93 และจะรับฟังพยานบุคคลว่ามีการทำพินัยกรรมก็ไม่ได้เพราะเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดงและไม่ใช่กรณีที่หาต้นฉบับเอกสารไม่ได้ ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นเอกสารสัญญาในศาล: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน และผลกระทบต่อการคัดค้าน
โจทก์มิได้ระบุอ้างเอกสารสัญญากู้เป็นพยานไว้ แต่ได้ส่งต้นฉบับสัญญากู้ต่อศาลในการพิจารณา ศาลชั้นต้นสั่งรับไว้เป็นเอกสารในสำนวน ดังนี้ เป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการอ้างและยื่นหรือส่งเอกสาร เป็นการพิจารณาผิดระเบียบจำเลยอาจยกขึ้นคัดค้านได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 แต่ต้องร้องคัดค้านเสียก่อน 8 วันนับแต่ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบ และก่อนที่จะมีคำพิพากษา จำเลยเพิ่งยกขึ้นคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ฎีกาย่อมไม่ได้
จำเลยรับว่าลายเซ็นในช่องผู้กู้ในสัญญากู้ที่โจทก์ส่งต้นฉบับต่อศาลเป็นของจำเลยคงโต้เถียงตามที่ให้การต่อสู้ว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์ สัญญากู้เป็นเอกสารปลอม จึงต้องฟังจากคำพยานหลักฐานอื่นต่อไป ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการแก้ไขคำให้การและคำฟ้องแย้ง ศาลอุทธรณ์ยกเลิกกระบวนพิจารณาได้หรือไม่
เหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่กล่าวไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 นั้น ศาลสูงจะหยิบยกขึ้นอ้างตามมาตรานี้ได้ จะต้องมีเหตุอันสมควร เช่นว่า ทำให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเสียหายในการต่อสู้คดีเป็นต้น
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ (มีคำฟ้องแย้งติดมาด้วย) โดยมิได้ให้โอกาสแก่โจทก์เป็นระยะเวลาตามที่มาตรา 181 กำหนดไว้นั้น ถ้าโจทก์ไม่พอใจ ก็ชอบที่จะคัดค้านไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 แต่กลับปรากฏว่าโจทก์ยื่นคำแก้คำให้การเพิ่มเติมและฟ้องแย้ง แสดงว่าโจทก์ไม่ติดใจ แม้ในอุทธรณ์ของโจทก์ก็มิได้กล่าวถึงเรื่องนี้ รูปคดีไม่น่าจะเห็นว่าทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ไม่ควรหยิบยกเหตุนี้ขึ้นสั่งยกเลิกกระบวนพิจารณาบางส่วนของศาลชั้นต้น
คำฟ้องแย้งที่ติดมากับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การนั้น ไม่ใช่คำร้องที่อยู่ในบังคับที่จะต้องส่งสำเนาให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าก่อนสั่งรับคำร้องนั้น
คำสั่งศาลที่ให้รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
of 19