พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีมรดกและการยกข้อจำกัดการวินิจฉัยของศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งจำเลยมีสิทธิใช้ทรัพย์ดังกล่าวในฐานะเจ้าของรวมได้ จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวว่าที่พิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกและคดีขาดอายุความแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คำขอบังคับตามคำฟ้องโจทก์ย่อมเป็นอันตกไป การจะวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ดังที่จำเลยฎีกามาฝ่ายเดียวจึงไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป และประเด็นตามฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่าศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยเป็นการไม่ชอบนั้นหรือไม่ ก็ไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการอุทธรณ์ฎีกา คดีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีอาณาเขตติดต่อกับที่ดินของจำเลย ต่อมาจำเลยได้รื้อรั้วไม้ขัดแตะซึ่งกั้นแนวเขตออกแล้วนำสังกะสีมาล้อมเป็นรั้วรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ3 ตารางวา ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ให้จำเลยรื้อรั้วสังกะสีออกไปจำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยซ่อมแซมรั้วไม้ขัดแตะโดยเปลี่ยนรั้วสังกะสีในแนวเดิมมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์และฟ้องแย้งว่า โจทก์ปลูกสร้างบ้านใหม่โดยชายคาบ้านรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของจำเลยประมาณ 2 ตารางวา ขอให้บังคับโจทก์รื้อถอนชายคาบ้านในส่วนที่รุกล้ำที่ดินของจำเลยออกไป ซึ่งโจทก์ทั้งสามได้ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์ทั้งสามปลูกสร้างบ้านในเขตที่ดินของโจทก์มิได้รุกล้ำที่ดินของจำเลย จำเลยสร้างรั้วสังกะสีรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทำให้ชายคาบ้านโจทก์ทั้งสามล้ำแนวรั้วสังกะสีที่จำเลยทำขึ้นใหม่ จึงเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยต่างอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาท อันเป็นกรณีพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์จะมีคำขอให้บังคับจำเลยรื้อรั้วสังกะสีออกไปจากที่พิพาทและจำเลยจะมีคำขอให้โจทก์รื้อถอนชายคาบ้านในส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่พิพาทมาด้วยก็ตาม แต่คำขอให้รื้อถอนดังกล่าวจะบังคับให้ได้หรือไม่เพียงใดนั้นเป็นเพียงผลต่อเนื่องมาจากข้อวินิจฉัยในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอันเป็นประเด็นสำคัญในคดีคดีนี้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์อย่างเดียว หาใช่เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยไม่
ที่พิพาทมีเนื้อที่ครึ่งตารางวาซึ่งโจทก์ตีราคาที่พิพาทตารางวาละ70,000 บาท และจำเลยตีราคาที่พิพาทตารางวาละ 375 บาท ดังนี้ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกิน 50,000 บาท และทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง และมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้โดยพิพากษาคดีมาก็ดีและที่โจทก์ฎีกาต่อมาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ทั้งสามมาก็ดี เป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
ที่พิพาทมีเนื้อที่ครึ่งตารางวาซึ่งโจทก์ตีราคาที่พิพาทตารางวาละ70,000 บาท และจำเลยตีราคาที่พิพาทตารางวาละ 375 บาท ดังนี้ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกิน 50,000 บาท และทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง และมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้โดยพิพากษาคดีมาก็ดีและที่โจทก์ฎีกาต่อมาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ทั้งสามมาก็ดี เป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการอุทธรณ์ฎีกาในคดีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน และอำนาจศาล
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีอาณาเขตติดต่อกับที่ดินของจำเลย ต่อมาจำเลยได้รื้อรั้วไม้ขัดแตะ ซึ่งกั้นแนวเขตออกแล้วนำสังกะสีมาล้อมเป็นรั้วรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 3 ตารางวา ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ให้จำเลยรื้อรั้วสังกะสีออกไปจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยซ่อมแซมรั้วไม้ขัดแตะโดยเปลี่ยนรั้วสังกะสีในแนวเดิมมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์และฟ้องแย้งว่า โจทก์ปลูกสร้างบ้านใหม่โดยชายคาบ้านรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของจำเลยประมาณ 2 ตารางวาขอให้บังคับโจทก์รื้อถอนชายคาบ้านในส่วนที่รุกล้ำที่ดินของจำเลยออกไป ซึ่งโจทก์ทั้งสามได้ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์ทั้งสามปลูกสร้างบ้านในเขตที่ดินของโจทก์มิได้รุกล้ำที่ดินของจำเลยจำเลยสร้างรั้วสังกะสีรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทำให้ชายคาบ้านโจทก์ทั้งสามล้ำแนวรั้วสังกะสีที่จำเลยทำขึ้นใหม่ จึงเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยต่างอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอันเป็นกรณีพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์แม้โจทก์จะมีคำขอให้บังคับจำเลยรื้อรั้วสังกะสีออกไปจากที่พิพาทและจำเลยจะมีคำขอให้โจทก์รื้อถอนชายคาบ้านในส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่พิพาทมาด้วยก็ตาม แต่คำขอให้รื้อถอนดังกล่าวจะบังคับให้ได้หรือไม่เพียงใดนั้นเป็นเพียงผลต่อเนื่องมาจากข้อวินิจฉัยในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอันเป็นประเด็นสำคัญในคดีคดีนี้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์อย่างเดียว หาใช่เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยไม่ ที่พิพาทมีเนื้อที่ครึ่งตารางวาซึ่งโจทก์ตีราคาที่พิพาทตารางวาละ 70,000 บาท และจำเลยตีราคาที่พิพาทตารางวาละ 375 บาทดังนี้ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกิน 50,000 บาท และทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง และมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้โดยพิพากษาคดีมาก็ดีและที่โจทก์ฎีกาต่อมาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ทั้งสามมาก็ดี เป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกา: จำเลยฎีกาประเด็นนอกเหนือคำให้การ และข้อเท็จจริงเกินทุนทรัพย์ที่พิพาท
ที่จำเลยฎีกาเป็นข้อกฎหมายว่า โจทก์ยังมิได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าติดตามรถยนต์คันที่เช่าซื้อนั้น จำเลยให้การแต่เพียงว่า รถยนต์มีสภาพเก่า และโจทก์มิได้ประสงค์จะให้ผู้ใดเช่า จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์ ส่วนค่าติดตามรถยนต์จำเลยเป็นผู้แจ้งโจทก์ให้ไปรับรถยนต์เองมิใช่กรณีที่โจทก์ติดตามยึดนั้น จำเลยมิได้ให้การว่าสัญญายังมิได้เลิกกัน โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาได้ เพราะเป็นข้อฎีกาที่นอกเหนือจากคำให้การของจำเลย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ค่าขาดประโยชน์ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดสูงเกินไปนั้น เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นกัน
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ค่าขาดประโยชน์ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดสูงเกินไปนั้น เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์: การยกข้อใหม่ที่ไม่เคยยกขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น และประเด็นอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้เงินต้นค่าสินค้าที่สั่งซื้อจากโจทก์พร้อมดอกเบี้ยและค่าบริการสินเชื่อ ค่าทวงถามหนี้ และค่าดำเนินการอื่น ๆ คิดถึงวันฟ้อง จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้ว่าไม่เคยติดต่อค้าขาย มิได้เป็นหนี้ตามฟ้อง ไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์โดยจำเลยทั้งสามมิได้ให้การต่อสู้เลยว่าจำเลยทั้งสามได้ชำระหนี้ตามฟ้องให้แก่โจทก์แล้ว การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้ค่าท่อระบายน้ำของโจทก์พร้อมดอกเบี้ยนั้น เป็นการที่ศาลชั้นต้นได้ฟังข้อเท็จจริงโดยปริยายแล้วว่าจำเลยทั้งสามได้ซื้อสินค้าตามฟ้องไปจากโจทก์และค้างชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์ ดังนี้ ที่จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสามได้ชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ซึ่งจำเลยทั้งสามไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งปัญหาดังกล่าวก็ไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อดังกล่าวของจำเลยทั้งสามนั้นจึงชอบแล้ว
จำเลยทั้งสามได้ให้การไว้เพียงว่า โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ส.ฟ้องคดีแทน หนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอม ส.ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ แต่จำเลยทั้งสามกลับอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่มีมูลหนี้ค่าซื้อขายท่อระบายน้ำต่อกันระหว่างโจทก์และจำเลย อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ.มาตรา 225 อีกเช่นกัน
จำเลยทั้งสามได้ให้การไว้เพียงว่า โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ส.ฟ้องคดีแทน หนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอม ส.ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ แต่จำเลยทั้งสามกลับอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่มีมูลหนี้ค่าซื้อขายท่อระบายน้ำต่อกันระหว่างโจทก์และจำเลย อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ.มาตรา 225 อีกเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องหนี้และการต่อสู้คดี เกินกรอบที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้เงินต้นค่าสินค้าที่สั่งซื้อจากโจทก์พร้อมดอกเบี้ยและค่าบริการสินเชื่อค่าทวงถามหนี้และค่าดำเนินการอื่นๆคิดถึงวันฟ้องจำเลยทั้งสามให้การต่อสู้ว่าไม่เคยติดต่อค้าขายมิได้เป็นหนี้ตามฟ้องไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์โดยจำเลยทั้งสามมิได้ให้การต่อสู้เลยว่าจำเลยทั้งสามได้ชำระหนี้ตามฟ้องให้แก่โจทก์แล้วการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้ค่าท่อระบายน้ำของโจทก์พร้อมดอกเบี้ยนั้นเป็นการที่ศาลชั้นต้นได้ฟังข้อเท็จจริงโดยปริยายแล้วว่าจำเลยทั้งสามได้ซื้อสินค้าตามฟ้องไปจากโจทก์และค้างชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์ดังนี้ที่จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสามได้ชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์ครบถ้วนแล้วซึ่งจำเลยทั้งสามไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบที่ศาลชั้นต้นทั้งปัญหาดังกล่าวก็ไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อดังกล่าวของจำเลยทั้งสามนั้นจึงชอบแล้ว จำเลยทั้งสามได้ให้การไว้เพียงว่าโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ส.ฟ้องคดีแทนหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องเป็นเอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอมส.ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์แต่จำเลยทั้งสามกลับอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่มีมูลหนี้ค่าซื้อขายท่อระบายน้ำต่อกันระหว่างโจทก์และจำเลยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225อีกเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาตามทุนทรัพย์ คดีที่ดินพิพาท
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษารวมกัน การพิจารณาถึงสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาต้องถือตามทุนทรัพย์แต่ละสำนวน เมื่อทุนทรัพย์ที่ดินพิพาทในชั้นฎีกาของจำเลยและผู้ร้องสอดไม่เกินสำนวนละ 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1136/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขาย, สัญญาจำนองโมฆะ, สิทธิครอบครอง, ที่ดินมีข้อจำกัดการโอน
จำเลยได้ขายที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิซึ่งจำเลยครอบครองอยู่ให้ผู้ร้องและ ส. โดยทำสัญญาซื้อขายกันเองต่อมาทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่พิพาทให้จำเลยโดยมีข้อกำหนดห้ามโอน 10 ปี ในวันเดียวกันนั้นจำเลยจดทะเบียนจำนองที่พิพาทกับผู้ร้องและ ส. และได้ส่งมอบการครอบครองที่พิพาทให้ผู้ร้องและ ส. ตั้งแต่วันจดทะเบียนจำนองการที่จำเลยกับผู้ร้องมีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาซื้อขาย แต่เมื่อปรากฏว่าในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวมีข้อกำหนดห้ามโอนเป็นเวลา 10 ปี ผู้ร้องและ ส.ไม่สามารถจดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทกันได้ จึงได้ทำจำนองในวงเงินเท่ากับราคาซื้อขายกันไว้โดยจำเลยได้ให้คำมั่นที่จะขายที่พิพาทให้เมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนตามพฤติการณ์จึงชี้ให้เห็นว่าสัญญาจำนองเป็นเพียงนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายโดยคู่สัญญาไม่มีเจตนาผูกพันกันในเรื่องจำนองสัญญาจำนองจึงตกเป็นโมฆะ แต่เนื่องจากทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยกับผู้ร้องและ ส. จึงตกเป็นโมฆะไปด้วย ผู้ร้องจึงมิได้มีสิทธิใด ๆในที่พิพาท และแม้ผู้ร้องยังคงครอบครองที่พิพาทอยู่เมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้วก็ตาม ก็ถือว่าเป็นการครอบครองแทนจำเลยผู้เป็นเจ้าของเดิม จำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทและโจทก์ย่อมมีสิทธินำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ความผิดสัญญา, ฟ้องเคลือบคลุม, ข้อจำกัดการฎีกาในฟ้องแย้ง
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ฟ้องอ้างหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่24มิถุนายน2535แต่ปรากฎว่าหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นคู่ฉบับเก็บไว้ฝ่ายละฉบับกลับลงวันที่21มิถุนายน2535เห็นได้ว่าเป็นสัญญาคนละฉบับกับที่ฟ้องฟ้องจึงเคลือบคลุมนั้นเมื่อจำเลยให้การมิได้อ้างเหตุนี้ว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมจำเลยเพิ่มจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกาแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญานั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในส่วนฟ้องแย้งเพราะทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งของจำเลยไม่เกิน200,000บาทและคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวขัดกับคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเมื่อเป็นเช่นนี้ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา146วรรคแรกโดยถือตามคำวินิจฉัยของศาลฎีกาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6169/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท แม้ฎีกาเกี่ยวข้องกับการดำเนินกระบวนพิจารณา
แม้ฎีกาของจำเลยที่ 1 จะเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับประเด็นพิพาทตามคำฟ้องก็ต้องถือตามทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีเป็นหลักในการพิจารณาว่าเป็นคดีที่ฎีกาได้หรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่ามิได้จงใจขาดนัดพิจารณา เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา